best of a day online : Social Movement

การลงมือเปลี่ยนแปลงสังคมในมุมเล็กๆ นั้นปรากฏอยู่ทั่วโลก หัวจิตหัวใจและเบื้องหลังความคิดของคนเหล่านั้นคือสิ่งที่เราสนใจและเลือกหยิบมาบอกต่ออยู่เสมอ และนี่คือ 5 เรื่องราว Social Movement ในรอบปีที่เราชื่นชม เพราะเราคิดว่าการลงมือทำมันดีกว่าการนั่งบ่นเป็นไหนๆ


1. มือซ้ายถือขยะ มือขวากดชัตเตอร์ เพื่อบอกว่า ‘It Doesn’t Belong Here’

เรื่อง เบญจวรรณ มังกรอัศวกุล
ภาพ ธนวัฒน์ อัศวชุติพงศ์

ท่ามกลางกระแสปัญหาไมโครพลาสติกในสัตว์ทะเลในช่วงไม่กี่เดือนมานี้ เมื่อเรามองย้อนกลับไป เรากลับพบว่า กานต์ สมานวรวงศ์ ช่างภาพใต้น้ำชื่อดังนั้นเริ่มรับรู้และแก้ไขปัญหานี้มานานแล้ว It Doesn’t Belong Here เป็นโปรเจกต์ที่กานต์ริเริ่มเมื่อต้นปี โดยชวนให้คนถ่ายรูปขยะที่พบเจอริมทะเล เพื่อสร้างความตระหนักเรื่องปัญหาขยะในท้องทะเล โดยเป้าหมายของโครงการนี้นั้นไม่มีอะไรมากไปกว่าการที่เขาอยากให้คนรู้ว่าขยะคือเรื่องของเราทุกคน


2. ป้ายรถเมล์โฉมใหม่ในย่านเจริญกรุงที่จะได้เห็นในงาน Bangkok Design Week

เรื่อง MAYDAY!

ในวันที่ป้ายรถเมล์ของ MAYDAY! เกิดขึ้นเมื่อตอนต้นปี เจ้าป้ายเหล่านี้เป็นกระแสในโลกออนไลน์อย่างมาก ทั้งการดีไซน์ ออกแบบ และการทำความเข้าใจที่ง่ายกว่าป้ายที่มีอยู่ ทุกอย่างล้วนมีที่มาจากความตั้งใจและคำถามสั้นๆ ง่ายๆ ที่ MAYDAY! ถามกับตัวเองว่าเราจะทำป้ายรถเมล์ให้ดีขึ้นได้ยังไง และบทความนี้คือก้าวแรกของพวกเขาก่อนที่ป้ายรถเมล์โฉมใหม่จะโด่งดังแบบทุกวันนี้


3. TED Club : เวทีที่ประกาศให้ประเทศรู้ว่าเด็กทุกคนมี ‘เสียง’ เป็นของตัวเอง

เรื่อง กันตพร สวนศิลป์พงศ์
ภาพประกอบ ฟาน.ปีติ

หลังจากความสำเร็จของ TEDxBangkok ใน 2 ปีแรก คราวนี้พวกเขาตัดสินใจขยับขยายสู่น่านน้ำใหม่ โดยผลักดันให้เกิดเวที TED ในโรงเรียนในชื่อว่า TED Club การตัดสินใจครั้งนี้นำเหล่า TEDxster ไปพบกับเรื่องราวใหม่ๆ ที่ออกมาจากปากเหล่าความเยาวชนความหวังประเทศ ถึงแม้เสียงของพวกเขาจะไม่ดังเท่าผู้ใหญ่หลายคน แต่เวที TED Club ก็ได้สร้างความเชื่อมั่นให้เด็กเหล่านั้นแล้วว่ายังมีคนอีกมากที่พร้อมรับฟัง


4. SWING : ที่พักพิงของคนขายบริการโดยคนขายบริการเพื่อคนขายบริการในไทย

เรื่อง ฆฤณ ถนอมกิตติ
ภาพ กฤต วิเศษเขตการณ์

ตอนทำ a day 220 ฉบับ a night เรามีโอกาสได้รู้จักกับ SWING หรือมูลนิธิเพื่อนพนักงานบริการ รวมทั้งได้สนทนากับผู้ก่อตั้งมูลนิธิอย่าง สุรางค์ จันทร์แย้ม และกีตาร์ อดีตคนขายบริการที่ปัจจุบันเป็นรองประธานมูลนิธิ เรื่องราวทั้งมวลที่เราได้รับรู้ทำให้เราเข้าใจว่าไม่ใช่การขายบริการไม่ใช่ปัญหา แต่เป็นทัศนคติของพวกเราเองต่างหากที่ผลักพวกเขาออกไปสู่มุมมืดของสังคม


5. ความจริงของผู้ลี้ภัยในไทยที่ถูกซ่อนไว้ภายใต้ความเป็นชาตินิยมของเราเอง

เรื่อง ฆฤณ ถนอมกิตติ
ภาพ ชนพัฒน์ เศรษฐโสรัถ

หลายคนรู้จัก โต้ง–ศักดิ์ดา แก้วบัวดี ในฐานะนักแสดงประจำในหนังของผู้กำกับดัง เจ้ย–อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล แต่เรามีโอกาสคุยกับโต้งในอีกบทบาทหนึ่ง นั่นคือการเป็นนักสิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยในไทย หลายคำบอกเล่าจากเขาทำเอาเราหดหู่และเศร้าใจ เพราะเรื่องราวความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นกับผู้ลี้ภัยในไทยนั้นใกล้ตัวกว่าที่คิด และมีผู้ที่อยากจะแก้ไขปัญหานี้อยู่ไม่กี่คนเท่านั้น

AUTHOR