ฮาวทูทิ้ง : ถ้าโดนทิ้งแล้วเริ่มใหม่ได้ทันที โลกนี้คงไม่มีคนอกหัก

*บทความเปิดเผยเนื้อหาบางส่วนของหนัง* ฮาวทูทิ้ง

ใครเคยดูผลงานของ เต๋อ–นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์ แล้วหลงใหลสไตล์งานของเขา ฮาวทูทิ้ง..ทิ้งอย่างไรไม่ให้เหลือเธอ น่าจะเป็นอีกเรื่องที่คุณจะชอบได้อย่างไม่ยากเย็น

ในผลงานภาพยนตร์ขนาดยาวลำดับที่ 7 เรื่องนี้ นวพลก็ยังคงประทับลายเซ็นของตัวเองไว้อย่างชัดเจน ทั้งจังหวะการแช่ภาพเพื่อดึงอารมณ์ การตัดต่อสุดกวน บทสนทนาที่เหมือนเราได้แอบฟังตัวละครคุยกัน และการลงไปสำรวจความสัมพันธ์ที่ครั้งนี้ร้าวลึกยิ่งกว่าเรื่องก่อนหน้า

จากงานที่ผ่านมาเราคิดว่านวพลเป็นคนเขียนเรื่องความสัมพันธ์เก่ง เพียงแต่เรื่องก่อนหน้าอาจไม่มีโอกาสได้ลงไปสำรวจเรื่องนี้แบบจริงๆ จังๆ พอมีโอกาสเขียนบทและกำกับหนังที่ว่าด้วยประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสิ่งของ (และความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน) นวพลก็ใส่ไม่ยั้ง ไม่ออมมือ เอาจนคนเคยโดนทิ้งหรือคนทิ้งเองร้องไห้จนไหล่สั่นได้เลย

ถ้า Die Tomorrow ทิ้งความรู้สึกหน่วงๆ อึนๆ BNK48 : GIRLS DON’T CRY ทิ้งความรู้สึกอึดอัด หนังที่พูดเรื่องการทิ้งตรงๆ เรื่องนี้ก็ทิ้งความรู้สึกร้าวรานไว้ในใจคนดูได้อย่างใจร้ายที่สุด (คำชม)

(ต่อไปนี้มีการเปิดเผยเนื้อหาสำคัญของหนัง)

จัดบ้าน-จัดการความรู้สึก ฮาวทูทิ้ง

เอาจริงๆ ใครจะไปคิดว่าประเด็นการจัดบ้านจะถูกนำมาสร้างเป็นหนังยาวได้ แต่นวพลทำได้ และมันเวิร์กกับเราด้วย

คล้ายเรื่องก่อนหน้า, นวพลค่อยๆ นวดเราด้วยการแนะนำให้รู้จักตัวละครผ่านสถานการณ์ในชีวิตประจำวันของพวกเขาที่เรารีเลตได้ สอดแทรกด้วยมุกตลกดิบๆ กวนๆ ตามสไตล์นวพล

เราพบ ‘จีน’ (รับบทโดย ชุติมณฑน์ จึงเจริญสุขยิ่ง) ตัวแทนของหญิงสาวเด็กเจ็นฯ ใหม่ผู้ต้องการเคลียร์ของในบ้านทิ้งเพื่อทำโฮมออฟฟิศของตัวเอง ด้วยความช่วยเหลือของพิงค์ (รับบทโดย พัดชา กิจชัยเจริญ) เพื่อนสนิท ติดแต่ว่าในชายคาเดียวกันมีเจย์–พี่ชาย (รับบทโดย ถิรวัฒน์ โงสว่าง) กับแม่ (รับบทโดย อาภาศิริ จันทรัศมี) อยู่ด้วย ซึ่งฝ่ายหลังคืออุปสรรคใหญ่ของการจัดบ้านครั้งนี้

ช่วงเวลาเดียวกันจีนก็ต้องลำบากใจกับการตามคืนของที่เคยได้มาจากคนรู้จัก และโจทย์ที่ลำบากใจที่สุดคงหนีไม่พ้น ‘เอ็ม’ (รับบทโดย ซันนี่ สุวรรณเมธานนท์) แฟนเก่าที่ตอนนี้มูฟออนด้วยการมีแฟนใหม่ (มี่ รับบทโดย ษริกา สารทศิลป์ศุภา) ไปแล้ว

ฮาวทูทิ้ง

แค่คืนของแล้วก็จบ นั่นคือสิ่งที่แฟนเก่าควรทำ แต่โลกของตัวละครในเรื่องไม่ได้หมุนแบบนั้น แม้เวลาจะผ่านมานานแค่ไหนหรือมีคนผ่านเข้ามาในชีวิตกี่คน ความทรงจำว่าเราเคยโดนใครทิ้งและเราเคยทิ้งใครนั้นยังฝังลึก

เหมือนแผลตกสะเก็ดที่คิดว่าหายแล้ว แต่โดนสะกิดนิดเดียวก็กลับมาเป็นแผลสด

“ขอโทษที่ไม่เคยติดต่อกลับ ขอโทษที่หายไปเฉยๆ ขอโทษที่ไม่เคยขอโทษ”

ฉากการกลับมาเจอกันอีกครั้งของจีนกับเอ็มบอกเราว่านวพลหยุดนวดแล้ว คล้ายสัญญาณว่าต่อจากนี้หนังจะกวนน้อยลงและ emotional มากขึ้น 

ปรากฏว่าหนังไปไกลกว่าที่เราคิด เหมือนชนวนระเบิดลูกแรกที่โดนจุด ส่งผลให้อีกหลายลูกระเบิดต่อกันเป็นทอดๆ ความรู้สึกตัวละครพังกระจุย ไม่ต่างอะไรกับความรู้สึกของคนดูที่เคยตกอยู่ในที่นั่งเดียวกัน

ฮาวทูทิ้ง

เรื่องของคนโดนทิ้งและคนเคยทิ้ง        

สำหรับเราความบันเทิงของเรื่องนี้คือ การเห็นสภาวะกล้ำกลืนฝืนทนของตัวละครที่ต้องต่อสู้กับความรู้สึกของตัวเองอย่างหนัก ไม่ว่าจะเป็นคนเคยทิ้ง คนโดนทิ้ง และคนเคยทิ้งที่โดนทิ้งมาก่อน 

ไม่เพียงแต่สำรวจความสัมพันธ์แบบคนรัก หนังพาเราไปสำรวจความสัมพันธ์แบบเพื่อนไปจนถึงครอบครัว ช่วงแรกของหนังฉายภาพว่าตัวละครจีนเป็นคนไร้หัวใจ คิดจะทิ้งอะไรก็ทิ้งโดยไม่คำนึงถึงใจคนให้ แต่เธอก็ไม่ได้ตายด้านเสียทีเดียวเมื่อโดนเพื่อนบอกให้ปรับปรุงตัว 

“มึงก็รู้ว่าควรจะพูดอะไร แต่มึงก็ไม่พูด…ทิ้งคนมันไม่เหมือนทิ้งของนะเว้ย” พิงค์ เพื่อนสนิทของจีนว่าไว้ 

หลังจากนั้นหนังพาเราขุดลึกลงไปว่าจริงๆ การไร้หัวใจของจีนเป็นผลมาจากรอยร้าวในครอบครัว ตั้งแต่พ่อทิ้งไป เด็กรุ่นใหม่อย่างจีนและเจย์พยายามทำทุกอย่างเพื่อลืม แต่คนรุ่นเก่าอย่างแม่ยังอยากใช้ชีวิตในลูปเดิมเพราะหวังว่าสามีจะกลับมา

แม่ประกาศกร้าวว่าห้ามขายเปียโนของพ่อ “ฉันนี่แหละคนเล่น” เธอบอกทั้งๆ ที่เล่นไม่เป็นด้วยซ้ำ

ฮาวทูทิ้ง

ตลอดทั้งเรื่องเราจะได้เห็นภาพการปะทะกันของคนสองรุ่นสลับกับความสัมพันธ์แบบหนุ่ม-สาว และโดยส่วนตัวเราชอบพาร์ตนี้มากกว่าด้วยซ้ำ ต้องยอมรับว่าซีนต่างๆ ของครอบครัวนั้นสามารถไต่ระดับไปถึงจุดพีคทางอารมณ์ได้เพราะทีมนักแสดง แน่นอนว่าออกแบบในบทจีนนั้นโดดเด้งมาก (รางวัลนักแสดงนำหญิงปีหน้าต้องมาแล้ว) แต่คนที่เด่นไม่น้อยหน้าคืออุ๋ม อาภาศิริ ในบทแม่ ที่ทำให้เราหงุดหงิดและเห็นใจในเวลาเดียวกัน

ฉากหนึ่งที่ต้องยกมือขึ้นมากุมใจเพราะการแสดงของอาภาศิริคือ ฉากทะเลาะกันบนโต๊ะอาหาร ยิ่งมาอยู่ในสัดส่วนภาพที่แคบกว่าสัดส่วนของหนังทั่วไปทำให้เรามองเห็นความรู้สึกของตัวละครได้ชัดเจน ความชัดเจนนี้ทำให้เราอินตามจนน้ำตาแตกโดยไม่รู้ตัว

ฮาวทูทิ้ง

ขอโทษแล้วมูฟออนต่อไป       ฮาวทูทิ้ง

สิ่งหนึ่งที่ช่วยสร้างอารมณ์ร่วมให้เราคือภาพโทนสี Bangkok blues ที่นวพลย้อมทุกฉากในเรื่องเป็นสีหม่นทึม คล้ายว่ามีเมฆหมอกแห่งความอึดอัดปกคลุมอยู่ รวมไปถึงไดอะล็อกคูลๆ ที่เราเคยคิดว่ามันออกมาเลี่ยนแน่ๆ จากตัวอย่าง แต่พอมาอยู่ในบริบทที่ถูกต้องบทนั้นก็ดูเข้าปากตัวละครได้พอเหมาะพอดี

มีประโยคหนึ่งที่เราประทับใจ จำได้รางๆ ว่าคือบทพูดของเอ็ม ที่รับบทโดยซันนี่

“ขอโทษแล้วยังไง คิดว่าขอโทษแล้วจบ แยกย้ายกันไปใช้ชีวิตต่อได้ มันง่ายไปไหม เธอขอโทษเสร็จ ความรู้สึกต่อจากนั้นมันคือปัญหาของเราใช่ไหม” ประโยคทำนองนี้ฟังคล้ายการประชดประชัน แต่มันคือประโยคสำคัญที่ทำให้ตัวละครจีนได้เรียนรู้ว่าการเอาของไปคืนนั้นไม่ได้หมายถึงคืนความทรงจำ ชีวิตจริงไม่สามารถ undo สิ่งที่ทำได้เหมือนโปรแกรมคอมพิวเตอร์

นำมาซึ่งบทสรุปที่จีนเลือกที่จะทิ้งทั้งของและคน เพราะไม่ว่าจะเก็บหรือจะทิ้งความทรงจำที่ถูกปู้ยี่ปู้ยำก็ไม่สามารถกลับมาเป็นเหมือนเดิมได้อีกแล้ว

เธอเลือกทิ้งอดีตไว้ข้างหลังด้วยการหลอกตัวเองว่า ชีวิตของคนที่โดนเธอทิ้งมูฟออนได้ เธอก็ต้องมูฟออนได้อย่างสบายใจ ทั้งที่จริงแล้วเธอรู้ดีแก่ใจว่าพวกเขาปวดร้าวมากแค่ไหน

เธอรู้ดีแก่ใจ เพราะเธอเองก็เคยโดนพ่อทิ้งเหมือนกัน

สารภาพตามตรง เราไม่แน่ใจว่าเราชอบตอนจบไหม แต่เราคิดว่าเราเข้าใจจีนนะ เธอติดอยู่ในความรู้สึกคาราคาซัง เพราะเธอรู้ดีว่าความรู้สึกโดนทิ้งมันเป็นยังไง และเธอไม่อยากยอมรับว่าตัวเองก็เป็นฝ่ายสร้างความรู้สึกที่เธอเกลียดให้กับคนที่เคยรัก 

ความรู้สึกนั้นเหมือนบาดแผลที่ไม่มีวันหาย มันพร้อมจะกลายเป็นแผลสดได้ทุกเมื่อจากการสะกิดแค่นิดเดียว

ฮาวทูทิ้ง

โดยสรุป ฮาวทูทิ้งคือหนังของคนมูฟออนไม่ได้ เก็บไม่ไหว แต่ก็ไม่อยากทิ้ง มันไม่ได้โรแมนติกพอสมควรอย่างที่นวพลเคยบอก แต่กลับช้ำหนัก ซึมลึก และทำให้มุมมองการจัดบ้านรับปีใหม่ของเราเปลี่ยนไปแน่ๆ

เริ่มไม่แน่ใจว่าอย่างไหนจะดีกว่ากัน ระหว่างบ้านรกแต่เต็มไปด้วยความทรงจำ กับบ้านโล่งที่สบายตาแต่ไร้ความรู้สึก

1 ฮาวทูทิ้ง

11ตลอดทั้งเรื่องเราจะได้เห็นภาพการปะทะกันของคนสองรุ่นสลับกับความสัมพันธ์แบบหนุ่ม-สาว และโดยส่วนตัวเราชอบพาร์ตนี้มากกว่าด้วยซ้ำ ต้องยอมรับว่าซีนต่างๆ ของครอบครัวนั้นสามารถไต่ระดับไปถึงจุดพีคทางอารมณ์ได้เพราะทีมนักแสดง แน่นอนว่าออกแบบในบทจีนนั้นโดดเด้งมาก (รางวัลนักแสดงนำหญิงปีหน้าต้องมาแล้ว) แต่คนที่เด่นไม่น้อยหน้าคืออุ๋ม อาภาศิริ ในบทแม่ ที่ทำให้เราหงุดหงิดและเห็นใจในเวลาเดียวกัน

12ตลอดทั้งเรื่องเราจะได้เห็นภาพการปะทะกันของคนสองรุ่นสลับกับความสัมพันธ์แบบหนุ่ม-สาว และโดยส่วนตัวเราชอบพาร์ตนี้มากกว่าด้วยซ้ำ ต้องยอมรับว่าซีนต่างๆ ของครอบครัวนั้นสามารถไต่ระดับไปถึงจุดพีคทางอารมณ์ได้เพราะทีมนักแสดง แน่นอนว่าออกแบบในบทจีนนั้นโดดเด้งมาก (รางวัลนักแสดงนำหญิงปีหน้าต้องมาแล้ว) แต่คนที่เด่นไม่น้อยหน้าคืออุ๋ม อาภาศิริ ในบทแม่ ที่ทำให้เราหงุดหงิดและเห็นใจในเวลาเดียวกัน

2

21ตลอดทั้งเรื่องเราจะได้เห็นภาพการปะทะกันของคนสองรุ่นสลับกับความสัมพันธ์แบบหนุ่ม-สาว และโดยส่วนตัวเราชอบพาร์ตนี้มากกว่าด้วยซ้ำ ต้องยอมรับว่าซีนต่างๆ ของครอบครัวนั้นสามารถไต่ระดับไปถึงจุดพีคทางอารมณ์ได้เพราะทีมนักแสดง แน่นอนว่าออกแบบในบทจีนนั้นโดดเด้งมาก (รางวัลนักแสดงนำหญิงปีหน้าต้องมาแล้ว) แต่คนที่เด่นไม่น้อยหน้าคืออุ๋ม อาภาศิริ ในบทแม่ ที่ทำให้เราหงุดหงิดและเห็นใจในเวลาเดียวกัน

22ตลอดทั้งเรื่องเราจะได้เห็นภาพการปะทะกันของคนสองรุ่นสลับกับความสัมพันธ์แบบหนุ่ม-สาว และโดยส่วนตัวเราชอบพาร์ตนี้มากกว่าด้วยซ้ำ ต้องยอมรับว่าซีนต่างๆ ของครอบครัวนั้นสามารถไต่ระดับไปถึงจุดพีคทางอารมณ์ได้เพราะทีมนักแสดง แน่นอนว่าออกแบบในบทจีนนั้นโดดเด้งมาก (รางวัลนักแสดงนำหญิงปีหน้าต้องมาแล้ว) แต่คนที่เด่นไม่น้อยหน้าคืออุ๋ม อาภาศิริ ในบทแม่ ที่ทำให้เราหงุดหงิดและเห็นใจในเวลาเดียวกัน

3

31ตลอดทั้งเรื่องเราจะได้เห็นภาพการปะทะกันของคนสองรุ่นสลับกับความสัมพันธ์แบบหนุ่ม-สาว และโดยส่วนตัวเราชอบพาร์ตนี้มากกว่าด้วยซ้ำ ต้องยอมรับว่าซีนต่างๆ ของครอบครัวนั้นสามารถไต่ระดับไปถึงจุดพีคทางอารมณ์ได้เพราะทีมนักแสดง แน่นอนว่าออกแบบในบทจีนนั้นโดดเด้งมาก (รางวัลนักแสดงนำหญิงปีหน้าต้องมาแล้ว) แต่คนที่เด่นไม่น้อยหน้าคืออุ๋ม อาภาศิริ ในบทแม่ ที่ทำให้เราหงุดหงิดและเห็นใจในเวลาเดียวกัน

32ตลอดทั้งเรื่องเราจะได้เห็นภาพการปะทะกันของคนสองรุ่นสลับกับความสัมพันธ์แบบหนุ่ม-สาว และโดยส่วนตัวเราชอบพาร์ตนี้มากกว่าด้วยซ้ำ ต้องยอมรับว่าซีนต่างๆ ของครอบครัวนั้นสามารถไต่ระดับไปถึงจุดพีคทางอารมณ์ได้เพราะทีมนักแสดง แน่นอนว่าออกแบบในบทจีนนั้นโดดเด้งมาก (รางวัลนักแสดงนำหญิงปีหน้าต้องมาแล้ว) แต่คนที่เด่นไม่น้อยหน้าคืออุ๋ม อาภาศิริ ในบทแม่ ที่ทำให้เราหงุดหงิดและเห็นใจในเวลาเดียวกัน

4

41ตลอดทั้งเรื่องเราจะได้เห็นภาพการปะทะกันของคนสองรุ่นสลับกับความสัมพันธ์แบบหนุ่ม-สาว และโดยส่วนตัวเราชอบพาร์ตนี้มากกว่าด้วยซ้ำ ต้องยอมรับว่าซีนต่างๆ ของครอบครัวนั้นสามารถไต่ระดับไปถึงจุดพีคทางอารมณ์ได้เพราะทีมนักแสดง แน่นอนว่าออกแบบในบทจีนนั้นโดดเด้งมาก (รางวัลนักแสดงนำหญิงปีหน้าต้องมาแล้ว) แต่คนที่เด่นไม่น้อยหน้าคืออุ๋ม อาภาศิริ ในบทแม่ ที่ทำให้เราหงุดหงิดและเห็นใจในเวลาเดียวกัน

42ตลอดทั้งเรื่องเราจะได้เห็นภาพการปะทะกันของคนสองรุ่นสลับกับความสัมพันธ์แบบหนุ่ม-สาว และโดยส่วนตัวเราชอบพาร์ตนี้มากกว่าด้วยซ้ำ ต้องยอมรับว่าซีนต่างๆ ของครอบครัวนั้นสามารถไต่ระดับไปถึงจุดพีคทางอารมณ์ได้เพราะทีมนักแสดง แน่นอนว่าออกแบบในบทจีนนั้นโดดเด้งมาก (รางวัลนักแสดงนำหญิงปีหน้าต้องมาแล้ว) แต่คนที่เด่นไม่น้อยหน้าคืออุ๋ม อาภาศิริ ในบทแม่ ที่ทำให้เราหงุดหงิดและเห็นใจในเวลาเดียวกัน

5

51ตลอดทั้งเรื่องเราจะได้เห็นภาพการปะทะกันของคนสองรุ่นสลับกับความสัมพันธ์แบบหนุ่ม-สาว และโดยส่วนตัวเราชอบพาร์ตนี้มากกว่าด้วยซ้ำ ต้องยอมรับว่าซีนต่างๆ ของครอบครัวนั้นสามารถไต่ระดับไปถึงจุดพีคทางอารมณ์ได้เพราะทีมนักแสดง แน่นอนว่าออกแบบในบทจีนนั้นโดดเด้งมาก (รางวัลนักแสดงนำหญิงปีหน้าต้องมาแล้ว) แต่คนที่เด่นไม่น้อยหน้าคืออุ๋ม อาภาศิริ ในบทแม่ ที่ทำให้เราหงุดหงิดและเห็นใจในเวลาเดียวกัน

52ตลอดทั้งเรื่องเราจะได้เห็นภาพการปะทะกันของคนสองรุ่นสลับกับความสัมพันธ์แบบหนุ่ม-สาว และโดยส่วนตัวเราชอบพาร์ตนี้มากกว่าด้วยซ้ำ ต้องยอมรับว่าซีนต่างๆ ของครอบครัวนั้นสามารถไต่ระดับไปถึงจุดพีคทางอารมณ์ได้เพราะทีมนักแสดง แน่นอนว่าออกแบบในบทจีนนั้นโดดเด้งมาก (รางวัลนักแสดงนำหญิงปีหน้าต้องมาแล้ว) แต่คนที่เด่นไม่น้อยหน้าคืออุ๋ม อาภาศิริ ในบทแม่ ที่ทำให้เราหงุดหงิดและเห็นใจในเวลาเดียวกัน

AUTHOR