เท้าน้อยๆ ของเจ้าเห็ดรูปร่างอวบอ้วนกำลังก้าวเดินไปข้างหน้ากับเพื่อนๆ วันนี้ภารกิจที่เขาได้รับคือการเดินทางไปยังกลุ่มผู้เปราะบางเพื่อบรรเทาการขาดแคลนอาหารในยามวิกฤตโรคระบาด
ระหว่างทางเห็ดนึกถึงคุณยามบริษัทที่ตกงาน ก่อนหน้านี้เขาทำข้าวกล่องกินเองแทบทุกมื้อ แต่ตอนนี้เริ่มหวั่นใจเพราะมีเงินพอซื้อของสดไปได้อีกแค่ 3 วัน
คุณแม่เลี้ยงเดี่ยวลูกหนึ่งเคยรับค่าแรงที่ไซต์ก่อสร้างวันละไม่ถึง 300 บาท ถูกเลิกจ้างทันที ที่บ้านมีผู้สูงอายุสุขภาพไม่ค่อยดี
คุณป้าหาบเร่อยู่กับหลานสาว 4 ขวบ ตอนนี้มีลูกค้าไม่ถึง 5 คนต่อวัน กังวลใจเพราะข้าวสารและไข่สดนั้นหมดไปนานแล้ว
เจ้าเห็ดรู้ดีว่ายังมีคนอีกจำนวนมากที่ต้องตกงาน ไม่มีรายได้ เผชิญปัญหาขาดแคลนอาหาร และต้องการความช่วยเหลือ เขาจึงมุ่งมั่นที่จะส่งต่อเรื่องราวเหล่านี้ให้คนอื่นได้รับรู้และตระหนักถึงปัญหาระดับโครงสร้างระหว่างที่ต้องเดินทางไปส่งอาหารให้ถึงมือคนที่ต้องการความช่วยเหลือ
นี่คือเรื่องราวที่ ปลาย–ยอดฉัตร บุพศิริ ศิลปินและนักวาดภาพประกอบ เกิดไอเดียวาดภาพเห็ดเพื่อช่วยส่งข่าวโปรเจกต์ ‘การส่งอาหารช่วยเหลือกลุ่มผู้เปราะบางของสวนผักคนเมือง’ ที่จะซื้อผลผลิตของเกษตรกรส่งต่อให้กับกลุ่มผู้พิการ คนตกงาน คนไร้บ้าน และคนที่ต้องการความช่วยเหลือ
เป้าหมายของเธอไม่ใช่แค่ชวนให้ทุกคนมาบริจาค แต่อยากให้คนสนใจปัญหาเชิงโครงสร้างในบ้านเรา ปลายจึงชวนศิลปิน นักวาดภาพประกอบ นักเขียน และนักวาดภาพมือสมัครเล่นหลากหลายอาชีพ มาวาดภาพเห็ดในแบบของตัวเอง เกิดเป็นโปรเจกต์ #MushroomMission เห็ดแปลงร่างไปมอบอาหารในยามวิกฤต
ภารกิจของเห็ดแต่ละสายพันธุ์เริ่มต้นยังไงและกำลังเดินหน้าไปในทางไหน ตามไปดูแต่ละมิสชั่นของพวกเขากัน
Mission 01: ก่อนจะมอบภารกิจให้กับเห็ด
ปลายเล่าว่าเธอได้ติดตามข้อมูลข่าวสารกลุ่ม ‘อาหารปลอดภัยสู้ภัยโควิด-19’ ของ นพ. วิรุฬ ลิ้มสวาท และพบว่ามีการแชร์ข่าวเรื่องโปรเจกต์สวนผักคนเมือง ซึ่งช่วยเหลือผู้เดือดร้อนได้ถึง 2 ต่อด้วยการซื้อผลผลิตจากเกษตรกรแล้วนำไปให้ผู้ที่ขาดแคลนอาหาร
“เราอ่านแล้วคิดว่าสวนผักคนเมืองมีขั้นตอนที่ดีมากๆ แต่ยังขาดการรับรู้จากคนทั่วไป ก็เลยลองคิดว่าจะช่วยเหลือยังไงได้บ้าง ซึ่งเราคิดว่าภาพวาดน่ารักๆ น่าจะดึงดูดความสนใจของคนได้”
เธออยากให้ภาพวาดของตัวเองเป็นมิตรกับคน ไม่ให้รู้สึกว่าเป็นการบังคับให้มาบริจาค ปลายจึงปรึกษาพี่ๆ ที่รู้จัก และคิดว่าจะสร้างสตอรีให้กับภาพวาด เธอจึงทยอยสเกตช์ภาพพืชผักที่จะมาเป็นตัวเล่าเรื่องนี้
“ตอนแรกวาดเยอะมากเลย วาดพวกพืชผักต่างๆ เพราะกลุ่มสวนผักคนเมือง กลุ่มอาหารปันชีวิต เขานำผลิตผลของเกษตรกรไปให้ผู้เปราะบาง เราก็เลยคิดว่างั้นเป็นการเดินทางของพืชผลการเกษตรนี่แหละ”
ถั่วฝักยาวและถั่วงอกกระจายตัวอยู่ในสเกตช์แรกๆ ของเธอ ระหว่างนั้นปลายเขียนข้อมูลความเป็นไปได้ของกลุ่มคนจนเมืองที่ได้รับผลกระทบเพื่อให้ตัวเองเห็นภาพชัดขึ้นว่าการเข้าถึงอาหารของทุกคนมีความจำเป็นขนาดไหน
“แล้วเราไม่อยากวาดภาพที่เป็นการบริจาคอย่างเดียว เพราะรู้สึกว่าควรไปโฟกัสที่เรื่องเลยดีกว่า สถานการณ์เป็นยังไง อยากให้คนที่รับสารทำอะไรบ้าง แต่วาดผักไปเรื่อยๆ ก็ยังไม่ลงตัวสักทีเพราะเราอยากได้ผักที่มีฟอร์มใส่ลูกเล่นสนุกๆ ได้
“เราก็เลยนึกถึงเห็ด มันน่ารัก ดูเป็นมิตรกับผู้คน น่าจะสื่อสารกับใครๆ ก็ได้ อีกอย่างคือเห็ดมีหลายแบบ เห็ดนางฟ้า เห็ดเข็มทอง แล้วเราก็สร้างสตอรีเป็นมิสชั่นของเห็ด วาดออกมาเป็นลายเส้นตัวกระปุกน่ารักๆ”
และนั่นเองทำให้เห็ดตัวอวบสะพายกระเป๋าออกมารับภารกิจส่งต่อข่าวสารกับปลาย แม้ว่านี่จะไม่ใช่ลายเส้นสไตล์เธอ แต่ศิลปินสาวก็วาดมันขึ้นเพราะอยากสื่อสารให้ทุกคนเข้าใจ พร้อมชวนศิลปินอย่างเพชรลดามาร่วมแจมด้วยการลงสีและวาดฉากอาหารเพิ่มเติมประกอบไปด้วย จนออกมาเป็นภาพ #MushroomMission อย่างที่หวัง
“เราคิดว่าการสร้างเรื่องราวอย่างนี้ ในแง่หนึ่งเป็
“ดังนั้นเราเลยสร้างสตอรีของเห็ดที่แปลงร่าง พยายามเดินทางไปหากลุ่มผู้
Mission 02: เห็ดแปลงร่าง
แม้จะได้ภาพเห็ดตามไอเดียที่ต้องการแล้ว แต่ปลายคิดว่าหากทำงานนี้คนเดียวอาจจะไม่เกิดอิมแพกต์ที่จะส่งต่อเรื่องราวไปถึงผู้คนได้ เธอจึงมีไอเดียว่าจะชวนคนรู้จักมาร่วมภารกิจไปด้วยกัน
“เราคิดว่าถ้ามีหลายคนน่าจะส่งเสียงได้ ก็เลยเริ่มร่างอีเมล เขียนเป็นโครงการชวนเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ มาร่วมกัน คิดสตอรีขึ้นมาว่าเห็ดแปลงร่างได้ ให้ทุกคนวาดภาพเห็ดของตัวเองขึ้นมาเลย แล้วกำลังจะแปลงร่างเพื่อไปส่งต่ออาหารให้กับกลุ่มผู้เปราะบาง
“คนที่ชวนมามีทั้งศิลปิน หรือบางคนอาจจะไม่ใช่นักวาดภาพ แต่เราบอกว่าคุณแค่วาดรูปในเวอร์ชั่นที่ดีที่สุด นั่นคือความปรารถนาดีของคุณที่จะส่งต่อข้อมูลนี้ มันเวิร์กแล้ว ไม่ต้องกังวล โปรเจกต์นี้เลยมีทั้งเด็กจิ๋ว 2 ขวบ คุณแม่ และคนหลากหลายกลุ่ม เข้ามาร่วมด้วย”
จากเห็ดสะพายกระเป๋าเตรียมเดินทางไปมอบอาหาร กลายร่างเป็นเห็ดหลากหลายสายพันธุ์และเรื่องเล่า โดยศิลปินและนักวาดภาพมือสมัครเล่นที่ปลายชวนมาร่วมกิจกรรม ลองไปดูกันว่าศิลปินแปลงร่างเห็ดของตัวเองยังไงกันบ้าง
Garagay Sriparinyasin
นักเขียน
“ภาพนี้เป็นภาพชุมชนเห็ดที่กำลังเตรียมตัวออกเดินทาง หลังจากเห็ดพี่ใหญ่ได้เล่าเรื่
“เห็ดบางชนิดก็ยังไม่มั่นใจว่าจะไปกันได้ยังไง และการต้องเป็นฝ่ายไปถูกเขากินมันจะเป็นยังไง ความเอร็ดอร่อยของมนุษย์คือความตายของเห็ด น่ากลัวออก
“พี่ใหญ่เห็ดก็ได้บอกว่า ‘ทุกอย่างในโลกเรานี้ล้วนมีความเชื่อมโยงและมีภารกิ
“ตอนนี้มีคนที่ทุกข์
“ขอให้พวกเราชาวเห็ดจงภาคภูมิ
“ขอให้เห็ดรุ่นใหม่อย่าได้
“เมื่อได้ฟังดังนั้นเห็ดต่างๆ ก็เกิดความเข้าใจ และมีความพร้อมยินดีที่จะได้เดินทางออกไปปฏิบัติ
Zujin
นักเรียนชั้นอนุบาล 3
“นี่ค่ะ เห็ดของหนู เป็นเห็ดที่มีเรื่องราวความสุขด้วยนะคะ”
Lalita Pholphalar
นักแปลและนักวาดรูปมือสมัครเล่น
“ต้ารู้สึกว่าสิ่งที่เราเผชิญอยู่เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างซึ่
Aura Cherrybag
ศิลปิน
“นี่คือภารกิจของเห็ดแปลงร่างระหว่างเดินทางไกลไปหากลุ่มคนเปราะบาง ออร่าเลยนึกถึงม้าซึ่งเป็นสัตว์แข็งแรง สื่อถึงการเดินทางและการเคลื่อนไหวที่ทางทีมสวนผักคนเมืองจะเข้าไปช่วยเหลือ เลยมีม้าเป็นส่วนประกอบของภาพประกอบชิ้นนี้”
Faan.peeti
นักวาดภาพประกอบ
“เราอยากใช้ภาพวาดของเราทำให้คนที่กำลังเครียดจากเหตุการณ์โควิด-19 รู้สึกดีขึ้นบ้างจากการดูงานศิลปะที่ผ่อนคลาย เลยวาดเป็นภาพเห็ด 3 ต้นกำลังเล่นดนตรีอย่างมีความสุข ยิ่งโปรเจกต์นี้เป็นการชวนบริจาคเพื่อส่งมอบอาหารให้ผู้เปราะบางเลยอยากให้คนดูเห็นว่า เมื่อเหล่าเห็ดต่างสนุกกันขนาดนี้ คนที่ได้กินมันเข้าไปต้องรู้สึกดีแน่ๆ เลย”
Chayanich Muangthai
ศิลปิน
“เราวาดงานชิ้นนี้หลังกินข้าวอิ่มแล้วและไม่ได้รู้สึกหิวอะไร ในขณะที่แสงแดดเช้าของกลางๆ เดือนเมษายนนั้นร้อนจนสนามหญ้าสีเขียวกลายเป็นสีเหลืองน้ำตาลไหม้ ในภาพนี้มีความหวัง มีแสงแดด และมีเห็ดที่กำลังเบิกบาน”
Mission 03: สื่อสารปัญหาถึงระดับโครงสร้าง
ปลายย้ำกับเราตั้งแต่ครั้งแรกว่านี่ไม่ใช่การสื่อสารเพื่อให้คนบริจาคให้สวนผักคนเมืองเพียงอย่างเดียว แต่เธออยากให้คนตระหนักถึงปัญหาเชิงโครงสร้างที่เกิดขึ้นในไทย
ศิลปินสาวนำเสนอให้เราเห็นข้อมูลกลุ่มผู้เปราะบางที่มีรายได้ไม่แน่นอนผ่านข้อมูลการสำรวจ ‘ผลกระทบด้านเศรษฐกิจของโควิด-19 ต่อคนจนเมือง’ ซึ่งเผยแพร่ในเว็บไซต์ waymagazine.com
แบบสำรวจนี้จัดทำโดยคณาจารย์จาก 6 มหาวิทยาลัย ผ่านการสอบถามชุมชนแออัดในเมือง มีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 507 ชุด ทั้งคนที่รับจ้างรายเดือนแต่ไม่มีประกันสังคม ลูกจ้างรายวัน แม่ค้า หาบเร่ รถเข็นแผงลอย ไปจนถึงคนที่รับจ้างอิสระ ซึ่งพบว่า 60.24 เปอร์เซ็นต์มีรายได้ลดลง เพราะหลายกิจการต้องหยุด ทำให้เกิดการเลิกจ้าง กลุ่มคนจนเมืองจึงประสบปัญหาไม่มีเงินชำระหนี้สิน ไม่มีรายได้พอกินอยู่ในชีวิตประจำวัน ต้องรับความช่วยเหลือจากเอกชนและบุคคลทั่วไป บางส่วนต้องกู้ยืมเงินหรือนำของใช้ไปจำนำ ที่สำคัญคือคนจนเมืองจำนวนหนึ่งยังเข้าไม่ถึงมาตรการ ‘เราไม่ทิ้งกัน’
สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าไม่ใช่ทุกคนในสังคมสามารถปฏิบัติตามมาตรการหยุดทำงานกักตัวที่บ้านของรัฐได้ เพราะการหยุดงานนั่นหมายถึงรายได้หดหายไม่มีพอประทังเลี้ยงชีพ
“แต่ก่อนเราไม่สนับสนุนการบริจาคเพราะมันไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ยั่งยืน แต่ในเมื่อมีเรื่องเร่งด่วน โอเค การบริจาคมันดี เป็นการซื้อเวลาให้คนมีชีวิตต่อไปได้ในระยะหนึ่ง แต่เราว่าปัญหาจริงๆ คือปัญหาเชิงโครงสร้าง ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำคู่กันคือต้องตระหนักเรื่องโครงสร้างด้วย เราต้องรู้ว่าตอนนี้กำลังอยู่ภายใต้อะไรและสามารถวิพากษ์โครงสร้างของรัฐไปด้วย”
“ดังนั้นเราจึงให้ข้อมูลไว้ในแคปชั่นภารกิจ #MushroomMission ด้วย ถ้าอยากอ่านเรื่องคนจนเมืองให้ไปอ่านต่อได้ที่ลิงก์ของ waymagazine เขาทำสกูปไว้ดีมากๆ พอคนได้รับสารจาก #MushroomMission ได้อ่านความเป็นมาของผลกระทบคนจนเมือง อาจจะกระตุ้นให้เขาคิดต่อไปได้มากกว่าการบริจาคครั้งเดียวแล้วจบ”
ในอนาคตปลายมีแผนจะต่อยอดภารกิจของ #MushroomMission เป็น #MushroomStories ด้วย เพื่อทำงานกับเรื่องเล่าของเห็ดออกเดินทางจากเสียงผู้คนที่หลากหลายขึ้นด้วย
ใครอยากเข้าร่วมภารกิจแปลงร่างเห็ด สามารถวาดภาพเห็ดในสไตล์ตัวเอง โพสต์ลงเฟซบุ๊กพร้อมข้อมูลของกลุ่มสวนผักคนเมือง หรือติดตามข้อมูลและภาพอื่นๆ ได้ที่ yodchattinyline.com หรือ #MushroomMission
ภาพ: Joel Chua