Yesterday: ในจุดหนึ่งทุกคนย่อมถูกลืม แล้วเราทำอะไรได้บ้างในวันที่ยังถูกจดจำ

yesterday “ถ้าเราโดนลืมบ้าง เราจะรู้สึกยังไงวะ”

เพื่อนที่ไปดูด้วยกันถามขึ้นหลังจากได้ฟังพล็อตเรื่องของ Yesterday ที่เราเล่าให้ฟังไวๆ ก่อนเข้าโรงหนัง

นั่นสิ–เราคิด ในฐานะคนสร้างสรรค์งานเขียน ถ้าเกิดวันหนึ่งไม่มีใครจำได้ว่าเราเป็นใครหรือเคยสร้างงานอะไรไว้บ้าง มันคงรู้สึกโหวงเหวงพิกล

“แต่ถึงตอนนั้นคงไม่รู้สึกอะไรแล้วมั้ง เพราะเราก็ไม่อยู่แล้วปะ” เราตอบเพื่อนก่อนจะก้าวเข้าสู่โรงฉาย

เราชอบเพลงของ The Beatles แต่ก็ไม่ถึงกับเป็นแฟนตัวยง เคยดูหนังที่ได้แรงบันดาลใจจากเพลงของวงนี้มาบ้าง หากสิ่งที่ทำให้เราตั้งหน้าตั้งตารอดู Yesterday มากกว่าเรื่องอื่นๆ ด้วยใจจดจ่อคือ ชื่อของ Danny Boyle ผู้กำกับ Steve Jobs, 127 Hours และ Slumdog Millionaire กับคนเขียนบทอย่าง Richard Curtis ที่ฝากผลงานไว้ใน About Time, Love Actually และ Notting Hill ซึ่งเราเลิฟผลงานที่ผ่านมาของพวกเขาเป็นพิเศษ

รวมทั้งพล็อตเรื่องที่เริ่มต้นจากคำถามที่ว่า ‘จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าจู่ๆ ทุกคนบนโลกต่างลืมเลือน The Beatles และคุณเป็นคนเดียวที่จำได้’

Yesterday เล่าเรื่องของ Jack (Himesh Patel) นักดนตรีชาวอังกฤษผู้อาศัยอยู่ในเมืองเล็กๆ ติดทะเล เขาใช้ชีวิตอยู่กับการแต่งและร้องเพลงของตัวเองตามร้านอาหาร โดยมี Ellie (Lily James) ผู้เป็นทั้งเพื่อนสนิทและผู้จัดการส่วนตัวคอยสนับสนุน และแทบจะเป็นคนเดียวที่เชื่อว่าแจ็กสามารถประสบความสำเร็จในเส้นทางสายดนตรีได้

แต่ยิ่งเวลาผ่านไป ความพยายามของแจ็กก็ยิ่งดูเปล่าประโยชน์ เขาไม่เห็นทีท่าว่าเพลงของตัวเองจะดังในวงกว้างได้เลย ในคืนที่แจ็กอยากยอมแพ้นั้นเองเป็นคืนที่ทั้งโลกไฟดับไปชั่วครู่ เป็นคืนที่เขาโดนรถโดยสารชนจนฟันหน้าแหว่งไปสองซี่ และเป็นคืนที่ปาฏิหาริย์ของชีวิตแจ็กเริ่มต้นขึ้น

หลังจากคืนนั้น ไม่มีใครในโลกรู้จัก The Beatles ยกเว้นตัวเขา 

สำหรับแจ็ก นี่คือโอกาสที่เขาจะประสบความสำเร็จ 

เขาตัดสินใจไต่เต้าเข้าสู่วงการดนตรีด้วยเพลงของ The Beatles ที่เคลมว่าแต่งเอง นำมาสู่เรื่องชวนหัวว่าด้วยการเก็บความลับ ชื่อเสียง และการเรียนรู้ชีวิตผ่านเสียงเพลงในตำนาน

yesterday

ตอนได้ยินข่าวประกาศสร้างหนังครั้งแรก เรานึกภาพไม่ออกเลยว่าคนที่เคยทำหนังโทนจริงจังอย่างบอยล์ เมื่อผันมาเป็นแนวฟีลกู้ดจะเป็นอย่างไร โชคดีที่ได้เจ้าพ่อบทหนังฟีลกู้ดอย่างเคอร์ทิสมาช่วยสรรค์สร้างเรื่องราว หนังจึงเต็มไปด้วยองค์ประกอบสนุกๆ และมุกรายทางที่ทำให้เราอมยิ้มได้ตลอดเรื่อง 

ขณะเดียวกัน บอยล์ก็ค่อนข้างแม่นยำกับจังหวะจะโคนที่ทำให้เราคล้อยตามอารมณ์ของเรื่อง และการดึงเสน่ห์นักแสดงให้เฉิดฉายออกมา โดยเฉพาะลิลี่ เจมส์ ในบทเอลลี่ (พูดด้วยอคติ–หนังเกี่ยวกับเพลงที่ลิลี่รับเล่น เธอเฉิดฉายทุกเรื่อง) มีฉากหนึ่งที่เธอเล่นได้อย่างน่าประทับใจจนเรานึกถึงฉากสารภาพรักในร้านหนังสือของ Julia Roberts ใน Notting Hill เลย

จั่วหัวว่าเป็นหนังเกี่ยวกับเพลงของ The Beatles แน่นอนว่าเพลงคือองค์ประกอบสำคัญ นอกจากการใส่เพลงฮิตทั้งหลายมาเพื่อให้คนดูอย่างเราร้องตามได้ บางเพลงในหนังนั้นสะท้อนความรู้สึกนึกคิดของตัวละคร บางเพลงแทนจังหวะชีวิตช่วงที่ขึ้นและลง บางเพลงก็สร้างสถานการณ์ฮาๆ ที่ทำให้เราอยากเอาใจช่วยแจ็กอย่างฉากตามหาเนื้อร้องที่ถูกต้อง หรือแม้กระทั่งฉากที่ Ed Sheeran (ซึ่งแสดงโดยตัวเอ็ด ชีแรน เอง) มาแนะให้แจ็กเปลี่ยนจากคำว่า ‘Hey Jude’ เป็น ‘Hey Dude’ เพื่อให้ติดหูคนฟังยุคนี้มากขึ้น ใดๆ เหล่านี้ล้วนสร้างความเพลิดเพลินจนเรามองข้ามรูรั่วบางอย่างในตัวหนังไป   

yesterday
yesterday

เมื่อหนังจบ เราเชื่อสุดใจเลยว่าแฟนเพลง The Beatles ที่มาดูเรื่องนี้จะได้เต็มอิ่มกับเพลงที่เคยคุ้นในเวอร์ชั่นที่ไม่คุ้นเคย (และคุณต้องภาวนาให้มีเพลงในเรื่องมากกว่านี้เหมือนเราแน่ๆ) ในขณะเดียวกัน คนดูที่เคยฟังเพลงของ The Beatles ผ่านๆ หรือแม้แต่คนที่ไม่รู้จักวงเลยก็น่าจะสนุกไปกับหนัง และอาจโดนเพลงในหนังขับกล่อมจนกลับไปเปิดเวอร์ชั่นออริจินอลฟังต่อที่บ้านอย่างน้อยก็หนึ่งเพลงล่ะเราว่า

กลับมาคิดดูแล้ว Yesterday อาจเป็นเรื่องราวว่าด้วยการเรียนรู้ชีวิต ความรัก และการตั้งคำถามกับความหมายที่แท้จริงของคำว่าประสบความสำเร็จของชายคนหนึ่ง แต่มากไปกว่านั้น เราคิดว่าหนังเรื่องนี้คล้ายจดหมายขอบคุณที่บอยล์กับทีมสร้างอยากส่งให้ The Beatles และผู้สร้างงานดีๆ ในอดีต ในโมงยามที่เพลงและงานศิลปะใหม่ๆ เกิดขึ้นทุกวัน และในอนาคตอีก 100 ปีข้างหน้า สถานการณ์แบบในหนังอาจเกิดขึ้นจริง

ในจุดหนึ่ง ตัวเราและสิ่งที่เราสร้างไว้นั้นย่อมเลือนหายไปตามกาลเวลา

แต่ตราบใดที่ยังมีคนมองเห็นผลงานว่ามีคุณค่า เราอยากขอบคุณผู้สร้างที่สร้างสรรค์สิ่งดีๆ ขึ้นมา เพราะสำหรับบางคน เพลงบางเพลง หนังสือบางเล่ม หรือหนังบางเรื่องนั้น ไม่เพียงแค่มอบความบันเทิงเริงรมย์ในชีวิต แต่ยังเป็นแรงบันดาลใจให้กับนักสร้างสรรค์รุ่นใหม่ได้มีแรงสร้างสิ่งดีๆ เพิ่มมากขึ้น

และเราคงไม่เสียใจ ถ้าในอนาคตผลงานที่ทำอย่างสุดความสามารถนั้นจะเฟดหายไป เพราะในช่วงเวลาหนึ่ง มันทำหน้าที่ของมันได้ดีที่สุดแล้ว

เหมือนกับเพลงของ The Beatles

เมื่อหนังจบ เราเชื่อสุดใจเลยว่าแฟนเพลง The Beatles ที่มาดูเรื่องนี้จะได้เต็มอิ่มกับเพลงที่เคยคุ้นในเวอร์ชั่นที่ไม่คุ้นเคย (และคุณต้องภาวนาให้มีเพลงในเรื่องมากกว่านี้เหมือนเราแน่ๆ) ในขณะเดียวกัน คนดูที่เคยฟังเพลงของ The Beatles ผ่านๆ หรือแม้แต่คนที่ไม่รู้จักวงเลยก็น่าจะสนุกไปกับหนัง และอาจโดนเพลงในหนังขับกล่อมจนกลับไปเปิดเวอร์ชั่นออริจินอลฟังต่อที่บ้านอย่างน้อยก็หนึ่งเพลงล่ะเราว่ากลับมาคิดดูแล้ว Yesterday อาจเป็นเรื่องราวว่าด้วยการเรียนรู้ชีวิต ความรัก และการตั้งคำถามกับความหมายที่แท้จริงของคำว่าประสบความสำเร็จของชายคนหนึ่ง แต่มากไปกว่านั้น เราคิดว่าหนังเรื่องนี้คล้ายจดหมายขอบคุณที่บอยล์กับทีมสร้างอยากส่งให้ The Beatles และผู้สร้างงานดีๆ ในอดีต ในโมงยามที่เพลงและงานศิลปะใหม่ๆ เกิดขึ้นทุกวัน และในอนาคตอีก 100 ปีข้างหน้า สถานการณ์แบบในหนังอาจเกิดขึ้นจริง

ในจุดหนึ่ง ตัวเราและสิ่งที่เราสร้างไว้นั้นย่อมเลือนหายไปตามกาลเวลา

แต่ตราบใดที่ยังมีคนมองเห็นผลงานว่ามีคุณค่า เราอยากขอบคุณผู้สร้างที่สร้างสรรค์สิ่งดีๆ ขึ้นมา เพราะสำหรับบางคน เพลงบางเพลง หนังสือบางเล่ม หรือหนังบางเรื่องนั้น ไม่เพียงแค่มอบความบันเทิงเริงรมย์ในชีวิต แต่ยังเป็นแรงบันดาลใจให้กับนักสร้างสรรค์รุ่นใหม่ได้มีแรงสร้างสิ่งดีๆ เพิ่มมากขึ้น

และเราคงไม่เสียใจ ถ้าในอนาคตผลงานที่ทำอย่างสุดความสามารถนั้นจะเฟดหายไป เพราะในช่วงเวลาหนึ่ง มันทำหน้าที่ของมันได้ดีที่สุดแล้ว

เหมือนกับเพลงของ The Beatles

เมื่อหนังจบ เราเชื่อสุดใจเลยว่าแฟนเพลง The Beatles ที่มาดูเรื่องนี้จะได้เต็มอิ่มกับเพลงที่เคยคุ้นในเวอร์ชั่นที่ไม่คุ้นเคย (และคุณต้องภาวนาให้มีเพลงในเรื่องมากกว่านี้เหมือนเราแน่ๆ) ในขณะเดียวกัน คนดูที่เคยฟังเพลงของ The Beatles ผ่านๆ หรือแม้แต่คนที่ไม่รู้จักวงเลยก็น่าจะสนุกไปกับหนัง และอาจโดนเพลงในหนังขับกล่อมจนกลับไปเปิดเวอร์ชั่นออริจินอลฟังต่อที่บ้านอย่างน้อยก็หนึ่งเพลงล่ะเราว่ากลับมาคิดดูแล้ว Yesterday อาจเป็นเรื่องราวว่าด้วยการเรียนรู้ชีวิต ความรัก และการตั้งคำถามกับความหมายที่แท้จริงของคำว่าประสบความสำเร็จของชายคนหนึ่ง แต่มากไปกว่านั้น เราคิดว่าหนังเรื่องนี้คล้ายจดหมายขอบคุณที่บอยล์กับทีมสร้างอยากส่งให้ The Beatles และผู้สร้างงานดีๆ ในอดีต ในโมงยามที่เพลงและงานศิลปะใหม่ๆ เกิดขึ้นทุกวัน และในอนาคตอีก 100 ปีข้างหน้า สถานการณ์แบบในหนังอาจเกิดขึ้นจริง

ในจุดหนึ่ง ตัวเราและสิ่งที่เราสร้างไว้นั้นย่อมเลือนหายไปตามกาลเวลา

แต่ตราบใดที่ยังมีคนมองเห็นผลงานว่ามีคุณค่า เราอยากขอบคุณผู้สร้างที่สร้างสรรค์สิ่งดีๆ ขึ้นมา เพราะสำหรับบางคน เพลงบางเพลง หนังสือบางเล่ม หรือหนังบางเรื่องนั้น ไม่เพียงแค่มอบความบันเทิงเริงรมย์ในชีวิต แต่ยังเป็นแรงบันดาลใจให้กับนักสร้างสรรค์รุ่นใหม่ได้มีแรงสร้างสิ่งดีๆ เพิ่มมากขึ้น

และเราคงไม่เสียใจ ถ้าในอนาคตผลงานที่ทำอย่างสุดความสามารถนั้นจะเฟดหายไป เพราะในช่วงเวลาหนึ่ง มันทำหน้าที่ของมันได้ดีที่สุดแล้ว

เหมือนกับเพลงของ The Beatles

AUTHOR