เมื่อไหร่จะได้ไปไต้หวัน? โปรเจกต์ travel bubble ของไต้หวันไปถึงไหนแล้ว?

ระหว่างที่เราเขียนต้นฉบับของเดือนนี้อยู่ สถานการณ์โควิด-19 ก็กำลังระอุขึ้นมาอีกครั้งในประเทศไทย ซึ่งดูเหมือนจะน่ากลัวกว่าครั้งที่ผ่านๆ มา ส่วนไต้หวัน หลังจากที่ไม่กี่เดือนก่อนเพิ่งประสบความสำเร็จในการเปิดเส้นทาง travel bubble กับสาธารณรัฐปาเลาและมีข่าวว่ากำลังเตรียมตัวเปิดเส้นทางอื่นๆ เช่น ไต้หวัน-เกาะกวม และไต้หวัน-สิงคโปร์ต่อไป มาตอนนี้สถานการณ์ก็กลับกลายเป็นยอดผู้ติดเชื้อในประเทศสูงถึงหลักร้อยติดกันมาหลายวัน จนต้องประกาศห้ามชาวต่างชาติที่ไม่มีบัตรผู้พำนักอาศัยเดินทางเข้าประเทศอีกครั้ง

คอลัมน์ Made in Taiwan ครั้งนี้เลยจะพามาดูกันว่าไต้หวันเขาทำอะไรไปแล้วบ้างในช่วงที่การควบคุมโรคระบาดเริ่มอยู่ตัวและสถานการณ์ภายในประเทศกลับเป็นปกติเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ก่อนหน้านี้ และเกิดอะไรขึ้นที่ทำให้สถานการณ์ในไต้หวันพลิกผันจนต้องประกาศให้ใช้มาตรการควบคุมการระบาดระดับ 3 ทั่วทั้งเกาะ

ไต้หวัน-ปาเลา travel bubble เส้นทางแรกของเอเชีย

ต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา ไต้หวัน–ในฐานะประเทศที่แม้ไม่ได้เป็นสมาชิกองค์การอนามัยโลกแต่ก็รับมือกับการระบาดได้ดีลำดับต้นๆ ของโลกในช่วงก่อนหน้านี้–ร่วมมือกับปาเลา ประเทศหมู่เกาะเล็กๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ เปิด travel bubble เป็นเส้นทางแรกของเอเชียได้สำเร็จ โดยปาเลาเป็นประเทศที่ไม่เคยมีรายงานเคสผู้ป่วยโควิด-19 เลย และยังเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับไต้หวันอย่างเป็นทางการ

ไฟลต์แรกเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน โดยที่ผู้เข้าร่วมจะต้องตรวจโควิด-19 ทั้งก่อนและหลังไป ไม่ออกเที่ยวนอกเส้นทางเอง พักในโรงแรมและทานอาหารในร้านที่ทางทัวร์จัดเตรียมไว้ให้เท่านั้น อีกทั้งหลังกลับมายังต้องสังเกตอาการ หลีกเลี่ยงพื้นที่สาธารณะ ซึ่งรวมไปถึงการไปทำงานหรือโรงเรียนภายใน 14 วันหลังกลับจากการท่องเที่ยวด้วย

เพราะกฎเกณฑ์ที่เคร่งครัดนี้เองที่ทำให้ความต้องการไปเที่ยวในเส้นทางนี้ไม่เยอะเท่าที่ควร จนไฟลต์เดินทางเที่ยววันที่ 17 เมษายนต้องถูกยกเลิกไปเพราะมีคนจองไปเที่ยวเพียง 2 คน ทำให้ศูนย์บัญชาการกลางป้องกันโรคระบาดหรือ CECC ของไต้หวันต้องออกมาให้สัญญาว่าจะดำเนินการพิจารณาแก้ไขกฎระเบียบให้สะดวกกับนักท่องเที่ยวที่เข้าร่วมโครงการมากขึ้น เพื่อช่วยสนับสนุนเส้นทางนี้

นอกจากนี้ยังมีรายงานข่าวด้วยว่าไต้หวันกำลังพิจารณาเปิด travel bubble เพิ่มเติมกับ เกาะกวมและสิงคโปร์เป็นลำดับถัดไป ซึ่งถ้าทำได้ความต้องการท่องเที่ยวต่างประเทศคงจะเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อย

ส่วนเส้นทางไต้หวัน-ไทย ในช่วงเดือนมีนาคม ก่อนที่จะเริ่มการบินเส้นทางไต้หวัน-ปาเลาครั้งแรก มีรายงานข่าวหลายชิ้นที่พูดถึงความเป็นไปได้ของเส้นทางนี้เหมือนกัน รายงานข่าวชิ้นหนึ่งโดยสำนักข่าว udn ของไต้หวันเมื่อวันที่ 23 มีนาคมบอกว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม Lin Chia-lung ได้กล่าวไว้ว่าเส้นทาง travel bubble ถัดไปจะพยายามให้เป็นเส้นทางใกล้ๆ ที่เดินทางไม่เกิน 5 ชั่วโมง และ “ประเทศไทยมีโอกาสสูงมาก” สอดคล้องกับข่าวที่รายงานว่าผู้แทนสำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย ประจำกรุงไทเปได้เอ่ยถึงการเจรจากันระหว่างไต้หวันและไทยถึงความเป็นไปได้ที่อาจเริ่มได้ในช่วงปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า หลังจากคนส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนกันเรียบร้อยแล้ว 

แต่เพราะสถานการณ์โควิด-19 กลับมาระบาดในประเทศของพวกเราอีกครั้งเมื่อต้นเดือนเมษายน อย่างหนักหนาสาหัสยิ่งกว่าเดิม ทำให้กระแสข่าวค่อยๆ เฟดหายไป

รายงานข่าวล่าสุดเมื่อวันที่ 22 เมษายน การท่องเที่ยวไต้หวันประกาศออกมาอย่างเป็นทางการว่ากำลังเจรจาการเปิด travel bubble กับสิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ เกาะกวม และฮาวายเท่านั้น แต่ตอนนี้ด้วยสถานการณ์ภายในเอง โปรเจกต์นี้อาจจะต้องถูกพับเก็บไปชั่วคราว จนกว่าไต้หวันกลับมาปกติได้ดังเดิม

เกิดอะไรขึ้นกับไต้หวัน

เป็นที่รู้กันว่าไต้หวันควบคุมสถานการณ์โรคระบาดได้ดีมากมาโดยตลอดและไม่เคยต้องใช้มาตรการล็อกดาวน์เลย จนช่วงเดือนที่แล้วคนไต้หวันก็ยังสามารถใช้ชีวิตกันได้อย่างปกติ ทำให้หลายคนก็เลือกที่จะยังไม่ฉีดวัคซีนที่ถูกนำเข้ามาเมื่อเดือนมีนาคม เพราะไต้หวันได้มาเพียงวัคซีนของ AstraZeneca เท่านั้นหลายคนจึงมองว่าอยากรอตัวเลือกที่หลากหลายกว่านี้ก่อน

หลายเสียงพูดถึงอัตราการฉีดวัคซีนของไต้หวันที่ค่อนข้างช้าถ้าเทียบกับประเทศอื่นๆ ว่าวัคซีนที่ได้มาอาจหมดอายุก่อน เป็นการเสียของเปล่าๆ หรือที่แย่กว่านั้นคือถ้าเกิดการระบาดขึ้นในไต้หวันในช่วงที่ประเทศอื่นกำลังฟื้นฟูไต้หวันจะตกอยู่ในที่นั่งลำบากทันที

แล้วเรื่องที่หลายคนกังวลก็เกิดขึ้นจริงๆ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคมมีรายการการติดเชื้อในประเทศ เริ่มจากครอบครัวของนักบินที่ติดเชื้อมาจากต่างประเทศและคนขับรถชัตเติลบัสของโรงแรมที่ใช้กักตัวผู้ที่เพิ่งเดินทางเข้าไต้หวัน รวมทั้งสิ้น 3 คน วันต่อมาพบเคสในประเทศเพิ่ม 7 คน และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนแตะหลักร้อย ล่าสุดวันที่เรากำลังเขียนบทความนี้ วันที่ 21 พฤษภาคม มีรายงานเคสในประเทศ 312 คน

ทั่วทั้งเกาะจึงประกาศใช้มาตรการควบคุมระดับ 3 คือหลีกเลี่ยงการออกจากบ้านถ้าเป็นไปได้ ถ้าต้องออกไปข้างนอกต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ปิดสถานประกอบการเพื่อความบันเทิง ศูนย์กีฬา ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ชั่วคราว งดการรวมตัวกันเกิน 5 คนภายในสถานที่ปิด หรือ 10 คนในที่กลางแจ้ง สถานศึกษาให้สอนทางออนไลน์ ส่วนบริษัทต่างๆ ส่วนใหญ่ประกาศเวิร์กฟรอมโฮม บางส่วนแบ่งพนักงานออกเป็นกลุ่มที่ยังต้องไปบริษัท และกลุ่มที่เวิร์กฟรอมโฮม

แต่สิ่งหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าสถานการณ์ในไต้หวันน่าจะได้กลับมาเป็นปกติในอีกไม่นานคือภาครัฐมีการจัดการที่รวดเร็วและวางแผนโดยคิดถึงการใช้ชีวิตหลายด้าน ส่วนภาคเอกชนและประชาชนโดยมากก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี รัฐบาลไม่ได้สั่งล็อกดาวน์จนถึงขั้นห้ามออกไปไหนมาไหน ร้านอาหาร ตลาด และซูเปอร์มาร์เก็ตยังเปิดได้ตามปกติ โดยให้มีมาตรการลงชื่อผู้ที่เข้าใช้บริการและต้องเว้นระยะห่างอย่างเคร่งครัด ทำให้ประชาชนยังคงสามารถออกไปไหนมาไหนได้บ้าง แต่คนส่วนใหญ่ก็เลือกที่จะอยู่บ้านนอกจากจะจำเป็นต้องทำธุระข้างนอกจริงๆ 

อ้างอิง

focustaiwan.tw

taiwannews.com.tw

tw.news.yahoo.com

เป็นที่รู้กันว่าไต้หวันควบคุมสถานการณ์โรคระบาดได้ดีมากมาโดยตลอดและไม่เคยต้องใช้มาตรการล็อกดาวน์เลย จนช่วงเดือนที่แล้วคนไต้หวันก็ยังสามารถใช้ชีวิตกันได้อย่างปกติ ทำให้หลายคนก็เลือกที่จะยังไม่ฉีดวัคซีนที่ถูกนำเข้ามาเมื่อเดือนมีนาคม เพราะไต้หวันได้มาเพียงวัคซีนของ AstraZeneca เท่านั้นหลายคนจึงมองว่าอยากรอตัวเลือกที่หลากหลายกว่านี้ก่อน
หลายเสียงพูดถึงอัตราการฉีดวัคซีนของไต้หวันที่ค่อนข้างช้าถ้าเทียบกับประเทศอื่นๆ ว่าวัคซีนที่ได้มาอาจหมดอายุก่อน เป็นการเสียของเปล่าๆ หรือที่แย่กว่านั้นคือถ้าเกิดการระบาดขึ้นในไต้หวันในช่วงที่ประเทศอื่นกำลังฟื้นฟูไต้หวันจะตกอยู่ในที่นั่งลำบากทันที
แล้วเรื่องที่หลายคนกังวลก็เกิดขึ้นจริงๆ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคมมีรายการการติดเชื้อในประเทศ เริ่มจากครอบครัวของนักบินที่ติดเชื้อมาจากต่างประเทศและคนขับรถชัตเติลบัสของโรงแรมที่ใช้กักตัวผู้ที่เพิ่งเดินทางเข้าไต้หวัน รวมทั้งสิ้น 3 คน วันต่อมาพบเคสในประเทศเพิ่ม 7 คน และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนแตะหลักร้อย ล่าสุดวันที่เรากำลังเขียนบทความนี้ วันที่ 21 พฤษภาคม มีรายงานเคสในประเทศ 312 คน
ทั่วทั้งเกาะจึงประกาศใช้มาตรการควบคุมระดับ 3 คือหลีกเลี่ยงการออกจากบ้านถ้าเป็นไปได้ ถ้าต้องออกไปข้างนอกต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ปิดสถานประกอบการเพื่อความบันเทิง ศูนย์กีฬา ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ชั่วคราว งดการรวมตัวกันเกิน 5 คนภายในสถานที่ปิด หรือ 10 คนในที่กลางแจ้ง สถานศึกษาให้สอนทางออนไลน์ ส่วนบริษัทต่างๆ ส่วนใหญ่ประกาศเวิร์กฟรอมโฮม บางส่วนแบ่งพนักงานออกเป็นกลุ่มที่ยังต้องไปบริษัท และกลุ่มที่เวิร์กฟรอมโฮม
แต่สิ่งหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าสถานการณ์ในไต้หวันน่าจะได้กลับมาเป็นปกติในอีกไม่นานคือภาครัฐมีการจัดการที่รวดเร็วและวางแผนโดยคิดถึงการใช้ชีวิตหลายด้าน ส่วนภาคเอกชนและประชาชนโดยมากก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี รัฐบาลไม่ได้สั่งล็อกดาวน์จนถึงขั้นห้ามออกไปไหนมาไหน ร้านอาหาร ตลาด และซูเปอร์มาร์เก็ตยังเปิดได้ตามปกติ โดยให้มีมาตรการลงชื่อผู้ที่เข้าใช้บริการและต้องเว้นระยะห่างอย่างเคร่งครัด ทำให้ประชาชนยังคงสามารถออกไปไหนมาไหนได้บ้าง แต่คนส่วนใหญ่ก็เลือกที่จะอยู่บ้านนอกจากจะจำเป็นต้องทำธุระข้างนอกจริงๆ
ระหว่างที่เราเขียนต้นฉบับของเดือนนี้อยู่ สถานการณ์โควิด-19 ก็กำลังระอุขึ้นมาอีกครั้งในประเทศไทย ซึ่งดูเหมือนจะน่ากลัวกว่าครั้งที่ผ่านๆ มา ส่วนไต้หวัน หลังจากที่ไม่กี่เดือนก่อนเพิ่งประสบความสำเร็จในการเปิดเส้นทางกับสาธารณรัฐปาเลาและมีข่าวว่ากำลังเตรียมตัวเปิดเส้นทางอื่นๆ เช่น ไต้หวัน-เกาะกวม และไต้หวัน-สิงคโปร์ต่อไป มาตอนนี้สถานการณ์ก็กลับกลายเป็นยอดผู้ติดเชื้อในประเทศสูงถึงหลักร้อยติดกันมาหลายวัน จนต้องประกาศห้ามชาวต่างชาติที่ไม่มีบัตรผู้พำนักอาศัยเดินทางเข้าประเทศอีกครั้ง
คอลัมน์ Made in Taiwan ครั้งนี้เลยจะพามาดูกันว่าไต้หวันเขาทำอะไรไปแล้วบ้างในช่วงที่การควบคุมโรคระบาดเริ่มอยู่ตัว และสถานการณ์ภายในประเทศกลับเป็นปกติเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ก่อนหน้านี้ และเกิดอะไรขึ้น ที่ทำให้สถานการณ์ในไต้หวันพลิกผันจนต้องประกาศให้ใช้มาตรการควบคุมการระบาดระดับ 3 ทั่วทั้งเกาะ
ไฟลต์แรกเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน โดยที่ผู้เข้าร่วมจะต้องตรวจโควิด-19 ทั้งก่อนและหลังไป ไม่ออกเที่ยวนอกเส้นทางเอง พักในโรงแรมและทานอาหารในร้านที่ทางทัวร์จัดเตรียมไว้ให้เท่านั้น อีกทั้งหลังกลับมายังต้องสังเกตอาการ หลีกเลี่ยงพื้นที่สาธารณะ ซึ่งรวมไปถึงการไปทำงานหรือโรงเรียนภายใน 14 วันหลังกลับจากการท่องเที่ยวด้วย
เพราะกฎเกณฑ์ที่เคร่งครัดนี้เองที่ทำให้ความต้องการไปเที่ยวในเส้นทางนี้ไม่เยอะเท่าที่ควร จนไฟลต์เดินทางเที่ยววันที่ 17 เมษายนต้องถูกยกเลิกไปเพราะมีคนจองไปเที่ยวเพียง 2 คน ทำให้ศูนย์บัญชาการกลางป้องกันโรคระบาดหรือ CECC ของไต้หวันต้องออกมาให้สัญญาว่าจะดำเนินการพิจารณาแก้ไขกฎระเบียบให้สะดวกกับนักท่องเที่ยวที่เข้าร่วมโครงการมากขึ้น เพื่อช่วยสนับสนุนเส้นทางนี้
นอกจากนี้ยังมีรายงานข่าวด้วยว่าไต้หวันกำลังพิจารณาเปิดเส้นทางเพิ่มเติมกับ เกาะกวมและสิงคโปร์เป็นลำดับถัดไป ซึ่งถ้าทำได้ความต้องการท่องเที่ยวต่างประเทศคงจะเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อย
ส่วนเส้นทางไต้หวัน-ไทย ในช่วงเดือนมีนาคม ก่อนที่จะเริ่มการบินเส้นทางไต้หวัน-ปาเลาครั้งแรก มีรายงานข่าวหลายชิ้นที่พูดถึงความเป็นไปได้ของเส้นทางนี้เหมือนกัน รายงานข่าวชิ้นหนึ่งโดยสำนักข่าว udn ของไต้หวันเมื่อวันที่ 23 มีนาคมบอกว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม Lin Chia-lung ได้กล่าวไว้ว่าเส้นทางถัดไปจะพยายามให้เป็นเส้นทางใกล้ๆ ที่เดินทางไม่เกิน 5 ชั่วโมง และ “ประเทศไทยมีโอกาสสูงมาก” สอดคล้องกับข่าวที่รายงานว่าผู้แทนสำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย ประจำกรุงไทเปได้เอ่ยถึงการเจรจากันระหว่างไต้หวันและไทยถึงความเป็นไปได้ที่อาจเริ่มได้ในช่วงปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า หลังจากคนส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนกันเรียบร้อยแล้ว

AUTHOR

ILLUSTRATOR

Jen.two

เจินเจิน นักออกแบบกราฟิกเเละนักวาดภาพประกอบ