ตามไปดู tête–a–tête นิทรรศการระบายความในใจของ TUNA DUNN

‘tête–a–tête’ มีความหมายถึง ‘บทสนทนาอันเป็นส่วนตัวระหว่างคนสองคน’

และเป็นชื่อของนิทรรศการเดี่ยวครั้งแรกในชีวิตของ TUNA Dunn หรือ ตุล–ตุลยา ตุลย์วัฒนจิต นักวาดการ์ตูนสาวผู้ฝากลายเส้นอันเรียบง่ายและเป็นเอกลักษณ์ไว้ในการ์ตูนของตัวเองและสื่อมากมาย

เพราะนิทรรศการครั้งนี้คือบทสนทนาที่ตุลตั้งใจจะสื่อสารกับทุกคนจริงๆ นี่จึงเป็นครั้งแรกที่เธอเลือกเล่าเรื่องราวจากประสบการณ์ชีวิตของตนเอง โดยไม่ผ่านการวางโครงเรื่อง หรือการหาแรงบันดาลใจจากสิ่งรอบตัวเหมือนที่ผ่านมา ที่สำคัญนิทรรศการครั้งนี้ไม่ได้มีแค่การ์ตูนสองมิติลายเส้นมินิมอลอย่างที่เราเคยเห็นกันเท่านั้น แต่มันคือการทดลองครั้งใหญ่ในชีวิตของตุล

tête–a–tête

ก่อนจะไปเริ่มสนทนากับผลงานศิลปะในงาน เราจึงขอชวนตุลมาเปิดบทสนทนาสั้นๆ เกี่ยวกับเส้นทางสู่การสร้างสรรค์นิทรรศการเดี่ยวครั้งแรกของตัวเอง โดยมี โบว์–พัทธมน นิศาบดี เจ้าของสารัตถะ อาร์ตสเปซจัดแสดงงานศิลปะแห่งใหม่ และร้านขายผลงานสกรีนปรินต์ผู้ริเริ่มไอเดียการจัดนิทรรศการครั้งนี้ มาช่วยเล่าเรื่องผ่านมุมมองของผู้ร่วมจัดนิทรรศการด้วย

เมื่อได้ฟังเรื่องราวของตุลมากขึ้น เชื่อเถอะว่าคุณจะได้ยินเสียงของเธอสะท้อนออกมาจากผลงานทุกชิ้นในงาน แล้วการเปิดบทสนทนากับเธอจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

tête–a–tête

บทสนทนาสู่การเริ่มต้น

ตุลเล่าว่าเธอเริ่มทำนิทรรศการนี้จากคำชักชวนของโบว์ ทั้งคู่เจอกันเมื่อตุลกลับไทยมาหลังเรียนจบปริญญาโทที่อังกฤษ และหอบแมตทีเรียลและไอเดียที่เหลือจากการเรียนมาจำนวนมาก–มากพอที่จะต่อยอดไปทำชิ้นงานอื่นๆ เธอจึงตกลงใจเริ่มต้นทำนิทรรศการในครั้งนี้

“เราว่างานของตุลเป็นตัวแทนพูดสิ่งที่อยู่ในใจของใครหลายๆ คน ลายเส้นของตุลก็สวยและต่อเนื่อง เห็นพัฒนาการมาเรื่อยๆ เรายังแปลกใจเลยว่าทำไมตุลถึงไม่มีนิทรรศการเดี่ยวสักที ทั้งๆ ที่งานของตุลตอนนี้ก็กลมกล่อมพอสำหรับการทำนิทรรศการแล้วนะ เราเองก็เริ่มสนใจด้านงานอาร์ตมากขึ้นด้วย หลังจากทำนิทรรศการที่ให้ข้อมูลเยอะๆ มาหลายปีก็เลยต้องเริ่มที่ตุลนี่แหละ” โบว์พาเราย้อนกลับไปยังวันแรกสุดของการเจรจาร่วมงานกัน

หลังจากวันนั้น ตุลจึงนำงานที่เคยทำสมัยเรียนอยู่ที่อังกฤษมาต่อยอดเป็นผลงานชิ้นใหม่ ทั้งหมดตั้งต้นจากความรู้สึกในใจที่เธอระบายออกมาเป็นการ์ตูนบนกระดาษแผ่นยาว แต่ที่พิเศษกว่านั้นคือเสียงในใจของตุลบางส่วนยังถูกนำไปต่อยอดเป็นชิ้นงานอีกหลายรูปแบบที่เธอเพิ่งทำเป็นครั้งแรกเพื่อนิทรรศการนี้

tête–a–tête

บทสนทนาที่เกิดจากความสับสนในห้องเรียนที่อังกฤษ

“ตอนอยู่อังกฤษปรับตัวยากมากเพราะเราอยู่ในระบบไทยมาตลอด เราเรียนคณะศิลปกรรมศาสตร์ที่จุฬาฯ ซึ่งตอนนั้นเป็นศิลปะเชิงพาณิชย์มาก เราถูกสั่งให้เขียนดีไซน์บรีฟตั้งแต่ปีหนึ่ง พอเรียนจบมาก็รับงานลูกค้า ทุกอย่างในชีวิตมีโจทย์มาตลอด แต่พอไปถึงอังกฤษ เขาบอกให้เราเททุกอย่างทิ้งหมดเลย

“ช่วงเข้าเทอมสองเขาปล่อยให้เราทำงานของตัวเอง ตอนนั้นเหมือนโดนปล่อยเกาะเลย  เราเครียดมาก เพราะเขาไม่ให้โจทย์อะไรสักอย่าง เราต้องหาทางทำยังไงก็ได้ให้ได้งานมา พอคิดอะไรไม่ออก เลยใช้วิธีการระบายความเครียดด้วยการเขียนการ์ตูนออกมาเป็นเส้นยาวๆ เพื่อคุยกับตัวเอง เรานั่งทำทั้งคืนแบบไม่ได้ร่างเลย พอทำเสร็จมันดูเหมือนจะเวิร์ก เลยลองเอาไปให้อาจารย์ดู”

tête–a–tête

การคุยกับอาจารย์ของตุลในวันนั้นลุล่วงไปได้ด้วยดี นี่จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นของงานชิ้นแรกในนิทรรศการ tête–a–tête อย่าง ‘Breath’ กองกระดาษขนาดยาวขยับได้ ซึ่งภายในสอดแทรกเรื่องราวความกดดันและสับสนของตุลสมัยเรียนอยู่ที่อังกฤษเอาไว้ (ตุลกระซิบว่าชิ้นที่อยู่ในนิทรรศการเป็นเวอร์ชั่น 2.0 ที่พัฒนาให้ดีขึ้นแล้ว) 

เมื่อมาถึงไทยตุลใช้การระบายสิ่งที่อยู่ในใจในแต่ละช่วงเวลามาพัฒนาเป็นชิ้นงานอื่นๆ เราเลยได้เห็นงานที่สะท้อนความล่องลอยของชีวิตในช่วงโควิด-19 รวมไปถึงเรื่องในครอบครัวของตุลเอง และหากสังเกตให้ดี เราอาจจะเจอคาแร็กเตอร์น้องหมาซ่อนอยู่ในงานบางชิ้น ซึ่งตุลบอกว่านี่คือร่างแยกของเธอที่คอยโผล่มาตามภาพเพื่อบอกให้เธอหยุดบ่นได้แล้ว!

“เราไม่ได้ตั้งใจให้ทุกเรื่องในนิทรรศการนี้เกี่ยวข้องกันหมดนะ คุณจะดูงานจากตรงไหนก่อนก็ได้ เพราะนี่ก็เป็นแค่มุมมองของคนที่มีความคิดเยอะมากๆ ในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น ความคิดนั้นทำให้เราอยากแตกกระจาย อัดอั้นจนต้องระบายออกมาผ่านการเขียน ซึ่งเป็นการเยียวยาตัวเองวิธีหนึ่ง หรือเวลาเราเองย้อนกลับมามองความรู้สึกพวกนี้มันก็สะท้อนอะไรหลายๆ อย่างในตอนนั้นเหมือนกัน”

บทสนทนาที่เข้าใจได้โดยไม่มีคำพูด

งานประติมากรรมไม้หลากหลายไซส์ งานสกรีนปรินต์รายละเอียดชัด และการ์ตูนความยาวเกือบ 20 นาที นี่คือสิ่งอื่นๆ ที่คุณจะได้เห็นเมื่อมาเยือนนิทรรศการของตุล 

ตุลบอกว่าทั้งหมดนี้คือการทดลองทำในสิ่งที่ไม่มีคำว่าผิดหรือถูก เพราะเมื่อทุกอย่างกลายเป็นชิ้นเป็นอัน ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาก็คือความภูมิใจที่เธอได้ทำในสิ่งที่อยากทำมาตลอด

“เราคิดว่าทั้งนิทรรศการเหมือนการโชว์ให้เห็นว่าการ์ตูนของเราสามารถต่อยอดไปเป็นอะไรได้บ้าง อย่างงานที่ชื่อว่า ‘Break Apart’ ก็แตกออกมาจากการ์ตูนที่เราเขียนว่าอยากถูกหักให้กระจายออกเป็นเศษๆ เราคิดว่ามันน่าสนใจดี เลยเอามาขยายเป็นประติมากรรมไม้ เพราะเราว่างานไม้มีเสน่ห์ของมัน ตอนแรกตั้งใจจะทำเป็นเวอร์ชั่นที่ตั้งได้ทั้งสองอันเลย แต่คิดว่าทำให้เห็นตอนแตกหักด้วยดีกว่าเลยได้ออกมาเป็นงานสองชิ้นที่มีฟอร์มต่างกัน (Break Apart (Seperated), Break Apart no.2) พอทำงานนี้แล้วก็อยากทำงานชิ้นใหญ่ด้วย เลยไปทำชิ้นที่กินพื้นที่ด้านนอกอีกอัน” ตุลอธิบาย

“การเล่าเรื่องด้วยวิธีการที่ไม่ใช่คอมิก จริงๆ มันคือการเปลี่ยนผ่านของเราเหมือนกัน เพราะปกติเราจะเสพลายเส้นของตุลซึ่งเป็นงานที่สื่อสารในตัว แต่ตอนนี้มันกลายเป็นการสื่อสารที่ไม่มีคำพูด บางทีเรามองงานของตุลเรายังถามตุลเลยว่าทำไมงานนี้เสียงดังจัง ทั้งๆ ที่มันไม่มีตัวหนังสือเลย” โบว์ขยายความในฐานะคนดู

“เรารู้สึกว่างานของคนที่ทำภาพประกอบส่วนใหญ่มักจะเป็นงานที่ถูกเผยแพร่ออกไปโดยสื่อต่างๆ อีกที แต่ถ้าย้อนกลับมามองจริงๆ งานพวกนี้ก็มี original piece นะ นิทรรศการครั้งนี้น่าจะทำให้คนดูได้เห็นว่าความจริงแต่ละงานมีวิธีคิด มีกระบวนการสร้างสรรค์ และมีรายละเอียดเล็กๆ ที่เราคงไม่เห็นถ้าไม่ได้มาดูของจริง เหมือนเป็นการมองตุลที่เป็นตุลจริงๆ ไม่ใช่การรู้จักตุลผ่านสื่ออื่นอีกที”

tête–a–tête

บทสนทนาถึงวันนี้และวันต่อไปของ TUNA Dunn

ถึงตุลจะมีประสบการณ์ในวงการศิลปะมานานหลายปี แต่เมื่อพูดถึงการทำนิทรรศการเดี่ยวครั้งแรกของตัวเอง เธอก็ยอมรับตรงๆ ว่านี่ไม่ใช่เรื่องง่ายเท่าไหร่

“เรากลัวงานพังมาก เพราะเราไม่ใช่คนทำงานคราฟต์และไม่เคยทำงานสามมิติจริงจังมาก่อน เราเลยชอบคิดแพลนบีว่าถ้าทำแบบที่ตั้งใจไม่ได้ ก็จะเปลี่ยนไปทำอย่างอื่น แต่พอมีพี่โบว์กับทีมมาช่วยให้คำแนะนำก็ทำให้เรารู้ว่าจริงๆ เราทำได้ หลายอันที่อยู่ในนี้ตอนแรกจะตัดออก ปรากฏว่าก็ทำได้หมดเลย” ตุลหัวเราะ 

ตุลเล่าต่อว่าอีกหนึ่งความท้าทายคือการหาจุดกึ่งกลางระหว่างสิ่งที่อยากทำกับสเปซที่มี การทำงานครั้งนี้ของเธอกับทีมสารัตถะจึงละเอียดยิบ วางแผนแล้ววางแผนอีก เมื่อได้งานมาก็จัดแล้วจัดอีก บวกกับสถานการณ์ที่ทำให้มีความจำเป็นต้องจำกัดจำนวนคนเข้าต่อรอบ บรรยากาศในงานจึงเหมือนการได้มาเริ่มต้นบทสนทนาอันเป็นส่วนตัวกับตุลอย่างแท้จริง

“แค่งานนี้เกิดขึ้นมาได้มันก็ดีมากแล้ว” ตุลกล่าว

“ในภาวะความหม่นหมองในชีวิตตอนนี้ของทุกคน ได้มาอ่านงานเราก็น่าจะเหมือนได้มาเจอคนที่คิดเหมือนกัน ตอนแรกเราก็แอบกลัวนะว่าสิ่งที่เราเล่าจะเป็นด้านลบไปหรือเปล่า เดินเข้ามาเจอคนตัวแตกสลายแบบนี้ แต่เราว่างานเรามันเป็นสีเทาอุ่นๆ นะ คือไม่ได้อ่านแล้วหม่นหมอง แต่เป็นการแชร์ความรู้สึกระหว่างกันมากกว่า

“หรือสำหรับคนที่ติดตามเราอยู่ เขาก็น่าจะได้รู้ว่าจริงๆ การ์ตูนมันกลายเป็นอะไรได้อีกเยอะ แล้วเราก็อยากให้พวกเขาได้รู้ว่านี่คือสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ในระยะเวลาที่ผ่านมา และมันจะเป็นสิ่งที่เรากำลังจะไปต่อด้วย” ตุลย์ปิดท้ายบทสนทนาระหว่างเรา

tête–a–tête

tête-à-tête จัดแสดงตั้งแต่วันที่ 29 พฤษภาคม – 11 กรกฎาคม ที่ Saratta Space ซอยเกษมสันต์ 1 Reno Hotel

และเป็นชื่อของนิทรรศการเดี่ยวครั้งแรกในชีวิตของ TUNA Dunn หรือ ตุล–ตุลยา ตุลย์วัฒนจิต นักวาดการ์ตูนสาวผู้ฝากลายเส้นอันเรียบง่ายและเป็นเอกลักษณ์ไว้ในการ์ตูนของตัวเองและสื่อมากมาย
เพราะนิทรรศการครั้งนี้คือบทสนทนาที่ตุลตั้งใจจะสื่อสารกับทุกคนจริงๆ นี่จึงเป็นครั้งแรกที่เธอเลือกเล่าเรื่องราวจากประสบการณ์ชีวิตของตนเอง โดยไม่ผ่านการวางโครงเรื่อง หรือการหาแรงบันดาลใจจากสิ่งรอบตัวเหมือนที่ผ่านมา ที่สำคัญนิทรรศการครั้งนี้ไม่ได้มีแค่การ์ตูนสองมิติลายเส้นมินิมอลอย่างที่เราเคยเห็นกันเท่านั้น แต่มันคือการทดลองครั้งใหญ่ในชีวิตของตุล
ก่อนจะไปเริ่มสนทนากับผลงานศิลปะในงาน เราจึงขอชวนตุลมาเปิดบทสนทนาสั้นๆ เกี่ยวกับเส้นทางสู่การสร้างสรรค์นิทรรศการเดี่ยวครั้งแรกของตัวเอง โดยมี โบว์–พัทธมน นิศาบดี เจ้าของสารัตถะ อาร์ตสเปซจัดแสดงงานศิลปะแห่งใหม่ และร้านขายผลงานสกรีนปรินต์ผู้ริเริ่มไอเดียการจัดนิทรรศการครั้งนี้ มาช่วยเล่าเรื่องผ่านมุมมองของผู้ร่วมจัดนิทรรศการด้วย
เมื่อได้ฟังเรื่องราวของตุลมากขึ้น เชื่อเถอะว่าคุณจะได้ยินเสียงของเธอสะท้อนออกมาจากผลงานทุกชิ้นในงาน แล้วการเปิดบทสนทนากับเธอจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
ตุลเล่าว่าเธอเริ่มทำนิทรรศการนี้จากคำชักชวนของโบว์ ทั้งคู่เจอกันเมื่อตุลกลับไทยมาหลังเรียนจบปริญญาโทที่อังกฤษ และหอบแมตทีเรียลและไอเดียที่เหลือจากการเรียนมาจำนวนมาก มากพอที่จะต่อยอดไปทำชิ้นงานอื่นๆ เธอจึงตกลงใจเริ่มต้นทำนิทรรศการในครั้งนี้
“เราว่างานของตุลเป็นตัวแทนพูดสิ่งที่อยู่ในใจของใครหลายๆ คน ลายเส้นของตุลก็สวยและต่อเนื่อง เห็นพัฒนาการมาเรื่อยๆ เรายังแปลกใจเลยว่าทำไมตุลถึงไม่มีนิทรรศการเดี่ยวสักที ทั้งๆ ที่งานของตุลตอนนี้ก็กลมกล่อมพอสำหรับการทำนิทรรศการแล้วนะ เราเองก็เริ่มสนใจด้านงานอาร์ตมากขึ้นด้วย หลังจากทำนิทรรศการที่ให้ข้อมูลเยอะๆ มาหลายปีก็เลยต้องเริ่มที่ตุลนี่แหละ” โบว์พาเราย้อนกลับไปยังวันแรกสุดของการเจรจาร่วมงานกัน
หลังจากวันนั้น ตุลจึงนำงานที่เคยทำสมัยเรียนอยู่ที่อังกฤษมาต่อยอดเป็นผลงานชิ้นใหม่ ทั้งหมดตั้งต้นจากความรู้สึกในใจที่เธอระบายออกมาเป็นการ์ตูนบนกระดาษแผ่นยาว แต่ที่พิเศษกว่านั้นคือเสียงในใจของตุลบางส่วนยังถูกนำไปต่อยอดเป็นชิ้นงานอีกหลายรูปแบบที่เธอเพิ่งทำเป็นครั้งแรกเพื่อนิทรรศการนี้
“ตอนอยู่อังกฤษปรับตัวยากมากเพราะเราอยู่ในระบบไทยมาตลอด เราเรียนคณะศิลปกรรมศาสตร์ที่จุฬาฯ ซึ่งตอนนั้นเป็นศิลปะเชิงพาณิชย์มาก เราถูกสั่งให้เขียนดีไซน์บรีฟตั้งแต่ปีหนึ่ง พอเรียนจบมาก็รับงานลูกค้า ทุกอย่างในชีวิตมีโจทย์มาตลอด แต่พอไปถึงอังกฤษ เขาบอกให้เราเททุกอย่างทิ้งหมดเลย
“ช่วงเข้าเทอมสองเขาปล่อยให้เราทำงานของตัวเอง ตอนนั้นเหมือนโดนปล่อยเกาะเลย  เราเครียดมาก เพราะเขาไม่ให้โจทย์อะไรสักอย่าง เราต้องหาทางทำยังไงก็ได้ให้ได้งานมา พอคิดอะไรไม่ออก เลยใช้วิธีการระบายความเครียดด้วยการเขียนการ์ตูนออกมาเป็นเส้นยาวๆ เพื่อคุยกับตัวเอง เรานั่งทำทั้งคืนแบบไม่ได้ร่างเลย พอทำเสร็จมันดูเหมือนจะเวิร์ก เลยลองเอาไปให้อาจารย์ดู”
การคุยกับอาจารย์ของตุลในวันนั้นลุล่วงไปได้ด้วยดี นี่จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นของงานชิ้นแรกในนิทรรศการ tête–a–tête อย่าง ‘Breath’ กองกระดาษขนาดยาวขยับได้ ซึ่งภายในสอดแทรกเรื่องราวความกดดันและสับสนของตุลสมัยเรียนอยู่ที่อังกฤษเอาไว้ (ตุลกระซิบว่าชิ้นที่อยู่ในนิทรรศการเป็นเวอร์ชั่น 2.0 ที่พัฒนาให้ดีขึ้นแล้ว) 
เมื่อมาถึงไทยตุลใช้การระบายสิ่งที่อยู่ในใจในแต่ละช่วงเวลามาพัฒนาเป็นชิ้นงานอื่นๆ เราเลยได้เห็นงานที่สะท้อนความล่องลอยของชีวิตในช่วงโควิด-19 รวมไปถึงเรื่องในครอบครัวของตุลเอง และหากสังเกตให้ดี เราอาจจะเจอคาแร็กเตอร์น้องหมาซ่อนอยู่ในงานบางชิ้น ซึ่งตุลบอกว่านี่คือร่างแยกของเธอที่คอยโผล่มาตามภาพเพื่อบอกให้เธอหยุดบ่นได้แล้ว!
“เราไม่ได้ตั้งใจให้ทุกเรื่องในนิทรรศการนี้เกี่ยวข้องกันหมดนะ คุณจะดูงานจากตรงไหนก่อนก็ได้ เพราะนี่ก็เป็นแค่มุมมองของคนที่มีความคิดเยอะมากๆ ในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น ความคิดนั้นทำให้เราอยากแตกกระจาย อัดอั้นจนต้องระบายออกมาผ่านการเขียน ซึ่งเป็นการเยียวยาตัวเองวิธีหนึ่ง หรือเวลาเราเองย้อนกลับมามองความรู้สึกพวกนี้มันก็สะท้อนอะไรหลายๆ อย่างในตอนนั้นเหมือนกัน”

AUTHOR

PHOTOGRAPHER

ดวงสุดา กิตติวัฒนานนท์

ช่างภาพนิตยสาร a day ผู้ชอบกินอาหารที่ถ่าย