Machine Age Workshop : ร้านเฟอร์นิเจอร์กลิ่นอเมริกันวินเทจของคนรุ่นใหม่หัวใจเก่า

นอกจากเอกมัยจะเป็นย่านเก๋รวมคาเฟ่สไตล์จัดจ้านแล้ว ภายในซอยเอกมัย 15 ยังเป็นที่ซ่อนตัวของแวร์เฮาส์ขนาดใหญ่ชื่อ Machine Age Workshop ศูนย์รวมเฟอร์นิเจอร์นำเข้าที่มีข้าวของสไตล์วินเทจในยุคอินดัสเทรียลแทรกอยู่ทุกตารางนิ้ว ตามความตั้งใจของเหล่าหุ้นส่วนในร้าน เราแวะไปพูดคุยกับ เคย์-ปริญญ์ โชติกเสถียร ดีไซเนอร์สาว กับ ปั๊ม-ปิย์นาท กรัดศิริ นักดนตรีอิสระ หุ้นส่วน 2 ใน 4 ของ Machine Age Workshop พวกเขาจะเป็นตัวแทนมาเล่าความมุ่งมั่นนี้ให้ฟังกัน

เริ่มจากความชอบที่เหมือนกัน
ปิย์นาท: “เริ่มจากเรามีหุ้นส่วนอีก 2 คนคือ David Bank เชฟลูกครึ่งไทยและ Victor Wright พนักงานบริษัทที่ใช้เวลาว่างจากงานประจำออกตามล่าของวินเทจจากงานแฟร์และฟาร์มในที่ต่างๆ ทั้งสหรัฐอเมริกา เม็กซิโก หรือยุโรป เขาสะสมของในยุค Machine Age หรือยุคอุตสาหกรรมรุ่งเรืองที่ผู้คนให้ความสำคัญกับการออกแบบมาก เก็บสะสมกันมานานกว่า 10 ปี เลยตัดสินใจที่จะแบ่งปันเสน่ห์และเรื่องราวสิ่งของเหล่านี้จนเกิดเป็นที่นี่ขึ้นมา”

ปริญญ์: “ต้องเท้าความก่อนว่าเราเป็นดีไซเนอร์มา 15 ปี อยู่ในวงการแฟชั่นและศิลปะมาตลอด ปั้มเองก็เป็นนักดนตรี ส่วนเดวิดก็สะสมของวินเทจยุคนี้มาเป็น 10 ปีแล้ว พอได้คุยกัน เขาก็รู้ว่าเราชอบอะไร สนใจด้านไหน ก็เริ่มจากลองปรึกษากันว่าคนไทยชอบแบบนี้ไหม เพราะเป็นสิ่งที่เดวิดมีอยู่ที่โน่นอยู่แล้ว แล้วเราก็ตอบเร็วมากภายใน 5 นาทีว่า ‘ทำเลย’ เขาก็ตกใจกันนะ เพราะถ้าย้อนกลับไป 4 ปีที่แล้ว เทรนด์ยุคอินดัสเทรียลยังไม่มีเลย แต่เราก็ตัดสินใจทำด้วยความชอบที่เหมือนกัน”

 

 

ของที่มีชิ้นเดียวในโลก
ปิย์นาท: “ที่ผ่านมาเราสนใจข้าวของวินเทจอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นหนังสือแผ่นเสียงกีตาร์อุปกรณ์ดนตรีช่วงยุค 40-60s สนใจประวัติศาสตร์ของแต่ละชิ้นยิ่งถ้าหายากหรือมีชิ้นเดียวทำไมเราจะไม่อยากเก็บไว้ในอดีตก่อนที่โลกจะเชื่อมโยงกันเหมือนสมัยนี้ข้าวของแต่ละอย่างจะมีคาแรกเตอร์ส่วนตัวมีจิตวิญญาณด้วยหน้าที่ที่มันตอบสนองวิถีชีวิตของคนยุคนั้นในสถานที่นั้นๆเช่นเครื่องบดเนื้อหรือเครื่องมือที่ใช้ในฟาร์มหน้าที่มันชัดเจนกว่าปัจจุบันมากว่าใช้ทำอะไรตรงไปตรงมาง่ายและแข็งแรง”

เหมาะกับคนรักเดียวใจเดียว
ปริญญ์: “ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นคนที่ชอบสะสมของวินเทจอยู่แล้วแต่สิ่งที่แปลกคือไม่มีกลุ่มคนแฟชั่นเลยเพราะคนกลุ่มนี้เป็นพวกเปลี่ยนเร็วถ้าอะไรฮิตก็จะไปตามนั้นแต่คนที่เขารู้คุณค่าและอยากสะสมจะชัดเจนมากตอนแรกที่ทำกันก็ไม่คิดว่าจะขนาดนี้คนที่มาซื้อตั้งแต่วันแรกและยังซื้อจนถึงวันนี้เป็นลูกค้าวีไอพีก็มี (หัวเราะ) เราจะมีของนำเข้ามาเรื่อยๆปีละ 2-3 ครั้งลูกค้าจะเฝ้ารอเลยยิ่งรู้ว่าเขาชอบเพราะคุณค่าของมันยิ่งรู้สึกดีเขามาดูมาศึกษาประวัติบางคนซื้อไปตกแต่งบ้านเขารู้สึกว่าห้องเขายังขาดชิ้นนี้ที่จะไปอยู่ตรงมุมห้องหรือคนที่มีธุรกิจร้านอาหารโรงแรมที่มีเอกลักษณ์หน่อยก็จะเป็นกลุ่มคนคล้ายๆกันที่มีธุรกิจแตกต่างกันไป”

ปิย์นาท: “ของวินเทจบางชิ้นก็วางขายอยู่นาน ไม่ไปสักที แต่ของพวกนี้เหมือนมีเนื้อคู่ของเขา
วันหนึ่งอาจจะมีอะไรเปล่งประกายขึ้นมาทำให้คนเห็นทั้งๆ ที่วางมา 3 ปีแล้ว อีกอย่างคือพวกเราไม่ได้ขายสินค้าแฟชั่นที่จะลดราคาได้ เพราะทุนค่อนข้างสูงและของก็มีคุณค่าของมัน
ทำให้บางทีจะระบายสินค้าเก่าก็ลำบาก แต่พอถึงเวลาพอเจอเนื้อคู่แล้วมันก็ไปของมันเอง
(หัวเราะ)”

จัดวางของเก่าเพื่อสร้างอารมณ์ใหม่
ปริญญ์: “เรามีคุณจิ๊บเมเนเจอร์ของร้านที่จบด้านสถาปัตย์ฯมาช่วยตกแต่งร้านให้คนได้เห็นมู้ดมากขึ้นโดยจัดวางตามลักษณะการใช้งานเช่นของที่ใช้ในห้องครัวห้องรับแขกแต่ก็ขึ้นอยู่กับของที่เราได้มาด้วยอย่างล็อตไหนที่เราได้เก้าอี้มาเยอะก็ลองเอามาจัดวางด้วยกันไปเลยก็ดูสวยไปอีกแบบส่วนหลังบ้านจะไว้เก็บสินค้าสำรองซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ชำรุดระหว่างการขนส่งเช่นขาโยกกระจกแตกเราจะค่อยๆทยอยซ่อมแล้วนำออกมาขายซึ่งไม่ได้สต็อกค้างโกดังกันขนาดนั้นหรอกเพราะของเก่ามีจำนวนไม่เยอะอยู่แล้วส่วนใหญ่ก็เอามาจัดโชว์ให้รับชมที่นี่”

ปิย์นาท: “ของบางชิ้นเราต้องนำมาบูรณะบ้างในขณะที่บางชิ้นก็มาสภาพดีมากอยู่แล้วแค่เอามาปัดฝุ่นและจัดให้มันอยู่ในที่ที่คนจะเข้าถึงได้ชัดเจนให้มันแสดงคาแรกเตอร์ออกมาอย่างที่เราอยากจะนำเสนอเราทำอย่างเป็นมิตรให้คนสบายใจที่จะเข้ามาพูดคุยเพื่อบอกความต้องการกับเราทุกคนในทีมจะรู้หมดว่าของแต่ละชิ้นมีหน้าที่อะไรแก้ไขต่อเติมได้ยังไงลูกค้าอยากรู้อะไรเราจะตอบได้หมด”

ต่อยอดสู่ธุรกิจใหม่
ปริญญ์: “มีธุรกิจต่อยอดที่ไม่ได้วางแผนไว้แต่แรกคือการผลิตสินค้าใหม่ตามออเดอร์ของลูกค้ามันเริ่มจากที่เราได้ขาโต๊ะเหล็กมาเป็นชิ้นๆเลยต้องมาเสริมด้านบนให้คนเห็นว่าสิ่งนี้คือขาโต๊ะนะเป็นทั้งโต๊ะกินข้าวโต๊ะกาแฟซึ่งมีความสูงแตกต่างกันสิ่งสำคัญคือการนำไม้ที่ได้มาสร้างส่วนท็อปของโต๊ะให้พอดีกับขาแต่ละคู่ที่สนุกคือเรื่องของสีเรามีสีให้เลือกได้รับทำทั้งโต๊ะเก้าอี้บาร์เคาน์เตอร์ให้กับร้านอาหารต่างๆยกตัวอย่างเช่นบาร์ที่ Studio Lam และ Soul Bar ที่เราสองคนเป็นหุ้นส่วนก็ใช้ผลิตภัณฑ์จากที่นี่”

บทเรียนที่ยังไม่จบ
ปริญญ์: “จริงๆวันนี้ก็ยังเรียนอยู่ (หัวเราะ) เบื้องต้นเลยคือเราชอบของเก่าอย่างเดียวไม่พอต้องมีความรู้ด้วยยิ่งเราทำการตลาดกันเองใช้โซเชียลมีเดียเป็นสื่อก็ยิ่งจำเป็นต้องรู้ข้อมูลที่ถูกต้องอย่างเรารู้ว่าชิ้นนี้เป็นของยุค 50’s แล้วมันยังไงต่อนี่คือชื่อของโรงงานที่ผลิตสิ่งนี้นะเรียกว่าเป็นวิชาเรียนเพิ่มเติมเชิงข้อมูลดีกว่า”

ปิย์นาท: “เราโชคดีมากที่ได้มาทำร้านนี้ได้เจอได้พูดคุยกับลูกค้าเก่งๆหลากหลายอาชีพที่น่าสนใจเยอะมากและได้นำเสนออารมณ์จินตนาการของข้าวของแต่ละชิ้นในแบบของเราให้ลูกค้าได้จินตนาการต่อว่าจะมิกซ์แอนด์แมทช์ของที่ซื้อจากเราไปกับของที่มีอยู่แล้วยังไงเพื่อให้ลูกค้าเข้าใจคุณค่าของวินเทจมากขึ้นเป็นเรื่องที่สนุกและน่าสนใจเสมอ

ไม่เสียใจที่ได้ทำ
ปริญญ์: “เปิดมา 3 ปีแล้วผลตอบรับดีเลยนะเราไม่ได้คาดหวังไว้ว่าจะต้องดีขนาดไหนสิ่งที่เราไม่คาดคิดไว้มันก็เกิดขึ้นและเป็นไปด้วยดีทั้งออเดอร์สินค้าใหม่และโปรเจกต์อื่นๆที่เกิดขึ้นต่อยอดจากการทำร้านนี้รวมถึงลูกค้าวีไอพีที่ยังน่ารักทุกคนลูกค้าต่างชาติก็มามากขึ้นมันไม่ใช่คำว่าประสบความสำเร็จทีเดียวแต่มันสนุกและดีใจที่ได้ทำมากกว่า”

“ลูกค้าเราไม่มีกลุ่มคนแฟชั่นเลย เพราะคนกลุ่มนี้เป็นพวกเปลี่ยนเร็ว ถ้าอะไรฮิตก็จะไปตามนั้น แต่คนที่รู้คุณค่าของวินเทจและอยากสะสมจะชัดเจนมาก มีคนที่มาซื้อตั้งแต่วันแรกและยังซื้อจนถึงวันนี้
เป็นลูกค้าวีไอพีก็มี”

Machine
Age Workshop

ประเภทธุรกิจ: ร้านเฟอร์นิเจอร์
คอนเซปต์: ร้านเฟอร์นิเจอร์วินเทจสไตล์อเมริกันอินดัสเทรียล (Vintage Industrial Americana)
เจ้าของ: ปริญญ์ โชติกเสถียร (40 ปี) และปิย์นาท กรัดศิริ (39 ปี)
Facebook
|
Machine Age Workshop
Instagram
|
machineageworkshop

ภาพ ชนพัฒน์ เศรษฐโสรัถ

AUTHOR