MAJA HOTEL KYOTO โรงแรมหนึ่งเดียวในญี่ปุ่นที่ Marimekko ดีไซน์ผ้าปูเตียงจนถึงชุดพนักงาน

maja hotel kyoto

หลายๆ โรงแรมยึดถือหลักในการออกแบบว่าต้องอยู่สบายเหมือนได้นอนอยู่บ้าน

MAJA HOTEL KYOTO ก็เช่นกัน maja เป็นภาษาฟินนิชแปลว่า hut หรือกระท่อม แต่กระท่อมหลังนี้ไฮโซนิดหน่อยนะ เพราะเครื่องนอน ปลอกหมอน ผ้าห่ม ผ้าม่านนั้นเป็นดีไซน์พิเศษที่ Marimekko ออกแบบมาให้โดยเฉพาะ แถมยังทำสินค้าที่ระลึกแบบ limited edition ที่ล้วนมีลายของ Marimekko วางขายที่นี่เท่านั้นด้วย ไม่ว่าจะเป็นกระเป๋าใส่ของจุกจิก ถุงผ้า และปลอกหมอน ที่น่าอิจฉาคือเครื่องแบบพนักงานโรงแรมก็ออกแบบโดย Marimekko!

อ่านมาถึงบรรทัดนี้ยังไม่ต้องรีบวิ่งไปเก็บเงินหลายหลักเพื่อมานอนพักที่นี่ ขอบอกว่าราคาต่อคืนเอื้อมถึงได้อย่างไม่น่าเชื่อ เพราะ MAJA HOTEL KYOTO คือแคปซูลโฮเทล!

MAJA HOTEL KYOTO
MAJA HOTEL KYOTO

“Capsule hotel เป็นอีกหนึ่งวัฒนธรรมของญี่ปุ่นที่โดดเด่นจนคนต่างชาติอยากมาลอง ส่วนมากคนทั่วไปจะมองว่าแคปซูลโฮเทลเป็นแค่ที่ซุกหัวนอน แต่อย่างที่เห็นว่าที่นี่ไม่ได้เป็นแบบนั้นเลย”

Yoshitaka Ikeda ผู้จัดการโรงแรมที่จะพาเราไปทำความรู้จักที่นี่เริ่มเล่าด้วยรอยยิ้มอันเป็นมิตร ก่อนจะอธิบายเพิ่มเติมว่าดีไซเนอร์ชาวฟินแลนด์เป็นคนออกแบบโรงแรมทั้งหมดตั้งแต่รูปลักษณ์ภายนอก การตกแต่งภายใน รวมไปถึงออกแบบเฟอร์นิเจอร์ โคมไฟ ลายผ้า ยันกระเบื้องบนผนัง

ทำไมแบรนด์ดังอย่าง Marimekko ถึงมาคอลแล็บกับแคปซูลโฮเทล? โรงแรมสไตล์ฟินแลนด์เท่ๆ มาทำอะไรในเกียวโตอันเต็มไปด้วยวัฒนธรรมตามขนบญี่ปุ่นดั้งเดิม? ทั้งหมดนี้อิเคดะซังช่วยตอบให้

และเมื่ออ่านจนถึงบรรทัดสุดท้าย คุณอาจจะอยากเริ่มเก็บเงินอยู่ดี จะได้นอนพักที่นี่ได้นานๆ

MAJA HOTEL KYOTO

เรื่องราวเริ่มต้นจากนักออกแบบญี่ปุ่นในฟินแลนด์

Fujiwo Ishimoto ไม่ได้เป็นนักธุรกิจเจ้าของโรงแรม แต่เป็นนักออกแบบลายผ้าและเซรามิกชาวญี่ปุ่นฝีมือดี

ชายผู้นี้ทำงานกับ Marimekko มาตั้งแต่ปี 1974 ออกแบบผ้าให้แบรนด์ดังกว่า 400 ลวดลาย กวาดรางวัลมาหลายรายการ แม้ปัจจุบันจะย้ายกลับมาอยู่ญี่ปุ่นและอายุ 80 ปีแล้ว แต่เขาก็ยังทำงานออกแบบให้กับแบรนด์ยอดนิยมจากฟินแลนด์อย่างสม่ำเสมอ จุดเด่นของเขาคือการใช้เทคนิค สีสัน และสไตล์หลากหลาย แต่ทั้งหมดมักจะสื่อถึงธรรมชาติและสะท้อนความงามในแต่ละฤดู ผลงานของดีไซเนอร์สุดเก๋าที่คนไทยน่าจะคุ้นตากันดีคือผ้าลาย onni, kuja, kesanto และ suvi

ผ้าลาย Onni | credit : franckly.com
ผ้าลาย Kuja จากหนังสือ Fujiwo Ishimoto Works: Textile and Ceramic โดย Fujiwo Ishimoto| Credit : pie.co.jp

“บ้านเกิดของฟูจิโอะซังอยู่ที่จังหวัดเอฮิเมะ เขาได้เข้าร่วมแสดงผลงานในอีเวนต์ศิลปะที่แหล่งน้ำพุร้อน Dogo Onsen ในจังหวัดด้วย ตอนนั้นสถานที่จัดแสดงผลงานของเขาคือเรียวกังชื่อ CHAHARU ซึ่งเป็นโรงแรมในเครือเดียวกันกับ MAJA HOTEL KYOTO” อิเคดะเริ่มเล่าที่มาของการจับคู่อันน่าประหลาดใจ

เมื่อได้ร่วมงานกันอย่างราบรื่นและผลตอบรับดีเยี่ยม ท่านประธาน CHAHARU ก็ประทับใจมากจึงไหว้วานให้ดีไซเนอร์คนดังช่วยออกแบบห้องพักเก๋ไก๋ในเรียวกัง CHAHARU จนได้ห้องสไตล์ญี่ปุ่นที่มีเสื่อทาทามิและลายแบบ Marimekko ผสมผสานกันอย่างลงตัว

เอาล่ะ ไหนๆ คนญี่ปุ่นก็ชอบแบรนด์ฟินนิชแบรนด์นี้มากอยู่แล้ว และท่านประธานของเรียวกังเองก็อยากเปิดโรงแรมที่เกียวโตพอดี ก็เลยใช้ธีมฟินนิชดีไซน์ต่อเนื่องซะเลย

Fujiwo Ishimoto | Photo Courtesy of the Artist

เรื่องราวที่เกิดขึ้นในเกียวโต

ถ้าจะเน้นความเป็นฟินแลนด์ ทำไมถึงเลือกตั้งโรงแรมที่เกียวโต เมืองซึ่งมีภาพลักษณ์ดูจะไปคนละทาง อิเคดะซังได้ฟังก็ถึงกับอมยิ้มนิดๆ เหมือนรอคำถามนี้มานาน

“เราตั้งใจออกแบบโรงแรมให้มีบรรยากาศเหมือนได้มาเที่ยวฟินแลนด์ก็จริงแต่ต้องอยู่สบายด้วย อุปกรณ์การใช้งานต่างๆ ต้องดีและใช้ได้จริง แม้จะเป็นโรงแรมแคปซูลแต่ต้องรู้สึกใกล้ชิดกับธรรมชาติเพราะพูดถึงประเทศฟินแลนด์ เราคิดถึงธรรมชาติ ป่าเขาอันเงียบสงบ ซึ่งญี่ปุ่นเองก็มีธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์เหมือนกัน นับเป็นจุดร่วมที่น่าสนใจ การใช้ไม้ยังเป็นวัฒนธรรมที่คนญี่ปุ่นผูกพันเลยรับวัฒนธรรมและดีไซน์แบบฟินแลนด์ได้ง่าย สาวญี่ปุ่นแฟนคลับ Marimekko สะพายกระเป๋าลายอูนิโกะมาพักกันเยอะเลย

MAJA HOTEL KYOTO

“ในเมื่อดีไซน์ของฟินแลนด์เป็นที่ชื่นชอบในหมู่คนญี่ปุ่นอยู่แล้ว ส่วนผู้บริหารของเราก็ทำเรียวกังมานาน มีความเชี่ยวชาญเรื่องการบริการเป็นอย่างดี เลยคิดว่ามาเปิดที่เกียวโตได้ไม่มีปัญหา นอกจากนี้การเติมความเป็นญี่ปุ่นลงไปในดีไซน์ของฟินแลนด์น่าจะทำให้เกิดค่านิยมใหม่ๆ เพราะเป็นเรื่องที่ยังไม่มีคนลองทำ อย่างน้อยคนน่าจะสนใจมาก ทั้งในแง่ที่ว่า Marimekko มาทำอะไรที่นี่ และความงงว่าทำไมมาเปิดที่เกียวโต” ผู้จัดการโรงแรมเล่าติดตลกก่อนเสริมว่า

“เกียวโตเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีคนมาทำคอนเทนต์มากมาย หลังจากไปเที่ยวมาทั้งวัน เสพความเป็นเกียวโตเต็มที่แล้ว การได้กลับมาพักผ่อนในที่บรรยากาศสบายๆ และแตกต่างไปเลยก็น่าจะทำให้คนที่มารู้สึกสนุกไปอีกแบบ”

ส่วนเราแอบคิดถึงบทสัมภาษณ์ที่ฟูจิโอะพูดถึงความป๊อปของ Marimekko และความไทม์เลสของลายผ้าที่ออกแบบในยุค 70s ซึ่งยังได้รับความนิยมถึงปัจจุบันไว้ว่า “ถ้าดีไซน์ดี ยังไงก็ขายได้”

MAJA HOTEL KYOTO
MAJA HOTEL KYOTO

สานต่อเรื่องราวให้สมบูรณ์โดย Harri Koskinen

สำหรับโปรเจกต์ในเกียวโต ฟูจิโอะส่งไม้ต่อให้ Harri Koskinen นักออกแบบผลิตภัณฑ์ชื่อดังจากฟินแลนด์ ผู้ที่นอกจากจะได้รางวัลมากมายแล้วยังเคยเป็นดีไซน์ไดเรกเตอร์ให้แบรนด์เครื่องครัวเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารยอดนิยมอย่าง Iittala ด้วย

คอนเซปต์หลักที่เขาใช้ในการออกแบบ MAJA HOTEL KYOTO คือการสร้างพื้นที่ที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลายและอบอุ่นเหมือนอยู่บ้าน ทางเข้าที่พักทั้งสำหรับแขกแบบ sleep-in (ห้องแคปซูลแบบคลานเข้าไปนอน) และ walk-in (เดินเข้าไปนอนได้) จึงทำเป็นทรงบ้าน มีหลังคา และลงรายละเอียดสุดคราฟต์แทบทุกจุด ตั้งแต่ลายไม้ยันการใช้แสง เฟอร์นิเจอร์ ปลั๊กไฟ ไม้แขวนเสื้อ สวิตช์ไฟ ระบบหรี่ไฟ/ตั้งปลุก งานกราฟิก ฯลฯ แฮร์รี่ก็ลงมือออกแบบเองใหม่ทั้งหมดเพื่อที่นี่โดยเฉพาะ รวมไปถึงออกแบบรูปกระท่อมที่เป็นโลโก้ของโรงแรมด้วย

ส่วน Marimekko นำดีไซน์ของโลโก้และธีมกระท่อมไปออกแบบเครื่องนอนต่อ ลายผ้าม่านและกระเป๋าจึงเห็นความเป็น Marimekko ชัดเจน แต่เมื่อดูจากรูปในเว็บจะเห็นเครื่องนอนไร้ลวดลายสีขาวสะอาดตาเท่านั้น เพราะพวกเขาอยากให้แขกลองมานอนจริงๆ ถึงจะได้เห็นลายสุดเท่ที่ถูกซ่อนไว้ภายใต้ความมินิมอล

MAJA HOTEL KYOTO
MAJA HOTEL KYOTO

“จุดเด่นของที่นี่อีกอย่างคือคาเฟ่ที่มาจากฟินแลนด์เหมือนกัน ทั้งที่นอน ที่กิน เป็นฟินแลนด์ในทุกสเตปการพักผ่อน มีขนมและอาหารชื่อดังของฟินแลนด์ให้ลองกินด้วย เช่น ซุปแซลมอนและซินนามอนโรล” 

คาเฟ่ที่อิเคดะซังพูดถึงคือ Cafe Aalto ซึ่งอยู่ชั้น 1 เปิดให้คนทั่วไปเข้ามากินได้ ส่วนแขกที่มาพักสามารถตื่นแล้วเดินลงบันไดวนเก๋ๆ ไปกินข้าวในคาเฟ่ชิคๆ ได้เลย ความพิเศษคือที่นี่คือที่แรกที่ Cafe Aalto ยอมบินจากฟินแลนด์มาเปิดสาขาที่ต่างประเทศ นอกจากจะพาเมนูต้นตำรับมาด้วยแล้ว เก้าอี้ โต๊ะ และสิ่งประดับตกแต่งอื่นๆ อย่างหนังสีดำ ทองเหลือง และกระเบื้องสีน้ำเงินบนผนังก็ทำเหมือนสาขาแรกในร้านหนังสือ Helsinki Academic Bookstore เป๊ะๆ แม้ แฮร์รี่จะไม่ได้ออกแบบร้านนี้ แต่แน่นอนว่าเป็นผลงานของสถาปนิกชื่อดังชาวฟินแลนด์เช่นกัน

ดีไซน์แบบฟินนิช ฐานคิดแบบคนญี่ปุ่น และงานคราฟต์

บทบาทของแฮร์รี่ไม่จบแค่การออกแบบส่วนต่างๆ ของโรงแรม แต่รวมไปถึงการผลิตเฟอร์นิเจอร์ด้วย

แม้องค์ประกอบทุกอย่างจะเป็นงานฟินนิชดีไซน์ แต่หลายชิ้นก็ made in japan เป็นการคอลแล็บกับช่างฝีมือในท้องถิ่นจังหวัดอิวาเตะภายใต้แบรนด์ iwatemo แบรนด์ที่เกิดขึ้นเพราะดีไซเนอร์ชาวฟินแลนด์อยากอนุรักษ์และเผยแพร่งานคราฟต์ท้องถิ่นของญี่ปุ่นที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวและสึนามิครั้งใหญ่ในปี 2011 

จังหวัดอิวาเตะโดดเด่นเรื่องงานช่าง 3 ประเภท คืองานไม้ งานเหล็ก (Nambu Tekki) และงานเซรามิก ถึงแม้จะมีประวัติศาสตร์ยาวนาน ฝีมือดีเป็นที่ยอมรับ แต่ช่างในท้องถิ่นมักจะทำงานในสตูดิโอเล็กๆ ของตัวเอง ทำให้มีข้อจำกัดหลายอย่าง เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การขยายช่องทางการจำหน่าย อีกทั้งยังมีปัญหาทางการเงินและปัญหาเรื่องผู้สืบทอดด้วย เมื่อจังหวัดอิวาเตะได้รับความเสียหายหนักในปี 2011 ทางฟินแลนด์จึงติดต่อมาเพื่อให้ความช่วยเหลือในการอนุรักษ์งานฝีมือในท้องถิ่นเอาไว้

ผู้เชี่ยวชาญที่ถูกส่งตัวมาช่วยในตอนนั้นคือแฮร์รี่และ Ville Kokkonen สองดีไซเนอร์ตัวท็อปที่เห็นคุณค่าของทักษะงานช่างและอยากช่วยโปรโมตงานไปยังต่างประเทศ ทั้งสองจึงฟอร์มทีมกับช่างฝีมือในท้องถิ่นสร้างแบรนด์ iwatemo ขึ้นมาเพื่อทำเฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ในบ้าน 24 ชิ้น แบ่งเป็น 3 ไลน์ คือเครื่องเหล็ก เก้าอี้ไม้ และกระเบื้อง ซึ่งขายทั้งในและนอกประเทศภายใต้คอนเซปต์หลักคือ ‘fuse traditional craftsmanship with modern sensibility’

แฮร์รี่ยังบอกอีกว่าเขามองเห็นจุดร่วมระหว่างฟินแลนด์และอิวาเตะที่น่าจะไปด้วยกันได้ ซึ่งเราไม่แปลกใจเท่าไหร่เพราะเคยไปงานนิทรรศการศิลปะในเดนมาร์กที่นำเสนอเรื่องราวความสอดคล้องกันระหว่างค่านิยมทางความงามของญี่ปุ่นและฝั่งสแกนดิเนเวีย นิทรรศการนั้นบอกว่าแม้จะอยู่คนละมุมโลกแต่การที่สภาพภูมิศาสตร์คล้ายกันหลายอย่างนั้นส่งผลต่อการสร้างสรรค์งานของศิลปินรวมไปถึงรสนิยมความชอบในดีไซน์

งาน Silent Beauty นิทรรศการศิลปะในฟินแลนด์ที่เล่าถึงความสัมพันธ์ของศิลปะสแกนดิเนเวียนกับเอเชียตะวันออกก็สรุปไว้ว่า จุดร่วมสำคัญระหว่างญี่ปุ่นกับฟินแลนด์ที่มีผลต่อการออกแบบคือ ความสัมพันธ์กับธรรมชาติและการมองเห็นความงดงามในความเรียบง่ายในชีวิตประจำวัน อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับของเก่าแต่ไม่หยุดอยู่ที่เดิม มีการนำองค์ประกอบใหม่ๆ ใส่เข้าไปในของเก่าเพื่อพัฒนาต่อไป

แบรนด์ iwatemo ถือเป็นตัวอย่างที่สะท้อนค่านิยมนั้นได้ดี เก้าอี้ไม้ทุกตัวในโรงแรมและคาเฟ่คืองานแฮนด์เมดของช่างไม้จากอิวาเตะที่แต่ละคนจะลงมือทำเองทั้งชิ้นตั้งแต่เลือกไม้จนจบงาน เวลานั่งลงบนเก้าอี้ที่แสนน่ารักเหล่านั้นอาจจะสัมผัสได้ถึงความมุ่งมั่นของช่างญี่ปุ่นก็ได้นะ

เมื่อรู้เรื่องราวเบื้องหลังระดับนี้ จึงอาจเรียกได้ว่า MAJA HOTEL KYOTO ไม่ได้เป็นแค่โรงแรมสไตล์ฟินแลนด์ที่ตั้งอยู่ในญี่ปุ่นเฉยๆ แต่เป็นพื้นที่ตรงกลางที่เชื่อมโยงระหว่างสองประเทศเข้าด้วยกัน ตั้งแต่ระดับดีไซน์ไปจนถึงจิตวิญญาณ

บทบาทของ Harri ไม่จบแค่การออกแบบส่วนต่างๆ ของโรงแรม แต่รวมไปถึงการผลิตเฟอร์นิเจอร์ด้วย
แม้องค์ประกอบทุกอย่างจะเป็นงานฟินนิชดีไซน์แต่หลายชิ้นก็ made in japan เป็นการคอลแลบกับช่างฝีมือในท้องถิ่นจังหวัดอิวาเตะภายใต้แบรนด์ iwatemo แบรนด์ที่เกิดขึ้นเพราะดีไซเนอร์ชาวฟินแลนด์อยากอนุรักษ์และเผยแพร่งานคราฟต์ท้องถิ่นของญี่ปุ่นที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวและสึนามิครั้งใหญ่ในปี 2011 
จังหวัดอิวาเตะโดดเด่นเรื่องงานช่าง 3 ประเภทคืองานไม้ งานเหล็ก (Nambu Tekki) และงานเซรามิก ถึงแม้จะมีประวัติศาสตร์ยาวนาน ฝีมือดีเป็นที่ยอมรับ แต่ช่างในท้องถิ่นมักจะทำงานในสตูดิโอเล็กๆ ของตนเอง ทำให้มีข้อจำกัดหลายอย่างเช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การขยายช่องทางการจำหน่าย อีกทั้งยังมีปัญหาทางการเงินและปัญหาเรื่องผู้สืบทอดด้วย เมื่อจังหวัดอิวาเตะได้รับความเสียหายหนักในปี 2011 ทางฟินแลนด์จึงติดต่อมาเพื่อให้ความช่วยเหลือในการอนุรักษ์งานฝีมือในท้องถิ่นเอาไว้
ผู้เชี่ยวชาญที่ถูกส่งตัวมาช่วยในตอนนั้นคือ Ville Kokkonen และ Harri Koskinen สองดีไซเนอร์ตัวท็อป ที่เห็นคุณค่าของทักษะงานช่างเหล่านั้นและอยากช่วยโปรโมตงานไปยังต่างประเทศ ทั้งสองจึงฟอร์มทีมกับช่างฝีมือในท้องถิ่นสร้างแบรนด์ Iwatemo ขึ้นมาเพื่อทำเฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ในบ้าน 24 ชิ้นแบ่งเป็น 3 ไลน์คือเครื่องเหล็ก  เก้าอี้ไม้ และกระเบื้องซึ่งขายทั้งในและนอกประเทศภายใต้คอนเซ็ปต์หลักคือ ‘fuse traditional craftmanship with modern sensibility’
Harri ยังบอกอีกว่าเขามองเห็นจุดร่วมระหว่างฟินแลนด์และอิวาเตะที่น่าจะไปกันได้ ซึ่งเราไม่แปลกใจเท่าไหร่เพราะเคยไปงานนิทรรศการศิลปะในเดนมาร์กที่นำเสนอเรื่องราวความสอดคล้องกันระหว่างค่านิยมทางความงามของญี่ปุ่นและฝั่งสแกนดิเนเวีย นิทรรศการนั้นบอกว่าแม้จะอยู่คนละมุมโลกแต่สภาพที่ภูมิศาสตร์คล้ายกันหลายอย่างนั้นส่งผลต่อการสร้างสรรค์งานของศิลปิน รวมไปถึงรสนิยมความชอบในดีไซน์ งาน Silent Beauty นิทรรศการศิลปะในฟินแลนด์ที่เล่าถึงความสัมพันธ์ของศิลปะ Scandinavian กับ East Asia ก็สรุปไว้ว่าจุดร่วมสำคัญระหว่างญี่ปุ่นกับฟินแลนด์ที่มีผลต่อการออกแบบคือความสัมพันธ์กับธรรมชาติและการมองเห็นความงดงามในความเรียบง่ายในชีวิตประจำวัน อีกทั้งยังต่างให้ความสำคัญของของเก่า แต่ไม่หยุดอยู่ที่เดิม นำองค์ประกอบใหม่ๆ ใส่เข้าไปในของเก่าเพื่อพัฒนาต่อไป
แบรนด์ Iwatemo ถือเป็นตัวอย่างที่สะท้อนค่านิยมนั้นได้ดี 
เก้าอี้ไม้ทุกตัวในโรงแรมและคาเฟ่คืองานแฮนด์เมดของช่างไม้จากอิวาเตะที่แต่ละคนจะลงมือทำเองทั้งชิ้นตั้งแต่เลือกไม้จนจบงาน เวลานั่งลงบนเก้าอี้ที่แสนน่ารักเหล่านั้น อาจจะสัมผัสได้ถึงความมุ่งมั่นของช่างญี่ปุ่นก็ได้นะ
บทบาทของ Harri ไม่จบแค่การออกแบบส่วนต่างๆ ของโรงแรม แต่รวมไปถึงการผลิตเฟอร์นิเจอร์ด้วย
แม้องค์ประกอบทุกอย่างจะเป็นงานฟินนิชดีไซน์แต่หลายชิ้นก็ made in japan เป็นการคอลแลบกับช่างฝีมือในท้องถิ่นจังหวัดอิวาเตะภายใต้แบรนด์ iwatemo แบรนด์ที่เกิดขึ้นเพราะดีไซเนอร์ชาวฟินแลนด์อยากอนุรักษ์และเผยแพร่งานคราฟต์ท้องถิ่นของญี่ปุ่นที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวและสึนามิครั้งใหญ่ในปี 2011 
จังหวัดอิวาเตะโดดเด่นเรื่องงานช่าง 3 ประเภทคืองานไม้ งานเหล็ก (Nambu Tekki) และงานเซรามิก ถึงแม้จะมีประวัติศาสตร์ยาวนาน ฝีมือดีเป็นที่ยอมรับ แต่ช่างในท้องถิ่นมักจะทำงานในสตูดิโอเล็กๆ ของตนเอง ทำให้มีข้อจำกัดหลายอย่างเช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การขยายช่องทางการจำหน่าย อีกทั้งยังมีปัญหาทางการเงินและปัญหาเรื่องผู้สืบทอดด้วย เมื่อจังหวัดอิวาเตะได้รับความเสียหายหนักในปี 2011 ทางฟินแลนด์จึงติดต่อมาเพื่อให้ความช่วยเหลือในการอนุรักษ์งานฝีมือในท้องถิ่นเอาไว้
ผู้เชี่ยวชาญที่ถูกส่งตัวมาช่วยในตอนนั้นคือ Ville Kokkonen และ Harri Koskinen สองดีไซเนอร์ตัวท็อป ที่เห็นคุณค่าของทักษะงานช่างเหล่านั้นและอยากช่วยโปรโมตงานไปยังต่างประเทศ ทั้งสองจึงฟอร์มทีมกับช่างฝีมือในท้องถิ่นสร้างแบรนด์ Iwatemo ขึ้นมาเพื่อทำเฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ในบ้าน 24 ชิ้นแบ่งเป็น 3 ไลน์คือเครื่องเหล็ก  เก้าอี้ไม้ และกระเบื้องซึ่งขายทั้งในและนอกประเทศภายใต้คอนเซ็ปต์หลักคือ ‘fuse traditional craftmanship with modern sensibility’
Harri ยังบอกอีกว่าเขามองเห็นจุดร่วมระหว่างฟินแลนด์และอิวาเตะที่น่าจะไปกันได้ ซึ่งเราไม่แปลกใจเท่าไหร่เพราะเคยไปงานนิทรรศการศิลปะในเดนมาร์กที่นำเสนอเรื่องราวความสอดคล้องกันระหว่างค่านิยมทางความงามของญี่ปุ่นและฝั่งสแกนดิเนเวีย นิทรรศการนั้นบอกว่าแม้จะอยู่คนละมุมโลกแต่สภาพที่ภูมิศาสตร์คล้ายกันหลายอย่างนั้นส่งผลต่อการสร้างสรรค์งานของศิลปิน รวมไปถึงรสนิยมความชอบในดีไซน์ งาน Silent Beauty นิทรรศการศิลปะในฟินแลนด์ที่เล่าถึงความสัมพันธ์ของศิลปะ Scandinavian กับ East Asia ก็สรุปไว้ว่าจุดร่วมสำคัญระหว่างญี่ปุ่นกับฟินแลนด์ที่มีผลต่อการออกแบบคือความสัมพันธ์กับธรรมชาติและการมองเห็นความงดงามในความเรียบง่ายในชีวิตประจำวัน อีกทั้งยังต่างให้ความสำคัญของของเก่า แต่ไม่หยุดอยู่ที่เดิม นำองค์ประกอบใหม่ๆ ใส่เข้าไปในของเก่าเพื่อพัฒนาต่อไป
แบรนด์ Iwatemo ถือเป็นตัวอย่างที่สะท้อนค่านิยมนั้นได้ดี 
เก้าอี้ไม้ทุกตัวในโรงแรมและคาเฟ่คืองานแฮนด์เมดของช่างไม้จากอิวาเตะที่แต่ละคนจะลงมือทำเองทั้งชิ้นตั้งแต่เลือกไม้จนจบงาน เวลานั่งลงบนเก้าอี้ที่แสนน่ารักเหล่านั้น อาจจะสัมผัสได้ถึงความมุ่งมั่นของช่างญี่ปุ่นก็ได้นะ

AUTHOR

ILLUSTRATOR

Kanith

นักเขียนภาพประกอบอิสระที่ติดเกม