Prang Vipaluk กราฟิกดีไซเนอร์ผู้หยิบรูปทรงเรขาคณิตมาต่อเติมเป็นโครงสร้างสารพัดนึก

Prang Vipalukรูปทรง โครงสร้าง และคู่สีตัดกันอย่างลงตัวคือองค์ประกอบที่เห็นแล้วรู้ได้ทันทีว่านี่คือผลงานของ ปรางค์– วิภาลักษณ์ ศิริพลานนท์ ผู้ออกแบบปก a day ฉบับ creative entrepreneur ที่ผู้อ่านหลายคนทักมาขอวาร์ปกันรัวๆPrang Vipaluk

ไม่แปลกที่คุณอาจจะยังไม่เคยผ่านตาผลงานของศิลปินคนนี้มากนัก เพราะเธอเพิ่งผันตัวเข้าสู่แวดวงนักวาดภาพประกอบได้เพียงหนึ่งปีเศษๆ เท่านั้นเอง

ปรางค์เล่าว่าเธอคือคนหนึ่งที่หลงใหลในงานศิลปะตั้งแต่เด็ก ไม่เพียงแค่การวาดรูป แต่ยังรวมไปถึงการถ่ายภาพและงานคราฟต์ เมื่อถึงเวลาต้องตัดสินใจเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย ตัวเลือกอันดับต้นๆ จึงหนีไม่พ้นคณะด้านการออกแบบ ที่ที่เธอคาดหวังว่าจะได้ประยุกต์ความชอบทั้งหมดเข้าด้วยกัน แต่ในความเป็นจริง สิ่งที่ปรางค์ได้จากรั้วมหาวิทยาลัยกลับมีมากกว่าที่คิด 

“ย้อนกลับไปก่อนเข้ามหา’ลัย พอร์ตโฟลิโอของเรามีแต่ภาพวาดบนกระดาษและงานคราฟต์ต่างๆ เพราะเราแทบไม่มีความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมกราฟิกเลย แต่การเรียนในคณะ Communication Design จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ทำให้เราได้รู้จักเครื่องมือใหม่ๆ ในการผลิตชิ้นงานมากขึ้น อย่างเวิร์กช็อปงานไม้ การตัดต่อวิดีโอ รวมถึงโปรแกรมกราฟิกต่างๆ ที่จำเป็นในสายงานออกแบบ

“การเปลี่ยนจากงานวาดมือมาทำงานในคอมฯ สร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ หลายอย่าง หนึ่ง คือเราแก้ไขได้ตลอดเวลา สอง คือถ้าเราสามารถหาวิธีใช้ที่เข้ากับเราได้มันก็จะยิ่งดี ส่วนตัวเราสนุกกับการจัดระบบเลเยอร์ในโปรแกรม เพราะมันช่วยให้เราเห็นมิติของภาพมากขึ้น”

Prang Vipaluk

หลังเรียนจบ ปรางค์เริ่มทำงานทันทีในฐานะฟรีแลนซ์กราฟิกดีไซเนอร์ รับงานอย่างการออกแบบโลโก้ อัตลักษณ์องค์กร รวมถึงออกแบบสิ่งพิมพ์ชนิดต่างๆ กระทั่งพบกับจุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ในขวบปีที่ 3 ของการทำงาน นั่นคือโควิด–19 ซึ่งทำให้งานกราฟิกที่เคยไหลเข้ามาอย่างสม่ำเสมอหยุดชะงัก

“เมื่องานต่างๆ หยุดชะงักไปเราเลยเริ่มหยิบสิ่งที่ตัวเองชอบมาพัฒนาต่อ นั่นคือจุดเริ่มต้นของซีรีส์ Virtual Garden ซึ่งเราตั้งโจทย์ให้ตัวเองวาดภาพทุกวัน วันละหนึ่งรูป ติดต่อกันเป็นเวลาหนึ่งเดือน โดยมีธีมหลักคือสวนจำลอง นอกจากจะเป็นการพักเบรกจากงานกราฟิกดีไซน์แล้ว นี่ยังเป็นการค้นหาตัวเองและ explore โปรแกรมให้มากกว่าฟังก์ชันทั่วไปที่เราเคยใช้”

จากชุดภาพถ่ายตึกและต้นไม้ดอกไม้ที่ชื่นชอบและถ่ายเก็บสะสมไว้ ปรางค์ค่อยๆ เลือกหยิบรูปเหล่านั้นขึ้นมาใช้เป็นแมตทีเรียลในการทำงาน ผสมและต่อเติมจนกลายเป็นโครงสร้างที่มีเอกลักษณ์ในแบบของตัวเอง

ปัจจุบันปรางค์ทำงานกราฟิกดีไซน์ควบคู่ไปกับงานภาพประกอบซึ่งแม้จะเพิ่งเริ่มต้นได้ไม่นานแต่เธอก็เริ่มเป็นที่รู้จักหลังจากเข้าร่วม Bangkok Illustration Fair 2021 และเพื่อทำความรู้จักกับปรางค์มากยิ่งขึ้น เราจึงชวนเธอมาบอกเล่าถึง 5 ผลงานที่ชื่นชอบ พร้อมบอกเล่าไอเดียเบื้องหลังการสร้างสรรค์ผลงานแต่ละชิ้น

Virtual Garden No.13 

Prang Vipaluk

“เอาจริงๆ สาเหตุที่เราเริ่มโปรเจกต์นี้ขึ้นมาส่วนหนึ่งเพราะความเครียดในช่วงกักตัว การได้ตั้งโจทย์และทำงานเซตนี้จึงเป็นตัวช่วยบรรเทาความเครียดของตัวเองผ่านการสร้างผลงาน ซึ่งส่วนมากเราก็จะหยิบ reference มาจากเซตภาพถ่ายที่เราชื่นชอบอย่างต้นไม้ใบหญ้าต่างๆ

“คอนเซปต์ของภาพ Virtual Garden No.13 คือการลองหยิบการทำสวนมารวมกับเครื่องมือต่างๆ ในโปรแกรม Adobe Illustrator และแทนค่า tool bar เป็นขั้นตอนการสร้างสวนจริงๆ ด้านขวาก็จะเป็นตัวอย่างของสวนจริงๆ ที่เกิดจากเครื่องมือต่างๆ เหล่านั้น​ นับเป็นหนึ่งในผลงานจากซีรีส์นี้ที่เราสนุกไปกับการออกแบบและตีความ”


Virtual Gardent No.16

“ไอเดียของงานนี้ค่อนข้างคล้ายกับเบอร์ 13 แต่เราตีความออกมาเป็นภาพที่ต่างกัน สำหรับรูปนี้เราหยิบการทำสวนมารวมกับแผงหุ่นยนต์ของเล่น องค์ประกอบจึงเน้นไปที่แผงพลาสติกซึ่งจะสามารถแยกออกมาได้เป็นชิ้นๆ เชื่อมโยงกับความชอบส่วนตัวที่เราชอบงานประดิษฐ์อะไรพวกนี้อยู่แล้ว ส่วนด้านหลังเป็นตัวอย่างของพืชที่นำมาต่อกันเสร็จสมบูรณ์แล้วPrang Vipaluk

“การทำซีรีส์ Virtual Garden ทำให้เราเห็นภาพชัดขึ้นว่าสไตล์งานประมาณนี้คือสิ่งที่เราทำแล้วรู้สึกสนุกกับมัน เราสังเกตเห็นว่าตัวเองชอบงานที่มีโครงสร้างชัดเจน มีกล่อง มีเชปและฟอร์มที่สามารถแยกชิ้นส่วนและประกอบเข้าด้วยกันได้ และมีการจัดเก็บหรือลำเลียงข้อมูลบางอย่าง เราจึงหยิบองค์ประกอบเหล่านี้มาพัฒนาต่อในโปรเจกต์อื่นๆ ด้วยการขยายขนาด เพิ่มรายละเอียด พร้อมกับพัฒนาสกิลของตัวเอง”


Plantarium

“นี่เป็นผลงานที่ตามมาหลังจบโปรเจกต์ Virtual Garden ซึ่งเราขยายไซส์แคนวาสให้ใหญ่ขึ้นและจินตนาการถึง Plantarium ซึ่งเป็นเนิร์สเซอรีของพืช ทำหน้าที่บ่มเพาะต้นไม้พืชพรรณต่างๆ เราจึงหยิบมาต่อยอดเป็นภาพสวนขนาดใหญ่ที่มีระบบการลำเลียงสารอาหารจากพื้นดินขึ้นมาสู่ใบ ยอด ดอก เพื่อเจริญเติบโตต่อไปเรื่อยๆ

“สังเกตว่าโครงสร้างที่อยู่ในผลงานก็จะใหญ่ขึ้น สารภาพว่าตอนที่เราวาดเราแอบนึกถึงสถานีอวกาศ (หัวเราะ) ที่ลอยแบบโดดเดี่ยวอยู่ในอวกาศและมีการลำเลียง นำส่งสารอาหารบางอย่างไปตามจุดต่างๆ ของโครงสร้าง”Text LengthText LengthText LengthText LengthText LengthText LengthText LengthText LengthText LengthText LengthText LengthText Length


Plant Archive

Prang Vipaluk

“เราเริ่มต้นออกแบบงานนี้ด้วยการจินตนาการเรื่องโครงสร้างของดอกไม้ขนาดใหญ่ เหมือนกับเวลาที่มองดูต้นไม้หรือดอกไม้สักดอก เรามักจะสนใจเชป ฟอร์ม และการลำเลียงสารอาหารขึ้นไปหล่อเลี้ยงยอดหรือดอกด้านบน เราจึงลองจินตนาการต่อ ตีความในสไตล์ที่เราชอบ โดยให้ส่วนล่างเป็นลิ้นชักที่รวบรวมองค์ประกอบต่างๆ ของพืชต้นนี้ และทำหน้าที่ส่งถ่ายไปเป็นการเติบโตในส่วนบน 

“แต่สิ่งที่เราจินตนาการออกมาก็จะมีความเป็นสวนอยู่ คือทั้งโครงสร้างนี้เปรียบเสมือนภาพแทนของสวนสวนหนึ่ง ซึ่งรวมกันเป็นโครงสร้างดอกไม้ขนาดใหญ่ ที่ด้านในอาจจะมีองค์ประกอบเล็กๆ มากมายเต็มไปหมด”Prang Vipaluk


a day 247
creative entrepreneur

Prang Vipaluk

“งานนี้จัดว่าเป็นผลงาน commission ภาพประกอบชิ้นแรกๆ ของเรา จากที่ปกติเราจะยึดฟอร์มเรขาคณิตและต้นไม้ดอกไม้เป็นหลัก งานนี้เราต้องวาดล้อไปกับโปรดักต์ของ 30 แบรนด์ในเล่มด้วย แทนที่จะวาดแต่เรขาคณิต เราจึงต้องพัฒนารายละเอียดของสินค้าแต่ละชนิดขึ้นมาด้วย

“เราเริ่มจากลิสต์สินค้าของแต่ละแบรนด์ที่จะนำมานำเสนอบนปก สังเกตดูจุดเด่นและองค์ประกอบ จากนั้นถึงเริ่มสเกตช์ภาพรวม บางชิ้นอาจถูกย่อให้เล็ก ในขณะที่บางชิ้นควรขยายให้กลายเป็นจุดนำสายตาของภาพ เนื่องจาก 30 แบรนด์มันเป็นจำนวนค่อนข้างเยอะความยากเลยอยู่ที่ขั้นตอนการสเกตช์เป็นหลัก”Text LengthText LengthText LengthText LengthText LengthText LengthText LengthText LengthText LengthText LengthText LengthText Length

AUTHOR