ตามไปดูเวิร์กช็อปถ่ายภาพของช่างภาพมืออาชีพ พรพจน์ กาญจนหัตถกิจ

เมื่อ พรพจน์ กาญจนหัตถกิจ แห่งสตูดิโอ Sixtysix Visual ได้ชวนคนรุ่นใหม่ที่รักในการถ่ายภาพ เข้ามาร่วมเวิร์กช็อปกับโครงการ ‘SangSom คนไทย… ตั้งใจทำอะไรไม่แพ้ชาติใดในโลก The Inspirers’ กิจกรรม ‘แคมป์ภาพที่มีชีวิต’ ที่เกิดบนเกาะสีชังในวันที่ 15 – 16 ต.ค. ที่ผ่านมาได้รับความสนใจจากคนรุ่นใหม่เป็นจำนวนมาก เพราะกิจกรรมดีๆ แบบนี้ไม่ได้มีบ่อยๆ ในวงการถ่ายภาพของไทย

พรพจน์ได้คัดสรร 10 ช่างภาพรุ่นใหม่ที่มีใจรักในการถ่ายภาพโดยดูจากผลงานที่โดดเด่นและความเป็นตัวเองที่อยู่ในงาน เขาอยากเห็นแนวทางใหม่ๆ ในวงการถ่ายภาพและอยากให้ ‘แคมป์ภาพที่มีชีวิต’ เป็นเวิร์กช็อปที่ให้ช่างภาพรุ่นใหม่ได้ลงมือทำ ได้สัมผัสการทำงานกับช่างภาพมืออาชีพในทุกกระบวนการและที่สำคัญยังได้แรงบันดาลใจกลับไปพัฒนางานของตัวเอง

“แคมป์ภาพที่มีชีวิตจะทำให้คุณเห็นอีกโลกที่คุณไม่เคยเห็น
และค้นพบตัวตนที่คุณอาจจะคาดไม่ถึง เราเตรียมวิธีการทำงานทุกสเต็ปให้เห็นว่าจาก 1 – 100 ต้องทำงานยังไง ทำให้ดูหมดตั้งแต่การเตรียมตัว การถ่ายในโลเคชันจริง การพูดคุยกับนางแบบ
รวมถึงการเตรียมพรีเซนเทชันด้วย การเวิร์กช็อปถ่ายภาพควรได้เห็นทุกกระบวนการทำงานจริง
ได้ทดลองอยู่ใน work flow แบบนี้มันถึงจะสนุก เราไปเวิร์กช็อปกันถึงเกาะสีชังซึ่งเป็นโลเคชันที่เราเคยมาถ่ายแล้วชอบมาก
เพราะที่นี่มีความหลากหลาย มีทั้งทุ่งหญ้า ภูเขา ลานหิน ป่า และทะเล แต่จะถ่ายยังไงก็แล้วแต่คุณเลย
ค้นหาตัวเองให้มากที่สุด เราอยากเห็นคนรุ่นใหม่ที่มีความตั้งใจมาร่วมแชร์ประสบการณ์ด้วยกัน”
พรพจน์บอกเล่าถึงความพิเศษของเวิร์กช็อปในครั้งนี้

2
วัน 1 คืน และ 4 โลเคชันบนเกาะสีชัง
จึงเป็นงานที่ท้าทายผู้เข้าร่วมเวิร์กช็อปอยู่ไม่น้อย แต่หลังจากลุยถ่ายภาพกันมาทั้งวันและได้แชร์มุมมองกัน
‘แคมป์ภาพที่มีชีวิต’
ก็ได้จุดประกายความคิดและให้แรงบันดาลใจให้กับผู้เข้าร่วมเวิร์กช็อปทั้ง
10 คนได้ดีทีเดียว

ไพลิน
คงพันธ์ศรี เทคนิคอลซัพพอร์ตที่หลงใหลในการถ่ายภาพบอกว่า
เธอเริ่มต้นจับกล้องด้วยความรักและอยากเก็บแสงสวยๆ ในช่วงเวลาที่เธอประทับใจไว้ให้ทัน
เธอจึงฝึกฝนตัวเองอยู่เรื่อยๆ เพื่อให้ภาพถ่ายคล้ายกับความสวยงามที่ตาเห็นมากที่สุด

เราติดตามผลงานพี่พจน์อยู่แล้วเพราะชอบอารมณ์และความรู้สึกที่เป็นเอกลักษณ์ในงานของเขา
เลยอยากลองมางานนี้เพราะเราไม่เคยไปเวิร์กช็อปที่ไหนมาก่อน บวกกับที่เราชอบธีมงามและแนวคิดของแสงโสมอยู่แล้วด้วย
เราไม่เคยเจอช่างภาพมืออาชีพหรือคนที่ทำงานในระดับนี้มาก่อน ไม่คิดว่าพี่พจน์จะลงดีเทลในงานมากขนาดนี้
เราประทับใจมุมมองและวิธีการสอนของเขามาก เพราะเขาเชื่อว่าการถ่ายภาพไม่ได้ให้ยึดติดกับแบรนด์และอุปกรณ์
อยากให้มองเป็นเรื่องของศิลปะ ไม่มีอะไรที่ตายตัว เขาแนะนำได้ตรงจุดว่าทำไมถึงเลือกเอาอุปกรณ์แบบนี้มาใช้
บอกคุณสมบัติว่ามันดีอย่างไร แต่ถ้าเราไม่มีก็ไม่จำเป็นต้องใช้ของพวกนี้
แค่มีเลนส์ที่ถูกกว่านี้ก็ใช้ถ่ายได้เหมือนกัน อีกอย่างคือเวิร์กช็อปนี้ค่อนข้างจะใกล้ชิดกัน
ทำให้เรามีโอกาสได้คำแนะนำและเทคนิคดีๆ จากพี่พจน์อยู่ตลอด

จักรรินทร์
มูลมานัส เล่าถึงแรงบันดาลใจในการถ่ายภาพของตัวเองว่าเขาเริ่มจากการถ่ายภาพเล่นๆ
ไปเรื่อย ไม่รู้ว่าตัวเองชอบถ่ายอะไร แต่เมื่อมาถึงจุดที่ถ่ายภาพไปสักพักและรู้ตัวเองว่าชอบถ่ายในแนวไหนก็เริ่มพัฒนาตัวเองไปในแนวทางนั้น
เวิร์กช็อปในครั้งนี้จึงเป็นอีกประสบการณ์หนึ่งที่ทำให้เขาอยากพัฒนาตัวเองต่อไป

“ผมเคยเข้าเวิร์กช็อปกับที่อื่นเหมือนกันนะ
แต่มันจะเป็นการบรรยายมากกว่า ไม่เคยออกนอกสถานที่ ไม่ได้มีเวิร์กช็อปหรือสอนกันอย่างใกล้ชิดแบบนี้
พอได้มาเห็นการทำงานของพี่พจน์แล้วก็เห็นว่าตัวเองวางแผนก่อนที่จะถ่ายงานน้อยไป ผมได้เห็นมุมมองของเขา
ได้เห็นวิธีการทำงาน การเตรียมตัว และการวางแผนก่อนที่จะมาถ่าย
ไม่ใช่มาถึงที่แล้วจะถ่ายได้เลย สิ่งเหล่านี้ผมเอาไปพัฒนาตัวเองได้หมดเลย
รวมถึงเทคนิคและการเลือกโลเคชันด้วย ผมชอบการใช้ควันของพี่พจน์ที่ทำให้เห็นแสงลอดผ่านต้นไม้
รู้สึกประทับใจเทคนิคนั้นมาก จากทั้งหมด 4 ที่ผมชอบริมทะเลที่มีหน้าผามากที่สุดเลยนะ
เพราะมันเป็นสถานที่สุดท้ายและเป็นเวลาพระอาทิตย์ตกดิน ผมชอบแสงในช่วงเวลานั้น”

ธนกร
ไกรลลาสสุวรรณ
ผู้เข้าร่วมเวิร์กช็อปที่ชื่นชอบการเล่าเรื่องด้วยภาพ เล่าให้เราฟังว่า
สำหรับคนที่พูดไม่เก่งอย่างเขา ภาพคือสารชั้นดีที่ใช้เล่าเรื่องได้แทนคำเป็นพันคำ
เมื่อได้เห็นภาพสวยๆ ของคนอื่นมากขึ้น เขาก็ยิ่งอยากถ่ายภาพให้ได้อย่างนั้น
บวกกับเมื่อเรียนมหาวิทยาลัยก็เลือกเรียนสาขาภาพยนตร์ด้วย เขาจึงอยากเรียนรู้และพัฒนาตัวเองเพื่อให้เล่าเรื่องได้ดีขึ้นและถ่ายภาพได้สวยขึ้นไปพร้อมๆ
กัน
‘แคมป์ภาพที่มีชีวิต’ จึงเป็นจุดหนึ่งที่นำไปต่อยอดกับงานของเขาได้

“เรารู้สึกว่าเวิร์กช็อปถ่ายภาพในประเทศไทยมันไม่ได้เป็นเวิร์กช็อปที่ได้ลงมือทำ
ปกติเขาจะให้มานั่งฟังบรรยาย แต่ครั้งนี้เราได้ลงมือทำในสถานที่จริงเลย
มีการมานั่งคุยมานั่งถกปัญหากัน คุณถ่ายไปแบบนี้แล้วมีปัญหายังไง แก้ไขยังไง
เอาไปต่อยอดยังไงได้บ้าง มันดีกว่าการที่เขาบอกว่าสวยไม่สวยอย่างเดียว เพราะเขาให้แนวทางเราพัฒนาต่อ
ส่วนตัวเราติดตามผลงานพี่พจน์มานานแล้ว เราชอบสไตล์ภาพ ชอบสไตล์การทำงานของเขาด้วย เวิร์กช็อปในครั้งนี้ทำให้เราได้รู้ว่าเขาเห็นอะไร
แล้วเราไม่เห็นอะไรบ้าง แล้วเราก็เลือกเอาไปปรับใช้กับงานของตัวเองได้ รวมถึงได้เห็นมุมมองของคนอื่นๆ
ที่ร่วมเวิร์กช็อปด้วย”

ไหมไท คุณาวงศ์ บัณฑิตจากคณะสถาปัตย์ผู้หลงใหลในการถ่ายภาพขาวดำบอกว่า บทสัมภาษณ์ของพรพจน์ใน
a
day คือส่วนหนึ่งที่ทำให้เธอได้รู้จักกับ ‘แคมป์ภาพที่มีชีวิต’
และตัดสินใจลองสมัครเข้าร่วมเวิร์กช็อปในครั้งนี้
เธอออกตัวว่าไม่รู้ว่าตัวเองชอบถ่ายภาพเพราะอะไร แต่ที่แน่ๆ การถ่ายภาพทำให้เธอเห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็นและบางครั้งก็มองข้ามไป
ภาพถ่ายจึงเป็นเครื่องยืนยันว่าเธอเคยเก็บช่วงเวลาสำคัญนั้นไว้

“เราไม่เคยไปเวิร์กช็อปถ่ายภาพมาก่อน
และไม่ได้รู้จักคนในวงการถ่ายภาพเลย ตอนแรกเลยคิดว่าตอนเวิร์กช็อปจะต้องกดดันมากเพราะว่าเราเป็นคนที่ไม่ได้ถ่ายภาพจริงจังและไม่รู้เรื่องเทคนิคมาก
เราแค่ชอบถ่ายสิ่งที่เราสนใจ พอมาทำจริงๆ เวิร์กช็อปนี้กลับเป็นเหมือนอีกส่วนหนึ่งที่มาเติมเต็มสิ่งที่เรามี
พอจบแล้วเราเปิดกว้างกับการถ่ายภาพมาก อยากเรียนรู้อะไรต่ออีกเยอะแยะเพราะว่าเราได้รับพลังจากคนอื่นๆ
ที่มาเวิร์กช็อป อย่างตอนที่พี่พจน์เปิดภาพจากนิตยสารให้ดู เราไม่รู้เลยว่ากระบวนการทำงานก่อนหน้านี้มันเป็นยังไง
เขาก็ทำให้เห็นตั้งแต่เริ่มแรก คุยกับนางแบบจนถึงถ่ายจริงที่โลเคชันและต้องกลับมา
process
รูปต่อ เราประทับใจตรงนี้มาก พอถึงช่วงคอมเมนต์เขาก็สามารถแนะนำลงลึกตามความสนใจของแต่ละคนและชี้ให้เห็นจุดที่ควรพัฒนาได้”

จันทนา พลายมูล เล่าถึงความประทับใน
‘แคมป์ภาพที่มีชีวิต’ ตลอด 2 วัน 1 คืนที่เกาะสีชังว่า
“เวิร์กช็อปนี้ทำให้เราได้แชร์มุมมองการถ่ายภาพกับคนอื่นๆ
และเห็นวิธีการทำงานของช่างภาพมืออาชีพ ปกติเวลาเราถ่ายเล่นอยู่คนเดียวเราก็จะอยู่แต่กับความชอบเดิมของเรา
แต่มาตรงนี้เราได้เห็นการทำงานอีกสเต็ปหนึ่ง นี่จึงเป็นครั้งแรกที่เรามาถ่ายรูปแบบมีเวลาจำกัด
มีหัวข้อ และไปหลายสถานที่ในวันเดียว แต่เราไม่กดดันเลยนะ เรารู้สึกว่าคุณพจน์เขามีมุมที่คล้ายๆ
เราอยู่ เขาไม่ได้เน้นเรื่องอุปกรณ์มากเพราะทุกอย่างมันขึ้นอยู่กับความสามารถในการพลิกแพลงของเรา
เขาเองก็มาจากกล้องตัวเล็กๆ ตัวหนึ่งเหมือนกัน เราเห็นช่างภาพมืออาชีพบางคนแล้วเราก็คิดว่าเราไม่สามารถเป็นแบบเขาได้
แต่คุณพจน์เขาถ่ายเพราะเขาชอบ และเราเองก็สุขจากการถ่ายภาพเช่นกัน เราเลยคิดว่ามุมนี้มันทำให้เราเข้ากันได้
นอกจากจะไม่ใช่ช่างภาพที่เน้นทฤษฎีหรือมีกรอบในการทำงาน เขายังเปิดกว้างให้เราทำงานที่เป็นตัวเราได้อีกด้วย”

‘แคมป์ภาพที่มีชีวิต’ จึงไม่ได้สร้างแรงบันดาลใจแค่การถ่ายภาพ แต่ใจยังบันดาลแรงให้ทุกๆ
คนได้ทำตามความฝันและสิ่งที่ตัวเองรักต่อไป

ติดตามงาน exhibition
ที่รวบรวมผลงานจากผู้เข้าร่วมเวิร์กช็อปทั้ง 3 กิจกรรม กับ 3 ศิลปินบันดาลใจ ในงาน ‘SangSom คนไทย…
ตั้งใจทำอะไรไม่แพ้ชาติใดในโลก The Inspirers’ เพื่อให้ทุกคนที่มีฝันจากทั้ง
3 เส้นทางได้มาบรรจบกันที่ ‘แรงบันดาลใจ’ และเดินทางสู่เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ในชีวิต

พบกับนิทรรศการ Creative
Media

‘แคมป์ภาพที่มีชีวิต’ โดย POJ Sixtysix
Visual, Art งานศิลปะรูปยานอวกาศที่จะพาไปสู่ดวงจันทร์
โดย โลเล-ทวีศักดิ์ ศรีทองดี, Music บทเพลงแห่งชีวิตที่มีทํานอง
โดย เล็ก-อภิชัย ตระกูลเผด็จไกร ในงาน Deksaisilp ที่จะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 18 มีนาคม 2560 ณ สนามกีฬาจรัญบุรพรัตน์ พระราม 9 และพบกับแบรนด์ ‘ตัวจริง’ ที่สร้างแรงบันดาลใจแบบไม่มีหยุด กับ ‘SangSom
คนไทย…ตั้งใจทำอะไรไม่แพ้ชาติใดในโลก The
Inspirers’ เข้าไปติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.facebook.com/sangsomexperience #SangSomTheInspirers

ภาพ: ลักษิกา แซ่เหงี่ยม

AUTHOR