GET UP!
เมื่อวันสิ้นปีเวียนมาถึง a team หลายคนถือโอกาสนี้เดินทางไปในเส้นทางเดียวกัน ทางที่นำพวกเขา ‘กลับบ้าน’
ผม มนุษย์ผู้ไม่ยอมกลับบ้านทั้งที่ก็มีบ้านให้กลับ ได้มาดูแลเนื้อหาระหว่างที่ทุกคนกำลังมุ่งหน้ากลับบ้านเกิด
โปรเจกต์ ‘ไม่กลับบ้าน’ เป็นโปรเจกต์เฉพาะกิจที่ที่เราอยากใช้โอกาสนี้ดลองนำเสนอเรื่องราวของคนกลุ่มเล็กๆ ในสังคม เพื่อ minority โดย minority ดูสักครั้ง
และนั่นคือต้นกำเนิดของ a day ฉบับ ‘(กู)ไม่กลับบ้าน’
.
ผมและทีมงานได้ออกตามหาคนที่ไม่คิดจะกลับบ้านต่างสัญชาติ
คนที่ข้ามน้ำข้ามทะเลมาใช้ชีวิตในบ้านอื่นเมืองอื่นประหนึ่งเป็นบ้านตัวเอง
ไม่ว่าจะเป็น
1) หนุ่มเกาหลีที่เดินทางมาพบความสุขที่ไทย
2) สาวไทยที่หนีไปพบชีวิตคุณภาพที่สหรัฐอเมริกา
3) หนุ่มอเมริกันที่ตัดสินใจใช้ชีวิตที่เหลือในญี่ปุ่น
และ 4) หนุ่มญี่ปุ่นที่เอนจอยเมืองไทยราวกับเป็นบ้านเกิด
พูดคุยถึงเหตุผลที่ทำให้พวกเขาเบื่อหน่าย ท้อแท้ ไม่พอใจ ไม่เข้าใจ และหมดใจจะฝากชีวิตไว้ที่บ้านเกิด
.
ถ้าบ้านเกิดไม่ปลอดภัย
ก็ไม่เห็นจะเป็นอะไร…ถ้าเธอไม่อยากกลับบ้าน
ถ้าที่บ้านไม่ได้มีที่ทางไว้ให้ทำตามฝัน
ก็ไม่เห็นจะเป็นอะไร…ถ้าจะออกมาตามฝันในดินแดนอื่น
.
เรื่องราวชีช้ำน่าปวดหัวในบ้านเกิดของทุกคนในโปรเจกต์นี้ตอกย้ำให้ผมเชื่ออีกครั้งว่า
ผมไม่ใช่คนเดียวที่อยากไปให้ไกลจากบ้านเกิด และคำว่า ‘บ้าน’ กินความหมายกว้างกว่าที่พักอาศัย และไปไกลกว่าสถานที่มอบชีวิตให้เราเมื่อลืมตาดูโลก.
xoxo
01
Go Ueda
From JAPAN to BANGKOK
ฉาก / คาเฟ่เก๋ย่านทองหล่อของผู้ชายก๋ากั่นเจ้าของเพจชื่อดัง และเวทีทอล์กโชว์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังของคนดวงตก โก อุเอดะ (Go Ueda) ยืนขึ้นทักทายเราด้วยท่าทีกันเอง
เวลา / ก่อนพระอาทิตย์ตกดินเล็กน้อย แดดคล้อยลอดหน้าต่างคาเฟ่เข้ามากำลังดี
.
ก่อนมาเจอกัน เราได้รับการยืนยันจากแฟนสาวของโก อุเอดะ ว่าเขาไม่มีแผนจะกลับบ้านที่ญี่ปุ่น ตั้งอกตั้งใจหอบผ้าหอบผ่อนมาลงหลักปักฐานที่ไทยด้วยตัวเอง แถมตอนนี้พี่แกยังเอนจอยกับการใช้ชีวิตที่ไทยสุดๆ
คำยืนยันนั้นทำให้เราเต็มไปด้วยความสงสัยและคำถามในใจว่า อะไรกันนะที่ทำให้ผู้ชายที่เติบโตในประเทศที่โคตรจะทันสมัย มีวินัย และสุนทรีย์กว่าไทยเกือบแทบจะทุกด้าน ข้ามน้ำมาแบบไม่กลัวอะไรทั้งนั้น
ถ้าคุณเองก็สงสัย
บรรทัดต่อจากนี้ไปคือเหตุผลในใจที่ทำให้เขาไม่อยากกลับบ้านเกิด
เป็นไงมาไงถึงได้ตัดสินใจมาอยู่ไทย
ผมตัดสินใจมาไทยครั้งแรกหลังเรียนจบปริญญาตรี มางาน Big Moutain Festival ซึ่งจิโระ เอ็นโดะ (Jiro Endo) เป็นเมนดีไซเนอร์อยู่ ตอนนั้นเป็นช่วงเวลาที่ผมไม่อยากอยู่ญี่ปุ่น จิโระก็เลยบอกว่าลองมาเมืองไทยไหม มาแล้วก็ลองเรียนต่อปริญญาโทด้าน Lighting Design ที่นี่ก็ได้นี่ so I came here and that is the first time that I went out from Japan.
ครั้งแรก!
ใช่ ครั้งแรกที่ออกมาอยู่ต่างประเทศด้วยตัวเอง แล้ววันที่มาถึงเป็นวันสงกรานต์ ภาพแรกที่ผมเห็นคือคนไทยเอาปืนฉีดน้ำไปยิงตำรวจ แล้วตำรวจก็ยืนให้เขาฉีด (หัวเราะ) โห มันเป็นอะไรที่เซอร์ไพรส์มาก ผมก็รู้สึกได้เลยว่าที่นี่โคตรจะต่างจากญี่ปุ่น คนที่นี่สนุกกว่าแน่ คนที่นี่ใจดีกว่าแน่ๆ
รู้ตัวตั้งแต่ตอนนั้นเลยไหมว่าจะชอบที่นี่ถึงขนาดตัดสินใจอยู่ยาว
ในตอนแรกก็คิดนะว่าเราสามารถอยู่ที่นี่ได้ ใจผมหาทางออกจากประเทศตัวเองมาสักพักตั้งแต่เริ่มทำงาน อย่างที่รู้กันคือผมอยากเป็น Lighting Designer ซึ่งที่ญี่ปุ่นเขาจะมีระบบ มีขั้นตอน มีลำดับตำแหน่งที่เยอะมากกว่าคนคนหนึ่งจะได้ก้าวมาเป็น Lighting Designer เพราะประเทศญี่ปุ่นมีประวัติศาสตร์ศิลปะการออกแบบแสง ออกแบบสเตจที่ค่อนข้างยาวนาน ถามว่าเข้าใจไหม เข้าใจ แต่สำหรับผมมันใช้เวลาหลายปีและมันช้ามากๆ
ที่ไทยผมสามารถก้าวกระโดดมาทำงานออกแบบแสงได้เลย ก็เริ่มทำกับจิโระ เอ็นโดะ คนที่แนะนำผมมา ไม่จำเป็นต้องรอ 5 – 6 ปีอีกต่อไป แล้วพอเราลุยงานออกแบบแสงเป็นหลัก มันทำให้เราโฟกัสฝึกฝนฝีมือได้ตรงสาย เรื่องเทคนิคผมอาจไม่ได้เรียนรู้อะไรใหม่ แต่ผมได้เรียนรู้สไตล์ใหม่ๆ ที่นี่ และประเทศไทยถือเป็นขุมพลังแรงบันดาลใจในการออกแบบ ผมสนุกที่เห็นการมาเจอกันระหว่างงานออกแบบโลคอล งานแบบเทรดิชันแนลกับงานออกแบบสมัยใหม่
อย่างชิงช้าสวรรค์นี่ใช้เทคนิคออกแบบแสงพื้นบ้านของไทย มันน่าตื่นเต้นมากสำหรับผมที่มาใหม่ คนไทยสนุกสนานกับการเล่นแสงมาก ไม่มีกรอบ ไม่มีมาตรฐานอะไรมากีดกั้นไอเดีย
หลายคนอาจบอกว่านี่เป็นปัญหา แต่ผมมองว่านี่คือโอกาส คือช่องว่างให้เราสร้างสรรค์งานที่คาดไม่ถึงและสนุกกว่าเวลาทำงานออกแบบที่ญี่ปุ่นซึ่งมาตรฐานสูงมาก กรอบเยอะมาก You are too professional.
ก่อนมาจินตนาการเมืองไทยไว้แบบไหน แล้วพอมาอยู่จริงๆ เป็นยังไงบ้าง
ต่างนิดหน่อย คือก่อนมาผมไม่เคยมีประสบการณ์ในการอยู่ต่างประเทศมาก่อน พอกระโดดมาอยู่ไทยเลย ตอนนั้นก็คิดว่าเห้ย เออ ที่นี่น่าจะมีความโลคอลแล้วก็นอสทัลเจีย แต่ความจริงคือที่นี่ทันสมัย ไม่ได้ต่างอะไรจากที่ญี่ปุ่นเลย แต่คนไทยใจเย็นกว่า สบายๆ กว่า
มีปัญหาเรื่อง home sick บ้างไหม
ที่นี่ลงตัวกับผมมาก กลายเป็นว่า I don’t have a home sick.
แต่ When I went back to Japan I feel home sick of Thailand. (หัวเราะ) คือกลับไปดีลเรื่องงานที่ญี่ปุ่นทีไรนะ วันที่ 2 อาการเริ่มมาละ Hey… I miss ส้มตำ!
บ้าน่า!
ชีวิตที่โตเกียวมันเครียดมากเลยนะ คนที่นั่นปล่อยพลังงานลบออกมาตลอดโดยเฉพาะช่วงเวลาเร่งด่วนในรถไฟฟ้า ผมต้องตื่นแต่เช้าตรู่ไปขึ้นรถไฟที่คนแน่นๆ ไม่มีใครยอมใคร บรรยากาศน่าอึดอัด สิ่งที่ไม่ชอบในชั่วโมงเร่งด่วนก็คือการต้องรับพลังงานดาร์กๆ จากผู้คนรอบข้าง จากคำพูดของพวกเขา ใบหน้าของพวกเขา
ช่วงเวลาเดินทางไปทำงานมันกัดกินผมไปทุกวัน นี่เป็นเหตุผลหลักๆ เลยนะที่ทำให้ผมไม่สามารถทนใช้ชีวิตอยู่ในโตเกียวต่อได้
ถามจริง ไม่รู้สึกกลัวบ้างเหรอ
จุดประสงค์ของผม นอกจากเรื่องการทำงานด้านการออกแบบแสงและทดลองไอเดียใหม่ๆ ผมมาเพื่อเรียนปริญญาโทด้วย เพื่อให้ได้ degree ผมจำเป็นต้องเรียนภาษาอังกฤษไปด้วย เพราะก่อนมาไทยนี่พูดไทยไม่ได้เลย
จากความรู้สึกอยากทดลอง อยากใช้ชีวิตที่ไทยเหมือนเป็นลองแวเคชันไปๆ มาๆ เมื่อเวลาผ่านไปประมาณปีนึงกลายเป็นผมรู้สึกว่า เห้ย! ผมอยูที่นี่ได้ว่ะ เหมือนเป็นบ้าน ดูเหมือนตอนจบของแวเคชันนี้ทำให้ I feel I can live here.
อะไรที่ทำให้เรารู้สึกอย่างนั้น
หลักๆ คือที่นี่มีงานให้ผมทำ (หัวเราะ) ผมได้ทำงานและได้เรียนด้าน lighting design ผู้คนที่นี่รักแสงสี งานรื่นเริงต่างๆ แล้วผมก็เหมือนเป็นคนผู้โชคดีที่ได้เข้าไปจอยในมูฟเมนต์นี้
ส่วนเรื่องวัฒนธรรมไม่ใช่ปัญหาในการอยู่ที่นี่ ในกรุงเทพฯ ไม่ได้ต่างจากที่ผมมาเท่าไหร่ แต่ถ้าเป็นพื้นที่โลคอลเราอาจจะพอเห็นความต่างทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะคนเจเนอเรชันเดียวกับผมเราเติบโตมาแบบ same content, same technology คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กที่ใช้ สมาร์ตโฟน หรือแอพพลิเคชันต่างๆ
แต่ถ้าจะมีอะไรต่าง ผมคิดว่าคนไทยสนุกกับการเล่นเฟซบุ๊กมาก คือแต่ละวันมีข่าวอะไรเกิดขึ้นเยอะแยะมาก คนรู้สึกยังไงกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับข่าว มันเยอะแยะไปหมด แล้วค่อนข้าง energy มาก เช่น I can enjoy ข่าวรถโรงเรียนชน Noooo! I should not say enjoy.
What I wanna say is I can enjoy social-network and Thai Gossip.
ในแง่วิธีคิดมายด์เซ็ตของคนไทยกับญี่ปุ่นล่ะ
Yeah…It’s different. คนญี่ปุ่นเขาพยายามหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการทำสิ่งต่างๆ เลยชอบที่จะสร้างระบบขึ้นมาจัดการการทำงาน ป้องกันความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ส่วนคนไทยไม่ได้คิดมากเรื่องนั้น คนไทยจะชิลล์กว่า มองทุกอย่างในทางบวกตลอด คนไทยเอนจอยกับการทำงานหน้างาน ณ สถานการณ์จริง ไม่ได้คิดแผนหรือวางระบบอะไรมาก่อน
ผมว่าคนไทยเก่งมากเรื่องโปรดักชันในส่วนของทีมโปรดักชัน จริงๆ ก็ไม่จำเป็นต้องคิดเรื่องระบบเพราะสิ่งเหล่านี้มันจะถูกดูแลแล้วดำเนินการโดยซัพพลายเออร์อยู่แล้ว แต่ของญี่ปุ่น ซัพพลายเออร์เขาจะเข้ามาดูแลเรื่องดีไซน์ไปด้วยเลยเพราะมีทุกอย่างพร้อมแล้ว
อยากรู้จังว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้โกไม่อยากกลับญี่ปุ่น
หลักๆ อย่างแรกที่เล่าไปคือ rush hour ในรถไฟ ต่อมาคือความ noisy ของผู้คนในรถไฟญี่ปุ่น
แต่ที่ไทย ผมไม่เข้าใจภาษาไทยขนาดนั้น (หัวเราะ) สำเนียงเสียงภาษาไทยมันเหมือนเสียงคลื่น so I can feel everyday life keep being like holiday. Yeahhhhhhhh!
แต่ rush hour ในกรุงเทพฯ มันก็แน่นแล้วก็เร่งรีบ น่าอึดอัดไม่ต่างกันนะโก
เออ…มันไม่ได้แย่เท่าที่ญี่ปุ่นนะ แล้วที่นี่ I don’t have to get on the train in rush hour แต่ที่ไทย ผมไม่รู้สึกถึง bad energy จากคนที่นี่
คนญี่ปุ่นจะฮึดสู้ดุเดือดพุ่งตัวทะยานเข้ารถไฟ ทำอย่างไรก็ได้ให้ได้ไปขบวนนั้น ที่กรุงเทพฯ ตอนนี้ยังไม่เดือดขนาดนั้น
อย่างนั้นชีวิตที่ดีของโกคืออะไรล่ะ
ชีวิตที่ดีเหรอ น่าจะเป็นชีวิตที่มีความเครียดเป็นศูนย์ – No stress is the best.
แต่คนเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงความเครียดนั้นได้ สิ่งที่ผมทำได้ก็คือพยายามลดทอนมันลงไม่ให้มากจนเกินไป ถ้ามองความเครียดเป็นหลัก ไทยแลนด์ดีกว่าครับ!
เรียกที่นี่ว่าบ้านได้เต็มปากหรือยังนะ
ได้ ที่นี่เป็นบ้านไปแล้ว ผมมีเพื่อนที่นี่เยอะกว่าที่ญี่ปุ่นไปแล้ว
ทำไมถึงรู้สึกว่าที่นี่เป็นบ้าน บ้านคืออะไร
บ้านเหรอ ผมว่ามันคือเวลาที่เราจินตนาการถึงหน้าใครสักคนออกมาได้แม้ในเวลาที่ยากลำบาก ซึ่งที่ไทย ผมเห็นหน้าใครหลายคนมาก พวกเขาพร้อมช่วย พร้อมอยู่กับเรา
แต่ที่ญี่ปุ่นนะ เวลาจินตนาการถึงหน้าใครสักคนในวันที่ยากลำบาก ผมจะเห็นแต่หน้าครอบครัว นอกจากนี้ก็ไม่มีใคร
ถ้าเปลี่ยนอะไรได้สักอย่างในญี่ปุ่น อยากเปลี่ยนอะไร
เออ จะเปลี่ยนไรดีนะ จะบอกว่าเปลี่ยนเรื่องนโยบายการเมืองอะไรได้ไหมอ่ะ (หัวเราะ ก่อนเงียบไปนานมาก คิดแล้วคิดอีก) โห ยากว่ะ
คือผมมองว่าคนญี่ปุ่นจะค่อนข้างเชื่อมั่นในวิถีทางของตัวเอง และพวกเขาก็ยึดมั่นกับวิถีเหล่านั้นมายาวนาน โลกเองก็ชื่นชมในวิถี ระเบียบวินัย ความเนี้ยบของคนญี่ปุ่น การที่เราเชื่อมั่นกับความสำเร็จในวันเก่าเลยทำให้พวกเขาไม่กระตุ้นตัวเองทำสิ่งใหม่ อย่างที่หลายคนอาจเคยได้ยินกันว่ามีงานวิจัยงานหนึ่งบอกว่า คนญีปุ่นอ่ะทำงานหนักมากเลยนะ จำนวนชั่วโมงทำงานต่อวันเยอะมาก แต่ในความเป็นจริงแล้วผลผลิตที่เกิดขึ้นมันได้แค่ไหนกัน
สถานการณ์ระหว่างญี่ปุ่นเจเนอเรชันโก กับคนญี่ปุ่นเจเนอเรชันก่อนหน้า
เจเนอเรชันผมกับเจเนอเรชันเก่าต่อสู้กันมาตลอด เพราะว่าคนมองว่าญี่ปุ่นเป็นประชาธิปไตยใช่ไหม แต่ดูประชากรส่วนใหญ่ตอนนี้คือมีแต่คนแก่ คนเจนฯ เก่า พวกนโยบายต่างๆ มันก็เลยมาจากคนรุ่นเก่าไม่ใช่รุ่นใหม่ เพราะเป็นเสียงข้างน้อย
เจนฯ เก่า เขา got the good life and good welfare after they old แต่เจนฯ เราอ่ะ We don’t get enough. We are unlucky generation.
ความทรงจำเกี่ยวกับเมืองไทยที่ไปสะกิดต่อมให้โก Home Sick ตอนกลับญี่ปุ่น
กลิ่น! กลิ่นผงซักฟอก กลิ่นของน้ำยาล้างพื้น กลิ่นน้ำยาปรับผ้านุ่ม เวลาคิดถึงเมืองไทยจะได้กลิ่นผงซักฟอก คนญี่ปุ่นบางคนชอบมากเลย (หัวเราะ) (อย่างแถวๆ ซอยแถวอารีย์มันจะเป็นซอยซักรีดอ่ะ เรียกว่าซอยอาม่าแล้วโกจะชอบเดินผ่านไปดม)