ทำไมสตูดิโอกล้าเอาผู้กำกับหญิงที่เคยทำหนังอินดี้ 1 เรื่อง งบ 8 ล้าน มาทำหนังซูเปอร์ฮีโร่งบ 150 ล้าน

หนังเรื่อง
Wonder Woman เป็นผลงานกำกับล่าสุดของ
Patty
Jenkins ซึ่งหลายคนอาจไม่รู้ว่าเธอคือใครมาจากไหน
หนังเรื่องสุดท้ายที่เธอกำกับคือ Monster หนังอินดี้ดราม่านำแสดงโดย
Charlize
Theron
และ Christina
Ricci
หนังเรื่องนั้นทำให้ชาร์ลิซได้รางวัลออสการ์สาขานำหญิงในปีนั้น

ปีนั้นที่ว่าคือ 2003 หนังอินดี้ที่ว่านี้ใช้งบประมาณ
8
ล้านเหรียญ และนั่นคือหนังยาวเรื่องแรกที่เธอกำกับ

แปลว่าก่อนเธอจะมาทำ
Wonder
Woman
เธอเคยทำหนังยาวไปแค่เรื่องเดียวเมื่อ
14
ปีที่แล้ว
และเป็นหนังทุนต่ำ

อะไรทำให้เฮียที่สตูดิโอนั้นมั่นใจผู้กำกับอินดี้น้อยประสบการณ์ให้มาจับโปรเจกต์มูลค่า 150 ล้านที่สร้างมาเพื่อพิชิตโลกและตอบสนองคนหมู่มาก
แน่นอนว่าไม่ใช่เพราะเธอมีสายสัมพันธ์ส่วนตัวหรือเป่ายาเสน่ห์ใส่ใคร แต่ปัจจัยที่ทำให้สตูดิโอยอมเสี่ยง เพราะเหตุผลทางธุรกิจที่พวกเขาคิดว่าคุ้มค่า

จริงๆ แล้วเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่
คุณจะสังเกตเห็นหรือไม่เห็นมากกว่า ในรอบหลายปีนี้
มีผู้กำกับหน้าใหม่จากสายอินดี้มากมายโดนสตูดิโอช้อปมาทำหนังซูเปอร์ฮีโร่
หรือหนังสัตว์ประหลาดฟอร์มยักษ์ทุนร้อยล้าน
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดแล้วเหวอพอสมควรคือการที่คนอย่าง Marc Webb
ผู้กำกับหนังขวัญใจวัยรุ่นอินดิเพนเดนท์อย่าง (500) Days of Summer ได้มีโอกาสก้าวสู่ฮอลลีวู้ดเต็มตัวด้วยการกำกับหนังอย่าง
The Amazing Spider-Man ทำให้เกิดความมึนงงว่าอะไรทำให้เจ้าของสตูดิโอไปชวนตานี่มากำกับ
สไปเดอร์แมนมีความเกี่ยวข้องอย่างไรกับสาวน้อยซัมเมอร์ แต่ก็เอาเถอะ
ถือเป็นโอกาสที่ดีของเขา หรือไม่เขาก็รู้สึกอยากทำหนังแบบมันๆ สนุกๆ ใหญ่ๆ อยู่แล้ว
เพราะความจริงสไตล์ของหนังแบบ (500) days of summer ก็ไม่ได้ถือว่าอาร์ตเนิบแต่อย่างใด
แถมมีความหวือหวาตามรสมือของมาร์คที่เคยเป็นผู้กำกับเอ็มวีมาก่อน

อีกตัวอย่างที่ชัดๆ หน่อยก็คือ Gareth
Edwards
ที่หนังเรื่องแรกของเขาคือ Monsters (คนละ Monster ของแพตตี้) อันนี้เป็นหนังสัตว์ประหลาดทุนต่ำมาก
(5
แสนเหรียญ
ถูกมาก)
เขากำกับ
เขียนบท และเป็นตากล้องด้วย แต่หนังดังและโกยเงินไป 4 ล้าน
ทำให้ 4
ปีถัดมาเขาได้ทำหนัง
Godzilla
ฉบับรีเมกล่าสุดด้วยงบ
160
ล้าน
และอีก 2
ปีถัดมาก็ได้ทำ
Rogue
One
ที่ทุนสร้างคือ
265
ล้านเหรียญ
(อืม
เดินทางมาไกลมากจริงๆ)

ถ้าให้ย้อนไปไกลกว่านี้ มนุษย์อย่าง
Christopher
Nolan
แต่ก่อนก็เคยเป็นคนทำหนังเล็กๆ อย่าง Memento หรือคุณน้า
Peter
Jackson
ก็เคยทำหนังเละๆ ถูกๆ อย่าง Bad Taste มาก่อนที่จะได้ไปทำไตรภาค The Lord
of the Rings
ซึ่งในเวลานี้คนอาจจะลืมสิ่งนี้ไปแล้ว
เพราะแบรนด์ผู้กำกับใหญ่มันได้ทับความอินดี้สมัยเด็กไปหมดแล้ว

จะเห็นได้ว่าเส้นทางของคำว่าผู้กำกับอินดี้ในอเมริกานั้น
ไม่ได้เกี่ยวกับสไตล์หนังแต่อย่างใด มันเกี่ยวข้องแค่ว่า เราเป็นอินดี้
เพราะตอนนี้เรามีเงินสร้างหนังแค่นี้ และเราก็ไม่รู้จักพี่ๆ ในสตูดิโอ
อเมริกาก็กว้างมาก อุตสาหกรรมก็กว้างใหญ่
ดังนั้นวิธีเดียวที่เราจะเข้าไปทำงานในค่ายหนังได้
ก็คือการทำหนังอินดี้และหาทางไปฉายที่เทศกาลหนังซันแดนซ์ให้ได้ เพราะนี่คือสถานที่ที่มีแมวมองมาช้อปหนังและผู้กำกับไปทำงานมากที่สุด
สุดท้ายมันก็คือการหาหนทางเพื่อเข้าสู่ระบบให้ได้แค่นั้นเอง (แต่ก็มีอินดี้สายเทศกาลและเน้นศิลปะนะ
อันนั้นพวกเขาก็จะมุ่งหน้าไปทางแหล่งเงินฝั่งยุโรปมากกว่า ถ้าจะไปเทศกาล
ก็จะพยายามจะเข้าคานส์ให้ได้)

แล้วสาเหตุอะไรที่บรรดาแก๊งสตูดิโอถึงชอบจ้างผู้กำกับหน้าใหม่มาทำหนังไซส์ใหญ่มาก
ทำไมไม่จ้างผู้กำกับดังๆ มาทำแทน
ดูชัวร์กว่า สาเหตุก็ดูจะเป็นเรื่องง่ายๆ ว่าผู้กำกับเด็กค่าจ้างถูกกว่า
และทำงานแบบสู้ตายถวายชีวิตให้มากกว่า (โอกาสทองในชีวิตพวกเขา) มีการพิสูจน์มาแล้วว่าผู้กำกับเหล่านี้
(โดยเฉพาะเด็กยุคนี้) พวกเขามีความสามารถทางโปรดักชันสูง
เพราะเติบโตมากับหนังทุนต่ำ ทำให้รู้จักหาวิธีการเพื่อทำให้หนังทุนต่ำดูลุคเหมือนหนังทุนสูง
ดังนั้นนอกจากจะจ้างผู้กำกับมาทำด้วยค่าตัวที่ไม่แพงมากแล้ว
ทุนสร้างก็อาจจะให้ไม่เยอะมากก็ได้ ตัวผู้กำกับจะไปทำให้มันดูแพงขึ้นมาได้เอง (Neill
Blomkamp สามารถทำหนังงบ
50
ล้านอย่าง
Elysium ให้ออกมาดูเหมือน
100
ล้านได้) มีแต่ได้กับได้ล้วนๆ

ที่สำคัญสุดคือ
ผู้กำกับเด็กควบคุมง่าย พูดอะไรก็ฟัง
เนื่องจากบรรดาผู้กำกับเด็กเหล่านั้นพร้อมจะทำ (และอาจพร้อมจะยอม) เพื่อจะได้พอร์ตโฟลิโอชิ้นงามมาประดับ
และอาจจะเป็นสปริงบอร์ดสำคัญที่ทำให้พวกเขาสามารถโลดแล่นอยู่ในวงการภาพยนตร์ได้อย่างปลอดภัย
ถือเป็น Win-Win Situation

แต่ทั้งหมดนี้จะวิน-วิน
ก็ต่อเมื่อทำหนังแล้วไม่เจ๊งนะ

คนที่เข้ามาแล้วประสบความสำเร็จก็มีมากมาย
แต่บรรดาคนที่เข้ามาแล้วเฟลเลยกลับไปทำอินดี้เหมือนเดิมก็มีมากมาย Josh
Trank
ผู้กำกับจาก Chronicle
ที่โดนช้อปทำ
Fantastic Four ก็ออกมาฉะกันเละกับค่ายโดยประกาศเลยว่าหนังฉบับที่ฉายอยู่โดนสตูดิโอแก้ไขจนเละไปหมด
หรือคนดังอย่าง Spike
Jonze นั้น
พอได้รับโอกาสให้ทำหนังทุนสูงอย่าง Where the Wild Things Are ก็ทำให้ค่ายสูญเงินไปเยอะเหมือนกันจนต้องกลับมาทำหนังสเกลเดิมที่ถนัดอย่าง
Her

กว่าที่แพตตี้
เจนกินส์ จะได้มากำกับ Wonder Woman ก็ดูเป็นเส้นทางที่ยาวไกล เอาเข้าจริงเธอก็ไม่คิดเหมือนกันว่าสุดท้ายจะได้กำกับ
เพราะมีการเข้าไปคุยกันหลายรอบอยู่หลายปีกว่าจะสิ้นสุด
ระหว่างนั้นก็ต้องไปกำกับหนังทีวีเพื่อเลี้ยงชีพ แต่สุดท้ายเธอก็ได้กลายเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้เป็นผู้กำกับหนังแนวซูเปอร์ฮีโร่แบบเต็มๆ
หนังทำเงินและได้รับเสียงชมไปไม่น้อย

ก็พูดยากว่าการทำงานกับสตูดิโอฮอลลีวู้ดนั้นดีหรือไม่ดี
เอาเป็นว่าดีไม่ดีอาจจะไม่สำคัญเท่าว่ามันเหมาะหรือไม่เหมาะกับเรามากกว่า
เพราะแพตตี้เองก็ให้สัมภาษณ์ว่าในช่วงหลายปีที่เข้าๆออกๆ สตูดิโอเพื่อเจรจานั้น สิ่งที่เธอพยายามทำคือการเสนอไอเดียหรือแนวทางในการสร้างหนังเรื่อง Wonder
Woman
แบบที่เธอสนใจ
และได้แต่หวังว่ามันจะเป็นแนวทางแบบที่สตูดิโอเห็นด้วย เพราะถ้าไม่ใช่จริงๆ
เธอก็คงไม่ทำและแยกย้ายอย่างที่เธอเคยปฎิเสธที่จะกำกับภาคต่อของ Thor มาแล้ว

“ความรู้สึกในวันที่เราไปออกกองถ่ายและนั่งตัดหนังในห้องตัดต่อ
เป็นช่วงเวลาที่สำคัญและแท้จริงที่สุดในการทำหนัง
มากกว่าวันที่หนังเราทำเงินหรือวันที่ขึ้นไปรับรางวัล” แพตตี้กล่าว

ไม่น่าแปลกใจที่เธอจะกำกับ
Wonder
Woman
เพราะเธอก็เป็น
Wonder
Woman เช่นกัน

ภาพ heroichollywood.com

AUTHOR