ส่งต่อพลังบวกเพื่อสร้างชุมชนออนไลน์ที่ปลอดภัยกับ TikTok ในแคมเปญ #CreateKindness

ส่งต่อพลังบวกเพื่อสร้างชุมชนออนไลน์ที่ปลอดภัยกับ TikTok ในแคมเปญ #CreateKindness

#CreateKindness

ทุกวันนี้มองไปทางไหนในโลกก็เห็นคนออกมาเรียกร้องและสร้างความตระหนักรู้ต่อประเด็นการล้อเลียน เหยียดเชื้อชาติ และการบูลลี่ เห็นได้จากการรณรงค์ในสื่อเล็ก สื่อใหญ่ หน่วยงานองค์กร หรือกระทั่งเซเลบคนดัง ที่ออกมาพูดเรื่องนี้กันอยู่เรื่อยๆ จนเกิดเป็นกระแสสังคม

ถึงอย่างนั้นเราก็ยังพบเห็นการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์แทบจะทุกวัน หลายครั้งดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ใครจะรู้บ้างว่ามันอาจลุกลามใหญ่โตในภายหลัง และส่งผลกระทบต่อจิตใจของผู้ถูกกระทำจนเราคาดไม่ถึง

จากข้อมูลของกรมสุขภาพจิตที่ได้ทำการสำรวจเมื่อปี 2562 หลายคนอาจจะตกใจเมื่อรู้ว่าบ้านเราติดอันดับ 5 ของโลกในเรื่อง cyberbullying หรือการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ ซึ่งหากดูจากสถานการณ์ปัจจุบัน อันดับของเราคงไม่ได้ดูดีขึ้นนัก แน่นอนว่ากลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากพฤติกรรมนี้มากที่สุดคงหนีไม่พ้นกลุ่มเด็กและเยาวชนที่ยังไม่สามารถดูแลจัดการปัญหาด้านสุขภาพจิตและความเครียดที่เกิดขึ้นได้ โดยช่องทางที่พบการกลั่นแกล้งกันมากที่สุดก็คือโซเชียลมีเดียนั่นเอง

เพราะอย่างนี้ แพลตฟอร์มต่างๆ จึงหันมาให้ความสนใจกับการป้องกันและแก้ไขปัญหานี้มากขึ้น โดยเฉพาะ TikTok แพลตฟอร์มที่เป็นพื้นที่ที่เป็นมิตรและปลอดภัย ได้เดินหน้าขับเคลื่อนพลังบวกบนชุมชนออนไลน์ ผ่านแคมเปญ CreateKindness เพื่อเป้าหมายในการสร้างสรรค์ชุมชนออนไลน์ที่ปลอดภัยและเป็นมิตร เปิดตัวคอนเทนต์วิดีโอ From Meanies to Goodies แคมเปญที่รวมพลัง 6 ครีเอเตอร์ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาแบ่งปันประสบการณ์และความรู้สึกที่เคยได้รับคอมเมนต์ทั้งดีและไม่ดี เพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้สังคม นอกจากนี้ล่าสุด TikTok จึงได้ต่อยอดแคมเปญนี้ในประเทศไทย โดยการเปิดตัวแคมเปญ #CreateKindness ขึ้นเพื่อส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์ในเชิงบวกหรือ positive conversation บนโลกออนไลน์ เพื่อนำไปสู่การสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยบนชุมชนออนไลน์ และรณรงค์ต่อต้านปัญหาการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์หรือ cyberbullying

เราเผลอบูลลี่ใครโดยไม่ตั้งใจไปหรือเปล่า

การกลั่นแกล้งออนไลน์รวมไปถึงการก่อกวน ข่มขู่คุกคาม ให้ร้าย ดูถูกเหยียดหยาม ทำให้กลายเป็นตัวตลก เสียชื่อเสียง จับผิด แฉประจาน จนถึงขั้นใส่ร้ายป้ายสี ซึ่งมักเกี่ยวโยงกับการวิจารณ์รูปร่างหน้าตา นิสัย ฐานะทางสังคม รสนิยม ไปจนถึงความคิดเห็นส่วนบุคคล และคนจำนวนไม่น้อยต้องเจอกับปัญหาสุขภาพจิตหลังเผชิญเหตุการณ์เหล่านี้

มากไปกว่านั้น ข้อมูลจากผลสำรวจดัชนีชี้วัดความปลอดภัยบนสื่อออนไลน์สำหรับเด็ก (COSI ; Child Online Safety Index) เกี่ยวกับสถิติการถูกรังแกบนโลกออนไลน์พบว่าเด็กไทยกว่า 48% เคยเกี่ยวข้องกับการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ และเด็กผู้หญิงมักถูกรังแกมากกว่าเด็กผู้ชาย โดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับรูปลักษณ์ทางเพศ

@thaidmh

#createkindness #กรมสุขภาพจิต

♬ เสียงต้นฉบับ – กรมสุขภาพจิต

ที่ตัวเลขสูงขนาดนั้น เพราะแม้ว่าเราจะมั่นใจว่าไม่เคยบูลลี่ใครแต่บางครั้งคำพูดที่เราไม่คิดหรือคำที่เราคิดว่าเป็นแค่การแซวเล่นๆ อาจกลายเป็นฝันร้ายที่หลอกหลอนคนฟังไปตลอดกาล ยิ่งเป็นการพูดบนโลกโซเชียลที่ง่ายต่อการเข้าใจผิด มีคนเห็นจำนวนมาก แถมยังหลงเหลือเป็นดิจิทัลฟุตปรินต์ กลายเป็นจุดเริ่มต้นของวงจรการระรานทางไซเบอร์ที่ทำร้ายเหยื่อไม่สิ้นสุด

ดังนั้นนอกจากผู้คนที่ต้องมีความตระหนักรู้และไตร่ตรองต่อสารที่จะส่งไปทุกครั้งแล้ว การที่แพลตฟอร์มเข้ามาดูแลจัดการเรื่องนี้อย่างเป็นระบบก็ถือเป็นความร่วมมือสำคัญที่จะช่วยป้องกันหรือลดโอกาสที่จะเกิดปัญหานี้ให้ได้มากขึ้น

แพลตฟอร์มต้องร่วมด้วยช่วยกัน

เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมบนแพลตฟอร์มให้เป็นมิตรที่สุด TikTok ในประเทศไทยจึงได้เปิดตัวแคมเปญ#CreateKindness ในธีม ‘คอมเมนต์นี้ดีต่อใจ’ โดยเชิญชวนทุกคนมาร่วมสร้างพลังบวกด้วยการหยิบคอมเมนต์ดีๆ ที่เคยได้รับมาแชร์ เพื่อให้ผู้คนได้รับรู้ถึงคุณค่าและผลกระทบของคอมเมนต์ที่ส่งถึงกันและเริ่มส่งต่อมิตรไมตรีให้กันในโลกออนไลน์

มากไปกว่านั้น TikTok ยังได้ร่วมมือกับ กรมสุขภาพจิต, สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) และเหล่าครีเอเตอร์ชื่อดัง มาร่วมแชร์คอมเมนต์ดีๆ ที่เคยได้รับเพื่อสร้างการรับรู้ว่าคอมเมนต์นี้มีความหมายแค่ไหน

ไม่ว่าจะเป็น อาตี๋รีวิว @arteereview ครีเอเตอร์รีวิวชื่อดัง เล่าจุดเริ่มต้นการเป็นครีเอเตอร์กว่าจะมีผู้ติดตามกว่าหนึ่งล้านคน เคยได้รับทั้งคอมเมนต์ที่ดีและไม่ดี เขาบอกว่าคอมเมนต์ที่ดีคือพลังใจสำคัญในการสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่ดีต่อไป

@arteereview

 

1 ประโยคเปลี่ยนชีวิต (ดูให้จบนะ) #อาตี๋รีวิว #ตี๋โอ #CreateKindness #ดูแลใจไปด้วยกัน #TikTokUni #รู้หรือไม่ #ประโยคเปลี่ยนชีวิต #ประโยคทรงพลัง #แชร์ได้

♬ Asphyxia(窒息) – 逆时针向

ดร.ต้อง @auzenglish ครีเอเตอร์สาขาภาษายอดเยี่ยมบน TikTok ชวนทุกคนมาบอกต่อ ‘คอมเมนต์นี้ดีต่อใจ’ เพื่อร่วมสร้างสรรค์ชุมชนออนไลน์ที่ดี แม้ทุกคนจะมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกทางความคิดแต่อยากให้วิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ดีกว่าคำพูดที่บั่นทอน หรือคำวิจารณ์เชิงลบ เพื่อสร้างพลังบวกส่งต่อให้กัน

เด็บบี้ ครีเอเตอร์สายไลฟ์สไตล์ @debztrp ถ่ายทอดประสบการณ์ในการดูแลร่างกายและจิตใจของตนเองกับคนรอบข้าง การส่งข้อความที่ดีให้แก่กันอาจจะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ช่วยชีวิตผู้คนมากมาย ดังนั้นหากคนใกล้ตัวกำลังมีปัญหา ส่งต่อข้อความที่ดีหรือแค่โทรศัพท์หากัน ไม่จำเป็นต้องมีคำตอบแต่พร้อมรับฟังก็เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของชีวิตคนได้เลย

@debztep

 

การเข้าใจความรู้สึกตัวเองเป็นจุดเริ่มต้นของการเยียวยาจิตใจ #ดูแลใจไปด้วยกัน #TikTokUni #TikTokforGoodTH #CreateKindness

♬ original sound – Debbie Bazoo

รอบรู้เรื่องญี่ปุ่น @paagjapan ครีเอเตอร์สอนภาษาญี่ปุ่น อยากให้ทุกคนไม่ใช้อารมณ์คอมเมนต์ ควรให้ข้อมูลเพื่อแนะนำกันและกัน ติเพื่อให้เกิดการพัฒนา เพราะตัวเขาเองก็พัฒนาคอนเทนต์ดีๆ จากคำชมและคอมเมนต์ที่ติเพื่อให้คำแนะนำเช่นกัน

โค้ชเบ็น @thehunter_b ครีเอเตอร์ชื่อดังด้านการทำงาน เล่าว่าสำหรับเขาคอมเมนต์ที่ดีเป็นแรงขับเคลื่อนในการผลิตคอนเทนต์ที่ดี จึงอยากชวนทุกคนสร้างคอมเมนต์ที่ดีๆ ให้แก่กัน และการส่งคอมเมนต์ที่ดีแก่เหล่าครีเอเตอร์ที่จะเป็นแรงสนับสนุนการจัดทำชุมชนออนไลน์ที่ดีใน TikTok ต่อไป

และครูพี่แอน @krupann.english ครีเอเตอร์สายการศึกษาที่ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนครีเอเตอร์คนไทยร่วมแคมเปญนี้ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และได้ร่วมแคมเปญในประเทศไทย เพื่อร่วมนำเสนอ ‘คอมเมนต์นี้ดีต่อใจ’ บอกว่าเคยเกือบเลิกสอนหลังจากเจอคอมเมนต์แย่ๆ แต่เพราะคอมเมนต์ที่ดีต่อใจทำให้กลับมาเชื่อมั่นในตัวเอง มีแรงขับเคลื่อนเพื่อสร้างคอนเทนต์ที่มีประโยชน์จนถึงตอนนี้

@krupann.english

Reply to @star1234thailand #createkindness #ดูแลใจไปด้วยกัน #tiktokuni

♬ Paris – Else

ซึ่งหลังจากที่ TikTok ในประเทศไทยได้เปิดตัวแคมเปญ #CreateKindness ในธีม ‘คอมเมนต์นี้ดีต่อใจ’ เพียง 3 วันในช่วง 17-19 กันยายนที่ผ่านมา มีกระแสตอบรับและผู้สนใจแคมเปญเป็นจำนวนมากทำให้จำนวน video view เฉพาะในประเทศไทยสูงถึง 4.6 ล้านวิว ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นและกระแสที่ดี ที่แสดงให้เห็นว่ามีคนจำนวนมากหันมาให้ความสนใจกับเรื่องราวการสร้างพลังบวกผ่านคอมเมนต์ดีๆ และไม่มากก็น้อยจากจำนวน video view 4.6 ล้านวิวข้างต้น ถ้ามีคนตระหนักถึงสิ่งเหล่านี้แค่เพียงครึ่งเดียว ปริมาณ ‘คอมเมนต์นี้ดีต่อใจ’ ที่จะส่งต่อออกไปบนโลกออนไลน์คงมีไม่น้อยเลยทีเดียว

ใครที่อยากสร้างสังคมออนไลน์ให้น่าอยู่ขึ้นสามารถแบ่งปันพลังบวก ส่งต่อพลังงานดีๆ ให้คนอื่น โดยร่วมเป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญ #CreateKindness ในธีม ‘คอมเมนต์นี้ดีต่อใจ’ ด้วยการแบ่งปันคอมเมนต์ดีๆ ที่เคยได้รับ พร้อมติดแฮชแท็ก #CreateKindness บน TikTok

ทุกวันนี้ มองไปทางไหนในโลกก็เห็นคนออกมาเรียกร้องและสร้างความตระหนักรู้ต่อประเด็นการล้อเลียน เหยียดเชื้อชาติ และการบูลลี่ เห็นได้จากการรณรงค์ในสื่อเล็ก สื่อใหญ่ หน่วยงานองค์กร หรือกระทั่งเซเลบคนดัง ที่ออกมาพูดเรื่องนี้กันอยู่เรื่อยๆ จนเกิดเป็นกระแสสังคม
ถึงอย่างนั้น เราก็ยังพบเห็นการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์แทบจะทุกวัน หลายครั้งดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ใครจะรู้บ้างว่ามันอาจลุกลามใหญ่โตในภายหลัง และส่งผลกระทบต่อจิตใจของผู้ถูกกระทำจนเราคาดไม่ถึง
จากข้อมูลของกรมสุขภาพจิตที่ได้ทำการสำรวจเมื่อปี 2562 หลายคนอาจจะตกใจเมื่อรู้ว่าบ้านเราติดอันดับ 5 ของโลกในเรื่อง Cyberbullying หรือการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ ซึ่งหากดูจากสถานการณ์ปัจจุบัน อันดับของเราคงไม่ได้ดูดีขึ้นนัก แน่นอนว่ากลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากพฤติกรรมนี้มากที่สุดคงหนีไม่พ้นกลุ่มเด็กและเยาวชนที่ยังไม่สามารถดูแลจัดการปัญหาด้านสุขภาพและความเครียดที่เกิดขึ้นได้ โดยช่องทางที่พบการกลั่นแกล้งกันมากที่สุดก็คือโซเชียลมีเดียนั่นเอง
ทุกวันนี้ มองไปทางไหนในโลกก็เห็นคนออกมาเรียกร้องและสร้างความตระหนักรู้ต่อประเด็นการล้อเลียน เหยียดเชื้อชาติ และการบูลลี่ เห็นได้จากการรณรงค์ในสื่อเล็ก สื่อใหญ่ หน่วยงานองค์กร หรือกระทั่งเซเลบคนดัง ที่ออกมาพูดเรื่องนี้กันอยู่เรื่อยๆ จนเกิดเป็นกระแสสังคม
ถึงอย่างนั้น เราก็ยังพบเห็นการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์แทบจะทุกวัน หลายครั้งดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ใครจะรู้บ้างว่ามันอาจลุกลามใหญ่โตในภายหลัง และส่งผลกระทบต่อจิตใจของผู้ถูกกระทำจนเราคาดไม่ถึง
จากข้อมูลของกรมสุขภาพจิตที่ได้ทำการสำรวจเมื่อปี 2562 หลายคนอาจจะตกใจเมื่อรู้ว่าบ้านเราติดอันดับ 5 ของโลกในเรื่อง Cyberbullying หรือการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ ซึ่งหากดูจากสถานการณ์ปัจจุบัน อันดับของเราคงไม่ได้ดูดีขึ้นนัก แน่นอนว่ากลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากพฤติกรรมนี้มากที่สุดคงหนีไม่พ้นกลุ่มเด็กและเยาวชนที่ยังไม่สามารถดูแลจัดการปัญหาด้านสุขภาพและความเครียดที่เกิดขึ้นได้ โดยช่องทางที่พบการกลั่นแกล้งกันมากที่สุดก็คือโซเชียลมีเดียนั่นเอง
ทุกวันนี้ มองไปทางไหนในโลกก็เห็นคนออกมาเรียกร้องและสร้างความตระหนักรู้ต่อประเด็นการล้อเลียน เหยียดเชื้อชาติ และการบูลลี่ เห็นได้จากการรณรงค์ในสื่อเล็ก สื่อใหญ่ หน่วยงานองค์กร หรือกระทั่งเซเลบคนดัง ที่ออกมาพูดเรื่องนี้กันอยู่เรื่อยๆ จนเกิดเป็นกระแสสังคม
ถึงอย่างนั้น เราก็ยังพบเห็นการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์แทบจะทุกวัน หลายครั้งดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ใครจะรู้บ้างว่ามันอาจลุกลามใหญ่โตในภายหลัง และส่งผลกระทบต่อจิตใจของผู้ถูกกระทำจนเราคาดไม่ถึง
จากข้อมูลของกรมสุขภาพจิตที่ได้ทำการสำรวจเมื่อปี 2562 หลายคนอาจจะตกใจเมื่อรู้ว่าบ้านเราติดอันดับ 5 ของโลกในเรื่อง Cyberbullying หรือการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ ซึ่งหากดูจากสถานการณ์ปัจจุบัน อันดับของเราคงไม่ได้ดูดีขึ้นนัก แน่นอนว่ากลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากพฤติกรรมนี้มากที่สุดคงหนีไม่พ้นกลุ่มเด็กและเยาวชนที่ยังไม่สามารถดูแลจัดการปัญหาด้านสุขภาพและความเครียดที่เกิดขึ้นได้ โดยช่องทางที่พบการกลั่นแกล้งกันมากที่สุดก็คือโซเชียลมีเดียนั่นเอง
ทุกวันนี้ มองไปทางไหนในโลกก็เห็นคนออกมาเรียกร้องและสร้างความตระหนักรู้ต่อประเด็นการล้อเลียน เหยียดเชื้อชาติ และการบูลลี่ เห็นได้จากการรณรงค์ในสื่อเล็ก สื่อใหญ่ หน่วยงานองค์กร หรือกระทั่งเซเลบคนดัง ที่ออกมาพูดเรื่องนี้กันอยู่เรื่อยๆ จนเกิดเป็นกระแสสังคม
ถึงอย่างนั้น เราก็ยังพบเห็นการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์แทบจะทุกวัน หลายครั้งดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ใครจะรู้บ้างว่ามันอาจลุกลามใหญ่โตในภายหลัง และส่งผลกระทบต่อจิตใจของผู้ถูกกระทำจนเราคาดไม่ถึง
จากข้อมูลของกรมสุขภาพจิตที่ได้ทำการสำรวจเมื่อปี 2562 หลายคนอาจจะตกใจเมื่อรู้ว่าบ้านเราติดอันดับ 5 ของโลกในเรื่อง Cyberbullying หรือการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ ซึ่งหากดูจากสถานการณ์ปัจจุบัน อันดับของเราคงไม่ได้ดูดีขึ้นนัก แน่นอนว่ากลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากพฤติกรรมนี้มากที่สุดคงหนีไม่พ้นกลุ่มเด็กและเยาวชนที่ยังไม่สามารถดูแลจัดการปัญหาด้านสุขภาพและความเครียดที่เกิดขึ้นได้ โดยช่องทางที่พบการกลั่นแกล้งกันมากที่สุดก็คือโซเชียลมีเดียนั่นเอง

AUTHOR