ความท้าทายของธุรกิจภาคพลังงาน ในวันที่โลกไม่ต้องการเชื้อเพลิงฟอสซิล

เมื่อการ ‘รักษ์โลก’ ไม่ได้เป็นเพียงแค่คำพูดโลกสวย หรือตามเทรนด์อีกต่อไป ทุกวันนี้กลายเป็นวาระที่ทั่วทั้งโลกได้ตั้งเป้าหมายร่วมกัน ที่ต้องการให้อุณหภูมิของโลกไม่เพิ่มตัวเลขมากขึ้น ซึ่งอยากคงไว้ในอุณหภูมิ 1.5 องศาในการบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG Emissions) ภายในปี 2593

ซึ่งแน่นอนว่านี่คือเรื่องของเราทุกคนที่ต้องรับผิดชอบร่วมกัน ทว่าตัวแปรสำคัญของการจะบรรลุกลไกนี้ได้ คงหนีไม่พ้นบทบาทของภาคพลังงาน เพราะการใช้พลังงานไฟฟ้าที่มาจาการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงฟอสซิล คือตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด

ดังนั้นการเปลี่ยนผ่านจากเชื้อเพลิงฟอสซิลสู่พลังงานสะอาดหรือพลังงานหมุนเวียน จึงเป็นสิ่งที่ถูกพูดถึงเพิ่มมากขึ้นในทุกๆ ปี เนื่องจากมันเป็นแหล่งพลังงานจากธรรมชาติที่ใช้แล้วไม่มีวันหมดไป รวมถึงลดปัญหามลพิษ และไม่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศเหมือนพลังงานในรูปแบบอื่นๆ จึงทำให้กลายมาเป็นพลังงานทางเลือกใหม่ที่มีความสำคัญมาก และสามารถนำไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำได้

ในปัจจุบันได้มีองค์กรมากมายที่ให้ความตระหนักในเรื่องนี้ และต้องการเป็นส่วนหนึ่งของการก้าวสู่เป้าหมายดังกล่าว หนึ่งในนั้นคือ ซีเค พาวเวอร์ (CKPower) เป็นหนึ่งในผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่ใหญ่ที่สุดและมีคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่ต่ำที่สุดรายหนึ่งของภูมิภาค โดยบริษัทเชื่อมั่นว่าการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนจะช่วยลดผลกระทบเชิงลบ และเสริมสร้างผลกระทบเชิงบวกทั้งต่อธุรกิจและกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องตลอดห่วงโซ่คุณค่า ที่ได้ขับเคลื่อนธุรกิจด้วยพลังงานสะอาดหรือพลังงานหมุนเวียน โดยการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมชุมชน สังคม และผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนครอบคลุมมิติ ESG ภายใต้ 3 กลยุทธ์หลัก คือ ซี (C) เค (K) พี (P) 

มิติสิ่งแวดล้อม C – ไฟฟ้าสะอาด (Clean Electricity) ดำเนินธุรกิจด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างสมดุลระหว่างการรักษาสิ่งแวดล้อม การฟื้นฟูระบบนิเวศ และความหลากหลายทางชีวภาพ ขณะที่คงศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าได้อย่างมีเสถียรภาพ มิติสังคม K – เพื่อนบ้านที่ดี (Kind Neighbor) ด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างคุณค่าให้กับชุมชน สังคม และผู้มีส่วนได้เสียทั้งทางตรงและทางอ้อม และ มิติบรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ P – พันธมิตรที่ยั่งยืน (Partnership for Life) มุ่งเสริมศักยภาพให้พร้อมรับมือกับความท้าทายและสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยลงทุนผ่านการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในประเทศและภูมิภาคอาเซียน รวมถึงสร้างผลตอบแทนที่ดีและเป็นธรรมแก่ลูกค้าและผู้ถือหุ้น

พลังงานสะอาด กับความมั่นคงพลังงานในประเทศ

CKPower ได้มุ่งมั่นผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ไม่ว่าจะเป็นพลังงานแสงอาทิตย์และ พลังงานน้ำ โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นไปตามพันธกิจและตอบโจทย์กลยุทธ์ความยั่งยืนในองค์กร ปัจจุบัน CKPower มีโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในกลุ่มบริษัทในเครือที่สามารถผลิตไฟฟ้าสะอาดส่งให้ประเทศไทยได้ กว่า  9,500,000 เมกะวัตต์-ชั่วโมงหรือคิดเป็นกว่า 18% ของไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนที่ใช้ในประเทศทั้งหมดในปี 2565  ช่วยหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 5 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี 

การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนนั้น นอกจากจะเป็นพลังงานสะอาดที่ดีต่อโลกแล้ว ยังมีราคาค่าไฟที่ถูกและไม่มีผลต่อค่า Ft จากการผันผวนของราคาเช่นเดียวกับพลังงานอื่นๆ  โดยเฉพาะการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ มีราคาเฉลี่ย เพียงหน่วยละ 2.16 บาท ซึ่งจําหน่ายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ในอัตราคงที่ตลอดอายุสัญญาสัมปทาน 29 ปี 

ทั้งนี้ ในปี พ.ศ. 2566 CKPower มีกำลังการติดตั้งผลิตไฟฟ้าอยู่ที่ 3,627 เมกะวัตต์ ซึ่ง 93% มาจากพลังงานหมุนเวียน และตั้งเป้าหมายภายในปี พ.ศ. 2567 จะเพิ่มกำลังการการติดตั้งผลิตไฟฟ้าเป็น 4,800 เมกะวัตต์ โดย 95% ของกำลังการผลิตติดตั้งทั้งหมดจะมาจากพลังงานหมุนเวียน ซึ่งมารวมถึงการลงทุนในโครงการใหม่ๆ เช่น การใช้กระแสไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานแสงอาทิตย์ในการเดินรถขนส่งมวลชนรถไฟฟ้าระบบรางครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศไทยและสนับสนุนการขับเคลื่อนประเทศสู่เป้าหมาย Carbon Neutrality ภายในปี 2050 ตามที่รัฐบาลกําหนด

‘โครงการหิ่งห้อย’ ช่วยเหลือชุมชน ด้วยพลังงานสะอาด

นอกจากการผลักดันภาคใหญ่ของประเทศด้วยการขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านพลังงานไปสู่การใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นพลังงานหลักแล้ว CKPower ยังมุ่งขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านการใช้พลังงานหมุนเวียนครอบคลุมไปยังภาคชุมชน โดยได้กำหนดกลยุทธ์การดูแลชุมชนและสังคมที่สามารถตอบสนองความต้องการและยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน โดยใช้ขีดความสามารถทางด้านวิศวกรรมพลังงานสะอาดมาเติมเต็มชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) และสร้างประโยชน์ที่สามารถวัดผลได้ ซึ่งบริษัทได้กำหนดทิศทางขับเคลื่อนภายใต้กรอบการดำเนินงานสร้างคุณค่าทางสังคม ช่วงพ.ศ. 2565 – 2569  หรือ CSR Strategy Framework  2022 – 2026  ครอบคลุมทั้งมิติสังคม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ ได้แก่

 1.) ส่งเสริมคุณภาพชีวิต ช่วยเพิ่มการเข้าถึงพลังงานหมุนเวียนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี  2.) ดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่ออนุรักษ์ ปกป้อง ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน 3.) สร้างความมั่นคงทางอาชีพ เพื่อต่อยอดนวัตกรรม สร้างโอกาสพัฒนาอาชีพชุมชน 

ภายใต้กรอบการดำเนินงานสร้างคุณค่าทางสังคม หรือ CSR Strategy Framework 2022 – 2026  บริษัทได้ดำเนินการผ่านกลยุทธ์ “เติม-ต่อ-ร่วม-สร้าง” กล่าวคือ “เติม” หมายถึงการที่ CKPower ได้ใช้ขีดความสามารถมาเติมเต็มชุมชน สังคม และผู้มีส่วนได้เสีย “ต่อ” คือ การนำแนวคิดนวัตกรรมกระบวนการมาพัฒนาต่อยอดสู่ความยั่งยืน และ “ร่วม” คือ การมีส่วนร่วมของพนักงานกับผู้มีส่วนได้เสีย นำมาสู่การ “สร้าง” คือ สร้างความร่วมมือกับเครือข่ายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

โครงการที่มุ่งขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านการใช้พลังงานหมุนเวียนครอบคลุมไปยังภาคชุมชน ที่พนักงานได้ร่วมกันพัฒนาด้วยกันนี้ คือ ‘โครงการหิ่งห้อย’ ที่เกิดขึ้นจากวิสัยทัศน์ของผู้บริหารที่มุ่งเน้นการนำองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญทางด้านวิศวกรรมการผลิตไฟ้ฟ้าของพนักงานมาช่วยเหลือสังคมในพื้นที่ห่างไกลของประเทศไทยและสปป.ลาว  บริษัทเริ่มดำเนินโครงการหิ่งห้อยตั้งแต่ปีพ.ศ. 2559 ซึ่งได้มีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 ( 2559 – 2565 ) โดยได้ดำเนินการครอบคลุมชุมชนรอบโรงไฟ้ฟ้าในเครือและชุมชนอื่นๆ  แล้ว 41 สาธารณสมบัติ ทั้งในประเทศไทย และ สปป.ลาว เพื่อสนับสนุนให้เด็กและเยาวชน 1,753 คน สามารถเข้าถึงสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานในชีวิตประจำวัน ต่อยอดการลงมือทำเพื่อส่งผ่านความรู้เกี่ยวกับพลังงานหมุนเวียนให้กับชุมชนถึง 8 แหล่งเรียนรู้ ผ่านการร่วมแรงร่วมใจของจิตอาสาซีเค พาวเวอร์  928  คน ประสานภาคีเครือข่าย 20 เครือข่าย เพื่อให้บรรลุพันธกิจการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ตามเป้าหมายที่องค์กรสหประชาชาติประกาศไว้

และนอกจากโครงการหิ่งห้อยที่ CKPower ได้ลงมือพัฒนาเองแล้ว ในด้านส่งต่อความรู้เรื่องพลังงานหมุนเวียน CKPower ได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายหลายแห่ง เพื่อสร้างการเข้าถึงความรู้เกี่ยวกับพลังงานหมุนเวียน อันจะส่งต่อไปสู่การเปลี่ยนผ่านทั้งในภาคเศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็นรูปธรรม เช่น  สถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมวางแผนและออกแบบจัดทำโมเดล “ECO School Revolution” ในโครงการ Envi Mission กับภารกิจรักษ์สิ่งแวดล้อม ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษากว่า 80 คนจากทั่วประเทศ ได้มาศึกษาเรียนรู้เรื่องพลังงานหมุนเวียนและปลูกฝังแนวคิดรักษ์สิ่งแวดล้อม

นอกจากนี้ ยังได้สนับสนุน มูลนิธิ ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ (Teach for Thailand) ในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า เพื่อส่งเสริมครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงให้นำความรู้ทางด้านพลังงานหมุนเวียนมาประยุกต์กับการเรียนการสอนแก่เด็กนักเรียนโรงเรียนอุดมศีลวิทยา โรงเรียนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าบางปะอิน โคเจนเนอเรชั่น และโรงเรียนปักธงชัยชุณหะวัณวิทยาคาร โรงเรียนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าบางเขนชัยโซลาร์ ทั้งหมด 400 คน รวมทั้งต่อยอดให้โรงเรียนและชุมชนรอบพื้นที่โรงไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรี และโรงไฟฟ้าพลังน้ำ น้ำงึม 2 จัดตั้งกองทุนพลังงานหมุนเวียนครบทั้งในประเทศไทย และสปป.ลาว เพื่อเสริมสร้างการดูแลโครงการพลังงานหมุนเวียนร่วมกันอย่างยืน นับว่าเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่สร้างคุณค่าสู่สังคมและเป็นไปตามแผน CSR Strategy Framework  ในระยะเวลา 5 ปี ของซีเค พาวเวอร์

ก้าวต่อไปในด้านพลังงานสะอาดของ CKPower

ตลอดกว่า 10 ปีที่ผ่านมา ซีเค พาวเวอร์ ได้มุ่งมั่นผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด และไม่หยุดพัฒนาเพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าพลังน้ำคือพลังงานที่สะอาดและยั่งยืน พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความมั่นคงทางพลังงานและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ บนกรอบพื้นฐานการดำเนินงานด้วยความยั่งยืนบนกลยุทธ์ ESG  ควบคู่ไปกับการสร้างคุณค่าสู่ชุมชนและสังคม สอดรับกับวิสัยทัศน์  “พลังงานสะอาดสู่สังคมคาร์บอนต่ำ”  เพื่อสร้างเสถียรภาพด้านพลังงานให้กับประเทศและต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ บนกรอบยุทธศาสตร์ระยะยาวเพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ( Net Zero GHG Emissions ) ภายในปี พ.ศ. 2593 หรือ ค.ศ. 2050 เพื่อตอกย้ำว่า พลังงานหมุนเวียนจะช่วยผลักดันให้ทุกภาคส่วนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้อย่างแท้จริง CKPower: Renewable Electricity for a Sustainable Future

AUTHOR