Mulyana ศิลปินแห่ง ‘ANIMA MUNDI’ นิทรรศการโลกใต้ทะเลจากขยะที่น่ารักจนอยากรักโลก

Highlights

  • ANIMA MUNDI: Soul of the World คือนิทรรศการโลกใต้ทะเลที่ทำจากเศษผ้า ไหมพรมเหลือใช้ และวัสดุเหลือใช้อีกมากมาย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้คนได้เข้ามาสนุกไปกับนิทรรศการพร้อมๆ กับที่เรียนรู้เรื่องปัญหาขยะในท้องทะเลไปพร้อมๆ กัน
  • เบื้องหลังนิทรรศการนี้คือ Mulyana ศิลปินชาวอินโดนีเซียที่ถนัดใช้เทคนิคการถักทอสร้างผลงานศิลปะขนาดยักษ์ โดยครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่เขาแสดงผลงานในเมืองไทย ทั้งยังเป็นนิทรรศการครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เขาเคยจัดมาด้วย
  • วัสดุเหลือใช้ส่วนใหญ่ที่มูล์ยานะใช้นำมาจากโรงงานในเมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นบ้านเกิดของเขาและเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยโรงงาน
  • นิทรรศการ ANIMA MUNDI: Soul of the World จัดขึ้นระหว่างวันที่ 2 สิงหาคม - 1 กันยายน 2562 ณ เซ็นทรัล เอ็มบาสซี

Mulyana

ยินดีต้อนรับสู่ ANIMA MUNDI: Soul of the World นิทรรศการแห่งท้องทะเลที่เต็มไปด้วยของเหลือใช้

แวบแรกคุณอาจสงสัยว่าของที่ถูกทอดทิ้งซ่อนอยู่ตรงไหน ในเมื่อมองไปก็เห็นแต่เส้นด้ายที่ถักทอกันเป็นงานศิลปะขนาดยักษ์ ทั้งหมู่ปะการังสีสันสดใส ฝูงปลาสีเหลืองแหวกว่ายอยู่เหนือหัว เจ้าปลาหมึกตัวใหญ่โตมโหฬารที่เข้าไปเล่นข้างในตัวได้ รวมไปถึงซากวาฬเหล็กที่ปกคลุมด้วยต้นไม้เขียวชอุ่ม

และทั้งหมดนั่นแหละคือของเหลือใช้ที่เราพูดถึง

Mulyana

เบื้องหลังนิทรรศการศิลปะจากของเหลือที่น่ารักครั้งนี้คือ ‘Mulyana’ หรือ ‘มูล์ยานะ’ ศิลปินชาวอินโดนีเซียผู้ถนัดในการถักทอเส้นด้ายด้วยเทคนิคนิตติ้งและโครเชต์ให้เป็นงานศิลปะขนาดยักษ์ที่คนเข้าไปเล่นได้ เขาเคยจัดแสดงงานมาแล้วหลายครั้งในอินโดนีเซีย ได้รับเชิญไปจัดแสดงผลงานร่วมกับแบรนด์ดังในต่างประเทศก็หลายครั้ง รวมถึงเคยร่วมงานกับแบรนด์ไฮเอนด์อย่าง Hermès ส่วนคราวนี้เป็นครั้งแรกที่เขาขนงานศิลปะมาจัดนิทรรศการครั้งแรกในเมืองไทยที่เซ็นทรัล เอ็มบาสซี และเป็นนิทรรศการครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เขาเคยจัดมา

แม้เทคนิคที่ใช้จะเป็นการถักทอที่ดูนุ่มนวล แต่สิ่งที่มูล์ยานะอยากสื่อสารกลับลึกซึ้งไม่แพ้ท้องทะเล

“ผมเริ่มต้นจากการทำงานกับไหมพรมและเส้นด้ายธรรมดาๆ ก่อน แต่เมื่อดูข่าว ผมมักจะเห็นข่าวเรื่องสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะข่าวเรื่องขยะในมหาสมุทร เช่น เรื่องขยะพลาสติกหรือวาฬที่กินถุงพลาสติกเข้าไปจนตาย ผมรับรู้ข่าวแบบนี้เยอะมาก มันทำให้ผมรู้สึกว่านี่คือปัญหาของพวกเราทุกคน”

Mulyana

จากผลงานที่บอกเล่าเรื่องราวส่วนตัวและความลึกลับซับซ้อนในจิตใจ สองปีที่แล้วศิลปินหนุ่มจึงลุกขึ้นมาทำงานที่สื่อสารเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นครั้งแรก และเพื่อให้คอนเซปต์แข็งแรงเขาจึงเฟ้นหาของเหลือใช้จากโรงงานที่มีอยู่มากมายในบันดุง บ้านเกิดของเขา มาทำเป็นงานศิลปะเสียเลย

“ผมคิดว่าศิลปะคือสิ่งที่ย้ำเตือนผู้คนได้นะ สิ่งที่ผมทำคือการสร้างผลงานที่ย้ำเตือนตัวผมเองและนำมันมาแชร์กับคนอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นความรู้หรือความสุข ผมว่าศิลปะเป็นสื่อที่สำคัญมากในการสื่อสารกับคน ส่วนใหญ่คนจะเห็นหน้าตาของงานศิลปะก่อน จากนั้น ถ้าพวกเขาชอบสิ่งที่เห็นก็จะอยากรู้ต่อเองว่าผลงานนั้นพูดถึงอะไร นั่นคือจุดที่เราให้ความรู้เขาได้”

ในงานนี้เราจึงเห็นป้ายอธิบายหลบอยู่ตรงมุม ปล่อยให้งานศิลปะของเขาทำงานด้วยตัวของมันเอง และนอกจากความน่ารักที่ผลงานแต่ละชิ้นมอบให้ ความสนุกในการดูงานยังอยู่ที่การได้ขบคิดว่า ชิ้นส่วนแต่ละชิ้นทำมาจากวัสดุรีไซเคิลแบบไหนบ้าง เช่น เก้าอี้ที่มูล์ยานะเชื้อเชิญให้เราเอนกายลงไป เมื่อใช้สายตามองให้ดี ลวดลายปะการังเหล่านั้นล้วนประกอบขึ้นจากเชือกพลาสติกทั้งสิ้น

Mulyana

Anima Mundi

เขาค่อยๆ อธิบายไล่เรียงไปทีละชิ้นตั้งแต่เจ้าปลาหมึกตัวใหญ่นามว่า Alter Ego ที่ได้แรงบันดาลใจจากชีวิตวัยเด็กของศิลปินเอง ด้านในตัวเปิดให้คนเข้าไปเล่นด้วยการนำหมอนรูปร่างต่างๆ มาถือและถ่ายรูปกับกระจก เพื่อสร้างมอนสเตอร์ของตัวเอง ส่วนด้านนอกคือหนวดอวบอ้วนที่แผ่กระจายไปทั่วพื้นที่ เป็นตัวแทนมือของมนุษย์ที่สามารถทำลายและรักษาสิ่งแวดล้อมได้ ความลับคือด้านในหนวดแต่ละเส้นยัดไว้ด้วยถุงที่บรรจุขยะจนป่อง

Mulyana

เขยิบจากปลาหมึกออกมาหน่อยคือฝูงตุ๊กตาวาฬตัวนุ่มที่ยัดไส้ด้วยเศษผ้าเหลือใช้ ใกล้กันคือหมู่ปะการังจากไหมพรมรีไซเคิล ส่วนด้านนอกห้างที่ติดกับถนนวิทยุคือไฮไลต์ของงานอย่างซากวาฬขนาดใหญ่ที่มูล์ยานะออกแบบและใช้เศษเหล็กเก่าๆ นำมาขัดจนมันวาว ประกอบกันเพื่อสื่อถึงความตายของสัตว์ในธรรมชาติจากน้ำมือของมนุษย์

“และหากเราไม่ช่วยกันดูแลโลก จุดจบของเราอาจไม่ต่างกัน”​ เขาว่า

“ANIMA MUNDI เป็นภาษาละตินแปลว่า soul of the world หรือจิตวิญญาณของโลก ผมรู้สึกว่าจิตวิญญาณคือสิ่งสำคัญมาก เพราะว่าถ้าจิตวิญญาณของเราตายเราก็ตาย ดังนั้นเราต้องรักษาจิตวิญญาณไว้ ซึ่งจิตวิญญาณของโลกก็คือสิ่งแวดล้อมนั่นเอง”

Mulyana

เรากวาดสายตาไปรอบๆ เพื่อมองดูงานศิลปะสีสันหลากหลายของเขา

งานหน้าตาน่ารักแบบนี้จะสื่อสารวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมอันน่าหดหู่ได้จริงหรือ? เราถาม

“ผมทำงานแบบนี้แค่เพราะผมอยากจะมีความสุข” ศิลปินหนุ่มตอบอย่างรวดเร็วพร้อมหัวเราะอย่างอารมณ์ดี “ผมอยากแชร์ความสุขให้คนอื่นๆ ด้วยงานศิลปะของผม มันเป็นวิธีที่ผมเชื่อมโยงกับผู้คน ด้วยการทำงานแบบนี้คนทุกวัยสามารถเข้าถึงงานของผมได้ ไม่ใช่แค่คนประเภทใดประเภทหนึ่งเท่านั้น

“คุณจะเห็นว่างานแต่ละชิ้นของผมมีขนาดใหญ่มาก อย่างแรกเป็นเพราะตอนอยู่ที่บันดุงที่นั่นผมทำงานที่เล่าเรื่องของตัวเองและทำด้วยตัวคนเดียว งานจึงมีขนาดเล็กกว่านี้ แต่พอผมย้ายมาอยู่ที่ยอกยาการ์ตา ที่นี่ผมเริ่มทำงานกับชุมชนมากขึ้น งานของผมเลยใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เพราะมีคนช่วย อีกเหตุผลที่ผมอยากทำงานชิ้นใหญ่ๆ เพราะงานโครเชต์และนิตติ้งถ้าทำขนาดเล็กๆ คนจะมองว่ามันเป็นงานคราฟต์ แต่พอมันใหญ่โตมโหฬารคนก็จะรู้สึกว้าวและเห็นว่ามันเป็นงานศิลปะมากขึ้น”

ระหว่างที่คุยกัน รอบข้างของเราคือเด็กวัยหัดเดินที่ปีนป่ายบนเก้าอี้และสนุกกับการทิ้งตัวลงบนตุ๊กตาวาฬ ขณะที่ผู้ใหญ่หลายคนพากันมาเดินดูงานด้วยสายตาชื่นชมความละเอียดลออของศิลปิน

ท้ายที่สุดแล้ว อะไรคือสิ่งที่เขาอยากสื่อสารกับผู้คนผ่านนิทรรศการครั้งนี้

“ผมอยากให้คนได้รู้สึกสนใจธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ได้สำรวจงานของผม ได้แรงบันดาลใจ และได้สนุกด้วย” มูล์ยานะกล่าวทิ้งท้าย


นิทรรศการ ANIMA MUNDI: Soul of the World จัดขึ้นที่ชั้น G เซ็นทรัล เอ็มบาสซีและบริเวณหน้าเซ็นทรัล เอ็มบาสซี ตั้งแต่วันที่ 2 สิงหาคม – 1 กันยายน 2562 ใครติดใจนิทรรศการจะซื้อของที่ระลึกติดมือกลับบ้านด้วยก็ได้เช่นกัน ยืนยันว่าทุกชิ้นผลิตจากวัสดุรีไซเคิลเพื่อช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมให้อยู่กับเราไปนานๆ

ยินดีต้อนรับสู่ ANIMA MUNDI: Soul of the World นิทรรศการแห่งท้องทะเลที่เต็มไปด้วยของเหลือใช้
แวบแรกคุณอาจสงสัยว่าของที่ถูกทอดทิ้งซ่อนอยู่ตรงไหน ในเมื่อมองไปก็เห็นแต่เส้นด้ายที่ถักทอกันเป็นงานศิลปะขนาดยักษ์ ทั้งหมู่ปะการังสีสันสดใส ฝูงปลาสีเหลืองแหวกว่ายอยู่เหนือหัว เจ้าปลาหมึกตัวใหญ่โตมโหฬารที่เข้าไปเล่นข้างในตัวได้ รวมไปถึงซากวาฬเหล็กที่ปกคลุมด้วยต้นไม้เขียวชอุ่ม
และทั้งหมดนั่นแหละคือของเหลือใช้ที่เราพูดถึง
เบื้องหลังนิทรรศการศิลปะจากของเหลือที่น่ารักครั้งนี้คือ ‘Mulyana’ หรือ ‘มูล์ยานะ’ ศิลปินชาวอินโดนีเซียผู้ถนัดในการถักทอเส้นด้ายด้วยเทคนิคนิตติ้งและโครเชต์ให้เป็นงานศิลปะขนาดยักษ์ที่คนเข้าไปเล่นได้ เขาเคยจัดแสดงงานมาแล้วหลายครั้งในอินโดนีเซีย ได้รับเชิญไปจัดแสดงผลงานร่วมกับแบรนด์ดังในต่างประเทศก็หลายครั้ง รวมถึงเคยร่วมงานกับแบรนด์ไฮเอนด์อย่าง Hermès ส่วนคราวนี้เป็นครั้งแรกที่เขาขนงานศิลปะมาจัดนิทรรศการครั้งแรกในเมืองไทยที่เซ็นทรัล เอ็มบาสซี และเป็นนิทรรศการครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เขาเคยจัดมา
แม้เทคนิคที่ใช้จะเป็นการถักทอที่ดูนุ่มนวล แต่สิ่งที่มูล์ยานะอยากสื่อสารกลับลึกซึ้งไม่แพ้ท้องทะเล
“ผมเริ่มต้นจากการทำงานกับไหมพรมและเส้นด้ายธรรมดาๆ ก่อน แต่เมื่อดูข่าว ผมมักจะเห็นข่าวเรื่องสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะข่าวเรื่องขยะในมหาสมุทร เช่น เรื่องขยะพลาสติกหรือวาฬที่กินถุงพลาสติกเข้าไปจนตาย ผมรับรู้ข่าวแบบนี้เยอะมาก มันทำให้ผมรู้สึกว่านี่คือปัญหาของพวกเราทุกคน”
จากผลงานที่บอกเล่าเรื่องราวส่วนตัวและความลึกลับซับซ้อนในจิตใจ สองปีที่แล้วศิลปินหนุ่มจึงลุกขึ้นมาทำงานที่สื่อสารเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นครั้งแรก และเพื่อให้คอนเซปต์แข็งแรงเขาจึงเฟ้นหาของเหลือใช้จากโรงงานที่มีอยู่มากมายในบันดุง บ้านเกิดของเขา มาทำเป็นงานศิลปะเสียเลย
“ผมคิดว่าศิลปะคือสิ่งที่ย้ำเตือนผู้คนได้นะ สิ่งที่ผมทำคือการสร้างผลงานที่ย้ำเตือนตัวผมเองและนำมันมาแชร์กับคนอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นความรู้หรือความสุข ผมว่าศิลปะเป็นสื่อที่สำคัญมากในการสื่อสารกับคน ส่วนใหญ่คนจะเห็นหน้าตาของงานศิลปะก่อน จากนั้น ถ้าพวกเขาชอบสิ่งที่เห็นก็จะอยากรู้ต่อเองว่าผลงานนั้นพูดถึงอะไร นั่นคือจุดที่เราให้ความรู้เขาได้”
ในงานนี้เราจึงเห็นป้ายอธิบายหลบอยู่ตรงมุม ปล่อยให้งานศิลปะของเขาทำงานด้วยตัวของมันเอง และนอกจากความน่ารักที่ผลงานแต่ละชิ้นมอบให้ ความสนุกในการดูงานยังอยู่ที่การได้ขบคิดว่า ชิ้นส่วนแต่ละชิ้นทำมาจากวัสดุรีไซเคิลแบบไหนบ้าง เช่น เก้าอี้ที่มูล์ยานะเชื้อเชิญให้เราเอนกายลงไป เมื่อใช้สายตามองให้ดี ลวดลายปะการังเหล่านั้นล้วนประกอบขึ้นจากเชือกพลาสติกทั้งสิ้น

AUTHOR

PHOTOGRAPHER

ณัฐปคัลภ์ ทัศนวิริยกุล

นักเรียนฟิล์มที่มาฝึกงานช่างภาพ รักการถ่ายรูป ชอบกินของอร่อย และชอบใช้เวลากับครอบครัว เพื่อนสนิท คนรัก