คุณกำลังพิมพ์รายงานอยู่แล้วเสียงแจ้งเตือนอีเมลก็ดังขึ้น คุณเปลี่ยนแท็บไปเช็กอีเมล ทันใดนั้นโนติฯ ไลน์จากหัวหน้าก็เด้งรัวๆ คุณรีบสวิตช์หน้าจอไปตอบไลน์ จากนั้นก็กลับไปพิมพ์งานต่อ ก่อนจะนึกได้ว่ายังไม่ทันได้ตอบอีเมลที่เข้ามาก่อนหน้านี้ คุณจึงเปลี่ยนแท็บกลับไปตอบอีเมล…
เชื่อไหมว่าที่ร่ายเรียงมาด้านบนเพิ่งผ่านไป 5 นาทีเท่านั้น แต่ลำดับเหตุการณ์แสนยุ่งเหยิงเช่นนี้สามารถร่ายยาวต่อไปจนครบ 8 ชั่วโมงของเวลาทำงาน และเผลอๆ สำหรับบางคนอาจลากยาวไปจนถึงก่อนเข้านอนด้วยซ้ำ
ชีวิตประจำวันอันแสนยุ่งเหยิงไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับวัยทำงาน ไม่ว่าจะตำแหน่งไหน สายงานใด การ multi-tasking หรือการทำหลายสิ่งพร้อมกันถือเป็นเรื่องปกติธรรมดา บางบริษัทถึงกับลิสต์คำว่า multi-tasking เป็นหนึ่งในคุณสมบัติของผู้สมัครงานที่กำลังตามหา
ดูเหมือนว่าทักษะการทำหลายอย่างพร้อมกันจะกลายเป็นทักษะสำคัญของแรงงานในยุคนี้ไปเสียแล้ว หรือกระทั่งนอกเวลางาน คนเราก็ยังไม่หยุดทำหลายอย่างพร้อมกันง่ายๆ ลองย้อนนึกดูสิว่าครั้งล่าสุดที่คุณดูละครหลังข่าวหรือซีรีส์ใน Netflix ตอนนั้นคุณกดมือถือแชตกับเพื่อนหรือไถหน้าฟีดเฟซบุ๊กไปพร้อมกันหรือเปล่า
แม้จะเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันขนาดนี้ แต่ก็ยังน่าคิดว่าสรุปแล้วคนเราทำหลายอย่างพร้อมกันได้จริงไหม เพราะสุดท้ายแล้วมันก็ไม่ใช่ว่าเราจะทำหลายสิ่งพร้อมกันนี่นา เราแค่ทำหลายสิ่งในช่วงเวลาเดียวกัน เพียงแต่สลับไปมาอย่างรวดเร็วก็เท่านั้น
เกิดอะไรขึ้นกับสมองเมื่อเรา multi-tasking
เวลามนุษย์ตั้งสมาธิจดจ่ออยู่กับบางสิ่ง สมองส่วน prefrontal cortex ซึ่งอยู่หน้าสุดจะทำหน้าที่ร่วมกันทั้งสองฝั่ง เหมือนที่ถีบจักรยานที่ช่วยกันหมุนล้อไปข้างหน้า แต่เมื่อเราทำหลายอย่างพร้อมกันสมองส่วนนี้จะทำงานแยกฝั่งกัน ซึ่งผลที่ตามมาก็คือเราจะต้องใช้เวลามากขึ้นในการทำทุกสิ่งให้เสร็จ

ja.wikipedia.org/wiki/%E3%83%95%E3%82%A1%E3%82%A4%E3%83%AB:Ptsd-brain.png
ในประเด็นนี้นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวิจัยต่างเห็นตรงกัน อย่างเช่นผลการวิจัยในปี 2001 โดย Joshua Rubinstein, Jeffrey Evans และ David Meyer สรุปว่าเมื่อเราทำหลายอย่างพร้อมกัน เราจะใช้เวลามากกว่าการทำงานทีละอย่างมากถึง 40 เปอร์เซ็นต์
ที่เป็นเช่นนี้เพราะสมองจะต้องปรับโฟกัสใหม่ทุกครั้งที่เราเปลี่ยนกิจกรรม โดยทุกครั้งที่สับเปลี่ยนจะมีสิ่งที่เรียกว่า attention residue หรือเศษความสนใจจากงานที่แล้วหลงเหลืออยู่ พูดง่ายๆ คือเราต้องพยายามลืมงาน A ไปชั่วคราว แล้วมานั่งนึกว่างาน B ค้างอยู่ที่ตรงไหน ต้องทำอะไรต่อนะ
เอาเข้าจริง 40 เปอร์เซ็นต์ก็ถือว่าเยอะอยู่ หากลองคิดว่าเราสามารถเอาเวลาเหล่านั้นไปทำอะไรได้บ้าง เท่ากับว่าเวลาที่ทำหลายอย่างพร้อมกันเราจะสูญเสียทั้งเวลา พลังงาน หรือกระทั่งรายได้โดยใช่เหตุ
นอกจากนี้แล้ว นักวิทยาศาสตร์ยังอธิบายว่าการทำหลายอย่างพร้อมกันจะไปเพิ่มปริมาณงานให้สมองโดยไม่จำเป็น สมองเองก็เหนื่อยเป็นเหมือนกัน แล้วพอสมองล้า ประสิทธิภาพในการทำกิจกรรมอื่นๆ ที่ต้องการพลังสมองเหมือนกัน เช่น การตัดสินใจ การคิดเป็นเหตุเป็นผล การเรียนรู้สิ่งใหม่ ก็จะถดถอยลงตามกันไป
สุดท้ายวกกลับมาตอบคำถามที่ว่า คนเราทำหลายอย่างพร้อมกันได้จริงไหม สรุปคือพอจะได้อยู่ เพียงแต่ว่าจะต้องเสียเวลามากขึ้น และแนวโน้มที่จะทำอะไรผิดพลาดหรือไม่ได้คุณภาพจะเพิ่มขึ้น
พอรู้อย่างนี้ก็พอจะเข้าใจได้มากขึ้นว่าทำไมเขาถึงห้ามขับรถไปคุยโทรศัพท์ไป
multi-tasking ก็ไม่ได้แย่เสมอไป
แม้จะเล่ามาขนาดนี้ แต่การทำหลายอย่างพร้อมกันก็มีข้อดีอยู่บ้าง แต่ต้องกาดอกจันตัวใหญ่ๆ ไว้ว่ามันดีเฉพาะในบางกรณีเท่านั้น อย่างเช่นในงานวิจัยหนึ่งที่พบว่าการปล่อยให้ใจลอยคิดนั่นนี่เรื่อยเปื่อยระหว่างที่ทำกิจกรรมเบาแรงสมอง เช่น ล้างจาน รีดผ้า จะช่วยให้เราพัฒนาทักษะในการตัดสินใจและการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
หรือในอีกงานวิจัยโดย University of Florida ที่ให้กลุ่มตัวอย่างทำกิจกรรมง่ายๆ ระหว่างขี่จักรยาน (อยู่กับที่) ก็สรุปได้ว่า การออกกำลังกายไปด้วยทำอย่างอื่นไปด้วยจะช่วยเพิ่มพลังสมองได้
แล้วจะ multi-tasking ยังไงให้มีประสิทธิภาพ
แม้จะรู้ทั้งรู้แล้วว่าการทำหลายสิ่งหลายอย่างพร้อมกันส่งผลกระทบต่อเรายังไง แต่สุดท้ายเราก็หนีมันไม่พ้นอยู่ดี แค่คิดว่าตอนนี้ถือโปรเจกต์อยู่ 5 ชิ้นที่ต้องทำพร้อมๆ กันก็ทอดถอนใจแล้วว่าชาตินี้ยังไงเราก็เลิกทำหลายสิ่งพร้อมกันไม่ได้หรอก
ถ้าหนีไม่ได้ก็มาฝึกทำหลายสิ่งพร้อมกันอย่างมีประสิทธิภาพดีกว่า Dr. Ron Knaus จิตแพทย์และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การกีฬาแนะนำให้เราลองฝึกดังนี้
- ค่อยๆ ทำทีละ 2-3 อย่างพร้อมกัน ไม่ใช่ซัดเลยทีละ 5-6 อย่าง เพราะสมองเราก็ต้องการการฝึกฝนเหมือนกัน ลองเริ่มจากการสับเปลี่ยนระหว่างงานง่ายๆ 2-3 อย่างก่อน แล้วค่อยๆ ฝึกไปจนสมองรับปริมาณงานได้มากขึ้น หรือสามารถทำงานที่ยากและซับซ้อนขึ้นได้
- จัดลำดับความสำคัญให้ดี เวลาทำหลายสิ่งพร้อมกันเราอาจจะไขว้เขวไปจากงานที่สำคัญหรือเร่งด่วนได้ ดังนั้นลิสต์ออกมาเลยว่าอะไรสำคัญกว่า ถึงแม้จะต้องสวิตช์ไปทำอย่างอื่นบ้างก็ต้องทำงานที่สำคัญกว่าให้เสร็จก่อนให้ได้
- จด to-do list ว่าต้องทำอะไรบ้าง พอต้องสับไปสับมาบ่อยครั้งเข้า เราอาจหลงลืมงานนั้นงานนี้ไปบ้าง ดังนั้นจดออกมาเลยว่าต้องทำอะไรก่อน-หลัง แล้ววางไว้ในจุดที่เห็นง่ายๆ จะได้รีเช็กได้อย่างฉับไว
- พักบ้าง แม้จะพยายามฝึกทำทั้งหมดนี้ แต่ถ้าไม่ยอมหยุดพัก ปล่อยให้สมองเหนื่อยล้าหมดแรง ก็หมดกัน ฉะนั้นไม่ไหวก็ต้องบอกไม่ไหว ให้เวลาตัวเองพักเสียบ้าง หายเหนื่อยแล้วค่อยกลับมาทำใหม่
อุปกรณ์ที่ช่วยให้เราทำหลายสิ่งพร้อมกันได้ดีขึ้น
นอกจากสิ่งที่คุณหมอแนะนำมา อีกอย่างที่ช่วยให้เราทำหลายสิ่งพร้อมกันได้ดีขึ้นคือการมีอุปกรณ์หรือแก็ดเจ็ตมาช่วยแบ่งเบา อย่าง ASUS Zenbook Duo UX481 ที่มาพร้อมกับ 2 หน้าจอ ความพิเศษคือหน้าจอที่ 2 เป็น ScreenPad Plus สามารถสัมผัสได้และใช้ร่วมกับปากกา Stylus ที่แถมมาด้วยได้ เหมือนเป็นเครื่องมือเสริมสำหรับการใช้งานหน้าจอหลัก ช่วยให้สะดวกสบายและเป็นอิสระยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ ตัว 10th Gen Intel® Core™ up to i7 Processor ซีพียูรุ่นล่าสุดจาก Intel ยังเปรียบเสมือนพลังสมองที่ไม่มีวันล้า เราจึงใช้ทำงาน ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม แชตกับเพื่อนได้โดยไม่มีสะดุด แถมตัวเครื่องยังถูกออกแบบให้ยกสูงขึ้นเมื่อกางออกใช้งาน แปลว่าจะช่วยระบายความร้อนได้ดี จึงใช้งานได้ต่อเนื่องแบบไม่ต้องหยุดพัก พกพาสะดวก สามารถไป multi-tasking ได้ทุกที่
ASUS Zenbook Duo UX481 มาพร้อมหน่วยความจำขนาดสูงสุด 1TB PCle SSD และ RAM 16GB LPDDR3 2133MHz และ PANTONE® Validated Display ให้ค่าสีที่เที่ยงตรงสำหรับการทำงานและความบันเทิง พร้อมความคมชัดระดับ FHD NanoEdge Display (ขอบจอบางทั้ง 4 ด้าน)
ราคาเริ่มต้นแค่ 34,990 บาท มาพร้อมระบบปฏิบัติการ Windows ของแท้ในตัว ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ asus.com/th/Laptops/ZenBook-Duo-UX481FL
นอกจากนี้ยังมีอีกรุ่นที่สเป็กสูงกว่าอย่าง ZenBo
อ้างอิง