ทำไมออสการ์เสนอชื่อผู้กำกับและผู้กำกับภาพหญิงรวมแล้วแค่ 6 คนในประวัติศาสตร์ 90 ปี

ปฎิเสธไม่ได้ว่า ณ ขณะนี้คือนาทีทองของขบวนการ ‘เพื่อนหญิงพลังหญิง’ ในวงการฮอลลีวูดอย่างแท้จริง ตั้งแต่ #MeToo จุดชนวนขึ้นมาเมื่อปลายปีที่แล้ว ต่อเนื่องมาถึง #TimesUp บนพรมแดง Golden Globes และเรื่อยมาจนถึงเหตุการณ์ล่าสุดในค่ำคืนออสการ์ เมื่อเจ้าของรางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมอย่าง Frances McDormand เชิญชวนให้ผู้หญิงที่ได้รับการเสนอชื่อจากทุกสาขาลุกขึ้นยืนเพื่อเฉลิมฉลองความสำเร็จของ ‘ผู้หญิง’ ร่วมกัน ผู้กำกับหญิง

หากฟังสรุปแค่นี้ หลายคนอาจคิดไปว่าประเด็นปัญหาอยู่ที่ ‘เพศสภาพ’ ทั้งที่ตัวปัญหาที่แท้จริงคือ ‘โครงสร้าง’ ที่ฝังรากลึกมานานเทียบเท่าอายุของเวทีออสการ์เอง

อย่างในการประกาศรางวัลออสการ์ที่ผ่านมา แม้สองสาว Greta Gerwig (Lady Bird, 2017) ผู้หญิงคนที่ 5 ที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงสาขาผู้กำกับยอดเยี่ยม และ Rachel Morrison (Mudbound, 2017) ผู้หญิงคนแรกที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงสาขาผู้กำกับภาพหญิงยอดเยี่ยมจะชวดรางวัลไปอย่างน่าเสียดาย แต่เรา (และเชื่อว่าเจ้าตัวทั้งสองด้วย) ก็ไม่ได้ก่นด่าหรือชิงชังออสการ์แต่อย่างใด เพราะเข้าใจว่าปัญหาเชิงโครงสร้างนั้นต้องใช้เวลาในการเปลี่ยนแปลงและแก้ไข

ผู้กำกับหญิง ผู้กำกับภาพหญิง

ผู้กำกับหญิง ผู้กำกับภาพหญิง

ปัญหาที่ว่ามีอะไรบ้าง เราขอสรุปเป็นข้อๆ ดังนี้

1. สมาชิกและคณะกรรมการของ Academy of Motion Picture Arts and Sciences มีผู้ชายมากกว่าผู้หญิงในสัดส่วนที่เกินครึ่ง

ข้อมูลจาก FiveThirtyEight เว็บไซต์ซึ่งถนัดการรวบรวมและประมวลผลข้อมูลสถิติ ชี้ให้เห็นว่า สถาบันต้นทางของรางวัลออสการ์อย่าง Academy of Motion Picture Arts and Sciences มีจำนวนผู้ชายมากกว่าผู้หญิง โดยเป็นเช่นนี้มาตลอดนับตั้งแต่ก่อตั้งจวบจนปัจจุบัน

ถึงจะฟังดูสุดทางไปหน่อย แต่ถ้ามองลึกในรายละเอียดจะพบว่า ความจริงแล้วจำนวนสมาชิกผู้หญิงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากที่เคยต่ำสุดที่ 0% ในช่วงปี 60s-70s ได้ขึ้นมาเป็นเกือบ 40% ในปีล่าสุด

อย่างไรก็ดี ระหว่างนี้ที่คะแนนโหวตของฝ่ายหญิงยังต้องพ่ายแพ้ให้คะแนนโหวตของฝ่ายชายซึ่งมีคนมากกว่า จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ผู้หญิงและผลงานของพวกเธอจะได้รับการเสนอชื่อน้อยกว่าผู้ชายและผลงานของพวกเขาอย่างเห็นได้ชัด

2. ผู้หญิงและผู้ชายมี ‘แนวโน้ม’ ที่จะมีรสนิยมในการเสพภาพยนตร์ที่แตกต่างกัน

ต่อเนื่องจากข้อที่แล้ว ทำไมจำนวนผู้หญิงผู้ชายที่ไม่เท่าเทียมกันถึงมีผลต่อการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ล่ะ

หากพิจารณาการให้คะแนนภาพยนตร์ของคนดู (user ratings) ใน IMDb ของภาพยนตร์ที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์สาขาต่างๆ จำนวน 540 เรื่อง โดยสังเกตความแตกต่างระหว่างการให้คะแนนของผู้ใช้เพศหญิงและผู้ใช้เพศชาย จะพบว่าผู้หญิงและผู้ชายมีรสนิยมในการเสพภาพยนตร์ที่ไม่เหมือนกัน ข้อเท็จจริงนี้นำไปสู่สมมติฐานที่ว่า เพศของกรรมการออสการ์มีผลกับคะแนนโหวตโดยรวม เพราะกรรมการผู้หญิงและกรรมการผู้ชายมีแนวโน้มที่จะโหวตให้ภาพยนตร์ที่แตกต่างกันนั่นเอง

3. ผู้หญิงทำงานในบทบาทหลักๆ ในการถ่ายทำภาพยนตร์น้อยกว่าผู้ชาย ซึ่งไม่ใช่เพราะผู้หญิงไม่สนใจงานด้านนั้นๆ แต่เป็นเพราะพวกเธอรู้สึกไม่ได้รับการต้อนรับจากผู้ชายที่มีจำนวนมากกว่า

ตอนที่ออสการ์ประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อใหม่ๆ เราตื่นเต้นเป็นพิเศษที่ผู้กำกับในดวงใจอย่างเกรตา เกอร์วิก ได้เป็นผู้กำกับหญิงคนที่ 5 ที่ได้รับการเสนอชื่อ แต่เราถึงกับอ้าปากค้างไปเลยเมื่อได้รู้ว่า ราเชล มอร์ริสัน คือผู้กำกับภาพหญิง ‘คนแรก’ ที่ได้รับการเสนอชื่อ

ทำไมออสการ์ถึงใช้เวลานานถึง 90 ปีในการเสนอชื่อผู้กำกับภาพหญิงสักคนหนึ่ง?

คำตอบแรกที่ง่ายที่สุดคือ ก็เพราะผู้กำกับภาพหญิง (หรือแม้แต่ช่างภาพหญิง) มีจำนวนน้อยมากๆ ในวงการภาพยนตร์ และในเมื่อบ่อน้ำเล็กตั้งแต่ต้น ปลาที่จับได้ก็ย่อมน้อยตามไปด้วย

หลายคนฟังแล้วอาจคิดว่า ก็แน่สิ งานกองถ่ายมันหนัก ผู้หญิงย่อมไม่อยากทำอยู่แล้ว เราไม่ปฏิเสธว่านั่นก็เป็นความจริง แต่ก็เป็นความจริงเพียงเสี้ยวเดียวเท่านั้น

ในบทความเรื่อง This Is Why You Don’t See More Women Behind Camera Emily Geraghty ซีเนียร์โปรดิวเซอร์และช่างภาพประจำเครือสื่อใหญ่ของอเมริกันอย่าง Condé Nast ได้แบ่งปันประสบการณ์ในฐานะนักเรียนภาพยนตร์ไว้ว่า เธอเคยอยากเป็นช่างภาพ ทว่าในชั้นเรียนที่เกี่ยวข้องนั้นมีแต่นักเรียนชาย ซึ่งเมื่ออยู่รวมกันเป็นชนหมู่มากแล้ว พวกเขาก็ปฏิบัติราวกับว่าความคิดเห็นของเธอไม่มีความหมาย และบางครั้ง—ราวกับว่าเธอไม่มีตัวตนด้วยซ้ำ ด้วยความรู้สึก ‘ไม่เข้าพวก’ หญิงสาวจึงตัดสินใจดร็อปเรียนจากวิชาถ่ายภาพทั้งหลาย แล้วมุ่งมาสายโปรดิวเซอร์แทน แต่สุดท้ายด้วยใจรักก็ลงทุนซื้อกล้องดีๆ มาหัดถ่ายเองอยู่ดี

ยิ่งไปกว่านั้น หากผู้หญิงคนใดจิตใจกล้าแกร่งพอที่จะเรียนจบและเข้ามาทำงานในแวดวงภาพยนตร์จริงๆ ก็ยังต้องเผชิญกับ ‘ความเข้าใจผิด’ อยู่บ่อยๆ แม้กระทั่งมอร์ริสันก็มักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นช่างแต่งหน้าหรือสตาฟฝ่ายอาหารการกิน แถมมีครั้งหน่ึงระหว่างการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง Black Panther เธอจะขึ้นรถตู้เพื่อไปกองถ่าย แต่คนขับรถไม่ยอมออกรถสักที โดยให้เหตุผลว่า เขาต้องรอผู้กำกับภาพก่อน จนเธอต้องยืนยันว่าเธอนี่แหละคือผู้กำกับภาพตัวจริงเสียงจริง คนขับถึงจะยอมพาเธอไปกองถ่ายสักที

ก่อนวันประกาศรางวัลออสการ์ สื่อหลายต่อหลายเจ้าพากันไปสัมภาษณ์มอร์ริสัน ซึ่งเธอยืนยันว่า ไม่อยากได้รับรางวัลเพียงเพราะบังเอิญเป็นช่างภาพผู้หญิงซึ่งมีอยู่น้อยเหลือเกินในฮอลลีวูด แต่เธออยากได้รับรางวัลเพราะความสามารถของตนเองต่างหาก

แน่นอนว่าเราเชื่อเหมือนกันกับเธอ เพราะสุดท้ายแล้วการยอมรับในตัวคนคนหนึ่งต้องดูคุณสมบัติของเขาหรือเธอ ไม่ใช่เพศสภาพ แต่กระนั้นประเด็นเรื่องโครงสร้างตามที่เล่ามา 3 ข้อด้านบนก็ยังเป็นปัญหาที่ฮอลลีวูดต้องช่วยกันแก้ไขต่อไปอีกนาน

แม้จะดูเป็นเรื่องเล่าแสนปัจเจก แต่เอมิลี่กลับมีเพื่อนร่วมชะตากรรมเป็นหญิงสาวจำนวนไม่น้อยที่กระจายตัวอยู่ในชั้นเรียนภาพยนตร์ทั่วประเทศ โดยเธอยกตัวอย่างเพื่อนๆ ของเธอในเครือข่าย The Video Consortium เช่น Kadri Koop และ Julie Pitch ผู้มีประสบการณ์คล้ายคลึงกัน

ผู้กำกับหญิง ผู้กำกับภาพหญิง

ยิ่งไปกว่านั้น หากผู้หญิงคนใดจิตใจกล้าแกร่งพอที่จะเรียนจบและเข้ามาทำงานในแวดวงภาพยนตร์จริงๆ ก็ยังต้องเผชิญกับ ‘ความเข้าใจผิด’ อยู่บ่อยๆ แม้กระทั่งมอร์ริสันก็มักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นช่างแต่งหน้าหรือสตาฟฝ่ายอาหารการกิน แถมมีครั้งหน่ึงระหว่างการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง Black Panther เธอจะขึ้นรถตู้เพื่อไปกองถ่าย แต่คนขับรถไม่ยอมออกรถสักที โดยให้เหตุผลว่า เขาต้องรอผู้กำกับภาพก่อน จนเธอต้องยืนยันว่าเธอนี่แหละคือผู้กำกับภาพตัวจริงเสียงจริง คนขับถึงจะยอมพาเธอไปกองถ่ายสักที

ก่อนวันประกาศรางวัลออสการ์ สื่อหลายต่อหลายเจ้าพากันไปสัมภาษณ์มอร์ริสัน ซึ่งเธอยืนยันว่า ไม่อยากได้รับรางวัลเพียงเพราะบังเอิญเป็นช่างภาพผู้หญิงซึ่งมีอยู่น้อยเหลือเกินในฮอลลีวูด แต่เธออยากได้รับรางวัลเพราะความสามารถของตนเองต่างหาก

แน่นอนว่าเราเชื่อเหมือนกันกับเธอ เพราะสุดท้ายแล้วการยอมรับในตัวคนคนหนึ่งต้องดูคุณสมบัติของเขาหรือเธอ ไม่ใช่เพศสภาพ แต่กระนั้นประเด็นเรื่องโครงสร้างตามที่เล่ามา 3 ข้อด้านบนก็ยังเป็นปัญหาที่ฮอลลีวูดต้องช่วยกันแก้ไขต่อไปอีกนาน

ยิ่งไปกว่านั้น หากผู้หญิงคนใดจิตใจกล้าแกร่งพอที่จะเรียนจบและเข้ามาทำงานในแวดวงภาพยนตร์จริงๆ ก็ยังต้องเผชิญกับ ‘ความเข้าใจผิด’ อยู่บ่อยๆ แม้กระทั่งมอร์ริสันก็มักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นช่างแต่งหน้าหรือสตาฟฝ่ายอาหารการกิน แถมมีครั้งหน่ึงระหว่างการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง Black Panther เธอจะขึ้นรถตู้เพื่อไปกองถ่าย แต่คนขับรถไม่ยอมออกรถสักที โดยให้เหตุผลว่า เขาต้องรอผู้กำกับภาพก่อน จนเธอต้องยืนยันว่าเธอนี่แหละคือผู้กำกับภาพตัวจริงเสียงจริง คนขับถึงจะยอมพาเธอไปกองถ่ายสักที

ก่อนวันประกาศรางวัลออสการ์ สื่อหลายต่อหลายเจ้าพากันไปสัมภาษณ์มอร์ริสัน ซึ่งเธอยืนยันว่า ไม่อยากได้รับรางวัลเพียงเพราะบังเอิญเป็นช่างภาพผู้หญิงซึ่งมีอยู่น้อยเหลือเกินในฮอลลีวูด แต่เธออยากได้รับรางวัลเพราะความสามารถของตนเองต่างหาก

แน่นอนว่าเราเชื่อเหมือนกันกับเธอ เพราะสุดท้ายแล้วการยอมรับในตัวคนคนหนึ่งต้องดูคุณสมบัติของเขาหรือเธอ ไม่ใช่เพศสภาพ แต่กระนั้นประเด็นเรื่องโครงสร้างตามที่เล่ามา 3 ข้อด้านบนก็ยังเป็นปัญหาที่ฮอลลีวูดต้องช่วยกันแก้ไขต่อไปอีกนาน

อ้างอิง fivethirtyeight.com, fivethirtyeight.com/features, glamour.com, glamour.com, npr.org

ภาพ Steve Dietl, Netflix (https://www.npr.org/2018/02/28/588825661/i-can-t-believe-i-am-the-first-says-oscar-nominated-female-cinematographer) ผู้กำกับหญิง

AUTHOR