UN กับเรื่องราวใกล้ตัวที่เป็น UNtold story

Highlights

  • UN เกิดขึ้นมาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อทำหน้าที่เป็นเหมือนตัวกลางในการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศให้เป็นไปได้ด้วยดี พูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ องค์กรที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อดูแลโลกของเราให้ดำเนินเดินต่อไปได้อย่างเป็นปกติสุข
  • UN ประกอบไปด้วย 5 เสาหลักนั่นคือสมัชชาใหญ่, คณะมนตรีความมั่นคง, คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม, สำนักเลขาธิการและศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ แต่ละฝ่ายจะทำหน้าที่ตามแง่มุมที่ต่างกันเพื่อรักษาความสงบ กำหนดทิศทางการดูแลโลก
  • ภารกิจสำคัญของ UN คือการกำหนดสิ่งที่คล้ายเป็นนโยบายโลก ปัจจุบันคือวาระที่ว่า Sustainable Development Goals (SDGs) วาระนี้เป็นทิศทางการขับเคลื่อนโลกต่อจากนี้ไปอีก 15 ปีจนถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2573 ซึ่
  • SDGs นี้จะประกอบไปด้วย 17 เป้าหมายที่ถูกพัฒนาโดยฐานคิดแห่งความเชื่อมโยงระหว่าง 3 สิ่งสำคัญได้แก่ การพัฒนาเศรษฐกิจ การมีส่วนร่วมของสังคม และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยแก่นแท้ของการพัฒนาที่ยั่งยืนคือวลีที่บอกว่า ‘Leave no one behind หรือการพัฒนาที่ไม่ทอดทิ้งใครไว้เบื้องหลัง’ นั่นเอง

United Nations

“UN นี่จริงๆ มีหน้าที่ทำอะไรบ้าง” เสียงใครคนหนึ่งโพล่งคำถามนี้ขึ้นมา

“ไม่รู้เหมือนกัน” อาจจะเป็นคำตอบสำหรับใครหลายๆ คน หรือบางคนอาจจะให้เบาะแสได้ว่าน่าจะเป็นพวกองค์กร UNICEF UNESCO UNHCR อะไรแบบนั้น แต่เราคิดว่าส่วนมากอาจจะไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วงานที่ UN ทำคืออะไร

เพื่อทำความรู้จักกับนาย UN มากขึ้นสักหน่อย

เราจะเล่าแบบเข้าใจง่าย ๆ ให้ฟัง

 

United Nations หรือองค์การสหประชาชาติคืออะไร?

องค์การสหประชาชาติ (United Nations) หรือที่เราเรียกกันย่อๆว่า UN นั้นพูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ องค์กรที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อดูแลโลกของเราให้ดำเนินต่อไปได้อย่างเป็นปกติสุข เป็นเหมือนตัวกลางในการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศให้เป็นไปได้ด้วยดี อำนวยความสะดวกด้านกฎหมายระหว่างประเทศ ทำงานเพื่อความมั่นคง สันติภาพ การพัฒนาเศรษฐกิจ และสิทธิมนุษยชน อีกทั้งยังเป็นเหมือนแพลตฟอร์มหรือเวทีระดับโลกให้สมาชิกที่เป็นประเทศต่างๆ จากทั่วโลกได้ส่งตัวแทนมาพูดคุยหรือดีเบตในหัวข้อสนทนาต่างๆ ที่กำลังส่งผลกระทบหลักต่อคน สังคม หรือสิ่งแวดล้อม ภาษาทางการที่ UN ใช้ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน รัสเซีย จีน และอาหรับ

 

เริ่มต้นบนโลกในเวลาที่เรียกร้องความสงบและสันติภาพต้องบังเกิด

หากพูดถึงต้นกำเนิดของ UN เราคงต้องขอย้อนไปเมื่อกาลครั้งหนึ่งนานมาแล้วตอนที่โลกสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 ประเทศผู้ชนะสงครามทั้งหลายรวมตัวกันก่อตั้งองค์การระหว่างประเทศที่ชื่อว่า สันนิบาตชาติ เพื่อป้องกันการเกิดสงครามอีกในอนาคต แต่ทว่าด้วยความไม่แข็งแรงขององค์การสันนิบาตชาติ สันนิบาตชาติจึงล้มเหลวในการทำหน้าที่รักษาสันติภาพ ไม่สามารถป้องกันสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ด้วยการเจรจาทางการทูต จนถึงเวลาที่สงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง องค์การสหประชาชาติหรือ UN จึงถือกำเนิดขึ้นจากประเทศร่วมก่อตั้งทั้งหมด 51 ประเทศ เพื่อทำหน้าที่รักษาความสงบและทำให้สันติภาพบังเกิดขึ้นในโลก สืบสานหน้าที่นี้ต่อจากองค์การสันนิบาตชาติที่ล้มเหลวไปนั่นเอง

United Nations

UN กับระบบโครงสร้างอันแข็งแรง

หากเปรียบสหประชาชาติเป็นบ้านหนึ่งหลัง ภายในบ้านหลังนี้จะประกอบไปด้วยเสาหลัก 5 ต้น ที่ยังคงทำหน้าที่ค้ำจุนบ้านให้อยู่ได้อย่างแข็งแรง เสาหลักทั้ง 5 มีชื่อว่า สมัชชาใหญ่ (General Assembly) คณะมนตรีความมั่นคง (United Nations Security Council หรือ UNSC) คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม (Economic and Social Council หรือ ECOSOC) สำนักเลขาธิการ (Secretariat) และศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice) แต่ละฝ่ายจะทำหน้าที่ตามแง่มุมที่ต่างกันเพื่อรักษาความสงบ กำหนดทิศทางการดูแลโลก รวมไปถึงยุติความขัดแย้งต่างๆ โดยมีตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ (คนปัจจุบันคือ António Guterres) เป็นดั่งผู้ดูแลโลกหรือผู้นำองค์การสหประชาชาติโดยพฤตินัย

 

ถือกำเนิดขึ้นบนโลกเพื่อดูแลมนุษย์ทุกคน

โครงสร้างเสาหลักอันแข็งแรงทั้ง 5 เสาของ UN นั้น ก่อให้เกิดการจัดตั้งองค์กรและหน่วยงานพิเศษต่างๆ ภายใต้สังกัดของตน เพื่อกระจายไปปฏิบัติภารกิจได้อย่างทั่วถึงทั่วมุมโลกและทุกแง่มุมตามที่เราๆ และใครหลายคนเคยได้ยินชื่อ ขอยกตัวอย่างสัก 4 องค์กร ได้แก่ World Bank Group หรือธนาคารโลกที่ทำหน้าที่เป็นดั่งแหล่งเงินทุนช่วยเหลือประเทศที่กำลังพัฒนา UNESCO หรือองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ทำหน้าที่ชวนแต่ละประเทศมาร่วมมือกันในการดูและส่งเสริมการศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม และการสื่อสาร ส่วน UNICEF องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ ทำหน้าที่ดูแลความเป็นอยู่ของเด็กและแม่ในประเทศกำลังพัฒนา หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง ก็คือ UNHRC คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ทำหน้าที่สอดส่องดูแลและหยุดยั้งการละเมิดสิทธิมนุษยชน ครั้งหนึ่งองค์กรนี้เคยชวนตัวแทนแต่ละประเทศทั่วโลกมาดีเบตกันเรื่องการยุติความรุนแรงและการละเมิดสิทธิมนุษยชนอันเนื่องมาจากวิถีทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศ เพื่อหยุดยั้งและแก้ปัญหาการใช้ความรุนแรงกับกลุ่มเพศทางเลือกในประเทศต่าง ๆ

UN ในฐานะผู้กำหนดนโยบายให้โลกพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน

ภารกิจสำคัญของ UN คือการกำหนดสิ่งที่คล้ายเป็นนโยบายโลก พวกเขาเคยกำหนด Millennium Development Goals (MGDs) หรือเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ ที่ประเทศสมาชิกทั้งโลกจะขับเคลื่อนไปด้วยกันในระหว่าง พ.ศ. 2543-2558 เป้าหมายหลักๆ ของ MGDs คือการแก้ไขปัญหาความยากจน โรคติดต่อ การเข้าถึงการศึกษา ความไม่เท่าเทียมกันทางเพศ ปัญหาการทำลายสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ เมื่อ MDGs หมดวาระ UN ก็มีเป้าหมายการพัฒนาใหม่ที่ต่อจากจุดเดิมเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2558 มีชื่อเรียกเท่ๆ ว่า Sustainable Development Goals การพัฒนาที่ยั่งยืนหรือ SDGs เป็นทิศทางการขับเคลื่อนโลกต่อจากนี้ไปอีก 15 ปี จนถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2573 ซึ่งเจ้า SDGs นี้จะประกอบไปด้วย 17 เป้าหมายที่ถูกพัฒนาโดยฐานคิดแห่งความเชื่อมโยงระหว่าง 3 สิ่งสำคัญ ได้แก่ การพัฒนาเศรษฐกิจ การมีส่วนร่วมของสังคม และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน SDGs เป็นดั่งตัวแทนที่บอกกับทุกคนในโลกว่า การพัฒนาของทุกประเทศต่อจากนี้จะต้องคำนึงถึงทุกฟันเฟืองในสังคมให้ดำเนินต่อไปได้ คนอยู่ได้ เศรษฐกิจโตได้ ที่สำคัญคือทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะต้องไม่เสียหายหรือถูกทำลาย แก่นแท้ของการพัฒนาที่ยั่งยืนก็คือวลีที่บอกว่า ‘Leave no one behind หรือการพัฒนาที่ไม่ทอดทิ้งใครไว้เบื้องหลัง’ นั่นเอง

 

ทีมสหประชาชาติในประเทศไทยของเรา

กว่าครึ่งศตวรรษมาแล้วที่เรามีหน่วยงานและองค์กรพิเศษของ UN ตั้งอยู่ในประเทศไทย

ทั้ง 18 หน่วยงานของสหประชาชาติ ทำงานต่างๆ โดยร่วมมือกับรัฐบาลไทยและประชาชนชาวไทยเพื่อทำภารกิจให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนา ข้อดีอีกอย่างหนึ่งของประเทศเราคือการเป็นเจ้าภาพของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติในเอเชียแปซิฟิก (ESCAP) อีกด้วย

หากเปรียบสหประชาชาติเป็นบ้านหนึ่งหลัง ภายในบ้านหลังนี้จะประกอบไปด้วยเสาหลัก 5 ต้น ที่ยังคงทำหน้าที่ค้ำจุนบ้านให้อยู่ได้อย่างแข็งแรง เสาหลักทั้ง 5 มีชื่อว่า สมัชชาใหญ่ (General Assembly) คณะมนตรีความมั่นคง (United Nations Security Council หรือ UNSC) คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม (Economic and Social Council หรือ ECOSOC)
สำนักเลขาธิการ (Secretariat) และศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice) แต่ละฝ่ายจะทำหน้าที่ตามแง่มุมที่ต่างกันเพื่อรักษาความสงบ กำหนดทิศทางการดูแลโลก รวมไปถึงยุติความขัดแย้งต่างๆ โดยมีตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ (คนปัจจุบันคือ António Guterres) เป็นดั่งผู้ดูแลโลกหรือผู้นำองค์การสหประชาชาติโดยพฤตินัย
โครงสร้างเสาหลักอันแข็งแรงทั้ง 5 เสาของ UN นั้น ก่อให้เกิดการจัดตั้งองค์กรและหน่วยงานพิเศษต่างๆ ภายใต้สังกัดของตน เพื่อกระจายไปปฏิบัติภารกิจได้อย่างทั่วถึงทั่วมุมโลกและทุกแง่มุมตามที่เราๆ และใครหลายคนเคยได้ยินชื่อ
ขอยกตัวอย่างสัก 4 องค์กร ได้แก่ World Bank Group หรือธนาคารโลกที่ทำหน้าที่เป็นดั่งแหล่งเงินทุนช่วยเหลือประเทศที่กำลังพัฒนา UNESCO หรือองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ทำหน้าที่ชวนแต่ละประเทศมาร่วมมือกันในการดูและส่งเสริมการศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม และการสื่อสาร
ส่วน UNICEF องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ ทำหน้าที่ดูแลความเป็นอยู่ของเด็กและแม่ในประเทศกำลังพัฒนา หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง ก็คือ UNHRC คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ทำหน้าที่สอดส่องดูแลและหยุดยั้งการละเมิดสิทธิมนุษยชน ครั้งหนึ่งองค์กรนี้เคยชวนตัวแทนแต่ละประเทศทั่วโลกมาดีเบตกันเรื่องการยุติความรุนแรงและการละเมิดสิทธิมนุษยชนอันเนื่องมาจากวิถีทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศ เพื่อหยุดยั้งและแก้ปัญหาการใช้ความรุนแรงกับกลุ่มเพศทางเลือกในประเทศต่างๆ

AUTHOR

ILLUSTRATOR

ฟาน.ปีติ

ปีติชา คงฤทธิ์ นักออกแบบภาพประกอบประจำนิตยสาร a day งานอดิเรกคือการทำอาหารคลีน, วิ่ง และต่อกันพลา