5 คุณสมบัติสร้างบทหนังคุณภาพแบบเต๋อ-ฉันทวิชช์

เราคงไม่ต้องสาธยายผลงานเบื้องหน้าของ
เต๋อ-ฉันทวิชช์ ธนะเสวี ให้มากความ เพราะคุณคงรู้จักเขาผ่านภาพยนตร์ ซีรีส์
พิธีกร ฯลฯ แต่ในฐานะคนเบื้องหลัง
เขาเป็นนักเขียนบทที่มีผลงานประสบความสำเร็จมากมาย ไม่ว่าจะเป็น
สี่แพร่ง
ตอนคนกอง, กวน มึน โฮ,
ATM เออรัก เออเร่อ, พี่มาก..พระโขนง และหนังเรื่องล่าสุดแฟนเดย์..แฟนกันแค่วันเดียว แถมยังเคยชิมลางลองทำงานเป็นผู้กำกับจากมินิซีรีส์ เพื่อนเฮี้ยน..โรงเรียนหลอน อีกด้วย
เสียงตอบรับของหนังแต่ละเรื่องก็ไม่ใช่น้อยๆ
เราจึงสนใจว่าชายหนุ่มคนนี้มีวิธีการเขียนบทอย่างไรให้โดนใจคนทั้งประเทศแถมบางเรื่องยังถูกใจคนต่างชาติด้วย

ชายหนุ่มรุ่มรวยอารมณ์ขันคนนี้บอกเราว่า
การเขียนบทไม่มีสูตรสำเร็จ แต่มันกลับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการจะสร้างหนังสักเรื่อง
ซึ่งหลังจากได้คุยกับเต๋อถึงหลักในการทำงานของเขา เราจึงขอสรุป 5 คุณสมบัติหลักๆ
ที่เต๋อมีในฐานะคนเขียนบทภาพยนตร์ ซึ่งเราเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้แหละ
อาจเป็นสูตรสำเร็จของงานดีๆ ก็ได้

TIP 01 : ตาดู หูฟัง สมองวิเคราะห์
เต๋อเข้าวงการจากการเป็นเบื้องหลังทั้งคนเขียนบท
ผู้ช่วยผู้กำกับ ตากล้องเบื้องหลัง และอีกมากมายสารพัดจนได้เข้ามาเป็นเบื้องหน้า
แต่เขาก็ยังคงสนุกกับการเขียนบทภาพยนตร์อยู่ วัตถุดิบทั้งหลายที่เขาใช้ในการเขียนบทนั้นเกิดมาจากการช่างสังเกตเรื่องราวของตัวเอง
คนรอบตัว รวมไปถึงข่าวสารบ้านเมืองด้วย อย่างที่เต๋อบอกกับเราว่า “ไม่งั้นสิ่งที่น่าสนใจมากๆ
แต่เราไม่สนใจ มันจะผ่านเราไปเลยอย่างเสียเปล่า”

“สมมติว่าเราเห็นผู้ชายกับผู้หญิงคู่หนึ่งทะเลาะกันอยู่
เราจะเริ่มคิดแล้วว่าเขาทะเลาะกันเรื่องอะไร ซึ่งถ้าเราตั้งใจสังเกต
เราจะรู้เรื่องราวของเขาเลยว่าทะเลาะกันนานหรือยัง
ทะเลาะกันที่นี่หรือทะเลาะกันจากที่อื่นมาก่อน พฤติกรรมและอารมณ์แบบนี้เราก็หยิบมาใช้ในการเขียนบทได้
เช่น บางทีตัวละครคิดอย่างหนึ่งแต่จะพูดอีกอย่างหนึ่ง เราก็ต้องเขียนบทและท่าทางอะไรบางอย่างเพื่อบอกใบ้ให้คนดูรู้ว่าตัวละครตัวนี้เขากำลังพูดไม่ตรงกับใจอยู่นะ”

TIP 02 : เขียนสิ่งที่ไม่รู้ไม่ได้
อย่างภาพยนตร์เรื่อง
แฟนเดย์
..แฟนกันแค่วันเดียว พนักงานไอทีคือตัวละครเด่นของเรื่อง
ดังนั้นทีมเขียนบทต้องเข้าไปรู้จักคนที่ทำให้อาชีพให้ได้มากที่สุด
เพื่อกลั่นกรองเอาลักษณะบางอย่างของพนักงานไอทีเป็นสิบๆ
คนให้เหลือเพียงคาแรกเตอร์ที่ชื่อ
‘เด่นชัย’
เท่านั้น และถ้าเขาไม่รู้จักชีวิตจริงของพนักงานไอที
การนั่งเทียนเขียนคาแรกเตอร์นี้อาจไม่มีใครเชื่อ แม้กระทั่งตัวเขาเอง

“หลักการสำคัญเลยคือ
เราเขียนในสิ่งที่ไม่รู้ไม่ได้ เราต้องรู้ให้ลึก ถ้าต้องเขียนคาแรกเตอร์พนักงานไอที
เราก็ต้องรู้ว่าพนักงานไอทีจริงๆ เป็นอย่างไร ไปเรียนรู้ชีวิตประจำวัน การทำงาน
ลักษณะการพูดหลายๆ อย่างของพนักไอทีหลายสิบคน

“เราต้องระลึกไว้เสมอว่าในสังคมเราต้องมีคนแบบนั้นหรือทำอาชีพแบบนั้นอยู่
เช่นถ้าเราเขียนถึงหมอ ก็ต้องมีหมอที่เข้ามาดูหนังเรา
ถ้าสิ่งที่เราเขียนมันไม่จริงขึ้นมา เขาก็ไม่อินแล้ว การที่แค่ 1 เปอร์เซ็นต์ของคนไม่อิน มันก็ถือเป็นความผิดพลาดอย่างหนึ่งของเรา”

TIP 03 : เขียนสิ่งที่จริงเท่านั้น
เราคุยกันเป็นภาษาพูดอยู่ทุกวัน
แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยเมื่อผู้เขียนบทต้องเขียนไดอะล็อกหรือบทพูดขึ้นมาใหม่
บทเหล่านั้นต้องสมจริง เต๋อบอกว่าเมื่อเขียนบทพูด
เราต้องรู้สึกว่าตัวละครตัวนี้จะพูด คิดหรือตัดสินใจทำอะไรแบบนี้แหละ

“ถ้าเราเขียนบทพูดที่ตรงกับสถานการณ์เป๊ะๆ
แต่พอเราพูดไปแล้วรู้สึกไม่จริง มันก็ไม่ใช่แล้ว เวลาที่เขียนบท เราจะรู้สึกว่าได้แสดงไปด้วยเลย
เพราะในทีมเราต้องมีการต่อบทกัน เพื่อทดสอบว่า บทพูดที่เราเขียนไปมันจริงหรือเปล่า
ไม่ขนลุกใช่มั้ย หรือเป็นประโยคที่เราจะไม่พูดหรือเปล่า”

TIP 04 : ไม่รัก…ไม่ต้อง
“ถ้ารู้สึกว่าบางงานไม่อิน
เราก็อาจจะต้องสู้ลูกค้าหรือเจ้านาย และขอบิดเรื่องไปในมุมที่เราอินให้ได้
ไม่งั้นถ้าเราทำอะไรด้วยความรู้สึกไม่ชอบ สุดท้ายก็จะทำงานนั้นไม่ได้ดี
มันจะไม่ใช่งานที่เราภูมิใจ แล้วอีกอย่างคือเราจะไม่มีความสุขในการทำงานนั้น งานมันก็เหมือนจะไม่ดีตั้งแต่ยังไม่เริ่มแล้ว”

TIP 05 : ตลกต้องแมส
เต๋อเป็นคนมีอารมณ์ขันและชอบเล่าเรื่องตลก
เวลาเขียนบทก็ชอบใส่อารมณ์ขันและเสียงหัวเราะลงไปด้วยเสมอ แต่การเล่าเรื่องตลกให้เพื่อนขำว่าไม่ง่ายแล้ว
การเขียนบทให้คนดูเป็นแสนเป็นล้านตลกหรือเข้าใจมุขที่ตัวละครเล่านั้นยากกว่า
เต๋อเองก็เคยเจ็บตัวเพราะปล่อยมุขแล้วแป้กมาบ่อย

“การปล่อยมุขมันเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง ดังนั้นเวลาเราเขียนมุขขึ้นมา เราเลยต้องมีการทดสอบหลายๆ ครั้ง เริ่มจากคนในทีมเขียนบทกันเอง ถ้ามันตลกก็แปลว่ามันผ่านเกณฑ์หนึ่งแล้ว จากนั้นเราก็ลองทดลองกับคนใกล้ๆ ตัว แล้วก็เอาไปทดลองกับคนอื่นๆ ต่อด้วยจนเราไว้วางใจแล้วว่ามุขนี้มันจะทำงานได้ดี”

“เทคโนโลยีนั้นดีตรงที่เราสามารถหาข้อมูลหรือ reference ได้รวดเร็วมากขึ้น มันทำให้เรามีเวลาในการต่อยอดความคิดเร็วขึ้นมาก เหมือนเทคโนโลยีได้เอาข้อมูลและเรื่องราวต่างๆ รวมให้เราไว้แล้ว”

อ่านจบแล้วคันไม้คันมืออยากลองเล่าเรื่องราวที่ชอบในแบบของคุณเอง ก็รีบสร้างสรรค์คลิปวิดีโอความยาวไม่เกิน 5 นาที ในหัวข้อ Connecting Lives ไม่จำกัดรูปแบบทั้งภาพยนตร์สั้น มิวสิกวิดีโอ หรือแอนิเมชัน ส่งมาร่วมโครงการ AIS THE 5-MIN VIDEO CHALLENGE ลุ้นเป็น 2 ตัวแทนที่จะเข้าไปประกวดในระดับโลก พร้อมเงินรางวัลกว่า 500,000 บาท พร้อมลุ้นต่อที่สองชิงเงินล้านในเวทีระดับโลก อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมและดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่
www.ais.co.th/The5minvideochallenge และเพจเฟซบุ๊ก AISTHE5MINVIDEOCHALLENGE นะ

www.ais.co.th/The5minvideochallenge

AUTHOR