คุณคิดว่าเด็กๆ จะเรียนรู้และเติบโตได้ดีที่สุดตอนไหน?
ตอนที่มีสมาธิอยู่ในห้องเรียน ตอนที่ได้ฝึกฝนผ่านการลงมือทำ หรือตอนที่ได้เรียนรู้จากความผิดพลาด คำตอบก็คือ ‘ถูกทุกข้อ แต่ไม่ถูกทั้งหมด’ เพราะเด็กๆ จะเรียนรู้และเติบโตได้อย่างเต็มที่ก็ต่อเมื่อเขามีโอกาสได้แบ่งปันความรู้กับคนอื่น ได้ลงมือทำพร้อมเก็บเกี่ยวประสบการณ์ร่วมกับเพื่อนๆ ที่สำคัญคือการได้เป็นผู้พูดและผู้ฟังเพื่อแก้ไขปัญหาและเรียนรู้จากความผิดพลาดร่วมกันกับทีม
‘ทีมเวิร์ก’ ส่วนผสมสำคัญในการเรียนรู้
อย่างที่จอห์น เมอร์ฟี เจ้าของหนังสือ Pulling Together: 10 Rules for High Performance Teamwork ได้อธิบายถึงหลักการทำงานเป็นทีมในทางวิทยาศาสตร์เอาไว้ว่า มนุษย์แต่ละคนล้วนมีศักยภาพ พรสวรรค์ และความสนใจในแบบของตัวเอง ฉะนั้นหากเรานำคนที่มีความสามารถและความสนใจต่างกันมาทำงานร่วมกัน จะก่อให้เกิดกระบวนการในการพูด การฟัง การแบ่งปันความคิด และสร้างวงจรการเรียนรู้ซึ่งกันและกันที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุด
ไม่ใช่แค่ช่วยให้เกิดวงจรการทำงานที่สามารถสร้างงานที่มีมิติน่าสนใจอย่างเดียว การทำงานเป็นทีมยังเป็นแหล่งเรียนรู้ภาคปฏิบัติและพัฒนาศักยภาพของสมาชิกแต่ละคนในทีมได้อย่างน่าทึ่งด้วย โดยผลการวิจัยจากนิตยสาร American Psychologist ระบุว่าการทำงานร่วมกันในทีมส่งผลกระทบโดยตรงต่อการพัฒนาศักยภาพของสมาชิกในทีม ทั้งในด้านของประสบการณ์ ประสิทธิภาพการทำงาน ทั้งยังเพิ่มระดับความคิดสร้างสรรค์ของสมาชิก รวมถึงโอกาสในการประสบความสำเร็จของชิ้นงานให้เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย
จะเห็นได้ว่าคำสอนที่มีมาแต่โบราณว่า ‘รวมกันเราอยู่ (รอด)’ นั้นเป็นจริงอย่างที่สุด ซึ่งหนึ่งตัวอย่างที่พิสูจน์ให้เห็นว่าการทำงานเป็นทีมช่วยพัฒนาศักยภาพบุคคลให้พร้อมคว้าความสำเร็จก็คือ ‘ปลื้มจิตร์ ถินขาว’ หญิงแกร่งของวงการวอลเลย์บอลไทยที่เริ่มต้นเล่นกีฬาวอลเลย์บอลในโรงเรียนมัธยม โดยไม่ได้เชี่ยวชาญกีฬาชนิดนี้เป็นพิเศษ แต่หมั่นเรียนรู้จากโค้ชและเพื่อนร่วมทีมในโรงเรียน ฝึกฝนตัวเองสม่ำเสมอจนถูกเรียกเข้าไปเป็นหนึ่งในสมาชิกทีมชาติวอลเลย์บอลหญิงไทยด้วยวัยที่ไม่ถึง 18 ปี เนื่องจากคุณสมบัติอันโดดเด่นเรื่องการเรียนรู้และทักษะด้านทีมเวิร์ก ก่อนที่เธอจะอาศัยหลักการเรียนรู้แบบ ‘ปลาไม่เลือกน้ำ’ เติบโตในวงการต่อไป โดยเน้นความอดทนและมีวินัยทุ่มเทฝึกฝน ทำความเข้าใจทักษะหน้าที่ในตำแหน่งต่างๆ ของทีมโดยไม่ปิดกั้น และสามารถก้าวขึ้นมาเป็นตำนานปลื้มจิตร์อย่างที่ทุกคนเห็นในวันนี้
ก้าวแรกของทีมเวิร์กอยู่ในบ้าน
แน่นอนว่าทักษะการทำงานแบบทีมเป็นหนึ่งในทักษะชีวิตที่ช่วยให้เด็กเรียนรู้และพัฒนาอย่างเข้มแข็งในอนาคต เพราะหากเราเป็นคนมีความสามารถแต่ไม่สามารถทำงานร่วมกับคนอื่นหรือปฏิบัติอย่างเข้าอกเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นได้ โอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการทำงานคงเป็นไปได้ยาก จึงไม่แปลกที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนคงเริ่มมองหาวิธีเสริมสร้างทักษะนี้ให้ลูก แต่วิธีการเสริมสร้างทีมเวิร์กนั้นง่ายกว่าที่คิด เพราะเราสามารถทำได้ทุกวันและทำได้ตั้งแต่ที่บ้าน
ลองเริ่มจากการชวนสมาชิกทุกคนทำกิจกรรมง่ายๆ อาจเป็นการเล่นเกมวันหยุด การทำอาหาร หรือแม้กระทั่งภารกิจการทำงานบ้าน การแบ่งสัดส่วนงานเพื่อพิชิตเป้าหมายเดียวกัน ต่างสามารถสร้างทีมเวิร์กให้เกิดขึ้นในตัวสมาชิกทุกคนได้ทั้งนั้น ที่สำคัญอย่าลืมให้ความสำคัญกับความรู้สึก ลองเปิดโอกาสให้สมาชิกในครอบครัวได้พูดคุยและแบ่งปัน ไม่มีอะไรอบอุ่นและมั่นคงไปกว่าการรู้ว่ามีใครบางคนพร้อมที่จะซัพพอร์ตเราในวันที่ยากลำบาก สิ่งนี้สามารถสร้างแรงบันดาลใจและใจบันดาลแรงให้กับลูกๆ ได้อย่างเหลือเชื่อ
วิธีส่งเสริมทักษะทีมเวิร์กได้อย่างมีประสิทธิภาพในทุกวัยคือ ‘การเล่นกีฬา’
ขอเข้าเรื่องเนิร์ดสักนิด ผลการวิจัยจาก University of Kansas ยืนยันว่า 57 เปอร์เซ็นต์ของผู้นำในแวดวงธุรกิจล้วนผ่านประสบการณ์การเล่นกีฬาในช่วงวัยเรียนมาก่อน และประสบการณ์เหล่านั้นทำให้พวกเขามีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น สามารถตัดสินใจได้อย่างรอบคอบและพร้อมเป็นผู้นำ นอกจากนี้ผลการวิจัยยังพบอีกว่าเด็กในช่วงเกรด 9-12 ที่เข้าร่วมทีมเล่นกีฬากับเพื่อนๆ สามารถทำคะแนนสอบและเรียนจบด้วยคะแนนที่สูงกว่าเด็กๆ ทั่วไป
เรียกได้ว่าการเล่นกีฬาเป็นอีกหนึ่งการเรียนรู้ที่สำคัญซึ่งทุกครอบครัวไม่ควรมองข้าม สิ่งที่เราจะได้รับจากการเล่นกีฬานั้นมีประโยชน์มากกว่าเรื่องทักษะร่างกายแต่ลงลึกไปจนถึงเรื่องของจิตใจ เพราะกีฬาช่วยให้เราได้สัมผัสบรรยากาศของทีมที่พร้อมอยู่เคียงข้างกันไม่ว่าจะแพ้หรือชนะ (Togetherness) ผลักดันให้เกิดการรับฟังและแสดงความคิดเห็น เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเคล็ดลับดีๆ ที่ช่วยให้เราเติบโตไปพร้อมกัน (Sharing) นอกจากนี้พลังจากการช่วยเหลือกันและกันของทีมยังช่วยให้ทีมก้าวผ่านอุปสรรคได้อย่างเข็มแข็ง (Energy of helping each other) และที่สำคัญที่สุดก็คือกีฬาช่วยให้เราได้ค้นหาและทำความรู้จักตัวเองรวมถึงเพื่อนร่วมทีม ส่งผลให้สามารถเสริมพลังกันได้มากกว่าเดิม (Respect yourself and others)
จึงเป็นเรื่องดีที่ในแต่ละปีย่อมมีแบรนด์ที่เข้ามาทำหน้าที่ช่วยผลักดันแคมเปญด้านกีฬาให้เด็กและเยาวชนสามารถพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีม และเครื่องดื่มช็อกโกแลตมอลต์ MILO ก็เป็นอีกหนึ่งแบรนด์ที่ส่งเสริมเรื่องนี้อย่างเข้มข้นมาโดยตลอด ปี 2020 นี้ก็เป็นอีกปีที่ MILO กลับมาพร้อมกับสโลแกนที่ว่า Teamwork Makes Us เพราะอยากชวนทุกคนมองให้ไกลกว่าเป้าหมายหรือการแพ้-ชนะ แ
เพื่อส่งต่อแนวคิด ‘กีฬาคือครูของชีวิต’ จึงเลือกถ่ายทอดแนวคิดผ่านโฆษณาที่ประกอบไปด้วยภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเสมอในสนามกีฬา ไม่ว่าจะเป็นกำลังใจจากข้างสนามที่ช่วยให้นักกีฬาลุกขึ้นสู้ พลังของความห่วงใยจากเพื่อนร่วมทีมที่พร้อมฉุดมือเพื่อนขึ้นมาทุกครั้งที่ล้ม และที่สำคัญที่สุดคือพลังของทีมเวิร์กที่ช่วยพาทีมไปข้างหน้าและเติบโตไปพร้อมกัน บทเรียนที่เด็กๆ จะได้รับในสนามกีฬาคือบทเรียนจริงภาคปฏิบัติที่ช่วยผลักดันให้พวกเขาเติบโตไม่มีหยุดไม่ว่าจะแพ้หรือชนะ ถ้าใครอยากเริ่มเรียนรู้พลังแห่งทีมเวิร์กแล้ว สามารถรับชมได้ที่วิดีโอด้านล่างนี้เลย
นอกจากการผลักดันเยาวชนผ่านสื่อต่างๆ แล้ว MILO ยังมีการจัดกิจกรรมเพื่อผลักดันให้เด็กๆ ได้ใช้เวลาว่างไปกับกีฬาที่ชอบพร้อมผลักดันทักษะรอบด้านผ่านทีมเวิร์ก ด้วยเหตุนี้ MILO จึงได้ทุ่มเทแรงกายแรงใจจัดกิจกรรมสำหรับเยาวชนขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ยกตัวอย่างเช่น กิจกรรมฟุตซอลที่ทำมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 10 ปี เพื่อให้เด็กๆ ได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์และแรงบันดาลใจในการทำงานเป็นทีมอย่างเต็มที่
คำว่า ‘Teamwork Makes Us’ และ ‘กีฬาคือครูของชีวิต’ คือคำที่อธิบายแนวทางการเรียนรู้
อ้างอิง