Sound of Love โปรเจกต์เปลี่ยน 6 ประโยคบอกรักเป็นดอกไม้แทนใจวันวาเลนไทน์

Highlights

  • Sound of Love คือโปรเจกต์ของครีเอทีฟเอเจนซี SOUR Bangkok ที่ตั้งคำถามว่าทำไมผู้คนถึงมอบแต่ดอกกุหลาบให้แก่กันในวันวาเลนไทน์ และเราจะใช้ดอกไม้อื่นๆ แทนใจได้ไหม
  • จากจุดตั้งต้น พวกเขานำ 6 ประโยคบอกรักยอดฮิตของคนไทยมาแปลงเป็นคลื่นเสียงซึ่งมีฟอร์มคล้ายกลีบดอกไม้ และจับคู่กับดอกไม้ที่มีหน้าตาคล้ายคลื่นเสียงนั้น มอบความหมายใหม่ให้ดอกไม้เหล่านี้ จะได้ใช้แทนใจในวันวาเลนไทน์ (และวันอื่นๆ) ได้จริงๆ

Sound of Love

ตั้งแต่เมื่อไหร่ไม่รู้ที่คนไทยเริ่มมอบดอกกุหลาบเป็นสื่อแทนใจในวันวาเลนไทน์ แต่ที่รู้ๆ วันแห่งความรักวนมาถึงทีไร ดอกกุหลาบก็มีราคาแรงแซงหน้าเพื่อนๆ ทุกที

แต่จะเป็นยังไงหากดอกไม้อื่นก็พูดแทนใจได้ไม่แพ้ดอกกุหลาบ 

นั่นคือคำถามที่อยู่ในใจของครีเอทีฟเอเจนซี SOUR Bangkok ตั้งแต่ก่อนวาเลนไทน์ และเป็นจุดกำเนิดของโปรเจกต์ Sound of Love ที่พวกเขาหยิบ 6 ประโยคบอกรักยอดฮิตของคนไทยมาถอดเป็นคลื่นเสียงและจับคู่กับดอกไม้ที่มีหน้าตาคลับคล้ายคลับคลากับคลื่นเสียงของประโยคนั้น ด้วยวิธีนี้คำว่า ‘รักนะ’ จึงแทนค่าได้ด้วยดอกไฮเดรนเยีย และประโยค ‘I love you.’ ก็ไม่ได้คู่กับดอกกุหลาบ แต่บอกให้อีกฝ่ายรับทราบได้ด้วยดอกคาร์เนชั่นสีสดใส

คลื่นเสียงและดอกไม้มาเกี่ยวกันได้ยังไง

บนบันทึกเสียงด้านล่างระหว่างเรากับ มิ้น–นพรัตน์ เอกสุวรรณเจริญ และ โบ–อณัณฏิ บรรเทิงสุข สองดีไซเนอร์ของโปรเจกต์นี้คือคำตอบ

sound of love

sound of love

 

ปลูกกุหลาบแดงไว้เพื่อเธอ?

มิ้น : ถ้าดูงานของ SOUR Bangkok จะเห็นว่างานที่เราทำเป็นประจำคืองานโฆษณาและมีบางส่วนเป็นงานเอนเตอร์เทนเมนต์ แต่เราก็อยากให้คนในออฟฟิศได้ทำงานอื่นๆ นอกเหนือจากงานเหล่านี้บ้าง อยากทำอะไรทำได้เลย ซึ่งเราก็สามารถอัพโหลดขึ้นไปในโลกออนไลน์ให้ทุกคนเห็นได้

Sound of Love ก็เป็นโปรเจกต์ที่ทำกันภายใน SOUR Bangkok ในวาระวันวาเลนไทน์ เราอยากทำอะไรที่คนทั่วไปนำไปใช้ต่อได้ ซึ่งพอนึกถึงวันวาเลนไทน์เราคิดถึงดอกกุหลาบ บวกกับอินไซต์ที่ว่าทุกๆ วันวาเลนไทน์ดอกกุหลาบจะแพงมาก เราตั้งคำถามว่าทำไมราคาดอกกุหลาบถึงเฟ้อจังช่วงนี้ ทำไมดอกไม้อื่นๆ ไม่มีโอกาสได้ทำหน้าที่ในวันวาเลนไทน์บ้าง

เรามีไอเดียว่าอยากทำให้ดอกไม้อื่นๆ มีความ personal ขึ้น มีเรื่องราวมากขึ้น เราก็พยายามคิดว่าจะทำยังไงให้ดอกไม้มีความหมายที่เกี่ยวข้องกับคนและโดนคนทั่วไป ตอนนี้ทุกคนจะใช้ข้อมูลมาทำงาน พอดีว่าโบไปเจอโพลของสวนดุสิตปีที่แล้วที่สำรวจว่า ‘คนพูดอะไรกันบ้างในวันวาเลนไทน์’ มันก็จะมีประโยคยอดฮิต เช่น รักนะ I love you. หรือมีคนบอกรักพ่อแม่ในวันวาเลนไทน์ด้วย

sound of love

 

แปลงเสียงบอกรักเป็นดอกไม้

มิ้น : เอาจริงๆ ตอนนี้ท้องตลาดก็มีข้อมูลอยู่เต็มไปหมดแล้วล่ะ แต่มันอยู่ที่วิธีคิดและมุมมองมากกว่าว่าเราจะทำยังไงให้ข้อมูลที่ได้มีอารมณ์ ความรู้สึก แล้วก็มีมุมที่คนเชื่อมโยงกับตัวเองได้มากขึ้น อย่างวิธีที่ SOUR Bangkok ทำ คือเราใช้คำที่คนบอกกันอยู่แล้วเอามาทำ data visualization

ถามว่าดอกไม้เชื่อมโยงกับคลื่นเสียงได้ยังไง เราคิดว่ามันเป็นการทดลองของดีไซเนอร์ เป็นความช่างสังเกตของโบที่ทำให้เห็นว่าคลื่นเสียงมีความคล้ายกลีบดอกไม้อยู่ โดยเฉพาะแบบเส้นโค้ง เพราะการบันทึกคลื่นเสียงก็มีหลายแบบนะ จะเป็นจุด เป็นเส้น เป็นเส้นโค้งก็ได้ แต่เราก็เลือกหยิบเส้นโค้งมาใช้เพราะสังเกตว่ามันมีความคล้ายกลีบดอกไม้ที่สุด

sound of love sound of love

โบ : เราเริ่มต้นด้วยการอัดเสียงคำบอกรักจากสวนดุสิตโพลเข้าไปโดยใช้แอพฯ อัดเสียงของไอโฟน มันจะออกมาเป็นเส้นคลื่นที่เป็นเส้นตรงแล้วค่อยบิดมันให้เป็นวงกลม ให้ตัวคลื่นเสียงมันกระจายตัวคล้ายกลีบดอกไม้มากขึ้น จากนั้นเราก็นำกราฟที่ได้ไปเชื่อมโยงกับดอกไม้พันธุ์ต่างๆ โดยการเสิร์ชรูปในกูเกิล บวกคำว่า flower และใช้กราฟิกดีไซน์เข้ามาช่วย เช่น เพิ่มสีที่ดูเหมือนดอกไม้นั้นๆ เข้าไป ทำให้กราฟออกมาเป็นดอกไม้อย่างที่เห็น

มิ้น : วิธีการเลือกดอกไม้ที่แมตช์กับคลื่นเสียงคือเราจะดูว่าดอกไม้ที่กูเกิลโชว์ส่วนใหญ่คือดอกอะไร เช่น ถ้าเอาคลื่นเสียงนี้ไปเสิร์ชแล้วผลการค้นหาส่วนใหญ่เป็นดอกคาร์เนชั่น เราก็เชื่อมโยงประโยคนี้กับดอกคาร์เนชั่น

ในกระบวนการทำงานเราไม่ได้ค้นหาลงลึกว่าดอกไม้แต่ละดอกมีความหมายแฝงอยู่หรือเปล่าเพราะความหมายของภาษาไทยและภาษาอังกฤษก็ไม่เหมือนกัน แต่เราเน้นว่ามันเป็นดอกไม้ที่สวยงาม ใช้ส่งต่อได้ เพราะความตั้งใจของเราคืออยากให้เขารู้สึกว่าดอกไม้เหล่านี้สวยงาม ถ้าเขาสามารถไปสั่งดอกไม้เหล่านี้ที่ไม่ใช่ดอกกุหลาบที่ร้านได้จริงๆ มันก็คงจะน่ารักดี

 

เขียนความหมายใหม่ให้ดอกไม้

โบ : หลังจากที่เราได้ดอกไม้จากคลื่นเสียงมาแล้ว ดอกไม้ชนิดนั้นๆ จึงมีความหมายไปตามคลื่นเสียงที่ใช้บอกรัก ทำให้ดอกไม้ชนิดต่างๆ สามารถเป็นตัวแทนบอกรักในวันวาเลนไทน์ได้ ไม่ใช่แค่ดอกกุหลาบ

มิ้น : โปรเจกต์นี้เป็นโปรเจกต์ที่ทำแล้วมีแต่ได้กับได้ หมายถึงว่าคนที่กำลังหาของขวัญวาเลนไทน์ให้กันก็เอาไปใช้ต่อได้ ทุกคนอยากแชร์ต่อ และนอกจากที่เขาไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินเยอะๆ เพื่อดอกกุหลาบแล้วยังเป็นเรื่องของอารมณ์ความรู้สึก บางทีมันอาจไม่ใช่เรื่องของการให้ดอกไม้กันโดยเน้นความฟู่ฟ่าอลังการ แต่เป็นเรื่องของเมสเซจที่แนบไปกับดอกไม้นั้นๆ ที่จะทำให้เกิดความรู้สึกดีๆ ต่อกันมากกว่า


Sound of Love

Creative Agency: SOUR Bangkok
Designers: อณัณฏิ บรรเทิงสุข / นพรัตน์ เอกสุวรรณเจริญ /ดมิสาฐ์ องค์ศิริวัฒนา
Writer: วรุณพร ตรีเทพวิจิตร
Account Manager: สมฤทัย สัญชยากร

โบ : เราเริ่มต้นด้วยการอัดเสียงคำบอกรักจากสวนดุสิตโพลเข้าไปโดยใช้แอพฯ อัดเสียงของไอโฟน มันจะออกมาเป็นเส้นคลื่นที่เป็นเส้นตรงแล้วค่อยบิดมันให้เป็นวงกลม ให้ตัวคลื่นเสียงมันกระจายตัวคล้ายกลีบดอกไม้มากขึ้น จากนั้นเราก็นำกราฟที่ได้ไปเชื่อมโยงกับดอกไม้พันธุ์ต่างๆ โดยการเสิร์ชรูปในกูเกิล บวกคำว่า flower และใช้กราฟิกดีไซน์เข้ามาช่วย เช่น เพิ่มสีที่ดูเหมือนดอกไม้นั้นๆ เข้าไป ทำให้กราฟออกมาเป็นดอกไม้อย่างที่เห็นมิ้น : วิธีการเลือกดอกไม้ที่แมตช์กับคลื่นเสียงคือเราจะดูว่าดอกไม้ที่กูเกิลโชว์ส่วนใหญ่คือดอกอะไร เช่น ถ้าเอาคลื่นเสียงนี้ไปเสิร์ชแล้วผลการค้นหาส่วนใหญ่เป็นดอกคาร์เนชั่น เราก็เชื่อมโยงประโยคนี้กับดอกคาร์เนชั่นในกระบวนการทำงานเราไม่ได้ค้นหาลงลึกว่าดอกไม้แต่ละดอกมีความหมายแฝงอยู่หรือเปล่าเพราะความหมายของภาษาไทยและภาษาอังกฤษก็ไม่เหมือนกัน แต่เราเน้นว่ามันเป็นดอกไม้ที่สวยงาม ใช้ส่งต่อได้ เพราะความตั้งใจของเราคืออยากให้เขารู้สึกว่าดอกไม้เหล่านี้สวยงาม ถ้าเขาสามารถไปสั่งดอกไม้เหล่านี้ที่ไม่ใช่ดอกกุหลาบที่ร้านได้จริงๆ มันก็คงจะน่ารักดี
ตั้งแต่เมื่อไหร่ไม่รู้ที่คนไทยเริ่มมอบดอกกุหลาบเป็นสื่อแทนใจในวันวาเลนไทน์ แต่ที่รู้ๆ วันแห่งความรักวนมาถึงทีไร ดอกกุหลาบก็มีราคาแรงแซงหน้าเพื่อนๆ ทุกที แต่จะเป็นยังไงหากดอกไม้อื่นก็พูดแทนใจได้ไม่แพ้ดอกกุหลาบ นั่นคือคำถามที่อยู่ในใจของครีเอทีฟเอเจนซี SOUR Bangkok ตั้งแต่ก่อนวาเลนไทน์ และเป็นจุดกำเนิดของโปรเจกต์ที่พวกเขาหยิบ 6 ประโยคบอกรักยอดฮิตของคนไทยมาถอดเป็นคลื่นเสียงและจับคู่กับดอกไม้ที่มีหน้าตาคลับคล้ายคลับคลากับคลื่นเสียงของประโยคนั้น ด้วยวิธีนี้คำว่า ‘รักนะ’ จึงแทนค่าได้ด้วยดอกไฮเดรนเยีย และประโยค ‘I love you.’ ก็ไม่ได้คู่กับดอกกุหลาบ แต่บอกให้อีกฝ่ายรับทราบได้ด้วยดอกคาร์เนชั่นสีสดใส คลื่นเสียงและดอกไม้มาเกี่ยวกันได้ยังไง บนบันทึกเสียงด้านล่างระหว่างเรากับ มิ้น–นพรัตน์ เอกสุวรรณเจริญ และ โบ–อณัณฏิ บรรเทิงสุข สองดีไซเนอร์ของโปรเจกต์นี้คือคำตอบ

AUTHOR