‘ในวันที่คอนเสิร์ตต้องอยู่บนโลกออนไลน์’ พูดคุยกับพล หุยประเสริฐ นักออกแบบคอนเสิร์ตผู้เชื่อในพลังของการดีไซน์

Highlights

  • เมื่อสิบกว่าปีก่อน ดีไซน์ยังไม่ถูกให้ความสำคัญมากนักในคอนเสิร์ตไทย แตกต่างจากเมืองนอกที่เวลาศิลปินทำทัวร์จะมีคาแร็กเตอร์ที่ชัดเจน พลมองเห็นช่องว่างตรงนี้ และเห็นว่าดีไซน์จะช่วยยกระดับให้กับศิลปินและคอนเสิร์ตได้
  • โควิด-19 คือจุดเริ่มต้นให้พลหันมาทำคอนเสิร์ตออนไลน์ที่มีวิธีการทำงานแตกต่างไปจากคอนเสิร์ตครั้งก่อนๆ ที่คนดูจะไม่ได้อยู่ในฮอลล์อีกแล้วแต่ไปอยู่บนบรอดแคสต์ และข้องเกี่ยวกับออนไลน์มากขึ้นจนแทบจะต้องโละอุปกรณ์ใหม่ทั้งหมด จึงจำเป็นต้องมีคอมพิวเตอร์ที่ประสิทธิภาพการทำงานสูงขึ้น ซึ่ง ASUS ProArt StudioBook Pro X (W730) ก็เข้ามาตอบโจทย์นี้ได้เป็นอย่างดี ด้วยคุณสมบัติที่ทรงพลังเหมาะสำหรับใช้ทำงานด้านครีเอเตอร์โดยเฉพาะ

หากคุณเคยไปดูคอนเสิร์ตของศิลปินดังอย่าง Bodyslam, Potato หรือ Slot Machine คุณย่อมเคยตื่นตาตื่นใจไปกับผลงานของพล หุยประเสริฐ มาก่อน ต่อให้นี่อาจเป็นครั้งแรกที่คุณได้ยินชื่อของเขาก็ตาม

เพราะว่าในฐานะ ‘นักออกแบบคอนเสิร์ต’ พลคือผู้อยู่เบื้องหลังดีไซน์อันแปลกตาของเวที ความซับซ้อนของแสงสี รวมถึงโมชั่นกราฟิกต่างๆ ที่ช่วยยกระดับประสบการณ์คอนเสิร์ตได้อย่างน่าทึ่ง

แน่นอน เราทุกคนรู้จักว่าคอนเสิร์ตคืออะไร แต่หากพูดถึง ‘นักออกแบบคอนเสิร์ต’ บางคนอาจเริ่มไม่แน่ใจว่าอาชีพนี้คืออะไรกันแน่ เราถือโอกาสนัดพบกับพลที่ H.U.I. Company บริษัทออกแบบคอนเสิร์ตของเขาในย่านราชเทวี เพื่อคลายความสงสัยในอาชีพแสนเจาะจง รวมทั้งถามไถ่ถึงผลกระทบและความท้าทายของอาชีพนักออกแบบคอนเสิร์ตในช่วงโควิด-19 ที่ต้องหันมาจัดคอนเสิร์ตออนไลน์ และจำเป็นต้องเปลี่ยนมาใช้คอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพการทำงานที่สูงขึ้นกว่าเครื่องเดิมๆ ที่ผ่านมา

นี่คือบทสนทนาระหว่างเรากับพล นักออกแบบคอนเสิร์ตเบอร์ต้นๆ ของไทย

คุณมาทำงานเป็นนักออกแบบคอนเสิร์ตได้ยังไง

เราจบ Industrial Design มา แล้วทำงานในสายนี้อยู่แปดปี แต่รู้สึกว่าไม่เจ๋งสักที เราอยากจะ specific สักอย่าง ซึ่งคอนเสิร์ตคือหนึ่งในงานที่เรารับทำ และเราก็ชื่นชอบดนตรีมาตั้งแต่เด็กๆ เลยตัดสินใจเลือกทำคอนเสิร์ต

เมื่อ 13-14 ปีก่อน คอนเสิร์ตยังไม่ค่อยมีใครดูเรื่องดีไซน์มาก แต่ตอนนั้นเราคิดว่าศิลปินออกเพลงมาปีละเพลงสองเพลง ถ้าต้องเล่นคอนเสิร์ตทุกปี ถึงจุดหนึ่งมันจะตัน มันจำเป็นต้องมีดีไซน์เข้ามาช่วย พอดีว่าเราไปเห็นตัวอย่างจากเมืองนอก เวลาศิลปินเขาทำทัวร์แต่ละครั้งจะมีคาแร็กเตอร์ที่ชัดเจน แสดงว่าของไทยก็ต้องมีเหมือนกันสิ เราต้องสร้างคาแร็กเตอร์ของแต่ละคอนเสิร์ตให้ได้

 

ทำไมตอนนั้นถึงคิดว่ามันจะเวิร์ก 

เราคิดว่าถ้าทุกคอนเสิร์ตมันซ้ำๆ กันหมดก็ฉิบหายสิ แต่ถ้าเราไปสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยดีไซน์น่าจะทำให้คอนเสิร์ตน่าสนใจขึ้นได้ แล้วก็เป็นจังหวะที่ดีไซเนอร์จะสามารถโผล่มาได้พอดีด้วย ยิ่งพอวงการทำอะไรซ้ำๆ กัน ถ้าเราทำอะไรแปลกหน่อยมันจะเห็นชัดขึ้นมาทันที

 

อะไรคือความโดดเด่นในคอนเสิร์ตของคุณ

น่าจะเป็นโปรดักชั่นนะ ปัญหาของคอนเสิร์ตสมัยก่อนคือไม่มี scenic design คือไม่มีวิชวลคอยกำกับว่าซีนนี้จะเห็นเป็นภาพอะไร สมัยก่อนจะแค่ทำไฟมา ทำจอมา แล้วยำรวมกันตรงนั้น แต่เราจะทำหน้าที่เป็นผู้กำกับซีน คอยกำกับว่าซีนนี้ต้องเห็นไฟน้อยๆ ซีนนี้ต้องสว่างขึ้นหน่อย ซีนนี้จะใช้กราฟิกอะไร หรือให้ศิลปินเล่นกับจอบ้างดีไหม มันเป็นความทันสมัยในตอนนั้น

วิธีการทำงานของเมื่อก่อนคือลูกค้ามีศิลปินอยู่ แล้วเขาจะไปหาออร์แกไนเซอร์ให้ช่วยจัดการทุกอย่าง แต่พอเป็นแบบนั้นดีไซน์จะไปอยู่ภายใต้ออร์แกไนเซอร์อีกที ดีไซน์มันเลยไม่โผล่ เพราะออร์แกไนเซอร์เขาต้องทำหลายเรื่อง ดีไซน์มันก็ประมาณหนึ่งแหละแต่ไม่ต้องไปเน้นมาก ซึ่งเราว่ามันไม่ใช่ ดีไซน์มันสำคัญ เราเลยพาตัวเองไปแทรกอยู่ตรงกลางระหว่างลูกค้ากับออร์แกไนเซอร์ คือก่อนที่ลูกค้าจะไปถึงจุดที่ต้องสร้างงาน เราต้องสร้างสรรค์งานให้เสร็จก่อน มันยุ่งยากและช่วงแรกๆ ออร์แกไนเซอร์ก็งงว่าไอ้เด็กนี่เป็นใคร แต่พอเราไปอยู่ตรงกลาง เราเลยได้คุยกับลูกค้าก่อน เราจึงได้รับอำนาจจากลูกค้าประมาณหนึ่งในการดูภาพรวมของงาน

เมื่อคอนเสิร์ตเริ่มมีการออกแบบเข้ามา คิดว่าพฤติกรรมของคนดูเปลี่ยนแปลงไปด้วยไหม

เปลี่ยนนะ อย่างช่วงแรกๆ ก็ตั้งคำถามว่าซีนคอนเสิร์ตเราสวยแต่ทำไมไม่มีใครถ่ายรูปตอนจบคอนเสิร์ตเลย แล้วทำไมพอพี่ตูนเดินออกมาแล้วถ่ายกันจัง ดูๆ ไปเราถึงได้รู้ว่า อ๋อ คอนเทนต์ของเรามันอยู่บนตัวศิลปิน เราต้องเอาศิลปินไปผูกกับโปรดักชั่นของเรา เช่น ให้ศิลปินกับฉากกราฟิกเคลื่อนไหวไปพร้อมกัน คนดูจึงเริ่มถ่ายรูปโปรดักชั่นมากขึ้น แต่อย่างทุกวันนี้แค่โปรดักชั่นเพียวๆ คนดูก็ยอมถ่ายแล้ว

 

เปรียบเทียบระหว่างในอดีตที่วงการดนตรียังไม่คุ้นเคยกับการออกแบบคอนเสิร์ตนัก กับในปัจจุบันที่กลายเป็นเรื่องปกติ คิดว่าลักษณะการทำงานแตกต่างไปไหม

ต่างนะ เพราะอย่างน้อยๆ ก็มีคนฟังเราแล้ว (หัวเราะ) แล้วจริงๆ บทบาทของเราก็เปลี่ยนไปด้วย คือเราเริ่มจาก set design แต่พอทำๆ ไปเรารู้สึกว่าทำไมไฟไม่ตรงกับที่ต้องการเลย เราก็เริ่มไปยุ่งกับคนทำไฟ แล้วก็รู้สึกว่าทำไมศิลปินไม่อยู่ในตำแหน่งของไฟที่จัด เราก็เริ่มไปยุ่งกับศิลปินอีก ขยายขอบเขตไปเรื่อยๆ จนตอนนี้มาถึงจุดที่เราทำคอนเสิร์ตเอง คิดรายชื่อศิลปินเอง โปรโมตเองด้วยซ้ำ เราเลยบอกใครๆ ว่าเราเป็นนักออกแบบคอนเสิร์ต

คำว่าออกแบบคนมักจะเข้าใจผิดว่าคือการสร้างเวทีและโปรดักชั่น แต่การออกแบบคอนเสิร์ตในความหมายของเราคือเวลาคนดูเห็นโปสเตอร์แล้วเขาจะรู้สึกยังไง อยากจะซื้อบัตรไหม จากนั้นก็จะมาสื่อสารต่อในคอนเสิร์ตว่าเราจะเริ่มต้นคอนเสิร์ตยังไง ซึ่งเป็นเรื่องของสคริปต์ โปรดักชั่นเป็นเรื่องที่เข้ามาช่วงกลางๆ หรือหลังๆ ด้วยซ้ำ แล้วก็ไม่ใช่แค่เวทีด้วย นักออกแบบคอนเสิร์ตเหมือนผู้กำกับหนังแหละ คือไม่ได้แค่กำกับหนัง แต่บทหนังเขาก็ต้องดูด้วย ไหนจะตัดต่อหนังอีก อยู่ด้วยในทุกขั้นตอน คำว่าออกแบบสำหรับเรามันเลยกว้างมากๆ

 

ในช่วงวิกฤตการณ์โควิด-19 นักออกแบบคอนเสิร์ตอย่างคุณได้รับผลกระทบยังไงบ้าง

เราว่างอยู่ช่วงหนึ่ง จนได้ไปเจอค่าย What The Duck แล้วคุยกันว่า เราอยากทำคอนเสิร์ตที่ไม่ใช่แค่ไลฟ์ฟรีๆ แต่มีมูลค่า มันเลยเกิดสตูดิโอออนไลน์ขึ้นมาเป็นครั้งแรกกับคอนเสิร์ตของ Whal & Dolph ที่บัตรขายหมดในสิบนาที จริงๆ ตอนนั้นอาจขายบัตรได้ถึงสองรอบด้วยซ้ำนะเพราะเป็นกระแสของคนที่ต่างก็อึดอัดกับการอยู่บ้านเฉยๆ 

 

กลัวไหมกับการต้องเปลี่ยนมาจัดคอนเสิร์ตในพื้นที่ที่เราไม่คุ้นเคยอย่างพื้นที่ออนไลน์

กลัว มันกังวล แต่เราก็ตื่นเต้นกับสิ่งนี้นะ แล้วโควิด-19 เลยเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดคอนเสิร์ตออนไลน์ ทำให้รู้สึกอยากจะขยับไปทำอะไรที่มากขึ้นเรื่อยๆ เริ่มมองหาอุปกรณ์ 3D เข้ามา ทดลองให้ศิลปินจากที่เคยอยู่ในฮอลล์ธรรมดาได้เข้าไปอยู่ในโลกที่ประหลาดมากขึ้นเรื่อยๆ งานที่สองก็เริ่มมี green screen เข้ามาบ้าง จนพองานที่สามก็เริ่มมีเกมเข้ามา โดยใช้โปรแกรม Unreal Engine พอคอนเสิร์ตที่สี่ที่เราทำกับนนท์ ธนนท์ คราวนี้ใช้เป็น XR เลย นั่นคือเราจะเซตจอแล้วเนรมิตพื้นที่รอบๆ ให้กลายเป็นอีกโลกหนึ่ง ข้อดีของมันคือศิลปินจะรู้ว่าเขาอยู่ตรงไหน ทำอะไรอยู่ แต่กับ green screen ศิลปินจะต้องเล่นกับจินตนาการตัวเองล้วนๆ พอเราเข้าไปข้องเกี่ยวกับออนไลน์มากขึ้นเลยจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ที่เยอะขึ้น ยิ่งพอเราทำไลฟ์ด้วย เรียกได้ว่าแทบจะต้องโละอุปกรณ์ใหม่ทั้งหมด

อุปกรณ์ที่ใช้มาก่อนหน้าใช้กับออนไลน์ไม่ได้เลยเหรอ

แทบจะคนละเรื่องเลย เพราะทุกอย่างจะไปอยู่บนบรอดแคสต์หมด อย่างพอเราจัดคอนเสิร์ตผ่าน Zoom นั่นคือการเอาคนดูเข้ามาในคอมพิวเตอร์ ทุกอย่างอยู่ในโลกเสมือนทั้งหมด ที่นั่งคนดู มุมมองคนดู เสียงคนดู มันไม่ได้อยู่ในฮอลล์อีกแล้ว เพราะฉะนั้นคอมพิวเตอร์จึงต้องพัฒนาระบบไปเยอะมาก มีคนเคยเขียนว่าทำออนไลน์ประหยัดขึ้นตั้งเยอะ แต่ถ้าเราจะใช้ระบบที่ดึงคนเข้ามาจริงๆ แม้จะไม่เสียค่าสถานที่ก็จริง แต่เราต้องเสียค่าเทคโนโลยีทั้งหมดแทน

ข้อจำกัดของอุปกรณ์ก่อนหน้านี้คือ การรองรับสิ่งที่ต้องใช้ไม่จำเป็นว่าจะต้องกว้างมาก แค่รันกราฟิกบนจอ LED ที่จะมองเห็นแค่ไกลๆ พิกเซลเลยไม่ต้องละเอียด แต่พอเราทำคอนเสิร์ตออนไลน์ซึ่งโคลสอัพศิลปินบ่อยมาก แบ็กกราวนด์ข้างหลังมันจะหยาบไม่ได้เลย จำนวนพิกเซลมันต้องมหาศาลขึ้น ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องมีคอมพิวเตอร์ที่แรงพอจะซัพพอร์ตสิ่งเหล่านี้ หรือพอเรากระโดดไปจับ Unreal Engine ซึ่งข้อดีคือไม่ต้องเรนเดอร์ แต่เล่นแบบเรียลไทม์ สเปกของคอมพิวเตอร์เลยต้องเล่นแบบเรียลไทม์ได้ด้วย

 

แล้วคอมพิวเตอร์เครื่องไหนตอบโจทย์ที่ว่ามา

ASUS ProArt StudioBook Pro X (W730) เพราะสเปกเครื่องนี้แรงมาก เป็นการ์ดจอ Quardro RTX 5000 รุ่นไฮเอนด์ เหมาะสำหรับใช้ทำงานด้านครีเอเตอร์โดยเฉพาะ น้องในบริษัทที่ใช้เครื่องนี้ทำงานก็บอกว่าไม่กระตุกเลยนะ ขนาดเครื่องใหญ่ๆ ยังมีกระตุกเลย มันมีโปรแกรมหนึ่งที่บริษัทเราใช้อยู่ชื่อ Notch คือสมัยก่อนเวลาทำงานสำหรับกราฟิกคอนเสิร์ตจะเริ่มจาก Photoshop และ After Effects แล้วไปตัดใน Premiere Pro ซึ่งสามโปรแกรมนี้ไม่ได้ดีไซน์มาสำหรับการทำกราฟิกคอนเสิร์ตเลย แต่โปรแกรม Notch เป็นโปรแกรมสำหรับอุตสาหกรรมนี้โดยเฉพาะ ศิลปินดังๆ อย่าง U2 และ Madonna ก็ใช้ ข้อดีของมันคือไม่ต้องเรนเดอร์ ทำเสร็จปุ๊บกดเพลย์ได้เลย เพราะฉะนั้นเวลาพรีวิวเราจะไม่ต้องมานั่งรอการเรนเดอร์ กดดูได้เลย แต่นั่นแปลว่าการ์ดจอจะต้องแข็งแรงพอ การจะใช้โปรแกรมนี้จึงจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ที่สเปกแรงและมีความเสถียรในตัวซีพียู ซึ่ง ASUS เครื่องนี้มีซีพียูที่เสถียรมาก

พอใช้ Notch คู่กับ ASUS เครื่องนี้แล้วมันทำให้เราทำงานเร็วขึ้นทั้งระบบ ไม่ต้องมานอนรอการเรนเดอร์ ทุกอย่างเป็นเรียลไทม์ เสร็จโดยทันที ที่ผ่านๆ มาคือทำงานเสร็จตีสอง กดเรนเดอร์ค้างไว้ พอตื่นเช้ามาดูปรากฏว่าผิด ก็ต้องแก้ใหม่ แล้วต้องรอเรนเดอร์ใหม่อีกวัน สำหรับเราการได้กระโดดมาทำคอนเสิร์ตออนไลน์มันเลยเหมือนได้เจอโลกใหม่ ได้เจอของเล่นใหม่ เอาจริงๆ ตอนนี้อายุสี่สิบห้าปีแต่ไม่เคยรู้สึกตื่นเต้นกับชีวิตเท่านี้เลย เหมือนข้างหน้ายังมีสิ่งใหม่ให้ดูอยู่เรื่อยๆ เราเลยสนุกกับมัน

 

นอกเหนือจากความแรงของการ์ดจอแล้ว มีฟีเจอร์ไหนของ ASUS เครื่องนี้ที่ช่วยให้คุณทำงานง่ายขึ้นไหม

มันมีหน้าจอสัมผัส ScreenPad ของเครื่องนี้ที่เป็นหน้าจอ ซึ่งเอาจริงๆ ตอนแรกที่ได้เครื่องมาเราก็ไม่ได้รู้สึกว่ามันมีประโยชน์นะ แต่พอใช้จริงๆ กลับพบว่าทีมของเราใช้ ScreenPad ในฐานะ second screen สำหรับเปิดโฟลเดอร์งาน ซึ่งมันดีเหมือนกัน เหมือนมีหน้าจอเล็กๆ ไว้สำหรับจัดการชื่อไฟล์

อีกส่วนที่ชอบคือจอของ ASUS ซึ่งเป็นจอ 17 นิ้ว อัตราส่วน 16:10 ขอบจอบาง ทำให้เห็นมุมมองของภาพหรือวิดีโอได้กว้างขึ้น เต็มตา และที่สำคัญไม่แพ้กันคือเครื่องนี้แสดงสีได้สมจริงมาก ค่าสี Delta E < 1.5 ซึ่งละเอียดกว่าที่ตามองเห็น รองรับช่วงสีที่กว้างพิเศษ ด้วยช่วงสี DCI-P3 97 เปอร์เซ็นต์ และ sRGB 133 เปอร์เซ็นต์ ให้ภาพคมชัด เหมือนจริง และยังมี Pantone Validated ที่ได้รับการรับรองความเที่ยงตรงของสีจาก Pantone ยิ่งพอเราทำเกมในคอนเสิร์ต สีมันเลยต้องจัด ซึ่งเวลาเราดูบนจอเครื่อง สีของภาพที่เห็นมันสมจริงเลยนะ หน้าจอของเครื่องนี้เลยเหมาะกับสไตล์งานกราฟิกที่กำลังทำอยู่พอดี เราชอบ ASUS รุ่นนี้เพราะมันเป็นแล็ปท็อปไฮเอนด์ ซึ่งมันมีน้อยมากๆ เพราะเวลาทำงานคอนเสิร์ตมันจะต้องไปทำงานที่สถานที่จริง ซึ่งสมัยก่อนเราจะต้องแบกคอมพิวเตอร์กันไปเป็นยวง แต่พอเป็นเครื่องนี้มันเป็น work station พร้อม Quardro RTX ที่ทรงพลังพอ พกพาง่าย จากที่แต่ก่อนเราต้องให้รถกระบะมาขนคอมพิวเตอร์ไป 5-6 เครื่อง แต่พอมีเครื่องนี้เราสามารถแบกขึ้นรถไฟฟ้าไปได้เลย


ASUS ProArt StudioBook Pro X (W730) มาพร้อมกับการรับประกันเครื่อง 3 ปี โดยมีประกันอุบัติเหตุสำหรับการใช้งานหนึ่งปีแรก รวมถึงบริการซ่อมคอมพิวเตอร์ถึงบ้านฟรี และตอนนี้ยังให้สิทธิใช้โปรแกรม Adobe Creative Cloud ฟรีเป็นเวลา 3 เดือน สำหรับทุกเครื่องในกลุ่ม ProArt StudioBook ที่ซื้อตั้งแต่วันนี้ – 31 ธันวาคม 2563 ใครสนใจสามารถเข้าไปติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.asus.com/th/ProArt และ www.nvidia.com

 

AUTHOR

PHOTOGRAPHER

ณัฐปคัลภ์ ทัศนวิริยกุล

นักเรียนฟิล์มที่มาฝึกงานช่างภาพ รักการถ่ายรูป ชอบกินของอร่อย และชอบใช้เวลากับครอบครัว เพื่อนสนิท คนรัก