“โปรดชมนิทรรศการให้สนุก” คุยกับทีมนำชมนิทรรศการแห่งหอศิลปกรุงเทพฯ

Highlights

  • ชวนมาทำความรู้จักกับ ‘ผู้นำชมนิทรรศการ’ ประจำหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร คนที่จะพาเราเดินดูนิทรรศการของหอศิลป์พร้อมการบรรยายอย่างลงลึกและสนุกสนาน
  • งานศิลปะคือสิ่งที่ล้ำค่าที่สุดที่พวกเขาต้องปกป้อง โดยหากมีผู้ชมทำพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการทำลายงาน พวกเขาจะเข้าไปตักเตือนทันที
  • พวกเขาล้วนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าความสนุกของอาชีพคือการถูกโอบล้อมด้วยงานศิลปะ และเซอร์ไพรส์จากผู้ชมในทุกๆ วัน

เคยอยากเข้าใจงานศิลปะในหอศิลป์มากกว่าที่แผ่นป้ายข้างงานอธิบายไว้ไหม นิทรรศการ หอศิลป์

ความหมายที่ซ่อนอยู่คืออะไร? เกี่ยวพันกับสังคมบ้างไหม? ไปจนถึง ศิลปินต้องการอะไร? คำตอบหาได้ไม่ยากหากคุณรู้จัก ‘ผู้นำชมนิทรรศการ’ ประจำหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร นิทรรศการ หอศิลป์

หน้าที่หลักของพวกเขาทั้ง 6 คือการพาผู้ชมอย่างเราๆ เดินดูนิทรรศการของหอศิลป์พร้อมการบรรยายอย่างลงลึกและสนุกสนานโดยไม่เกี่ยงว่าคุณจะมาดูนิทรรศการคนเดียวหรือยกโขยงกันมาดูเป็นกลุ่มหลักร้อยคนก็ตาม

น่าเสียดายที่หลายคนยังไม่รู้ว่าหอศิลป์มีบริการนี้อยู่ วันนี้เราจึงอยากชวนทุกคนมาทำความรู้จักพวกเขาและเรื่องราวเบื้องหลังการนำชมดูสักที เผื่อคราวหน้าที่ไปหอศิลป์คุณจะลองแวะไปใช้บริการกันบ้าง

พร้อมแล้วก็ฝากกระเป๋าไว้ในล็อกเกอร์ เข้าห้องน้ำให้เรียบร้อย แล้วตามเข้าไปฟังพวกเขาบรรยายกัน

นิทรรศการ หอศิลป์

1. ไม่ต้องเป็นศิลปินก็นำชมงานศิลป์ได้

หลายคนมักเข้าใจผิดว่าผู้นำชมนิทรรศการต้องเป็นศิลปินหรือคนที่เรียนศิลปะมาโดยตรงเท่านั้น แต่เหล่าผู้นำชมนิทรรศการทั้ง 6 ยืนยันกับเราว่าต่อให้เรียนมาทางด้านอื่นก็สามารถเป็นผู้นำชมได้ ขอเพียงแค่มีใจรักศิลปะ ชอบเล่าเรื่อง และรักการคุยกับคนทุกเพศทุกวัยก็เพียงพอ เพราะมากกว่าการบรรยาย การนำชมของหอศิลป์เน้นให้ผู้ชมได้แลกเปลี่ยนความคิดระหว่างดูงานเพื่อเชื่อมโยงศิลปะเข้ากับชีวิตของแต่ละคนจริงๆ

นิทรรศการ หอศิลป์

2. วางแผนก่อนปลอดภัยกว่า

ก่อนจะมานำชมนิทรรศการได้ ทีมต้องเตรียมการกันเป็นเดือน เริ่มจากการรับข้อมูลนิทรรศการที่กำลังจะจัดจากฝ่ายนิทรรศการก่อนทีมนำชมแต่ละคนจะแยกย้ายกันไปทำแผนนำชมของตัวเอง โดยแบ่งกลุ่มผู้ชมกัน เช่น เด็กประถม มัธยม มหาวิทยาลัย คนทั่วไป หรือคนที่เรียนศิลปะมาโดยตรง จากนั้นทีมจะนัดกันนำแผนนำชมมาแลกเปลี่ยนและคอมเมนต์กัน

เมื่อใกล้ช่วงเปิดนิทรรศการจริง ช่วงเวลาสำคัญที่ทีมนำชมจะได้กอบโกยรายละเอียดนิทรรศการมากที่สุดคือวันที่ภัณฑารักษ์ของนิทรรศการและศิลปินเจ้าของผลงานจะมาบรีฟทีมนำชมอย่างละเอียด โดยช่วงเวลานี้ ทีมนำชมจะยิงคำถามที่พวกเขาสงสัย รวมถึงคำถามที่ผู้ชมมักจะถามเพื่อเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการนำชมที่กำลังจะเกิดขึ้น ขั้นตอนสุดท้ายก่อนนำชมจริง พวกเขาจะนัดกันมาซ้อมนำชมในนิทรรศการ โดยขั้นตอนนี้ สมาชิกหอศิลป์คนไหนอยากจะเข้าไปฟังก่อนใครก็ได้นะ

นิทรรศการ หอศิลป์

3. ยินดีต้อนรับทุกเพศ ทุกวัย ทุกอาชีพ

แม้ทีมนำชมแต่ละคนจะถนัดบรรยายให้ผู้ชมต่างกลุ่มกัน แต่พวกเขาต้องฝึกตัวเองให้สามารถรับมือผู้ชมได้ทุกกลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มก็ต้องใช้วิธีการสื่อสารต่างกันออกไป เช่น กับคนทั่วไป ผู้นำชมอาจจะเน้นการถาม-ตอบ เชื่อมโยงกับประสบการณ์ส่วนตัวหรือสาขาอาชีพของผู้ชม ในขณะที่กับนักเรียนศิลปะ ผู้นำชมอาจจะสามารถลงลึกเรื่องงานศิลปะได้เลย

เพราะผู้ชมส่วนใหญ่ที่มาขอให้นำชมมักมาเป็นกลุ่มที่จองการนำชมไว้ล่วงหน้า ผู้นำชมจึงมีโอกาสทำการบ้าน ออกแบบการนำชมไว้ก่อน เช่น จะบรรยายกี่นาที จะเลือกบรรยายที่โซนไหน ชิ้นงานใดบ้าง ถึงอย่างนั้น เมื่อถึงเวลานำชมจริงๆ แทบทุกครั้ง สถานการณ์เฉพาะหน้าก็มักจะทำให้การบรรยายไม่เหมือนที่คิดไว้ ดังนั้นนอกจากความรู้เรื่องศิลปะ ไหวพริบยังเป็นอีกอาวุธสำคัญของผู้นำชม

4. เวิร์กช็อปพิเศษเพื่อคนพิเศษ

เมื่อมีน้องใหม่ในทีม พี่ๆ จะเป็นคนฝึกหัดให้อย่างใกล้ชิดด้วยการสอนวางแผนนำชม และช่วยหัดการพูดนำชมให้คล่องแคล่วด้วยการให้ซ้อมแล้วซ้อมอีก หรือติดสอยห้อยตามไปดูการนำชมจริง แต่นอกจากการเทรนกันเองในทีม แต่ละปีพวกเขายังมีเวิร์กช็อปสนุกๆ เพื่ออัพสกิลการนำชมขึ้นไปอีก เช่น เวิร์กช็อปการละคร เพื่อให้ทุกคนสามารถโปรเจกต์เสียงได้อย่างก้องกังวานจนสามารถบรรยายให้ผู้ชมหลักร้อยได้ เวิร์กช็อปการเล่าเรื่องเพื่อให้ออกแบบการนำชมที่สนุกสนานได้สำหรับผู้ชมที่หลากหลาย ไปจนถึงเวิร์กช็อปการนำชมสำหรับผู้ที่มีความต้องการพิเศษ เช่น ผู้พิการทางสายตา เป็นต้น

นิทรรศการ หอศิลป์

5. สายตาว่องไวเมื่อเห็นสิ่งใดแปลกปลอม

นอกจากการนำชมนิทรรศการแล้ว อีกงานสำคัญของทีมนำชมคือการดูแลรักษาความเรียบร้อยของนิทรรศการ ตั้งแต่การดูแลรักษางานศิลปะไม่ให้เกิดความเสียหาย ดูแลความสะอาดเรียบร้อยของห้องนิทรรศการ ไปจนถึงการสอดส่องไม่ให้ผู้ชมทำผิดกฎเกณฑ์ของหอศิลป์ เช่น ห้ามนำของกินและกระเป๋าใบใหญ่เข้ามาในห้องนิทรรศการ ห้ามถ่ายวิดีโอ ห้ามนำของมาขายหรือถ่ายรูปเชิงพาณิชย์ เป็นต้น หากจับได้ว่าใครทำผิดกฎ มาตรการของพวกเขาเริ่มต้นตั้งแต่ตักเตือนไปจนถึงการเรียก รปภ.ให้ช่วยจัดการหากมีความวุ่นวายเกิดขึ้น

นิทรรศการ หอศิลป์

6. รักงาน (ศิลปะ) ยิ่งชีพ

ในบรรดาของที่ต้องดูแลรักษา งานศิลปะคือสิ่งที่ล้ำค่าที่สุดที่พวกเขาต้องปกป้อง หากมีผู้ชมทำพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการทำลายงาน พวกเขาจะเข้าไปตักเตือนทันที แต่หากป้องกันไม่ทันและเกิดความเสียหายกับงานเสียก่อน พวกเขาก็มีวิธีจัดการเช่นกัน

ในขั้นต้น ทีมนำชมต้องประเมินความเสียหายของงานก่อนและเรียกทีมติดตั้งนิทรรศการมาจัดการแก้ไข หากงานเสียหายไม่มาก ทีมนำชมจะตักเตือนผู้ที่ทำงานเสียหาย บางครั้งหลังตักเตือนพวกเขาก็พานำชมนิทรรศการเสียเลย แต่หากเสียหายมาก ทางทีมนิทรรศการก็ต้องตกลงกับผู้ที่ทำงานเสียหายเพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการรับผิดชอบค่าเสียหายต่อไป ซึ่งบางครั้งความเสียหายก็พาพวกเขาไปตกลงกันถึงโรงพักมาแล้ว

7. รู้จักผู้ชมและพื้นที่ดีที่สุด

ระหว่างการจัดแสดงนิทรรศการ ไม่มีใครที่ใช้เวลากับนิทรรศการมากเท่าทีมนำชมอีกแล้ว เพราะเวลาทั้งหมดของพวกเขาถูกใช้ไปกับการนำชม ส่วนระหว่างที่ไม่มีการนำชม พวกเขาจะทำหน้าที่กด clicker นับจำนวนผู้เข้าชม และสังเกตความเรียบร้อยของงานแทน ถึงขนาดที่จำหน้าของผู้ชมที่มาบ่อยๆ ได้ และเข้าอกเข้าใจพฤติกรรมของผู้ชมเป็นอย่างดี เพราะอย่างนั้น เมื่อจะจัดนิทรรศการสักอย่าง บ่อยครั้งที่ทีมนิทรรศการกับทีมนำชมต้องร่วมกันคิดวิธีการดูงานหรือวิธีการมีส่วนร่วมกับงานให้เข้ากับพฤติกรรมของคนดูมากที่สุด

และเพราะรู้จักผู้ชมดีที่สุดนี่แหละ พวกเขาจึงเป็นคนที่รวบรวมฟีดแบ็กจากผู้ชมนิทรรศการและรวบรวมข้อมูลส่งให้ทีมนิทรรศการอีกทีเมื่อจบนิทรรศการ เพื่อการปรับปรุงงานในคราวหน้า

8. เซอร์ไพรส์ใหม่ในทุกวัน

เมื่อถามถึงความสนุกของการนำชม ต่างคนล้วนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าคือการถูกโอบล้อมด้วยงานศิลปะ และเซอร์ไพรส์จากผู้ชมในทุกๆ วัน เพราะแม้ต้องบรรยายนิทรรศการเดียว แต่ผู้ชมที่มาเข้าชมก็เปลี่ยนหน้าไปเรื่อยๆ บางครั้งก็มาจากแวดวงที่ไกลจากเรื่องศิลปะมาก หรือบางครั้งก็เป็นชาวต่างชาติที่คุยกันถูกคอจนแลกเปลี่ยนอีเมลติดต่อกันก็มี

แต่ที่สำคัญ พวกเขาบอกว่าความสนุกและคุณค่าของการได้ทำงานนี้คือการได้นำพาผู้ชมโดยเฉพาะคนที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงศิลปะเข้าถึงศิลปะ ทำให้เห็นว่าศิลปะนั้นเชื่อมโยงกับชีวิต ประสบการณ์ และหัวใจของผู้ชม โดยหวังว่าเมื่อผู้ชมกลับไปแล้ว เขาจะอยากมีศิลปะอยู่ในชีวิตเพิ่มขึ้น

และหากไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง จะแวะกลับไปฟังบรรยายที่หอศิลป์ใหม่อีกครั้งก็ไม่ว่ากัน

ขอขอบคุณ วรฉัตร วาทะพุกกณะ, จิรารัตน์ ไชยราช, อภินันท์ เกตุกูล, สิตา อินใหญ่, มยุรฉัตร คล้ายกระแส, รัตนกานต์ กาญจนพันธุ์บุญ และ สรีนา สัตถาผล

เคยอยากเข้าใจงานศิลปะในหอศิลป์มากกว่าที่แผ่นป้ายข้างงานอธิบายไว้ไหม ความหมายที่ซ่อนอยู่คืออะไร? เกี่ยวพันกับสังคมบ้างไหม? ไปจนถึง ศิลปินต้องการอะไร? คำตอบหาได้ไม่ยากหากคุณรู้จัก ‘ผู้นำชมนิทรรศการ’ ประจำหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครหน้าที่หลักของพวกเขาทั้ง 6 คือการพาผู้ชมอย่างเราๆ เดินดูนิทรรศการของหอศิลป์พร้อมการบรรยายอย่างลงลึกและสนุกสนานโดยไม่เกี่ยงว่าคุณจะมาดูนิทรรศการคนเดียวหรือยกโขยงกันมาดูเป็นกลุ่มหลักร้อยคนก็ตาม
น่าเสียดายที่หลายคนยังไม่รู้ว่าหอศิลป์มีบริการนี้อยู่ วันนี้เราจึงอยากชวนทุกคนมาทำความรู้จักพวกเขาและเรื่องราวเบื้องหลังการนำชมดูสักที เผื่อคราวหน้าที่ไปหอศิลป์คุณจะลองแวะไปใช้บริการกันบ้างพร้อมแล้วก็ฝากกระเป๋าไว้ในล็อกเกอร์ เข้าห้องน้ำให้เรียบร้อย แล้วตามเข้าไปฟังพวกเขาบรรยายกัน
1. ไม่ต้องเป็นศิลปินก็นำชมงานศิลป์ได้ หลายคนมักเข้าใจผิดว่าผู้นำชมนิทรรศการต้องเป็นศิลปินหรือคนที่เรียนศิลปะมาโดยตรงเท่านั้น แต่เหล่าผู้นำชมนิทรรศการทั้ง 6 ยืนยันกับเราว่าต่อให้เรียนมาทางด้านอื่นก็สามารถเป็นผู้นำชมได้ ขอเพียงแค่มีใจรักศิลปะ ชอบเล่าเรื่อง และรักการคุยกับคนทุกเพศทุกวัยก็เพียงพอ เพราะมากกว่าการบรรยาย การนำชมของหอศิลป์เน้นให้ผู้ชมได้แลกเปลี่ยนความคิดระหว่างดูงานเพื่อเชื่อมโยงศิลปะเข้ากับชีวิตของแต่ละคนจริงๆ
2. วางแผนก่อนปลอดภัยกว่าก่อนจะมานำชมนิทรรศการได้ ทีมต้องเตรียมการกันเป็นเดือน เริ่มจากการรับข้อมูลนิทรรศการที่กำลังจะจัดจากฝ่ายนิทรรศการก่อนทีมนำชมแต่ละคนจะแยกย้ายกันไปทำแผนนำชมของตัวเอง โดยแบ่งกลุ่มผู้ชมกัน เช่น เด็กประถม มัธยม มหาวิทยาลัย คนทั่วไป หรือคนที่เรียนศิลปะมาโดยตรง จากนั้นทีมจะนัดกันนำแผนนำชมมาแลกเปลี่ยนและคอมเมนต์กัน
เมื่อใกล้ช่วงเปิดนิทรรศการจริง ช่วงเวลาสำคัญที่ทีมนำชมจะได้กอบโกยรายละเอียดนิทรรศการมากที่สุดคือวันที่ภัณฑารักษ์ของนิทรรศการและศิลปินเจ้าของผลงานจะมาบรีฟทีมนำชมอย่างละเอียด โดยช่วงเวลานี้ ทีมนำชมจะยิงคำถามที่พวกเขาสงสัย รวมถึงคำถามที่ผู้ชมมักจะถามเพื่อเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการนำชมที่กำลังจะเกิดขึ้น ขั้นตอนสุดท้ายก่อนนำชมจริง พวกเขาจะนัดกันมาซ้อมนำชมในนิทรรศการ โดยขั้นตอนนี้ สมาชิกหอศิลป์คนไหนอยากจะเข้าไปฟังก่อนใครก็ได้นะ
3. ยินดีต้อนรับทุกเพศ ทุกวัย ทุกอาชีพแม้ทีมนำชมแต่ละคนจะถนัดบรรยายให้ผู้ชมต่างกลุ่มกัน แต่พวกเขาต้องฝึกตัวเองให้สามารถรับมือผู้ชมได้ทุกกลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มก็ต้องใช้วิธีการสื่อสารต่างกันออกไป เช่น กับคนทั่วไป ผู้นำชมอาจจะเน้นการถาม-ตอบ เชื่อมโยงกับประสบการณ์ส่วนตัวหรือสาขาอาชีพของผู้ชม ในขณะที่กับนักเรียนศิลปะ ผู้นำชมอาจจะสามารถลงลึกเรื่องงานศิลปะได้เลย
เพราะผู้ชมส่วนใหญ่ที่มาขอให้นำชมมักมาเป็นกลุ่มที่จองการนำชมไว้ล่วงหน้า ผู้นำชมจึงมีโอกาสทำการบ้าน ออกแบบการนำชมไว้ก่อน เช่น จะบรรยายกี่นาที จะเลือกบรรยายที่โซนไหน ชิ้นงานใดบ้าง ถึงอย่างนั้น เมื่อถึงเวลานำชมจริงๆ แทบทุกครั้ง สถานการณ์เฉพาะหน้าก็มักจะทำให้การบรรยายไม่เหมือนที่คิดไว้ ดังนั้นนอกจากความรู้เรื่องศิลปะ ไหวพริบยังเป็นอีกอาวุธสำคัญของผู้นำชม
4. เวิร์กช็อปพิเศษเพื่อคนพิเศษเมื่อมีน้องใหม่ในทีม พี่ๆ จะเป็นคนฝึกหัดให้อย่างใกล้ชิดด้วยการสอนวางแผนนำชม และช่วยหัดการพูดนำชมให้คล่องแคล่วด้วยการให้ซ้อมแล้วซ้อมอีก หรือติดสอยห้อยตามไปดูการนำชมจริง แต่นอกจากการเทรนกันเองในทีม แต่ละปีพวกเขายังมีเวิร์กช็อปสนุกๆ เพื่ออัพสกิลการนำชมขึ้นไปอีก เช่น เวิร์กช็อปการละคร เพื่อให้ทุกคนสามารถโปรเจกต์เสียงได้อย่างก้องกังวานจนสามารถบรรยายให้ผู้ชมหลักร้อยได้ เวิร์กช็อปการเล่าเรื่องเพื่อให้ออกแบบการนำชมที่สนุกสนานได้สำหรับผู้ชมที่หลากหลาย ไปจนถึงเวิร์กช็อปการนำชมสำหรับผู้ที่มีความต้องการพิเศษ เช่น ผู้พิการทางสายตา เป็นต้น
5. สายตาว่องไวเมื่อเห็นสิ่งใดแปลกปลอม นอกจากการนำชมนิทรรศการแล้ว อีกงานสำคัญของทีมนำชมคือการดูแลรักษาความเรียบร้อยของนิทรรศการ ตั้งแต่การดูแลรักษางานศิลปะไม่ให้เกิดความเสียหาย ดูแลความสะอาดเรียบร้อยของห้องนิทรรศการ ไปจนถึงการสอดส่องไม่ให้ผู้ชมทำผิดกฎเกณฑ์ของหอศิลป์ เช่น ห้ามนำของกินและกระเป๋าใบใหญ่เข้ามาในห้องนิทรรศการ ห้ามถ่ายวิดีโอ ห้ามนำของมาขายหรือถ่ายรูปเชิงพาณิชย์ เป็นต้น หากจับได้ว่าใครทำผิดกฎ มาตรการของพวกเขาเริ่มต้นตั้งแต่ตักเตือนไปจนถึงการเรียก รปภ.ให้ช่วยจัดการหากมีความวุ่นวายเกิดขึ้น
6. รักงาน (ศิลปะ) ยิ่งชีพ ในบรรดาของที่ต้องดูแลรักษา งานศิลปะคือสิ่งที่ล้ำค่าที่สุดที่พวกเขาต้องปกป้อง หากมีผู้ชมทำพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการทำลายงาน พวกเขาจะเข้าไปตักเตือนทันที แต่หากป้องกันไม่ทันและเกิดความเสียหายกับงานเสียก่อน พวกเขาก็มีวิธีจัดการเช่นกัน
ในขั้นต้น ทีมนำชมต้องประเมินความเสียหายของงานก่อนและเรียกทีมติดตั้งนิทรรศการมาจัดการแก้ไข หากงานเสียหายไม่มาก ทีมนำชมจะตักเตือนผู้ที่ทำงานเสียหาย บางครั้งหลังตักเตือนพวกเขาก็พานำชมนิทรรศการเสียเลย แต่หากเสียหายมาก ทางทีมนิทรรศการก็ต้องตกลงกับผู้ที่ทำงานเสียหายเพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการรับผิดชอบค่าเสียหายต่อไป ซึ่งบางครั้งความเสียหายก็พาพวกเขาไปตกลงกันถึงโรงพักมาแล้ว
7. รู้จักผู้ชมและพื้นที่ดีที่สุด ระหว่างการจัดแสดงนิทรรศการ ไม่มีใครที่ใช้เวลากับนิทรรศการมากเท่าทีมนำชมอีกแล้ว เพราะเวลาทั้งหมดของพวกเขาถูกใช้ไปกับการนำชม ส่วนระหว่างที่ไม่มีการนำชม พวกเขาจะทำหน้าที่กด clicker นับจำนวนผู้เข้าชม และสังเกตความเรียบร้อยของงานแทน ถึงขนาดที่จำหน้าของผู้ชมที่มาบ่อยๆ ได้ และเข้าอกเข้าใจพฤติกรรมของผู้ชมเป็นอย่างดี
เพราะอย่างนั้น เมื่อจะจัดนิทรรศการสักอย่าง บ่อยครั้งที่ทีมนิทรรศการกับทีมนำชมต้องร่วมกันคิดวิธีการดูงานหรือวิธีการมีส่วนร่วมกับงานให้เข้ากับพฤติกรรมของคนดูมากที่สุดและเพราะรู้จักผู้ชมดีที่สุดนี่แหละ พวกเขาจึงเป็นคนที่รวบรวมฟีดแบ็กจากผู้ชมนิทรรศการและรวบรวมข้อมูลส่งให้ทีมนิทรรศการอีกทีเมื่อจบนิทรรศการ เพื่อการปรับปรุงงานในคราวหน้า

AUTHOR

PHOTOGRAPHER

ดวงสุดา กิตติวัฒนานนท์

ช่างภาพนิตยสาร a day ผู้ชอบกินอาหารที่ถ่าย