ซื่อสัตย์กับตัวเองและเป็นผู้ร้ายตลอดไป? อ่าน Loki ใหม่ในมุมมองเควียร์

บทความนี้เปิดเผยเนื้อหาบางส่วนของซีรีส์ Loki

Loki เป็นซีรีส์ภาคแยกในจักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล (Marvel Cinematic Universe) ซึ่งเนื้อหาของซีรีส์นั้นยึดโยงกับภาพยนตร์เรื่อง Avengers: Endgame (2019) ในฉากที่ตัวละคร Loki ใช้ tesseract หลบหนีจากเหล่าอเวนเจอร์สที่เดินทางข้ามเวลาไปแก้ไขเหตุการณ์ตอนท้ายของหนังเรื่อง The Avengers (2012) 

สิ่งที่ตามมาหลังจากนั้นคือโลกิพบตัวเองอยู่กลางทะเลทราย แล้วจู่ๆ ก็มีกลุ่มคนในชุดสีดำจาก Time Variance Authority (TVA) องค์กรลับที่ดูแลจัดการเวลาในจักรวาลมาจับกุมเขา โทษฐานทำให้ ‘ลำดับเวลาอันศักดิ์สิทธิ์’ (sacred timeline) ปั่นป่วน เพราะสิ่งที่โลกิทำคือการหนีออกจากเหตุการณ์ที่ควรจะเป็น และทำให้เกิดเส้นเวลาใหม่ๆ ที่ไม่ควรจะเกิดขึ้น ทางเดียวที่โลกิจะขอลดหย่อนโทษได้คือต้องให้ความร่วมมือกับองค์กรในการจับกุม ‘ตัวเขา’ อีกคน ซึ่งกำลังสร้างความปั่นป่วนในเส้นเวลาอยู่เช่นกัน

ซีรีส์เรื่องนี้ออกอากาศทาง Disney+ ได้ Tom Hiddleston มารับบทโลกิเช่นเดิม และจัดหนักจัดเต็มความบันเทิงได้ตามมาตรฐาน Marvel แต่แง่มุมที่เราสนใจเป็นพิเศษในเรื่องนี้คือการสำรวจเพศสภาพของโลกิที่ผู้สร้างให้เขายอมรับอย่างเต็มปากว่าชอบได้มากกว่าหนึ่งเพศ 

อันที่จริง หากย้อนกลับไปดูงานคอมิกของ Marvel ที่ผ่านมา มีหลายเรื่องที่พูดถึงเรื่องเพศของตัวละครอย่างเปิดเผย นักอ่านได้เห็นตัวละครซูเปอร์ฮีโร่รักเพศเดียวกันอย่าง Wiccan กับ Hulkling สมาชิกของทีม The Young Avengers แต่พอสตูดิโอเริ่มทำหนังและซีรีส์ บนหน้าจอกลับมีตัวละครซูเปอร์ฮีโร่ LGBTQ+ โผล่มาบ้างเป็นครั้งคราว ซีนไม่เด่น เป็นเพียงตัวประกอบ ล่าสุดที่เห็นคือ Valkyrie จากภาพยนตร์ Thor: Ragnarok แทบไม่มีสักครั้งเลยที่ตัวละครซูเปอร์ฮีโร่ LGBTQ+ จะได้รับบทเด่นเป็นตัวเอกของเรื่อง

หรือหากหันไปมองทางฝั่ง Disney ก็มีตัวละครเอกที่เพศสภาพกำกวมอย่าง Elsa กับ Maleficent ผู้กำกับไม่ได้สร้างให้ทั้งสองตัวละครยอมรับว่ารักเพศเดียวกัน แต่มีการนำเสนอซ่อนนัยผ่านจูบ True Love’s Kiss ของทั้งคู่กับตัวละครหญิงคนอื่นในเรื่อง ทำให้พอจะเดาได้ว่าการนำเสนอแฝงนัยแบบนี้เป็นเทคนิคการต่อสู้อย่างหนึ่งเพื่อผลักดันให้เรื่องความหลากหลายทางเพศปรากฏในสื่อกระแสหลักที่มีการตรวจสอบเข้มงวด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหนัง Disney ที่มีภาพจำว่าเหมาะสำหรับเด็ก การพูดตรงไปตรงมาถูกมองว่าเป็นการชี้นำการตัดสินใจของเด็กที่กำลังพัฒนาตัวตนทางเพศ เทคนิคนี้ช่วยให้หลบหลีกพูดเรื่องต้องห้ามได้โดยไม่เกิดปัญหา ซึ่งผู้กำกับซีรีส์ Loki ก็ใช้เทคนิคนี้ด้วยเช่นกันกับตัวละคร variant ทั้งหลาย   

Loki

Variant แปลว่าสิ่งที่มีลักษณะคลาดเคลื่อนจากมาตรฐานหรือแตกต่างจากปกติ ในซีรีส์เรื่อง Loki คำว่า variant ถูกใช้เรียกตัวละครผู้ก่ออาชญากรรมและปั่นป่วนลำดับเวลาอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นตัวร้ายของเรื่อง เห็นได้ชัดในฉากหนึ่งของซีรีส์ที่โลกิพบว่ามี variant อีกมากมายที่ถูกกำจัดโดยส่งไปอยู่ระหว่างช่องว่างของกาลเวลาอันว่างเปล่า หากอ่านจากมุมมองแบบเควียร์ variant ใน Loki มีลักษณะร่วมคล้ายกันกับเอลซ่าและมาเลฟิเซนต์ซึ่งถูกสังคมรังเกียจกีดกัน ปมขัดแย้งในซีรีส์ก็แสดงข้อพิพาทระหว่างเควียร์กับสังคม ตลอดจนความเห็นไม่ลงรอยในกลุ่มเควียร์เองด้วย

เควียร์มีนิยามที่กินความกว้าง เป็นร่มคันใหญ่ที่ใช้เรียกผู้มีความหลากหลายทางเพศและคนที่รู้สึกแปลกแยกจากสังคมด้วยเหตุผลอื่นๆ นอกเหนือจากเรื่องรสนิยมทางเพศ ความแตกต่างถูกตีค่าว่าเป็นสิ่งเลวร้าย ต้องมีการควบคุมและจำกัดพื้นที่ทางสังคม ผู้กำกับ Kate Herron ให้สัมภาษณ์กับช่อง ForAllNerds TV ว่าเธอได้แรงบันดาลใจฉากช่องว่างของกาลเวลา (the void) ใน Teletubbies ทว่าช่องว่างของกาลเวลาใน Loki นั้นสื่อถึงโลกที่ไม่พึงปรารถนา (dystopia) ซึ่งมีลักษณะตรงข้ามกับดินแดนในอุดมคติ (utopia) ช่องว่างแห่งกาลเวลานี้ยังเปรียบได้กับความกระอักกระอ่วนใจ เลือกข้างไม่ได้ จริงหรือเท็จ ชายหรือหญิง ประนีประนอมหรือยอมแตกหักกับสังคม

อีกจุดที่น่าสนใจคือตัวละครโลกิตกหลุมรัก Sylvie (รับบทโดย Sophia Di Martino) ซึ่งเป็นอีกเวอร์ชั่นหนึ่งของตัวเองในรูปลักษณ์ผู้หญิง บางคนอาจคิดว่าโลกิเป็นคนหลงตัวเอง (narcissist) เลยชอบตัวเอง แต่หากมองจากทฤษฎีเควียร์ เราก็อาจตีความได้ว่าความสัมพันธ์ของโลกิกับซิลวี่เกิดขึ้นเพราะทั้งสองต่างเป็นคนชายขอบ ประสบการณ์ร่วมของการถูกจำแนกตีตราว่าเป็นสิ่งผิดปกติทำให้ทั้งคู่เกิดความเข้าอกเข้าใจกัน พัฒนาเป็นความชอบในที่สุด นอกจากนี้จะเห็นว่ามีฉากโลกิในเวอร์ชั่นเด็ก คนชรา และสัตว์มานั่งปรับทุกข์กัน จากจุดนี้ variant ก็คือแกะดำที่มีอยู่ทุกสมัยในทุกวัฒนธรรมนั่นเอง

Loki

1

ความกลัวต่อสิ่งที่อยู่เหนือเหตุผลหรือไม่มีคำอธิบาย ขับเคลื่อนให้สังคมต่อต้านและกำจัดความผันแปร ดังเช่นที่หน่วยงาน TVA เทิดทูนลำดับเวลาอันศักดิ์สิทธิ์เหนืออื่นใด variant จะมาป่วนหรือเปลี่ยนชุดความคิดนี้ไม่ได้ ไม่อย่างนั้นจำเป็นต้อง “เฉือนทิ้ง” (ในซีรีส์ใช้คำว่า prune) ทำให้นึกถึงการทดลองทางวิทยาศาสตร์ซึ่ง variant เป็นตัวแปรแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นและอาจมีอิทธิพลต่อการทดลองโดยที่ผู้วิจัยไม่ต้องการ ผู้วิจัยต้องควบคุมตัวแปรนี้โดยทำให้ค่าความแปรปรวนของความคลาดเคลื่อนมีน้อยที่สุดหรือเป็นศูนย์

พอเจ้าหน้าที่ Mobius ของ TVA (รับบทโดย Owen Wilson) เกิดอยากศึกษา variant ขึ้นมา พยายามทุกวิธีเพื่อสืบค้นและทำความเข้าใจว่า variant มาจากไหนและต้องการอะไร เขาจึงถูกกำจัดไปอยู่ในช่องว่างของกาลเวลาเช่นกันด้วยข้อหาสมคบคิด ซีรีส์เรื่องนี้ตั้งคำถามกับองค์ความรู้ที่ผู้คนสรรเสริญเยินยอ เช่น วิทยาศาสตร์ ศาสนา คู่ขั้วตรงข้ามของการแบ่งเพศสภาพ ฯลฯ ว่าสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจากการแสวงหาด้วยเจตจำนงอิสระจริงหรือ หากยังมีการควบคุมตัวแปรแทรกซ้อน องค์ความรู้นั้นถือว่าสุดยอดได้หรือไม่ เราสามารถมีสังคมอุดมคติได้ด้วยวิธีการกำจัดคนที่เห็นต่างเช่นนั้นหรือ?

ซีรีส์ Loki ล้อเล่นกับคอนเซปต์เรื่องเวลาได้แยบยล เวลาเป็นแนวเส้นตรงไม่ไหลวนกลับ ในภาพยนตร์ของ Disney เรื่อง Alice Through the Looking Glass (2016) มีประโยคเด็ดว่า “but ‘Time’ is a ‘He’.” คือเวลาถูกสร้างให้เป็นผู้ชายเพราะผู้ชายมีกระบวนการคิดที่เป็นเหตุเป็นผล เหมือนเวลาที่ไม่ย้อนกลับไปกลับมา ในทางกลับกัน ผู้หญิงถูกมองว่ามีวิธีคิดย้อนสลับวกวนไปมา สังคมให้คุณค่าวิธีคิดแบบผู้ชายว่าดีกว่าผู้หญิง และอลิซเป็นตัวแทนต่อสู้รื้อสร้างความเข้าใจแบบนี้ เธอวางแผนขโมยเครื่องควบคุมเวลา (The Chronosphere) เพื่อย้อนกลับไปแก้ไขอดีต เป็นการต่อสู้เชิงสัญลักษณ์กับปิตาธิปไตย

มองกลับมาที่ Loki จะเห็นได้ว่าเวลาถูกประกอบสร้างให้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แตะต้องไม่ได้ ตัวละครต้องนับถือลำดับและขั้นตอน การลัดเวลาข้ามขั้นตอนเป็นอาชญากรรมอันยิ่งใหญ่ เวลาแสดงถึงอำนาจเหนือและภาวะการถูกครอบงำ เห็นได้ชัดว่าผู้หญิงและ variant ในหนังและซีรีส์สองเรื่องนี้รับบทผู้ถูกกดทับ การเอาชนะเงื่อนไขของเวลานั้นยาก แต่ซิลวี่กับโลกิทำได้ ซิลวี่สะกดเจ้าเมฆจอมสังหาร Alioth จนเคลิบเคลิ้มและเปิดทางให้เธอกับโลกิไปเผชิญหน้ากับผู้ควบคุมลำดับเวลาศักดิ์สิทธิ์ นั่นก็คือ He Who Remains (รับบทโดย Jonathan Majors)

Loki

ในตอนสุดท้ายนี้เองที่เราเห็นว่าซิลวี่กับโลกิเริ่มเสียงแตก จากการที่ He Who Remains โยนข้อเสนอ 2 อย่างให้ซิลวี่กับโลกิเลือกด้วยเจตจำนงเสรี ข้อเสนอแรกคือซิลวี่กับโลกิฆ่าเขาแล้วปล่อยให้เกิดสงครามข้ามกาลเวลา ข้อเสนอที่สองคือพวกเขามาทำหน้าที่ควบคุมลำดับเวลาอันศักดิ์สิทธิ์แทน แล้วจะใช้อำนาจทำอะไรก็ได้ตามประสงค์ ซิลวี่เลือกข้อแรก แต่โลกิมีทีท่าลังเล ฉากนี้สะท้อนให้เห็นข้อพิพาทเรื่องเป้าหมายในการต่อสู้เรียกร้องของกลุ่มเควียร์ที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ ว่าจะสู้เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากสังคมแต่ต้องยอมสูญเสียตัวตน หรือสู้เพื่อหลุดออกมาจากกรอบสังคมอันคร่ำครึ

ผู้กำกับหยอดปมขัดแย้งระหว่างสองตัวละครไว้อย่างน่าสนใจ โดยให้ซิลวี่มีภูมิหลังที่ลำบากกว่าโลกิ เธอถูกพรากวัยเยาว์ ต้องปากกัดตีนถีบมาตลอดชีวิต ไม่ว่าจะหลบหนีไปที่ไหน TVA ก็ส่งคนไปทำลายล้าง จนต้องเร้นกายอยู่ในความมืด ลดทอนตัวตนเพื่อความอยู่รอด ส่วนโลกิเป็นบุตรบุญธรรมของเทพเจ้า Odin ดังนั้นจะมาบอกว่าซิลวี่กับโลกิเป็นเควียร์หมือนกันร้อยเปอร์เซ็นต์ไม่ได้ เพราะความละเอียดอ่อนของการทาบทับระหว่างเพศสภาพและสถานะทางสังคมยังปรากฏให้เห็น

ตัวละครชายอย่างโลกิและ He Who Remains มองว่าบรรทัดฐานทางสังคมเป็นสิ่งจำเป็น ควรยึดถือไว้ ไม่เช่นนั้นสังคมจะยุ่งเหยิง เหมือนเควียร์ที่สมาทานกับกฎระเบียบทางสังคม ฉากการต่อสู้ระหว่างซิลวี่กับโลกิจึงแสดงให้เห็นความขัดแย้งภายในกลุ่มเควียร์ โลกิแนะว่าเควียร์ต้องคิดถึงส่วนรวมก่อนเป็นอย่างแรก ไม่อย่างนั้นก็จะถูกมองเป็นผู้ร้ายตลอดไป ส่วนซิลวี่ยืนยันจะไม่ประนีประนอม จะฆ่า He Who Remains ให้ได้ ไม่ว่าเควียร์จะเลือกสิ่งไหนก็ต้องรู้สึกผิด หากไม่ยอมเป็นคนเห็นแก่ตัวก็ต้องยอมถูกกดหัวต่อไป

Loki

ซีรีส์ได้ romanticize เรื่องบรรทัดฐานทางสังคมด้วยการทำให้เสียงของโลกิมีน้ำหนักมากกว่า คิดรอบด้านและรู้สติมากกว่า สุดท้ายแล้วการตัดสินใจของซิลวี่โดยไม่ยอมรับฟังใครจะเป็นความผิดพลาดครั้งใหญ่ที่ก่อให้เกิดสงครามข้ามกาลเวลา เธอจะถูกประณามดังเช่นหญิงอื่นในตำนานอย่าง Eve หรือ Pandora ซึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็นต้นเหตุของหายนะแห่งมวลมนุษยชาติ ซึ่งตรงนี้ยังไม่มีบทสรุปแน่ชัด คงต้องติดตามซีรีส์เรื่องนี้ในภาคถัดไป

ที่แน่ๆ Loki เป็นซีรีส์ที่ผนวกการเมืองเรื่องเพศสภาพไว้หลากมิติหลายแง่มุม ความกำกวมในเรื่องเพศและรูปลักษณ์ของเทพเจ้าผู้หลอกลวงคนนี้สร้างความลื่นไหลและเอื้อประโยชน์ต่อการตีความใหม่อย่างดีเยี่ยม

หวังใจว่าในหนังและซีรีส์เรื่องต่อๆ ไปของทั้งฝั่ง Marvel และ Disney การนำเสนอแบบแฝงนัยและการอ่านแบบเควียร์จะถูกประยุกต์ใช้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะเทคนิคนี้ช่วยให้เควียร์ส่งเสียงดังมากขึ้นยามที่ต้องต่อสู้กับอำนาจเบ็ดเสร็จ ค่อยๆ กร่อนเซาะการกดทับให้หมดไป 

คงต้องจับตาดูกันต่อไปว่า ในอนาคตการนำเสนอเรื่องเพศสภาพจะใช้น้ำเสียงท่าทีดุดันขึ้นไหมในวัฒนธรรมทัศนา เมื่อสื่อบันเทิงหันมาให้ความสำคัญกับประเด็นเรื่องเพศสภาพมากขึ้น  

รับชม Loki ได้แล้ววันนี้ทาง Disney+


อ้างอิง

youtube.com

1 Loki

11ในตอนสุดท้ายนี้เองที่เราเห็นว่าซิลวี่กับโลกิเริ่มเสียงแตก จากการที่ He Who Remains โยนข้อเสนอ 2 อย่างให้ซิลวี่กับโลกิเลือกด้วยเจตจำนงเสรี ข้อเสนอแรกคือซิลวี่กับโลกิฆ่าเขาแล้วปล่อยให้เกิดสงครามข้ามกาลเวลา ข้อเสนอที่สองคือพวกเขามาทำหน้าที่ควบคุมลำดับเวลาอันศักดิ์สิทธิ์แทน แล้วจะใช้อำนาจทำอะไรก็ได้ตามประสงค์ ซิลวี่เลือกข้อแรก แต่โลกิมีทีท่าลังเล ฉากนี้สะท้อนให้เห็นข้อพิพาทเรื่องเป้าหมายในการต่อสู้เรียกร้องของกลุ่มเควียร์ที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ ว่าจะสู้เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากสังคมแต่ต้องยอมสูญเสียตัวตน หรือสู้เพื่อหลุดออกมาจากกรอบสังคมอันคร่ำครึ

12ในตอนสุดท้ายนี้เองที่เราเห็นว่าซิลวี่กับโลกิเริ่มเสียงแตก จากการที่ He Who Remains โยนข้อเสนอ 2 อย่างให้ซิลวี่กับโลกิเลือกด้วยเจตจำนงเสรี ข้อเสนอแรกคือซิลวี่กับโลกิฆ่าเขาแล้วปล่อยให้เกิดสงครามข้ามกาลเวลา ข้อเสนอที่สองคือพวกเขามาทำหน้าที่ควบคุมลำดับเวลาอันศักดิ์สิทธิ์แทน แล้วจะใช้อำนาจทำอะไรก็ได้ตามประสงค์ ซิลวี่เลือกข้อแรก แต่โลกิมีทีท่าลังเล ฉากนี้สะท้อนให้เห็นข้อพิพาทเรื่องเป้าหมายในการต่อสู้เรียกร้องของกลุ่มเควียร์ที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ ว่าจะสู้เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากสังคมแต่ต้องยอมสูญเสียตัวตน หรือสู้เพื่อหลุดออกมาจากกรอบสังคมอันคร่ำครึ

2 Loki

21ในตอนสุดท้ายนี้เองที่เราเห็นว่าซิลวี่กับโลกิเริ่มเสียงแตก จากการที่ He Who Remains โยนข้อเสนอ 2 อย่างให้ซิลวี่กับโลกิเลือกด้วยเจตจำนงเสรี ข้อเสนอแรกคือซิลวี่กับโลกิฆ่าเขาแล้วปล่อยให้เกิดสงครามข้ามกาลเวลา ข้อเสนอที่สองคือพวกเขามาทำหน้าที่ควบคุมลำดับเวลาอันศักดิ์สิทธิ์แทน แล้วจะใช้อำนาจทำอะไรก็ได้ตามประสงค์ ซิลวี่เลือกข้อแรก แต่โลกิมีทีท่าลังเล ฉากนี้สะท้อนให้เห็นข้อพิพาทเรื่องเป้าหมายในการต่อสู้เรียกร้องของกลุ่มเควียร์ที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ ว่าจะสู้เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากสังคมแต่ต้องยอมสูญเสียตัวตน หรือสู้เพื่อหลุดออกมาจากกรอบสังคมอันคร่ำครึ

22ในตอนสุดท้ายนี้เองที่เราเห็นว่าซิลวี่กับโลกิเริ่มเสียงแตก จากการที่ He Who Remains โยนข้อเสนอ 2 อย่างให้ซิลวี่กับโลกิเลือกด้วยเจตจำนงเสรี ข้อเสนอแรกคือซิลวี่กับโลกิฆ่าเขาแล้วปล่อยให้เกิดสงครามข้ามกาลเวลา ข้อเสนอที่สองคือพวกเขามาทำหน้าที่ควบคุมลำดับเวลาอันศักดิ์สิทธิ์แทน แล้วจะใช้อำนาจทำอะไรก็ได้ตามประสงค์ ซิลวี่เลือกข้อแรก แต่โลกิมีทีท่าลังเล ฉากนี้สะท้อนให้เห็นข้อพิพาทเรื่องเป้าหมายในการต่อสู้เรียกร้องของกลุ่มเควียร์ที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ ว่าจะสู้เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากสังคมแต่ต้องยอมสูญเสียตัวตน หรือสู้เพื่อหลุดออกมาจากกรอบสังคมอันคร่ำครึ

3

31ในตอนสุดท้ายนี้เองที่เราเห็นว่าซิลวี่กับโลกิเริ่มเสียงแตก จากการที่ He Who Remains โยนข้อเสนอ 2 อย่างให้ซิลวี่กับโลกิเลือกด้วยเจตจำนงเสรี ข้อเสนอแรกคือซิลวี่กับโลกิฆ่าเขาแล้วปล่อยให้เกิดสงครามข้ามกาลเวลา ข้อเสนอที่สองคือพวกเขามาทำหน้าที่ควบคุมลำดับเวลาอันศักดิ์สิทธิ์แทน แล้วจะใช้อำนาจทำอะไรก็ได้ตามประสงค์ ซิลวี่เลือกข้อแรก แต่โลกิมีทีท่าลังเล ฉากนี้สะท้อนให้เห็นข้อพิพาทเรื่องเป้าหมายในการต่อสู้เรียกร้องของกลุ่มเควียร์ที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ ว่าจะสู้เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากสังคมแต่ต้องยอมสูญเสียตัวตน หรือสู้เพื่อหลุดออกมาจากกรอบสังคมอันคร่ำครึ

32ในตอนสุดท้ายนี้เองที่เราเห็นว่าซิลวี่กับโลกิเริ่มเสียงแตก จากการที่ He Who Remains โยนข้อเสนอ 2 อย่างให้ซิลวี่กับโลกิเลือกด้วยเจตจำนงเสรี ข้อเสนอแรกคือซิลวี่กับโลกิฆ่าเขาแล้วปล่อยให้เกิดสงครามข้ามกาลเวลา ข้อเสนอที่สองคือพวกเขามาทำหน้าที่ควบคุมลำดับเวลาอันศักดิ์สิทธิ์แทน แล้วจะใช้อำนาจทำอะไรก็ได้ตามประสงค์ ซิลวี่เลือกข้อแรก แต่โลกิมีทีท่าลังเล ฉากนี้สะท้อนให้เห็นข้อพิพาทเรื่องเป้าหมายในการต่อสู้เรียกร้องของกลุ่มเควียร์ที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ ว่าจะสู้เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากสังคมแต่ต้องยอมสูญเสียตัวตน หรือสู้เพื่อหลุดออกมาจากกรอบสังคมอันคร่ำครึ

4

41ในตอนสุดท้ายนี้เองที่เราเห็นว่าซิลวี่กับโลกิเริ่มเสียงแตก จากการที่ He Who Remains โยนข้อเสนอ 2 อย่างให้ซิลวี่กับโลกิเลือกด้วยเจตจำนงเสรี ข้อเสนอแรกคือซิลวี่กับโลกิฆ่าเขาแล้วปล่อยให้เกิดสงครามข้ามกาลเวลา ข้อเสนอที่สองคือพวกเขามาทำหน้าที่ควบคุมลำดับเวลาอันศักดิ์สิทธิ์แทน แล้วจะใช้อำนาจทำอะไรก็ได้ตามประสงค์ ซิลวี่เลือกข้อแรก แต่โลกิมีทีท่าลังเล ฉากนี้สะท้อนให้เห็นข้อพิพาทเรื่องเป้าหมายในการต่อสู้เรียกร้องของกลุ่มเควียร์ที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ ว่าจะสู้เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากสังคมแต่ต้องยอมสูญเสียตัวตน หรือสู้เพื่อหลุดออกมาจากกรอบสังคมอันคร่ำครึ

42ในตอนสุดท้ายนี้เองที่เราเห็นว่าซิลวี่กับโลกิเริ่มเสียงแตก จากการที่ He Who Remains โยนข้อเสนอ 2 อย่างให้ซิลวี่กับโลกิเลือกด้วยเจตจำนงเสรี ข้อเสนอแรกคือซิลวี่กับโลกิฆ่าเขาแล้วปล่อยให้เกิดสงครามข้ามกาลเวลา ข้อเสนอที่สองคือพวกเขามาทำหน้าที่ควบคุมลำดับเวลาอันศักดิ์สิทธิ์แทน แล้วจะใช้อำนาจทำอะไรก็ได้ตามประสงค์ ซิลวี่เลือกข้อแรก แต่โลกิมีทีท่าลังเล ฉากนี้สะท้อนให้เห็นข้อพิพาทเรื่องเป้าหมายในการต่อสู้เรียกร้องของกลุ่มเควียร์ที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ ว่าจะสู้เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากสังคมแต่ต้องยอมสูญเสียตัวตน หรือสู้เพื่อหลุดออกมาจากกรอบสังคมอันคร่ำครึ

AUTHOR