ตามไปสร้างประติมากรรมจากฟองสบู่ที่งาน Chiang Mai Design Week 2019

วันที่ฉันเข้าไปดูนิทรรศการ Into The Wind วันนั้นที่เชียงใหม่มีลมหนาวพัดเอื่อยอยู่ตลอดเวลา

ยามบ่ายที่พระอาทิตย์ตรงหัว แดดแรงจ้าแต่กลับรู้สึกเย็นสบาย ท่ามกลางตรอกซอกซอยใจกลางเมืองเชียงใหม่ ฉันพาตัวเองไปทักทายงานคราฟต์และงานดีไซน์สุดครีเอตในงาน Chiang Mai Design Week 2019 ซึ่งปีนี้เขามีคอนเซปต์เก๋ไก๋อย่าง ‘Better City, Better Living’ ที่แสดงให้เห็นปณิธานในการผลักดันศิลปินทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่จากทั้งในและต่างประเทศ

หลังเดินชมงานมาทั้งวัน ฉันก็พบตัวเองยืนอยู่หน้ากล่องสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่บริเวณอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ที่ว่ากันว่าเป็นไฮไลต์เด็ดของงานเชียงใหม่ดีไซน์วีคปีนี้

พูดว่ากล่องก็ไม่น่าใช่ เรียกว่าห้องน่าจะถูกกว่า

ในห้องนั้นอากาศร้อนและชื้นกว่าด้านนอก แต่จำนวนคนกลับหนาตา และทุกคนกำลังต่อคิวกันเล่นอะไรสักอย่าง เมื่อสังเกตดีๆ ฉันเห็นว่าในห้องนี้มีจุดเด่นอยู่ที่สองอย่างหลักๆ หนึ่งคือเครื่องเล่นขนาดเล็กที่คนต่อคิวกัน และสองคือกล่องสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ที่ฉันสงสัยว่ามันคืออะไร

ไวเท่าความคิด คนที่ต่อคิวคนล่าสุดก็ตอบคำถามนั้นด้วยการสาธิตให้ฉันดู เธอยืนอยู่หน้าเครื่องเล็กๆ เป่าลมจากปากให้ใบพัดด้านในหมุน

ทันใดนั้น กล่องสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ก็สร้างฟองสบู่ขนาดมหึมาออกมาลอยเท้งเต้งกลางอากาศ

ก่อนแตกโพละดัง บุ๋ง ในไม่กี่วินาทีต่อมา

มองไม่เห็น แต่สัมผัสได้  Into The Wind

Into The Wind คือนิทรรศการของ โอ–วิทยา จันมา ศิลปินผู้หลงใหลในงานศิลปะแบบ interactive installation เป็นพิเศษ ความสนใจของเขาเริ่มขึ้นสมัยเรียนอยู่คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อหลายปีก่อน

“เราเรียนจิตรกรรม ทำงานเพนต์รูปเป็นส่วนใหญ่แต่รู้สึกว่าตัวเองทำได้ไม่ค่อยดี ตอนที่เรียนนั้นเอง อาจารย์สมพร รอดบุญ ผู้เป็นอาจารย์ที่สอนเราในตอนนั้นเขานำนิทรรศการ German Sculpture มาจัดแสดงที่เชียงใหม่ ความน่าสนใจของนิทรรศการนี้คือมันเป็นงาน new media ทั้งหมดเลย เราได้เห็นงานของศิลปินที่ไม่ได้ใช้สื่อแบบที่เราใช้ในการสร้างศิลปะ อย่างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ภาพเคลื่อนไหวในจอโทรทัศน์

“งานนั้นเปิดโลกเรามาก เป็นแรงบันดาลใจเรามาตั้งแต่นั้นเลยว่างานดีๆ สามารถเกิดขึ้นจากสื่ออื่นหรือเทคนิคอื่นที่เราอาจไม่ได้นิยมใช้ได้เหมือนกัน นับตั้งแต่นั้น ทำให้เราเริ่มสนใจเรื่องอิเล็กทรอนิกส์ วงจร และโปรแกรม”

ด้วยเพราะความรู้ทางศิลปะพอมี แต่ความรู้เรื่องวิศวกรรมและวงจรเป็นศูนย์ วิทยาจึงอาศัยการปรึกษาจากเพื่อนคณะวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ รวมทั้งช่างตามร้านขายและซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าผู้ที่เขาบอกว่าเป็นครูที่ดีที่สุด

วิทยาสร้างงานแนวอินเทอร์แอ็กทีฟของตัวเองโดยเริ่มจากการสร้างบ้านเซรามิกที่ผู้เสพงานสามารถเล่นกับประตูบ้านที่มีหลายบาน โดยมีบานหนึ่งซ่อนกลไกปืนฉีดน้ำไว้ด้านหลัง ความสนุกสนานจากการผสมผสานสื่อต่างๆ เพื่อให้คนเกิดปฏิสัมพันธ์กับงานทำให้เขาขยันสร้างงานแนวนี้อย่างต่อเนื่อง และความรักในงานอินเทอร์แอ็กทีฟของเขานี่เองที่ต่อยอดมาสู่โปรเจกต์ Into The Wind 

“Into The Wind เริ่มต้นครั้งแรกมาจากทาง Wonderfruit Festival เขาติดต่อมาว่าอยากให้เราไปทำงานศิลปะในพื้นที่ ตอนนั้นยอมรับเลยว่าเรายังไม่รู้จักงานของเขาเพราะเพิ่งจัดเป็นครั้งที่ 2 พอไปดูพื้นที่ เราพบว่ามันเป็นลานหญ้าโล่งๆ ที่ต้นหญ้าพลิ้วไหว เราสังเกตว่ามันไหวได้เพราะกระแสลม

“เราได้คอนเซปต์มาจากตรงนั้นเลย คิดว่าถ้าสร้างอะไรที่ทำให้คนเห็นลมได้ชัดขึ้นน่าจะดี หลังจากก็กลับไปตีความ นึกถึงรูปแบบว่าจะออกมาเป็นแบบไหนได้บ้าง ตอนแรกคิดเป็นเครื่องเป่าที่มีนุ่นอยู่ข้างใน ถ้าเป่าเข้าไปนุ่นจะลอยหมุนๆ ขึ้นมาให้เห็นแรงลม แต่ตอนนั้นรู้สึกว่ายังไม่ชัดพอ เลยคิดถึงฟองสบู่ คิดต่อยอดไปว่า ถ้าเราขยายฟองสบู่จากลมหายใจคนให้ชัดขึ้นมา 10-20 เท่ามันน่าจะสนุกดี”

Into The Wind

มองเห็น แต่สัมผัสไม่ได้ Into The Wind

พูดไปฟังดูเหมือนง่าย แต่วิทยาบอกเราว่าเขาใช้เวลาพัฒนาโมเดลแรกของ Into The Wind เกือบหนึ่งปีเต็ม หลังจากลองผิดลองถูกกับการเซตระบบกลไก และได้เรียนรู้ธรรมชาติของฟองสบู่ เขาพบกุญแจสำคัญที่จะทำให้เกิดฟองสบู่ที่ใหญ่และอัดลมเข้าไปได้ต่อเนื่องนั้นต่างจากฟองสบู่ที่เราเคยเล่นตอนเด็กๆ

“สิ่งสำคัญที่สุดคือความชื้น ถ้าความชื้นน้อยฟองสบู่ก็จะแตกเร็ว” วิทยาเผยความรู้ให้เราฟังอย่างเข้าอกเข้าใจ และอธิบายเพิ่มเติมว่าฟองสบู่ที่ดีนั้นต้องมีแรงตึงผิวมากพอ มีค่าความด่างมากกว่าความกรด และถ้าหากจะอยากให้ฟองสบู่แช่ตัวอยู่ในอากาศได้นาน พื้นที่ในการจัดนิทรรศการควรอยู่ในพื้นที่ indoor ที่เขาสามารถควบคุมความชื้นและความแห้งแล้งได้เอง

จากการจัดแสดงที่วันเดอร์ฟรุต เขานำนิทรรศการไปพัฒนาต่อ และจัดแสดงที่กรุงเทพฯ บราซิล จนมาถึงเชียงใหม่

Into The Wind

“กลไกใน Into The Wind ทำงานยังไง” เราสงสัย

“นิทรรศการนี้ประกอบไปด้วยเครื่องเล็กและเครื่องใหญ่ซึ่งมีกลไกล้อกันอยู่” วิทยาอธิบายพร้อมชี้ให้เราดูทีละจุด “เครื่องเล็กจะรับแรงเป่า มีใบพัดที่ทำงานคล้ายใบพัดที่สร้างไฟฟ้าจากกระแสลม มันจะส่งค่าไฟฟ้าไปบอกวงจรที่ซ่อนในระบบเครื่องใหญ่

“ส่วนเครื่องใหญ่นั้นจะมีการเป่าลมและมีน้ำสบู่เลี้ยงอยู่ตลอดเวลา พอมีสัญญาณส่งมา ตัวแกนเชือกที่ใช้สร้างฟองสบู่จะถูกดึงให้อ้าออก นานเท่าไหร่นั้นก็มาจากค่าที่ส่งมาจากเครื่องเล็ก เวลาเป่านานแค่ไหนแกนเชือกก็จะอ้านานเท่านั้น”

Into The Wind

นิทรรศการที่สร้างจากลมปากของคุณ 

วิทยาแอบบอกเคล็ดลับการเป่าฟองสบู่ลูกใหญ่ให้เราฟังว่า ความแรงในการเป่าไม่สำคัญเท่ากับความต่อเนื่อง

“ความจริงเราแค่ตั้งจับเวลา relay ไว้สองวินาที ถ้าใครเป่าต่อจากสองวิฯ นั้น เครื่องก็จะยังรับค่าอยู่ ถ้าเราเป่าได้ยาวสุดลมหายใจ ฟองสบู่จะใหญ่กว่า ถ้าเป่าแรงแล้วหมดลม อันนั้นจะไม่มีผลเท่า”

Into The Wind

“ทำไมคุณถึงเรียกสิ่งนี้ว่าเป็นประติมากรรมชั่วขณะ” เราอยากรู้

“เวลาเราสร้างประติมากรรม เขาบอกว่ามันคือการสร้างรูปทรงอากาศ เว้าอากาศออกให้เป็นเชฟ ไม่ว่าจะสร้างจากเซรามิกหรือวัสดุใด เรารู้สึกว่าสิ่งที่เราทำมันก็ใช่เหมือนกัน แต่อาจไม่ถาวรเท่าประติมากรรมทั่วไป เพราะฉะนั้นเราจึงเรียกมันว่าประติมากรรมชั่วขณะ”

“งานของเราจะสมบูรณ์ที่สุดเวลาเป่าแล้วมีฟองออกมา นั่นคือความสมบูรณ์เพราะเราออกแบบให้เป็นแบบนั้น การเป่าของคนคือองค์ประกอบสำคัญ ไม่งั้นจะกลายเป็นก้อนอะไรก็ไม่รู้สองก้อนมาวางติดกันนะ” เขาหัวเราะ

“เรามีสเปซ มีงานเตรียมเอาไว้ และรอลมหายใจของคุณมาเล่นเพื่อให้มันสมบูรณ์“ วิทยาทิ้งท้ายพร้อมรอยยิ้ม

Into The Wind

นิทรรศการ Into The Wind จัดแสดง ณ บริเวณหน้าลานอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ ถึงวันที่ 15 ธันวาคมนี้ วันละ 3 รอบคือ 10:00-12:00 น., 13:30-16:30 น. และ 17:00-20:00 น.

ติดตามผลงานของวิทยาต่อได้ที่เพจ Witaya Junma : Exhibition

1

11“สิ่งสำคัญที่สุดคือความชื้น ถ้าความชื้นน้อยฟองสบู่ก็จะแตกเร็ว” วิทยาเผยความรู้ให้เราฟังอย่างเข้าอกเข้าใจ และอธิบายเพิ่มเติมว่าฟองสบู่ที่ดีนั้นต้องมีแรงตึงผิวมากพอ มีค่าความด่างมากกว่าความกรด และถ้าหากจะอยากให้ฟองสบู่แช่ตัวอยู่ในอากาศได้นาน พื้นที่ในการจัดนิทรรศการควรอยู่ในพื้นที่ indoor ที่เขาสามารถควบคุมความชื้นและความแห้งแล้งได้เอง

12“สิ่งสำคัญที่สุดคือความชื้น ถ้าความชื้นน้อยฟองสบู่ก็จะแตกเร็ว” วิทยาเผยความรู้ให้เราฟังอย่างเข้าอกเข้าใจ และอธิบายเพิ่มเติมว่าฟองสบู่ที่ดีนั้นต้องมีแรงตึงผิวมากพอ มีค่าความด่างมากกว่าความกรด และถ้าหากจะอยากให้ฟองสบู่แช่ตัวอยู่ในอากาศได้นาน พื้นที่ในการจัดนิทรรศการควรอยู่ในพื้นที่ indoor ที่เขาสามารถควบคุมความชื้นและความแห้งแล้งได้เอง

2

21“สิ่งสำคัญที่สุดคือความชื้น ถ้าความชื้นน้อยฟองสบู่ก็จะแตกเร็ว” วิทยาเผยความรู้ให้เราฟังอย่างเข้าอกเข้าใจ และอธิบายเพิ่มเติมว่าฟองสบู่ที่ดีนั้นต้องมีแรงตึงผิวมากพอ มีค่าความด่างมากกว่าความกรด และถ้าหากจะอยากให้ฟองสบู่แช่ตัวอยู่ในอากาศได้นาน พื้นที่ในการจัดนิทรรศการควรอยู่ในพื้นที่ indoor ที่เขาสามารถควบคุมความชื้นและความแห้งแล้งได้เอง

22“สิ่งสำคัญที่สุดคือความชื้น ถ้าความชื้นน้อยฟองสบู่ก็จะแตกเร็ว” วิทยาเผยความรู้ให้เราฟังอย่างเข้าอกเข้าใจ และอธิบายเพิ่มเติมว่าฟองสบู่ที่ดีนั้นต้องมีแรงตึงผิวมากพอ มีค่าความด่างมากกว่าความกรด และถ้าหากจะอยากให้ฟองสบู่แช่ตัวอยู่ในอากาศได้นาน พื้นที่ในการจัดนิทรรศการควรอยู่ในพื้นที่ indoor ที่เขาสามารถควบคุมความชื้นและความแห้งแล้งได้เอง

3

31“สิ่งสำคัญที่สุดคือความชื้น ถ้าความชื้นน้อยฟองสบู่ก็จะแตกเร็ว” วิทยาเผยความรู้ให้เราฟังอย่างเข้าอกเข้าใจ และอธิบายเพิ่มเติมว่าฟองสบู่ที่ดีนั้นต้องมีแรงตึงผิวมากพอ มีค่าความด่างมากกว่าความกรด และถ้าหากจะอยากให้ฟองสบู่แช่ตัวอยู่ในอากาศได้นาน พื้นที่ในการจัดนิทรรศการควรอยู่ในพื้นที่ indoor ที่เขาสามารถควบคุมความชื้นและความแห้งแล้งได้เอง

32“สิ่งสำคัญที่สุดคือความชื้น ถ้าความชื้นน้อยฟองสบู่ก็จะแตกเร็ว” วิทยาเผยความรู้ให้เราฟังอย่างเข้าอกเข้าใจ และอธิบายเพิ่มเติมว่าฟองสบู่ที่ดีนั้นต้องมีแรงตึงผิวมากพอ มีค่าความด่างมากกว่าความกรด และถ้าหากจะอยากให้ฟองสบู่แช่ตัวอยู่ในอากาศได้นาน พื้นที่ในการจัดนิทรรศการควรอยู่ในพื้นที่ indoor ที่เขาสามารถควบคุมความชื้นและความแห้งแล้งได้เอง

4

41“สิ่งสำคัญที่สุดคือความชื้น ถ้าความชื้นน้อยฟองสบู่ก็จะแตกเร็ว” วิทยาเผยความรู้ให้เราฟังอย่างเข้าอกเข้าใจ และอธิบายเพิ่มเติมว่าฟองสบู่ที่ดีนั้นต้องมีแรงตึงผิวมากพอ มีค่าความด่างมากกว่าความกรด และถ้าหากจะอยากให้ฟองสบู่แช่ตัวอยู่ในอากาศได้นาน พื้นที่ในการจัดนิทรรศการควรอยู่ในพื้นที่ indoor ที่เขาสามารถควบคุมความชื้นและความแห้งแล้งได้เอง

42“สิ่งสำคัญที่สุดคือความชื้น ถ้าความชื้นน้อยฟองสบู่ก็จะแตกเร็ว” วิทยาเผยความรู้ให้เราฟังอย่างเข้าอกเข้าใจ และอธิบายเพิ่มเติมว่าฟองสบู่ที่ดีนั้นต้องมีแรงตึงผิวมากพอ มีค่าความด่างมากกว่าความกรด และถ้าหากจะอยากให้ฟองสบู่แช่ตัวอยู่ในอากาศได้นาน พื้นที่ในการจัดนิทรรศการควรอยู่ในพื้นที่ indoor ที่เขาสามารถควบคุมความชื้นและความแห้งแล้งได้เอง

5

51“สิ่งสำคัญที่สุดคือความชื้น ถ้าความชื้นน้อยฟองสบู่ก็จะแตกเร็ว” วิทยาเผยความรู้ให้เราฟังอย่างเข้าอกเข้าใจ และอธิบายเพิ่มเติมว่าฟองสบู่ที่ดีนั้นต้องมีแรงตึงผิวมากพอ มีค่าความด่างมากกว่าความกรด และถ้าหากจะอยากให้ฟองสบู่แช่ตัวอยู่ในอากาศได้นาน พื้นที่ในการจัดนิทรรศการควรอยู่ในพื้นที่ indoor ที่เขาสามารถควบคุมความชื้นและความแห้งแล้งได้เอง

52“สิ่งสำคัญที่สุดคือความชื้น ถ้าความชื้นน้อยฟองสบู่ก็จะแตกเร็ว” วิทยาเผยความรู้ให้เราฟังอย่างเข้าอกเข้าใจ และอธิบายเพิ่มเติมว่าฟองสบู่ที่ดีนั้นต้องมีแรงตึงผิวมากพอ มีค่าความด่างมากกว่าความกรด และถ้าหากจะอยากให้ฟองสบู่แช่ตัวอยู่ในอากาศได้นาน พื้นที่ในการจัดนิทรรศการควรอยู่ในพื้นที่ indoor ที่เขาสามารถควบคุมความชื้นและความแห้งแล้งได้เอง

6

61“สิ่งสำคัญที่สุดคือความชื้น ถ้าความชื้นน้อยฟองสบู่ก็จะแตกเร็ว” วิทยาเผยความรู้ให้เราฟังอย่างเข้าอกเข้าใจ และอธิบายเพิ่มเติมว่าฟองสบู่ที่ดีนั้นต้องมีแรงตึงผิวมากพอ มีค่าความด่างมากกว่าความกรด และถ้าหากจะอยากให้ฟองสบู่แช่ตัวอยู่ในอากาศได้นาน พื้นที่ในการจัดนิทรรศการควรอยู่ในพื้นที่ indoor ที่เขาสามารถควบคุมความชื้นและความแห้งแล้งได้เอง

62“สิ่งสำคัญที่สุดคือความชื้น ถ้าความชื้นน้อยฟองสบู่ก็จะแตกเร็ว” วิทยาเผยความรู้ให้เราฟังอย่างเข้าอกเข้าใจ และอธิบายเพิ่มเติมว่าฟองสบู่ที่ดีนั้นต้องมีแรงตึงผิวมากพอ มีค่าความด่างมากกว่าความกรด และถ้าหากจะอยากให้ฟองสบู่แช่ตัวอยู่ในอากาศได้นาน พื้นที่ในการจัดนิทรรศการควรอยู่ในพื้นที่ indoor ที่เขาสามารถควบคุมความชื้นและความแห้งแล้งได้เอง

7 Into the Wind

71“สิ่งสำคัญที่สุดคือความชื้น ถ้าความชื้นน้อยฟองสบู่ก็จะแตกเร็ว” วิทยาเผยความรู้ให้เราฟังอย่างเข้าอกเข้าใจ และอธิบายเพิ่มเติมว่าฟองสบู่ที่ดีนั้นต้องมีแรงตึงผิวมากพอ มีค่าความด่างมากกว่าความกรด และถ้าหากจะอยากให้ฟองสบู่แช่ตัวอยู่ในอากาศได้นาน พื้นที่ในการจัดนิทรรศการควรอยู่ในพื้นที่ indoor ที่เขาสามารถควบคุมความชื้นและความแห้งแล้งได้เอง

72“สิ่งสำคัญที่สุดคือความชื้น ถ้าความชื้นน้อยฟองสบู่ก็จะแตกเร็ว” วิทยาเผยความรู้ให้เราฟังอย่างเข้าอกเข้าใจ และอธิบายเพิ่มเติมว่าฟองสบู่ที่ดีนั้นต้องมีแรงตึงผิวมากพอ มีค่าความด่างมากกว่าความกรด และถ้าหากจะอยากให้ฟองสบู่แช่ตัวอยู่ในอากาศได้นาน พื้นที่ในการจัดนิทรรศการควรอยู่ในพื้นที่ indoor ที่เขาสามารถควบคุมความชื้นและความแห้งแล้งได้เอง

AUTHOR

PHOTOGRAPHER

ดวงสุดา กิตติวัฒนานนท์

ช่างภาพนิตยสาร a day ผู้ชอบกินอาหารที่ถ่าย