ตามไปดูดวงจันทร์ผ่านการวาดภาพในโลกจินตนาการกับศิลปินหนุ่มโลเล

คนทำงานศิลปะส่วนใหญ่ล้วนเคยมีช่วงเวลาที่ต้องตั้งคำถามกับตัวเองว่าควรเริ่มสร้างสรรค์งานศิลปะจากจุดไหน
ควรยึดแนวทางใดเป็นต้นแบบ หรือมีวิธีหาแรงบันดาลใจกันยังไง
บางทีอาจมีคำถามระหว่างการสร้างสรรค์ผลงานว่าทำงานออกมาแล้วจะถูกใจคนดูหรือเปล่า
จนมัวกังวลกับข้อจำกัดหลายอย่างมากจนเกินไป
เพราะคาดหวังให้ผลงานที่ทำตรงตามมาตรฐานที่คนทั่วไปชื่นชอบ
ทำให้เราหลงลืมการปลดปล่อยความคิด จินตนาการ
เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวที่เราต้องการสื่อสาร
อย่างการแสดงตัวตนของผู้สร้างสรรค์ผลงานซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างแท้จริง
‘โลเล-ทวีศักดิ์ ศรีทองดี’ หนึ่งใน SangSom
The Inspirers ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะ และ อาจารย์เด๋อ-วุฒิกร คงคา
ศิลปินหนุ่มมากความสามารถ ต้องการเน้นย้ำถึงความสำคัญนี้ จึงมาถ่ายทอดเรื่องนี้ให้คนรุ่นใหม่ที่ชื่นชอบและรักในงานศิลปะที่ได้เข้าร่วมกิจกรรม SangSom คนไทย… ตั้งใจทำอะไรไม่แพ้ชาติใดในโลก
The Inspirers Workshop ครั้งที่ผ่านมา เพื่อสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่ไร้ขีดจำกัดทางความคิด

เวิร์กช็อปนี้มีอะไร

จากการคัดเลือกคนรุ่นใหม่ที่ชื่นชอบและรักในงานศิลปะจำนวน
20 ท่าน ผ่านการส่งผลงานภายใต้โจทย์
‘ยานอวกาศในแบบของตัวเองที่จะพาไปสู่ดวงจันทร์’ มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมเวิร์กช็อปแห่งจินตนาการ
ก่อนออกเดินทางสู่ดวงจันทร์ ที่ The COMMONS ทองหล่อ ซอย 17
เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2559 ในบรรยากาศที่แสนจะอบอุ่นและเป็นกันเอง ระหว่างวิทยากรทั้งสองท่านและผู้เข้าร่วมกิจกรรมเวิร์กช็อป
ซึ่งในทุกช่วงของงานเต็มไปด้วยการแลกเปลี่ยนทัศนคติทางด้านศิลปะ
ทำให้เราได้เห็นมุมมองที่น่าสนใจและแปลกใหม่ในการสร้างผลงานที่ไร้ขอบเขต
เพื่อที่จะทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเข้าใจถึงการสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะที่ไร้ขอบเขตนั้น
วิทยากรทั้งสองท่านอธิบายถึงทฤษฎีและองค์ประกอบต่างๆ จากนิยามทางศิลปะ เพื่อสื่อสารให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมรู้ว่า
ไม่ว่าศิลปะถูกสร้างสรรค์ขึ้นเพื่ออะไรก็ตาม มันต่างเป็นการแสดงถึงความศรัทธา
ความเชื่อ ความสวยงาม หรือแม้กระทั่งการสร้างเอกลักษณ์ของศิลปินแต่ละคน
ให้ผลงานมีความโดดเด่น สุดท้ายเป้าหมายจึงมาบรรจบบนปลายทางเดียวกัน
นั่นคือการปลดปล่อยจินตนาการเพื่อถ่ายทอดเรื่องราว ความคิด
ที่เราต้องการสื่อสารในแบบของตัวเองนั่นเอง

แรงบันดาลใจของผลงานในเวิร์กช็อปมาจากไหน

หลังจากที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ทำความเข้าใจถึงที่มาที่ไปเพื่อสร้างสรรค์งานศิลปะผลงานศิลปะที่ไร้ขอบเขตแล้ว
วิทยากรทั้งสองคนก็ได้ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสร้างผลงานศิลปะเพื่อปลดปล่อยจินตนาการส่วนตัวด้วยการวาดภาพ
หลังจากนั้นจึงแลกเปลี่ยนทัศนคติกันเป็นครั้งแรก ซึ่งวันนี้เราได้เลือกผลงานที่น่าสนใจ
แล้วชวนเจ้าของภาพมาพูดถึงแรงบันดาลใจในการสร้างผลงานและความประทับใจที่ได้มาร่วมกิจกรรม
โดยเรามีโอกาสได้ชมภาพยานอวกาศของผู้เข้ารอบทั้ง 20
คน ซึ่งแต่ละคนล้วนแล้วแต่มีไอเดียที่ท้าทายและน่าสนใจ ลองมาดูตัวอย่างไอเดียในการสร้างผลงานกันดีกว่าว่าน่าสนใจมากแค่ไหน

“ภาพของเราเกิดจากนิทานที่เราแต่งขึ้นเอง
เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับดาวดวงหนึ่งในโลกอนาคต
ที่ทุกคนเกิดขึ้นมาแล้วจะมีสัตว์ประจำตัว ทีนี้มีเด็กผู้หญิงคนหนึ่งเกิดมาคู่กับกระต่าย
เขาอยากให้กระต่ายของตัวเองมีความสามารถเหมือนกระต่ายบนดวงจันทร์
เลยออกเดินทางด้วยยานอวกาศไปหา แต่ระหว่างทาง
ได้ค้นพบว่ากระต่ายของเขามีความพิเศษที่สุดแล้ว”

ปัณรสี ศะศินิล อาชีพแฟชั่นดีไซเนอร์
และนักวาดภาพประกอบ

“ภาพที่วาด
ผมนึกถึงความฝันที่ต้องการจะไปสู่ห้วงอวกาศและดวงจันทร์
มันเป็นความรู้สึกของเด็กที่เคยคิดฝันว่าอยากเป็นนักบินอวกาศที่ออกไปท่องเที่ยวนอกโลก
ส่วนตัวผมคงมีแค่จรวดกระดาษ แต่มันก็ทำให้เราไปทุกที่ได้ด้วยจินตนาการ
ภาพนี้ผมเริ่มสเกตช์ลงบนกระดาษก่อน แล้วค่อยวาดและลงสีในโฟโต้ช็อป”

ชวน์พงษ์ เนตรอริยทรัพย์ อาชีพนักออกแบบ

“เราต้องการจะสื่อว่าดวงจันทร์ของแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน
ดวงจันทร์ของเราคือความรู้สึกที่เราเชื่อว่าทำแล้วรู้สึกเหมือนอยู่บนจุดสูงสุดของตัวเอง
แค่นั้นความรู้สึกนั้นก็เหมือนการไปบนดวงจันทร์ สำหรับเรามันคือไอติม
เพราะเราชอบกินไอติมมาก เลยวาดยานอวกาศเป็นโคน พูดง่ายๆ
คือไอติมเป็นตัวแปรที่ทำให้มีความสุขสุดๆ จนเหมือนได้ขึ้นไปยืนอยู่บนดวงจันทร์”

รติมา ศิริพิสิฐศักดิ์ อาชีพนักออกแบบ

มาเวิร์กช็อปนี้แล้วได้อะไร

ทลายเงื่อนไข

“การเวิร์กช็อปทำให้ผมมั่นใจมากขึ้น
เพราะพี่โลเลมองสิ่งต่างๆ อย่างลุ่มลึก และรักในสิ่งที่ทำ เขาบอกผมว่าถ้าอยากวาดภาพ
ก็ต้องวาดเลย อย่าสร้างเงื่อนไขมากมาย
ซึ่งมันทำให้ผมเริ่มมีความสุขในการวาดภาพมากขึ้น
เมื่อก่อนถ้าผมจะวาดอะไรต้องคิดนานมาก แต่หลังจากร่วมกิจกรรม ถ้าผมอยากวาด
ก็จะวาดเลย” ชวน์พงษ์กล่าว

รู้ช้ารู้เร็ว

ปัณรสีเล่าให้ฟังถึงหลักการบริหารเวลาของโลเล ที่นำมาเป็นแบบอย่างให้ตัวเองว่า “พี่โลเลให้เคล็ดลับมาว่าเขามีวิธีคิดงาน 2 แบบ
แบบแรกให้ใช้เวลาคิดอย่างละเอียด แบบที่สองให้รีบคิดอย่างรวดเร็ว พอเราลองทำ
เราก็เห็นความแตกต่างของงานสองแบบ งานที่ทำช้าจะมีเรื่องรายละเอียดมาก
แต่งานที่ทำเร็วจะมีความเป็นนามธรรม เต็มไปด้วยอารมณ์
เป็นเรื่องการสอนให้เราบริหารเวลา
และปรับใช้ไปตามลักษณะของงานที่ต้องการทำได้อย่างเหมาะสม”

เพื่อนใหม่ โอกาสใหม่

“เมื่อเข้ามาเวิร์กช็อป
ทำให้เราได้เพื่อนใหม่ที่มีความสนใจรูปแบบเดียวกัน ได้แลกเปลี่ยนและปรึกษากัน
เป็นเครือข่ายที่มีประโยชน์ในอนาคต
นอกจากนี้เรายังประทับใจพี่ทีมงานแสงโสมที่ช่วยจัดงานดีๆ ให้ทุกคนเข้าร่วมสนุก
ถ้ามีโครงการแบบนี้เราอยากแนะนำให้ทุกคนลองสมัครเข้ามาร่วมด้วย” รติมากล่าวถึงประสบการณ์ที่ได้รับ

แนะนำให้ตามไปดู

สำหรับใครที่อยากชมผลงานของผู้เข้าร่วมกิจกรรมท่านอื่นๆ
ต้องไม่พลาดงานเด็กสายศิลป์ที่จะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 18
มีนาคม 2560 ณ สนามกีฬาจรัญบุรพรัตน์ พระราม 9
โดยจะมีนิทรรศการแสดงผลงานของคุณโลเลและผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกท่าน
รวมไปถึงภาพถ่ายจากคุณพจน์ Sixty-six และบทเพลงสุด Exclusive
จากพี่เล็ก Greasy Café ที่มาสร้างแรงบันดาลใจแบบไม่มีหยุดกับ
SangSom เข้าไปติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Facebook l Sang Som Experience #SangSomTheInspirers

 

AUTHOR