​‘PLA-CHUM’ อินเทอร์แรกทีฟอาร์ตที่จะพาปลาตะเพียนไทยไปประชุมที่ Smart Illumination Yokohama 2017 โดยนัดหมาย

PLA-CHUM แม้ว่างานศิลปะปฏิสัมพันธ์ (interactive installation) จะไม่ใช่คอนเซปต์ใหม่เอี่ยมอ่องในยุคนี้อีกแล้ว แต่พอได้ยินข่าวเกี่ยวกับงานศิลปะประเภทนี้ทีไร หัวใจเราก็เต้นรัวเหมือนเด็กกำลังจะได้ของเล่นใหม่ทุกทีไป

ล่าสุดเราเหลือบไปเห็นโปรเจกต์ชื่อเก๋ PLA-CHUM (ปลาชุม) กำลังทำ crowdfunding อยู่บนเว็บไซต์ asiola.com เพื่อหาทุนผลิตผลงานและเดินทางไปร่วมประกวดในงาน Smart Illumination Awards 2017 ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 1 – 5 พฤศจิกายนนี้ที่เมืองโยโกฮาม่า ประเทศญี่ปุ่น

อย่างที่เดาได้จากชื่องาน ปลาชุมคืองานศิลปะอินเทอร์แรกทีฟที่มีปลาเป็นส่วนประกอบ และเล่นกับสีของแสงเป็นหลัก โดยใช้เทคนิคภาพลวงตาอันเกิดจากการเปลี่ยนสีของแสงเมื่อตกกระทบวัตถุ แต่สิ่งที่คาดเดาไม่ได้คือที่มาที่ไปและแนวคิดเบื้องลึกเบื้องหลัง เราจึงติดต่อขอไปประชุมกับเจ้าของโปรเจกต์อย่าง RNxD ซึ่งประกอบไปด้วยเหล่ากราฟิกดีไซเนอร์จากกราฟิกเฮาส์ Round and Nine เต็ง-กิตติคุณ ภักดีแก้ว, พลอย ลิ่วเฉลิมวงศ์ และดั้ม-สถาปนา สกุลลัย

เรื่องราวของปลาตะเพียนสานที่ส่องแสงได้และเกลียวคลื่นที่กำลังเคลื่อนไหวจะเป็นอย่างไร เชิญมาประชุมร่วมกันที่หน้าจอด้านล่างนี้

1. ทีมที่มาประชุมกันโดยนัดหมาย

เต็ง : “พวกเราเป็น co-founder บริษัท Round and Nine เน้นทำกราฟิกเป็นส่วนใหญ่ เช่นงาน branding, identity design และ packaging design “RNxD ก็คือ Round and Nine Experience Design เป็นแบรนด์ย่อยของบริษัทสำหรับทำโปรเจกต์นี้ ผมเพิ่งเรียนจบปริญญาโทด้าน Art Design จากมหาวิทยาลัยศิลปากรมา และสนใจเรื่องแสงของสีที่ส่งผลกับความรู้สึกของคนอยู่แล้ว พอเห็นว่างาน Smart Illumination ที่โยโกฮาม่าเปิดรับศิลปินต่างชาติให้ไปร่วมแสดงด้วย ก็เลยคิดว่าอยากเอาความรู้กราฟิกที่มีอยู่มาผสมกับสิ่งที่เราเพิ่งเรียน เลยเกิดเป็นโปรเจกต์นี้ขึ้นมา”

พลอย : “เราทำกราฟิกดีไซน์มาก่อน ก็จะเห็นแต่การสื่อสารผ่านกราฟิก อย่างมากก็เป็นแพ็คเกจจิ้งหรือโปรดักต์ที่ปฏิสัมพันธ์กับคนได้ระดับหนึ่ง แต่โปรเจกต์นี้เป็นงานศิลปะที่คนเข้ามามีส่วนร่วมได้ ก็เลยคิดว่าน่าจะสนุก”

“พวกเราสามคนมีแบ็คกราวนด์ที่แตกต่างกันนิดหน่อย ทีมเลยลงตัว อย่างเต็งทำกราฟิกมาก่อน แล้วไปต่อด้านอาร์ต ส่วนดัมพ์ทำด้านออกแบบอุตสาหกรรม (industrial design) ก็จะรู้เรื่องวัสดุและการผลิต พลอยเองจบออกแบบผลิตภัณฑ์ แต่โฟกัสเรื่องอินเทอร์แรกทีฟ เลยมีความรู้เรื่องโค้ดดิ้งอยู่แล้ว พอมาอยู่รวมกันก็เลยพอดี”

2. ไอเดีย (เมือง) ท่าจะดี

เต็ง : “เราตั้งใจทำเป็น site-specific art (งานศิลปะที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อจัดวางในสถานที่เฉพาะ) ก็เลยคิดเริ่มต้นจากเมืองโยโกฮาม่า เป็นเมืองท่าซึ่งก่อนหน้านี้เคยประสบเหตุภูเขาไฟระเบิด คนเลยไม่มาเที่ยว หน่วยงานต่างๆ ในเมืองจึงพยายามรวบรวมกำลังคนมาช่วยกันทำให้เมืองมีพื้นที่ท่องเที่ยว บริเวณ lighting space ซึ่งเป็นสถานที่จัดงานเลยถูกสร้างขึ้นมา”

“ด้วยเรื่องราวของเมืองท่าริมทะเล และเรื่องราวความสามัคคีของคนในชุมชนที่ผลักดันให้เกิดสิ่งใหม่ๆ เราจึงพยายามหาสัญลักษณ์ที่แทนทั้งสองสิ่งนี้ได้ ทีมก็คุยกันแล้วสรุปออกมาเป็นปลาตะเพียน ปลาอยู่คู่กับน้ำอยู่แล้ว ส่วนการสานก็แสดงถึงความสามัคคีได้ดี”

PLA-CHUM

3. ต้องตอบโจทย์เรื่องแสงสี

พลอย : “หลักของงาน Smart Illumination คือเน้นการใช้ LED เพื่อประหยัดพลังงาน และพูดเรื่องแสงสีที่เป็นมากกว่าการให้ความสว่าง เราจึงใช้การเปลี่ยนสีของ LED มาเล่นกับสิ่งพิมพ์ ซึ่งจะให้เอฟเฟกต์ที่แตกต่างกันไป”

เต็ง : “สิ่งพิมพ์ก็คือวัตถุที่แสงตกกระทบ เราทดลองเล่นกับสีของสิ่งพิมพ์และสีของแสง โดยจับคู่สีของสิ่งพิมพ์ซึ่งเป็น CMYK เข้ากับสีของแสงซึ่งเป็น RGB เมื่อแสงตกกระทบสิ่งพิมพ์ สีที่เรามองเห็นก็จะเปลี่ยนไป และด้วยลวดลายของสิ่งพิมพ์ที่เราออกแบบมา ถ้าสีของแสงเปลี่ยนไปเรื่อยๆ สีของสิ่งพิมพ์ก็จะเปลี่ยนตามเรื่อยๆ เหมือนลวดลายบนสิ่งพิมพ์เคลื่อนไหวได้”

“ตัวลายเราออกแบบเป็นรูปเกลียวคลื่นซึ่งเกี่ยวข้องกับคอนเซปต์พอดี เราอยากจะสื่อถึงการก้าวไปข้างหน้าของเมืองโยโกฮาม่าหลังจากประสบภัยพิบัติด้วย เวลาที่แสงเปลี่ยนก็จะดูเหมือนคลื่นกำลังเคลื่อนที่ไปข้างหน้า”

“สิ่งพิมพ์เองเราก็ใช้เทคนิคการสาน จริงๆ จะพิมพ์ลายบนกระดาษเลยก็ได้ แต่เราอยากสำรวจเทคนิคใหม่ๆ ซึ่งสะท้อนคอนเซปต์ของเราได้ดีด้วย การสานกระดาษจริงๆ สื่อถึงความสามัคคีในแบบที่จับต้องได้กว่าเยอะ”

3. ต้องตอบโจทย์เรื่องแสงสี
พลอย : “หลักของงาน Smart Illumination คือเน้นการใช้ LED เพื่อประหยัดพลังงาน และพูดเรื่องแสงสีที่เป็นมากกว่าการให้ความสว่าง เราจึงใช้การเปลี่ยนสีของ LED มาเล่นกับสิ่งพิมพ์ ซึ่งจะให้เอฟเฟกต์ที่แตกต่างกันไป”เต็ง : “สิ่งพิมพ์ก็คือวัตถุที่แสงตกกระทบ เราทดลองเล่นกับสีของสิ่งพิมพ์และสีของแสง โดยจับคู่สีของสิ่งพิมพ์ซึ่งเป็น CMYK เข้ากับสีของแสงซึ่งเป็น RGB เมื่อแสงตกกระทบสิ่งพิมพ์ สีที่เรามองเห็นก็จะเปลี่ยนไป และด้วยลวดลายของสิ่งพิมพ์ที่เราออกแบบมา ถ้าสีของแสงเปลี่ยนไปเรื่อยๆ สีของสิ่งพิมพ์ก็จะเปลี่ยนตามเรื่อยๆ เหมือนลวดลายบนสิ่งพิมพ์เคลื่อนไหวได้”3. ต้องตอบโจทย์เรื่องแสงสี
พลอย : “หลักของงาน Smart Illumination คือเน้นการใช้ LED เพื่อประหยัดพลังงาน และพูดเรื่องแสงสีที่เป็นมากกว่าการให้ความสว่าง เราจึงใช้การเปลี่ยนสีของ LED มาเล่นกับสิ่งพิมพ์ ซึ่งจะให้เอฟเฟกต์ที่แตกต่างกันไป”

เต็ง : “สิ่งพิมพ์ก็คือวัตถุที่แสงตกกระทบ เราทดลองเล่นกับสีของสิ่งพิมพ์และสีของแสง โดยจับคู่สีของสิ่งพิมพ์ซึ่งเป็น CMYK เข้ากับสีของแสงซึ่งเป็น RGB เมื่อแสงตกกระทบสิ่งพิมพ์ สีที่เรามองเห็นก็จะเปลี่ยนไป และด้วยลวดลายของสิ่งพิมพ์ที่เราออกแบบมา ถ้าสีของแสงเปลี่ยนไปเรื่อยๆ สีของสิ่งพิมพ์ก็จะเปลี่ยนตามเรื่อยๆ เหมือนลวดลายบนสิ่งพิมพ์เคลื่อนไหวได้”3. ต้องตอบโจทย์เรื่องแสงสี
พลอย : “หลักของงาน Smart Illumination คือเน้นการใช้ LED เพื่อประหยัดพลังงาน และพูดเรื่องแสงสีที่เป็นมากกว่าการให้ความสว่าง เราจึงใช้การเปลี่ยนสีของ LED มาเล่นกับสิ่งพิมพ์ ซึ่งจะให้เอฟเฟกต์ที่แตกต่างกันไป”

เต็ง : “สิ่งพิมพ์ก็คือวัตถุที่แสงตกกระทบ เราทดลองเล่นกับสีของสิ่งพิมพ์และสีของแสง โดยจับคู่สีของสิ่งพิมพ์ซึ่งเป็น CMYK เข้ากับสีของแสงซึ่งเป็น RGB เมื่อแสงตกกระทบสิ่งพิมพ์ สีที่เรามองเห็นก็จะเปลี่ยนไป และด้วยลวดลายของสิ่งพิมพ์ที่เราออกแบบมา ถ้าสีของแสงเปลี่ยนไปเรื่อยๆ สีของสิ่งพิมพ์ก็จะเปลี่ยนตามเรื่อยๆ เหมือนลวดลายบนสิ่งพิมพ์เคลื่อนไหวได้”

PLA-CHUM

4. กลไกมีไว้ให้คนเล่น PLA-CHUM

พลอย : “นอกเหนือจากการใช้ LED เล่นกับการเปลี่ยนสีของแสงเพื่อแสดงเอฟเฟกต์แล้ว เราเพิ่มเรื่องกลไกล microcontroller (ชิปประมวลผลชนิดหนึ่ง สามารถเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุมการทำงานได้) เข้าไปด้วย ซึ่งเราเขียนโค้ดดิ้งไว้ว่า ถ้าเอาตัวกระตุ้น (trigger) เข้าไปใกล้ๆ ชิ้นงาน แสงสีและลำดับการไล่สีก็จะเปลี่ยนไป ให้ความรู้สึกและประสบการณ์ในการชมงานที่ไม่เหมือนกัน”

“ตัวกระตุ้นก็คือปลาตะเพียนสานตัวเล็กๆ ที่ติด RFID tag เป็นอุปกรณ์ส่งสัญญาณด้วยคลื่นวิทยุ เหมือนคีย์การ์ดที่เราใช้แตะเวลาเข้าคอนโดฯ แต่การแตะของอันนี้จะทำให้ไฟที่ปลาตัวใหญ่เปลี่ยนสีไป”

เต็ง : “มันล้อไปกับคอนเซปต์เรื่องปลาตะเพียนของเรา หน้าน้ำหรือช่วงที่เรียกว่า ‘ข้าวใหม่ปลามัน’ คือเวลาที่ปลาออกลูก มีแม่ปลากับลูกปลาอยู่ด้วยกัน เลยเป็นปลาชุม อีกอย่างช่วงหน้าน้ำเป็นช่วงที่อุดมสมบูรณ์ที่สุด บ้านเราจึงมีความเชื่อเรื่องแขวนปลาตะเพียนไว้ในร้านค้า จะได้อุดมสมบูรณ์ด้วยเงินทอง มีลูกค้าเข้ามา ถ้าโยงกลับไปที่โยโกฮาม่าก็คือหลังจากประสบภัยพิบัติ คนก็ร่วมมือกันทำให้ความอุดมสมบูรณ์กลับมาอีกครั้งนั่นเอง”

ถ้าอยากส่งปลาตะเพียนไทยไปว่ายน้ำที่โยโกฮาม่าอย่างสว่างไสว สามารถร่วมระดมทุนและเลือกของตอบแทนที่ต้องการได้ที่ asiola.co.th/campaign/plachum ก่อนวันที่ 25 ตุลาคมนี้นะ

เต็ง : “มันล้อไปกับคอนเซปต์เรื่องปลาตะเพียนของเรา หน้าน้ำหรือช่วงที่เรียกว่า ‘ข้าวใหม่ปลามัน’ คือเวลาที่ปลาออกลูก มีแม่ปลากับลูกปลาอยู่ด้วยกัน เลยเป็นปลาชุม อีกอย่างช่วงหน้าน้ำเป็นช่วงที่อุดมสมบูรณ์ที่สุด บ้านเราจึงมีความเชื่อเรื่องแขวนปลาตะเพียนไว้ในร้านค้า จะได้อุดมสมบูรณ์ด้วยเงินทอง มีลูกค้าเข้ามา ถ้าโยงกลับไปที่โยโกฮาม่าก็คือหลังจากประสบภัยพิบัติ คนก็ร่วมมือกันทำให้ความอุดมสมบูรณ์กลับมาอีกครั้งนั่นเอง”

ถ้าอยากส่งปลาตะเพียนไทยไปว่ายน้ำที่โยโกฮาม่าอย่างสว่างไสว สามารถร่วมระดมทุนและเลือกของตอบแทนที่ต้องการได้ที่ asiola.co.th/campaign/plachum ก่อนวันที่ 25 ตุลาคมนี้นะ

PLA-CHUM

PLA-CHUM

ภาพ ชนพัฒน์ เศรษฐโสรัถ และ RNxD

AUTHOR

PHOTOGRAPHER

ชนพัฒน์ เศรษฐโสรัถ

ช่างภาพนิตยสาร a day ที่เพิ่งมีพ็อกเก็ตบุ๊กเล่มใหม่ชื่อ view • finder ออกไปเจอบอลติก ซื้อสิ ไปซื้อ เฮ่!