เปิดเล่ม a day 203 : ภาพยนตร์สารคดี

a day 203 🙂

main course

ว่ากันว่าหนังสารคดีกำลังทวีความสำคัญ เพราะนี่คือสื่อที่โดดเด่นเรื่องการนำเสนอความจริงอย่างเข้มข้นแบบที่สื่ออื่นทำไม่ได้ เรากำลังสนใจหน้าที่ของสื่อชนิดนี้ เลยลงลึกทำเนื้อหาแบบเข้มข้น เพราะเราอยากพูดถึงวงการหนังสารคดีและคนทำ กลุ่มคนเล็กๆ ที่ส่งเสียงอันทรงพลังเล่าเรื่องราวที่พวกเขาเชื่อและอยากส่งต่อ กว่าจะเป็นหนังสารคดีสักเรื่องต้องผ่านอะไรมาบ้าง หัวใจของหนังคืออะไร คนทำหนังสารคดีไทยอยู่ที่ไหน และอนาคตของหนังสารคดีจะเป็นอย่างไร

ถ้าให้สรุปหัวใจคงเล่ม เลยกลายเป็นที่มาของคำโปรยปกว่า ‘ถ้ากระหายใคร่รู้ถึงความจริงที่เกิดขึ้นบนโลก จงดูหนังสารคดี’

ทำไมหนังสารคดีจึงทรงพลัง? เรื่องราวแต่ละหัวข้อรอให้พลิกหาคำตอบในเล่ม แล้วจะรู้ว่าทำไมเราอยากให้คุณดูหนังสารคดี

คลื่นลูกแรก ทีมงาน GTH แบกกล้องตามเก็บภาพชีวิตนักเรียนมัธยมหก 4 คนที่วุ่นวายกับการเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย เพื่อถ่ายทอดความกดดัน ความรักและความฝันในชีวิตมัธยมครั้งสุดท้ายของชีวิตพวกเขา

สารคดีและศาสนาอิสลาม The Convert (2008) เรื่องราวชีวิตของ จูน หญิงสาวชาวพุทธที่ตัดสินใจแต่งงานกับ เอก ชายหนุ่มมุสลิม สารคดีเรื่องนี้บอกเล่าถึงชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปของคนทั้งสอง ความยากลำบากที่ต้องเผชิญ ชีวิตคู่ที่อยู่เหนือการคาดเดา และช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านของหญิงสาวธรรมดาที่กำลังจะกลายเป็นแม่คน

บทบรรยายไทยโดย “หลักการแปลหนังสารคดีเหมือนการแปลหนังเล่าเรื่องทั่วไป เราต้องถ่ายทอดงานต้นฉบับออกมาให้ถูกต้อง ตรง ครบถ้วนและได้อรรถรสมากที่สุด การแปลเป็นศิลปะการใช้ภาษาสื่อสารเรื่องราว ไม่ใช่แค่การแปลภาษาหนึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่ง” ต๊อบ-พลากร เจียมธีระนาถ นักแปลภาพยนตร์ ผู้เคยฝากฝีมือการแปลหนังสารคดีหลายเรื่องกล่าว

8 ปี คือระยะเวลาที่ โบ๊ต-สมพจน์ ชิตเกษรพงศ์ ใช้ในการค่อยๆ จัดวางฟุตเทจสารคดีเรื่อง Railway Sleepers ร่วมร้อยชั่วโมงให้กลายเป็นเส้นเรื่องเดียวกัน คล้ายการวางไม้หมอนรถไฟทีละชิ้น จนกลายเป็นรางรองรับเรื่องราวของขบวนรถไฟที่แล่นจากดินแดนทางตอนเหนือสู่ภาคใต้ของประเทศไทย

นักพากย์สารคดี หนังสารคดีบางเรื่องอาจยากเข้าใจ การพากย์เสียงหรือ Voice-over จึงเป็นตัวช่วยบรรยายให้คนดูเข้าใจบริบทที่ซับซ้อนของหนังสารคดีได้ดียิ่งขึ้น

ตลาดหนังสารคดีใหญ่ที่สุดในโลก ขั้นตอนที่สำคัญสำหรับหนังสารคดีทุกเรื่องคือ ‘การซื้อขาย’ ซึ่งจะตัดสินว่าหนังจะถูกเผยแพร่สู่สายตาผู้ชมอย่างเราๆ หรือไม่ สำหรับหนังสารคดีในโทรทัศน์ที่ผ่านตาเราส่วนใหญ่ถูกซื้อขายผ่านผู้แทนจำหน่ายในประเทศและในเอเชีย


interview section

  • ต่อเนื่องเรื่องสารคดีกันต่อกับบทสัมภาษณ์ใหญ่ของ ชนินทร์ ชมะโชติ นักทำหนังสารคดีลายคราม ผู้ผลิตสารคดีแนวหน้าของไทยในปัจจุบัน ผู้เปรียบเหมือนกัปตันทีมที่กำลังพาหนังสารคดีไทยไปสู่คนดูทั่วโลก ปกติแล้วเขาให้สัมภาษณ์น้อยมาก นี่จึงเป็นโอกาสชั้นดีที่เราได้พูดคุยถึงวิธีคิดของเขาในช่วงเวลาสำคัญของสารคดีไทย

  • ในวาระหนังสือเล่มสำคัญของวงการอย่าง ‘หยดน้ำหวานในหยาดน้ำตา’ ออกจำหน่าย เราพูดคุยยาวๆ กับผู้เขียนอย่าง อุรุดา โควินท์ ผู้หญิงซึ่งครั้งหนึ่งเคยเต็มไปด้วยบาดแผลจากการจากไปของคนรัก แต่ในวันนี้เธอผลิบานใหม่อีกครั้งแล้วด้วยความรักและความหวัง นี่คือบทสัมภาษณ์เปี่ยมพลังชีวิตที่สุดชิ้นหนึ่งที่เราอยากให้คุณได้อ่าน

  • ไก่-ณฐพล บุญประกอบ คือคนรุ่นใหม่ที่เราอยากแนะนำให้รู้จักมากในฉบับนี้ ไม่ใช่เพราะเขาเป็นน้องชายแท้ๆ ของผู้กำกับหมู ชยนพ ไม่ใช่เพราะเขาเป็นเจ้าของผลงานเรื่อง Alex ที่เข้าชิงรางวัลสายสารคดีจากเวที BAFTA Student Film Awards ประจำปีนี้ แต่เพราะเขาคือคนทำสื่อรุ่นใหม่ที่ใช้ความกล้าเป็นส่วนผสมเพื่อสร้างแรงกระเพื่อมในสังคมไทยที่ควรจดจำชื่อไว้ด้วยประการทั้งปวง

  • สำรวจสถานการณ์ความเคลื่อนไหวของเหล่านักประดิษฐ์หรือ Maker ผ่านปากคำของ เจน-กัลยา โกวิทวิสิทธิ์ หัวเรี่ยวหัวแรงหลักผู้ก่อตั้ง FabCafe Bangkok

  • สนทนากับ ปากกามาดเข้มของ ฆนาธร ขาวสนิท นักเขียนรุ่นใหม่ผู้เขียน ขอสวรรค์จงมาถึง


report section

  • ‘สี (สร้าง) สรรค์ บ้านไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก’ เดินเที่ยวทีไรสะดุดตากับสีบ้านจัดจ้านทุกที ชัชวาล สุวรรณสวัสดิ์ เขียนวิเคราะห์สีบ้านไทยที่สะท้อนวิถีชีวิตบ้านๆ แบบที่เราคุ้นเคยได้สนุกและน่าสนใจมาก!

  • ‘ความลับของ Silicon Valley’ ยรรยง บุญ-หลง กำลังศึกษาย่าน Silicon Valley เพื่อคุ้ยความลับว่าทำไมประเทศในเอเชียหลายประเทศที่พยายามสร้าง Smart City แบบเดียวกันถึงไม่ประสบความสำเร็จเหมือนที่นี่สักที อยากรู้เหรอ? ตามไปอ่านเลย

travel section

  • ‘ฉันนั่งอยู่ที่นี่ ศานตินิเกตัน’ บทความน่ารักๆ เล่าชีวิตในรอบปีของหญิงสาวผู้ไปเรียนต่อที่ศานตินิเกตัน


  • ‘Black White Hindi’
    รอยยิ้มและแววตาในชุดภาพถ่ายขาวดำของผู้คนในกัลกาต้า ประเทศอินเดีย


article section

  • story พื้นที่ของนักเขียนหน้าใหม่ อ่านเรื่อง ‘ขอบคุณที่เล่าให้ฟัง’ เบื้องหลังความรู้สึกของนักจิตวิทยาการปรึกษาที่มีผู้คนผลัดเปลี่ยนหน้ามาเล่าความทุกข์ให้ฟัง

  • เรื่องเล่าสาววินเทจ มาลีแจกแจงให้เราฟังถึงเรื่องเล็กๆ แต่มีประโยชน์อย่างการเลือกเนื้อผ้าของเสื้อวินเทจใส่ให้เหมาะกับสภาพภูมิอากาศร้อนจนตัวเหนียวในบ้านเรา คราวต่อไปที่เลือกซื้อจะได้ทั้งถูกใจและใส่สบายนะ

  • เปิดตัวคอลัมน์ใหม่อย่าง ‘นักเล่าความคิด’ ที่ได้ โรจนะ ฉั่วสกุล มาคอยอัพเดตความเคลื่อนไหวในแวดวงโฆษณาให้ฟังทุกเดือน

หาตามแผงไม่เจอหรืออยากสั่งซื้อ a day 203 มาส่งที่บ้านแบบฟรีๆ กดได้ที่นี่เลย

AUTHOR