คนเกาหลีผ่านซีรีส์หรือภาพยนตร์ จะเห็นได้ว่าผู้คนส่วนใหญ่มักจะทำกิจกรรมต่างๆ เป็นกลุ่มก้อนมากกว่าแยกตัวออกมาทำคนเดียว อย่างไปกินข้าวที่ร้านอาหาร ไม่ว่าจะไปเป็นคู่หรือหมู่คณะ ซึ่งส่วนหนึ่งก็เป็นผลมาจากที่ร้านอาหารบางแห่ง (โดยเฉพาะร้านหมูย่างส่วนใหญ่) มีข้อกำหนดว่าลูกค้าจะต้องสั่งอาหารอย่างน้อยสองที่ขึ้นไปถึงจะนั่งทานในร้านได้ เช่นกันกับการสั่งเหล้าโซจูมารินดื่มเองลำพังซึ่งไม่ใช่เรื่องปกติสักเท่าไหร่นักในสังคมเกาหลี
หากลองสังเกตไลฟ์สไตล์ของถึงตอนนี้คนเกาหลีจำนวนมากจะยังนิยมไปกินข้าวเป็นคู่หรือเป็นกลุ่มเช่นเคย แต่ก็เริ่มมีร้านอาหารที่จัดที่ทางไว้ให้เฉพาะคนที่มากินข้าวคนเดียวได้นั่งกินแบบไม่ต้องรู้สึกแปลกแยกในสายตาใคร แม้แต่ร้านหมูย่างเองก็เริ่มขายให้ลูกค้าที่ตั้งใจมากินเงียบๆ คนเดียวแล้ว หรือแม้กระทั่งอาหารถาดยักษ์อย่างพิซซ่าก็เริ่มมีการจัดจำหน่ายในขนาดหนึ่งคนอิ่ม ซึ่งมีกระแสตอบรับเป็นอย่างดี
กระแสนี้สอดคล้องกับยอดขายของวัตถุดิบจำพวกซอสพาสต้าสำหรับทำกินเอง ซึ่งมียอดขายเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วถึง 150 เปอร์เซ็นต์ กิมจิถ้วยเล็กกะทัดรัดตามร้านสะดวกซื้อก็ขายดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว 72 เปอร์เซ็นต์ ส่วนพวกอาหารกึ่งสำเร็จรูป เช่น ต้ม ผัด และแกงต่างๆ นั้นมียอดจำหน่ายสูงขึ้นกว่าปีที่แล้วถึง 345 เปอร์เซ็นต์
สถานการณ์โควิด-19 อาจเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ยอดจำหน่ายอาหารสำหรับหนึ่งที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากมาตรการรักษาระยะห่างทางสังคมที่ทำให้ทุกคนต้องกินข้าวคนเดียวมากกว่าแต่ก่อน แต่อีกหนึ่งเหตุผลสำคัญคือคนเกาหลีที่ใช้ชีวิตคนเดียวมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ
9 ล้านกว่าคน ซึ่งคิดเป็น 39.2 เปอร์เซ็นต์จากจำนวนครัวเรือนทั่วประเทศ และเป็นสถิติที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาหลายปี หากเทียบแค่เฉพาะในโซลนับว่าเพิ่มสูงขึ้นถึง 16 เท่า จากในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา
ในปี 2021 นี้มีคนเกาหลีที่อาศัยอยู่ที่บ้านหรือห้องเช่าคนเดียวจำนวนเมื่อมีคนที่ใช้ชีวิตคนเดียวเพิ่มมากขึ้น บริษัทขายอาหารและสินค้าต่างๆ จึงได้ผลิตสินค้าสำหรับผู้บริโภคที่อยู่คนเดียว เฟอร์นิเจอร์ที่มาแรงที่สุดในตอนนี้คือโซฟาขนาดหนึ่งคนนั่ง ซึ่งสอดคล้องกับสินค้าอื่นๆ ที่ฮิตตามกันมานั่นคือโต๊ะกินข้าวฉบับมินิ เตียงเดี่ยว และหม้อหุงข้าวขนาดเล็ก
นอกจากบริษัทผลิตข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ที่หันมาเอาใจกลุ่มลูกค้าที่ใช้ชีวิตคนเดียวแล้ว โรงภาพยนตร์หลายแห่งก็เริ่มปรับตัวเพื่อตอบสนองคนที่ต้องการดูหนังเพียงคนเดียว เช่น โรงหนังของ CGV บางแห่งในโซลได้จัดที่นั่งที่มีขนาดกว้างกว่าเบาะทั่วไป และมีที่กั้นด้านข้างเพื่อความเป็นส่วนตัวสำหรับคนที่มาดูหนังคนเดียวนั่นเอง
กระแสการอยู่คนเดียวนี้ยังแผ่ขยายไปถึงมิติด้านที่อยู่อาศัย จนเกิดเป็นไอเดียที่อยู่อาศัยรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า co-living ซึ่งสร้างขึ้นสำหรับคนที่ใช้ชีวิตคนเดียวและต้องการพื้นที่ส่วนตัว แต่ก็ยังสามารถใช้พื้นที่ส่วนรวมในราคาที่ย่อมเยาลงมาได้
ที่จริงแล้วเกาหลีนั้นมีที่พักที่เรียกว่า ‘ฮาซุกจิบ’ ซึ่งจะมีห้องนอนแยกและมีการแชร์ห้องครัวและห้องกินข้าวร่วมกัน แต่สำหรับที่พักแบบ co-living นั้นจะมีพื้นที่ที่สามารถใช้ร่วมกันได้มากขึ้น อย่างพื้นที่สำหรับนั่งทำงานหรือดูหนัง ซึ่งนับเป็นแนวทางใหม่สำหรับการอยู่อาศัยของคนที่ใช้ชีวิตลำพังหลายคนให้สามารถแชร์พื้นที่บางโซนร่วมกันแต่ก็ยังมีพื้นที่ส่วนตัวอยู่
ในสายตาของคนเกาหลีสมัยก่อน คนที่อยู่อาศัยหรือทำอะไรคนเดียวเช่นนี้มักจะถูกมองว่าแปลกหรือเป็นพวกมีปัญหาในการเข้าสังคม แต่ทัศนคติของคนเกาหลีก็ได้เปลี่ยนแปลงไปแล้วในยุคนี้ที่การใช้ชีวิตคนเดียวไม่ใช่พฤติกรรมในแง่ลบอีกต่อไป
จากแบบสำรวจพบว่า ชาย-หญิงเกาหลีวัยกลางคนจำนวน 70 เปอร์เซ็นต์รู้สึกว่าตัวเองเป็นคนที่ชอบทำอะไรคนเดียว เช่น กินข้าวคนเดียว ท่องเที่ยวคนเดียว ดูหนังคนเดียว หรือช้อปปิ้งคนเดียว
แต่กิจกรรมที่ทำคนเดียวยากที่สุดสำหรับคนเกาหลี คือ ‘ฮนซุล’ ซึ่งหมายถึงการดื่มเหล้าคนเดียว ใครที่สามารถนั่งดื่มเหล้าคนเดียวอย่างไม่หวั่นไหวใดๆ แล้วนั้น อาจนับได้ว่าเป็นการปลดล็อกสกินทองเรื่องการทำอะไรคนเดียวเลยก็ว่าได้
8 คนที่รู้สึกว่าการใช้ชีวิตคนเดียวก็ไม่เห็นจะเป็นอะไร และอีกผลสำรวจหนึ่งพบว่า คนเกาหลีวัย 20-39 ปี จำนวน 53.9 เปอร์เซ็นต์ คิดว่าการแต่งงานไม่ใช่เรื่องจำเป็นอีกต่อไป
ขณะที่แบบสำรวจเกี่ยวกับมุมมองของคนเกาหลีต่อชีวิตคู่นั้นระบุว่า ในบรรดาคนโสด 10 คน จะมีสาเหตุที่คนเกาหลีเริ่มหันมาใช้ชีวิตคนเดียวมากขึ้นนั้นมีหลายประการ เช่น ทัศนคติต่อการแต่งงานที่เปลี่ยนแปลงไป คนเกาหลีมีความคิดแนวปัจเจกนิยมมากขึ้น มีจำนวนคนโสด (ทั้งแบบตั้งใจและไม่ตั้งใจ) มากขึ้น และมีอัตราการหย่าร้างมากขึ้นเช่นกัน
อีกเหตุผลที่ทำให้หลายคนเลือกใช้ชีวิตคนเดียวคือ อยากหลีกหนีจากความสัมพันธ์อันเหน็ดเหนื่อยกับคนอื่นแล้วให้เวลากับตัวเองเพื่อความสุขของตัวเอง โดยที่ไม่จำเป็นต้องคอยสังเกตหรือระแวดระวังว่าคนรอบตัวจะรู้สึกยังไงกับตัวเอง
พวกเขาส่วนใหญ่เห็นว่าข้อดีของการใช้ชีวิตคนเดียวคือไม่ต้องมีใครมาห้ามในสิ่งที่ตัวเองอยากทำ และได้มีเวลาทบทวนความคิดของตัวเอง ขณะที่ข้อเสียนั้นก็ยังหนีไม่พ้นเรื่องพื้นฐานอย่างความเหงา การที่ไม่มีใครดูแลยามเจ็บป่วย และต้องรับมือกับเรื่องฉุกเฉินเพียงลำพัง
ที่น่าเป็นห่วงคือ ปัจจุบันมีผู้สูงอายุในเกาหลีจำนวนมากที่ต้องใช้ชีวิตคนเดียว จากสถิติในปี 2021 ระบุว่ามีผู้สูงอายุจำนวนมากถึง 1.5 ล้านกว่าคนที่ใช้ชีวิตตามลำพัง ซึ่งคิดเป็นจำนวน 1 ใน 5 ของผู้สูงอายุทั้งหมดในเกาหลี และมีแนวโน้มว่าในอนาคตจะมีจำนวนผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียวมากขึ้นกว่านี้อีก
ด้วยเหตุนี้จึงมีภาพยนตร์เกาหลีที่สะท้อนสภาพชีวิตของผู้ที่อาศัยอยู่คนเดียว เช่น ภาพยนตร์เรื่อง Late Blossom (2011) เป็นเรื่องเกี่ยวกับความรักของผู้สูงอายุชาวเกาหลี สอดแทรกเนื้อหาที่สะท้อนสภาพชีวิตอันแร้นแค้น โดดเดี่ยว และว้าเหว่ของผู้สูงอายุ หรือภาพยนตร์เรื่อง Door Lock (2018) นำแสดงโดย คงฮโยจิน หญิงสาวผู้ใช้ชีวิตคนเดียวที่ต้องคอยระมัดระวังดูแลตัวเองให้แคล้วคลาดปลอดภัยจากอันตรายต่างๆ และภาพยนตร์เรื่อง Aloners (2021) ที่สะท้อนเรื่องราวของคนเกาหลีที่ต้องใช้ชีวิตเพียงลำพังเช่นกัน
นอกจากนี้ยังมีรายการโทรทัศน์ที่เกี่ยวกับการใช้ชีวิตคนเดียว อย่างรายการวาไรตี้ชื่อ I Live Alone หรือที่บางคนเรียกกันว่า Home Alone ซึ่งนำเสนอชีวิตและไลฟ์สไตล์ของเหล่าคนดังที่อาศัยอยู่คนเดียว
หรือรายการใหม่ที่ฟังดูน่าสนใจตั้งแต่ต้นรายการอย่าง 이번 생은 선인장 แปลตรงตัวคือ ชีวิตนี้เป็นต้นกระบองเพชร รายการที่นำเสนอชีวิตประจำวันของคุณ ‘อินจังซอน’ (ซึ่งน่าจะล้อมาจากคำว่า ‘ซอนอินจัง’ แปลว่า ต้นกระบองเพชร) เป็นคาแร็กเตอร์ที่มีรูปร่างหน้าตาคล้ายต้นกระบองเพชร มีความสามารถพิเศษคืออยู่คนเดียวเก่ง! ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อส่งกำลังใจให้กับเหล่าผู้คนที่กำลังใช้ชีวิตอยู่คนเดียว ฉายทางช่อง EBS และมีให้ชมออนไลน์ทางแชนแนลยูทูบ 딩동댕대학교
เมื่อยุคสมัยเปลี่ยน การใช้ชีวิตคนเดียวก็ไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดอีกต่อไปในสายตาของคนเกาหลี แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือการดูแลตัวเองไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกายหรือจิตใจของผู้ที่ใช้ชีวิตเพียงลำพัง โดยเฉพาะในสถานการณ์โควิด-19 เช่นนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย
อ้างอิง