เรามีชีวิตอยู่เพื่ออะไร? เพื่อตัวเอง เพื่อคนอื่น เพื่อความฝัน หรือทุกๆ อย่างผสมกัน?

เรามีชีวิตอยู่เพื่ออะไร? เพื่อตัวเอง เพื่อคนอื่น เพื่อความฝัน หรือทุกๆ อย่างผสมกัน?

alisa
alisa
alisa

Alisa my grandmother

วันนี้ 19 เมษายน พรุ่งนี้ Alisa อลิสา, ยายของฉันจะอายุครบ 91 ปีแล้ว หลายครั้งที่เจอ quote ในโลกออนไลน์ว่า life is short / you only live one ใดๆ พอหันมามองอสิสาก็รู้สึกมีกำลังใจขึ้นมา
ฉันรู้จักอลิสามาตลอดชีวิตของฉัน ตั้งแต่ตอนที่อลิสาบดข้าว ป้อนอาหารให้ในวันที่ฉันยังกินอาหารเองไม่เป็น จนถึงวันที่ฉันต้องบดกล้วย ป้อนข้าวให้อลิสาในวันที่อลิสาไม่มีแรงตักข้าวให้ไม่หกแล้ว
ช่วงเดือนที่แล้วมคนชวนไปดูหนังชิง oscars 2 เรื่องคือ Minari กับ The Father ในช่วงเวลาที่ไล่เลี่ยกัน ทั้ง 2 เรื่องเป็นหนังที่น่าประทับใจ Minari ว่าด้วยเรื่องของครอบครัวคนเกาหลีที่เข้ามาต่อสู้ดิ้นรนเพื่อลงหลักปักฐานในอเมริกา ส่วน The Father นั้นเล่าเรื่องราวของคู่พ่อลูกชาวอังกฤษที่พ่ออายุย่าง 80 มีอาการหลงๆ ลืมๆ แต่ไม่ต้องการให้ลูกสาวจ้างพยาบาลมาช่วยดูแล แม้หนังทั้ง 2 เรื่องจะมีเนื้อหาแตกต่างกันทั้งเชิงวัฒนธรรมและการดำเนินเรื่อง แต่กลับทำให้ฉันรู้สึกเชื่อมโยงไปถึงเรื่องราวของตัวฉันเองและอลิสา คนในครอบครัวที่อายุมากที่สุดที่ฉันผูกพันด้วย เหมือนๆ กันอย่างบอกไม่ถูก
นึกย้อนกลับไปตอนที่ฉันอายุ 20 ตอนนั้นเป็นช่วงที่ได้เริ่มออกเดินทางไปท่องเที่ยวคนเดียว ทำให้เริ่มมีเพื่อนเป็นชาวต่างชาติและได้เรียนรู้วัฒนธรรมตะวันตกในหลายๆ ด้าน แง่มุมที่ทำให้ฉันสนใจปนอิจฉาเล็กๆ คือวัฒนธรรมครอบครัวเดี่ยว ที่เมื่อลูกอายุ 18 ก็จะต้องแยกออกไปใช้ชีวิต ค้นหาตัวตน ลองผิดลองถูกด้วยตนเอง เพื่อนต่างชาติของฉันเลยมีความ independent สูง แตกต่างจากชีวิตของฉันที่เติบโตมาในวัฒนธรรมครอบครัวขยายแบบเอเชียที่ลูกหลายเต็มบ้าน และไม่ว่าฉันจะเลยวัยอายุ 18 มากี่ปี ฉันก็ยังคงเป็นเด็กน้อยในสายตาของ Alisa เสมอ
หนังเรื่อง Minari กับ The Father ทำให้ฉันนึกถึงบทสนทนาที่เคยพูดกับพ่อว่าถ้าเลือกได้ฉันชอบวัฒนธรรมครอบครัวแบบตะวันตกมากกว่า พ่อไม่ได้แย้งฉันในส่วนของอิสระและเสรีที่คงมีมากกว่าจริงๆ แต่พ่อเล่าให้ฟังว่าเพื่อนฝรั่งของพ่อหลายคนก็อิจาความอบอุ่นของครอบครัวแบบเอเชียเหมือนกั นหลายฉากใน Minari ถ่ายทอดความอบอุ่นที่พ่อหมายถึงได้เห็นภาพดี การให้ความสำคัญกับอาหารรสเฉพาะของครอบครัวเรา การนอนเบียดๆ กันหลายคนในครอบครัวบนพื้นในห้องเล็กๆ คำพูดงงๆ ของยายที่เริ่มจะฟังดูมีความหมายเมื่อเราโตขึ้น
ก็จริงของพ่อ สิ่งเหล่านี้คือความอบอุ่นที่ช่วยหล่อเลี้ยงให้หัวใจของฉันมีด้านที่อ่อนโยน และเป็นความทรงจำที่เปล่งประกายในใจเสมอ หลายครั้งที่ฉันมักลืมเรื่องเหล่านี้ไป วันเหล่านั้นมันเริ่มต้นจากตอนที่อลิสาล้มในห้องน้ำแล้วเดินไม่คล่องเหมือนเดิม แต่ละปีที่ผ่านไป ร่างกายของอลิสาก็ถดถอยลงตามลำดับ สวนทางกับความรับผิดชอบของฉันและคนในครอบครัวที่มากขึ้นเรื่อยๆ พอแก่ลง เค้าว่าจะเหมือนค่อยๆ ย้อนกลายเป็นเด็ก ในสายตาฉัน อลิสาตอนนี้คล้ายเด็กขวบกว่าๆ ที่เดินยังไม่แข็ง พูดสื่อสารได้ไม่สมบูรณ์ และในบทครั้งจะยกเหตุผลทั้งโลกมาอธิบาย อลิสาก็ไม่เข้าใจ
ระหว่างที่ดูหนังเรื่อง The Father หลายๆ ฉากที่ดู ฉันมองเห็นหน้าอลิสาซ้อนขึ้นมาแทนตัวละครพระเอก ถ้าไม่ประสบมากับตัวเองก็คงไม่อาจซาบซึ้งกับความสมจริงของตัวละครนี้ได้เลยจนอยากเดินเข้าไปตบบ่าตัวละครลูกในเรื่องอย่างเข้าอกเข้าใจว่าฉันเองก็เจอมาหมดแล้วเช่นกัน ที่ต้องคอบควานหาสร้อยที่ซ่อนไว้ใต้หมอนทั้งวัน การตามอารมณ์ที่ขึ้นลงแบบ rollercoaster หรือที่จู่ๆ คุณเด็กตัวน้อยที่อยู่ในร่างเล็กเหี่ยวย่นนี้ก็จะเกิดจำหน้าฉัน คนที่อาบน้ำให้ทุกวันไม่ได้แต่กลับเอาแต่ถามถึงญาติคนอื่นๆ ที่นานๆ มาที คุณอ่านมาถึงตรงนี้ก็คงจินตนาการออกว่าการเลี้ยงคนแก่นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ยิ่งอยู่ในประเทศที่ไม่มีสวัสดิการให้ยิ่งเหนื่อยกว่าในหนังอีกเป็น 2 เท่า
มีประโยคหนึ่งในหนังสือ I Called Him Necktie ที่ทิ้มแทงใจฉันเหลือเกินเขียนไว้ว่า “เราล้วนมีพันธนาการ เราทุกคน แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเราปราศจากความรับผิดชอบ แม้จะไร้ซึ่งอิสรภาพ เราก็ยังต้องตัดสินใจอยู่ตลอดเวลา และต้องรับผิดชอบต่อการตัดสินใจและผลของมันด้วย ดังนั้น เราจึงเป็นอิสระน้อยลงเรื่อยๆ ทุกครั้งที่ตัดสินใจ”
ฉันยอมรับว่าช่วงเวลานี้ที่มีความรับผิดชอบส่วนของการเลี้ยงดูอลิสาเข้ามาจะทำให้ชีวิตของฉันมีอิสระลดลง แต่ความอบอุ่นที่อลิสาเคยมอบให้ยังคงกรุ่นอยู่ในใจ แม้อลิสาจะลุกขึ้นมาทำหัวปลีทอด เมนูโปรดให้ไม่ได้เหมือนเดิมแล้ว แต่คืนก่อน กลางดึก อลิสาละเมอถามฉันว่า ‘อิ่มมั้ยหรือว่าหิวอยู่ น้องตอบยายหน่อย’ ไม่รู้ว่าในฝันอลิสาทำหัวปลีทอดรึเปล่า แต่นั่นความความห่วงใยที่คงฝังลึกไปถึงจิตใต้สำนึกของยายที่มีต่อฉัน
ในสมุดไดอารีปีที่แล้ว ฉันระบายเรื่องความยากเย็นในการดูแลอลิสาไว้เยอะ ท้ายเล่มในวันสุดท้ายของปี ฉันเขียนไว้ว่า ชีวิตคนเราเกิดมาเพื่ออะไร เพื่อตัวของเราเอง เพื่อบรรเทาทุกข์ยากของคนอื่น เพื่อตามฝันที่ยิ่งใหญ่ เพื่อแบ่งปันความทุกข์กับใครบางคน เพื่อเห็นสิ่งที่สวยงามหรือเพื่อขับเคลื่อนสังคมที่เน่าเฟะ
จนถึงวันนี้ฉันก็ยังไม่รู้คำตอบ หรือแม้ฉันจะอายุ 91 เท่าอลิสาก็อาจจะยังตอบไม่ได้ แต่ถ้าให้เดาก็คงทั้งหมดผสมๆ กันมั้ง
วันนี้ 19 เมษายน พรุ่งนี้ Alisa อลิสา, ยายของฉันจะอายุครบ 91 ปีแล้ว หลายครั้งที่เจอ quote ในโลกออนไลน์ว่า life is short / you only live one ใดๆ พอหันมามองอสิสาก็รู้สึกมีกำลังใจขึ้นมา
ฉันรู้จักอลิสามาตลอดชีวิตของฉัน ตั้งแต่ตอนที่อลิสาบดข้าว ป้อนอาหารให้ในวันที่ฉันยังกินอาหารเองไม่เป็น จนถึงวันที่ฉันต้องบดกล้วย ป้อนข้าวให้อลิสาในวันที่อลิสาไม่มีแรงตักข้าวให้ไม่หกแล้ว
ช่วงเดือนที่แล้วมคนชวนไปดูหนังชิง oscars 2 เรื่องคือ Minari กับ The Father ในช่วงเวลาที่ไล่เลี่ยกัน ทั้ง 2 เรื่องเป็นหนังที่น่าประทับใจ Minari ว่าด้วยเรื่องของครอบครัวคนเกาหลีที่เข้ามาต่อสู้ดิ้นรนเพื่อลงหลักปักฐานในอเมริกา ส่วน The Father นั้นเล่าเรื่องราวของคู่พ่อลูกชาวอังกฤษที่พ่ออายุย่าง 80 มีอาการหลงๆ ลืมๆ แต่ไม่ต้องการให้ลูกสาวจ้างพยาบาลมาช่วยดูแล แม้หนังทั้ง 2 เรื่องจะมีเนื้อหาแตกต่างกันทั้งเชิงวัฒนธรรมและการดำเนินเรื่อง แต่กลับทำให้ฉันรู้สึกเชื่อมโยงไปถึงเรื่องราวของตัวฉันเองและอลิสา คนในครอบครัวที่อายุมากที่สุดที่ฉันผูกพันด้วย เหมือนๆ กันอย่างบอกไม่ถูก
นึกย้อนกลับไปตอนที่ฉันอายุ 20 ตอนนั้นเป็นช่วงที่ได้เริ่มออกเดินทางไปท่องเที่ยวคนเดียว ทำให้เริ่มมีเพื่อนเป็นชาวต่างชาติและได้เรียนรู้วัฒนธรรมตะวันตกในหลายๆ ด้าน แง่มุมที่ทำให้ฉันสนใจปนอิจฉาเล็กๆ คือวัฒนธรรมครอบครัวเดี่ยว ที่เมื่อลูกอายุ 18 ก็จะต้องแยกออกไปใช้ชีวิต ค้นหาตัวตน ลองผิดลองถูกด้วยตนเอง เพื่อนต่างชาติของฉันเลยมีความ independent สูง แตกต่างจากชีวิตของฉันที่เติบโตมาในวัฒนธรรมครอบครัวขยายแบบเอเชียที่ลูกหลายเต็มบ้าน และไม่ว่าฉันจะเลยวัยอายุ 18 มากี่ปี ฉันก็ยังคงเป็นเด็กน้อยในสายตาของ Alisa เสมอ
หนังเรื่อง Minari กับ The Father ทำให้ฉันนึกถึงบทสนทนาที่เคยพูดกับพ่อว่าถ้าเลือกได้ฉันชอบวัฒนธรรมครอบครัวแบบตะวันตกมากกว่า พ่อไม่ได้แย้งฉันในส่วนของอิสระและเสรีที่คงมีมากกว่าจริงๆ แต่พ่อเล่าให้ฟังว่าเพื่อนฝรั่งของพ่อหลายคนก็อิจาความอบอุ่นของครอบครัวแบบเอเชียเหมือนกั นหลายฉากใน Minari ถ่ายทอดความอบอุ่นที่พ่อหมายถึงได้เห็นภาพดี การให้ความสำคัญกับอาหารรสเฉพาะของครอบครัวเรา การนอนเบียดๆ กันหลายคนในครอบครัวบนพื้นในห้องเล็กๆ คำพูดงงๆ ของยายที่เริ่มจะฟังดูมีความหมายเมื่อเราโตขึ้น
ก็จริงของพ่อ สิ่งเหล่านี้คือความอบอุ่นที่ช่วยหล่อเลี้ยงให้หัวใจของฉันมีด้านที่อ่อนโยน และเป็นความทรงจำที่เปล่งประกายในใจเสมอ หลายครั้งที่ฉันมักลืมเรื่องเหล่านี้ไป วันเหล่านั้นมันเริ่มต้นจากตอนที่อลิสาล้มในห้องน้ำแล้วเดินไม่คล่องเหมือนเดิม แต่ละปีที่ผ่านไป ร่างกายของอลิสาก็ถดถอยลงตามลำดับ สวนทางกับความรับผิดชอบของฉันและคนในครอบครัวที่มากขึ้นเรื่อยๆ พอแก่ลง เค้าว่าจะเหมือนค่อยๆ ย้อนกลายเป็นเด็ก ในสายตาฉัน อลิสาตอนนี้คล้ายเด็กขวบกว่าๆ ที่เดินยังไม่แข็ง พูดสื่อสารได้ไม่สมบูรณ์ และในบทครั้งจะยกเหตุผลทั้งโลกมาอธิบาย อลิสาก็ไม่เข้าใจ
ระหว่างที่ดูหนังเรื่อง The Father หลายๆ ฉากที่ดู ฉันมองเห็นหน้าอลิสาซ้อนขึ้นมาแทนตัวละครพระเอก ถ้าไม่ประสบมากับตัวเองก็คงไม่อาจซาบซึ้งกับความสมจริงของตัวละครนี้ได้เลยจนอยากเดินเข้าไปตบบ่าตัวละครลูกในเรื่องอย่างเข้าอกเข้าใจ
ฉันเองก็เจอมาหมดแล้วเช่นกัน ที่ต้องคอบควานหาสร้อยที่ซ่อนไว้ใต้หมอนทั้งวัน การตามอารมณ์ที่ขึ้นลงแบบ rollercoaster หรือที่จู่ๆ คุณเด็กตัวน้อยที่อยู่ในร่างเล็กเหี่ยวย่นนี้ก็จะเกิดจำหน้าฉัน คนที่อาบน้ำให้ทุกวันไม่ได้แต่กลับเอาแต่ถามถึงญาติคนอื่นๆ ที่นานๆ มาที คุณอ่านมาถึงตรงนี้ก็คงจินตนาการออกว่าการเลี้ยงคนแก่นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ยิ่งอยู่ในประเทศที่ไม่มีสวัสดิการให้ยิ่งเหนื่อยกว่าในหนังอีกเป็น 2 เท่า
มีประโยคหนึ่งในหนังสือ I Called Him Necktie ที่ทิ้มแทงใจฉันเหลือเกินเขียนไว้ว่า “เราล้วนมีพันธนาการ เราทุกคน แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเราปราศจากความรับผิดชอบ แม้จะไร้ซึ่งอิสรภาพ เราก็ยังต้องตัดสินใจอยู่ตลอดเวลา และต้องรับผิดชอบต่อการตัดสินใจและผลของมันด้วย ดังนั้น เราจึงเป็นอิสระน้อยลงเรื่อยๆ ทุกครั้งที่ตัดสินใจ”
ฉันยอมรับว่าช่วงเวลานี้ที่มีความรับผิดชอบส่วนของการเลี้ยงดูอลิสาเข้ามาจะทำให้ชีวิตของฉันมีอิสระลดลง แต่ความอบอุ่นที่อลิสาเคยมอบให้ยังคงกรุ่นอยู่ในใจ แม้อลิสาจะลุกขึ้นมาทำหัวปลีทอด เมนูโปรดให้ไม่ได้เหมือนเดิมแล้ว แต่คืนก่อน กลางดึก อลิสาละเมอถามฉันว่า ‘อิ่มมั้ยหรือว่าหิวอยู่ น้องตอบยายหน่อย’ ไม่รู้ว่าในฝันอลิสาทำหัวปลีทอดรึเปล่า แต่นั่นความความห่วงใยที่คงฝังลึกไปถึงจิตใต้สำนึกของยายที่มีต่อฉัน
ในสมุดไดอารีปีที่แล้ว ฉันระบายเรื่องความยากเย็นในการดูแลอลิสาไว้เยอะ ท้ายเล่มในวันสุดท้ายของปี ฉันเขียนไว้ว่า ชีวิตคนเราเกิดมาเพื่ออะไร เพื่อตัวของเราเอง เพื่อบรรเทาทุกข์ยากของคนอื่น เพื่อตามฝันที่ยิ่งใหญ่ เพื่อแบ่งปันความทุกข์กับใครบางคน เพื่อเห็นสิ่งที่สวยงามหรือเพื่อขับเคลื่อนสังคมที่เน่าเฟะ
จนถึงวันนี้ฉันก็ยังไม่รู้คำตอบ หรือแม้ฉันจะอายุ 91 เท่าอลิสาก็อาจจะยังตอบไม่ได้ แต่ถ้าให้เดาก็คงทั้งหมดผสมๆ กันมั้ง

AUTHOR