คุยกับ อุกฤษ อุณหเลขกะ ผู้สร้าง Ricult แอพพลิเคชั่นที่อยากลดความเหลื่อมล้ำให้เกษตรกรไทย

อุกฤษ อุณหเลขกะ เป็นโปรแกรมเมอร์ที่หลงใหลในการทำธุรกิจ Ricult

หลังจากจบปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ที่ University of Illinois และปริญญาโทหลักสูตรวิศวกรรมอุตสาหการและบริหารที่ Massachusetts Institute of Technology สหรัฐอเมริกา เขาทำงานในซิลิคอนวัลเลย์อยู่หลายปี ช่วงเวลานั้นเองที่เขาได้ตระหนักถึงสิ่งสำคัญที่ตัวเองอยากทำ

อุกฤษในวัยไม่ถึงสามสิบปีตัดสินใจทิ้งงานที่อเมริกา บินกลับมาประเทศไทยเพื่อฟอร์มทีมสร้างบริษัทสตาร์ทอัพทำแอพพลิเคชั่นชื่อ Ricult (มาจากคำว่า agriculture) ที่เขานิยามเป็น ‘เพื่อนคู่คิด’ ของเกษตรกรไทย เพราะช่วยเหลือตั้งแต่การพยากรณ์วัน-เวลาว่าควรจะหว่านเมล็ดตอนไหนถึงจะได้ผลผลิตเยอะที่สุด ตรวจเช็กปัญหาในแปลงปลูกผ่านภาพถ่ายจากระบบดาวเทียม ไปจนถึงการเชื่อมเกษตรกรกับแหล่งซื้อ-ขายผลผลิตทางการเกษตร

จนถึงตอนนี้ Ricult ถูกใช้โดยเกษตรกรไทยกว่า 3 แสนคน แถมยังขยายความนิยมไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนาม อินโดนีเซีย ลาว และฟิลิปปินส์ นอกจากนี้หนึ่งในผู้ก่อตั้งอย่างอุกฤษยังถูกเชิญไปพูดบนเวที UN ในฐานะเจ้าของสตาร์ทอัพเพื่อสังคมที่น่าจับตามอง

แต่มองย้อนกลับไป อะไรทำให้ชายหนุ่มไฟแรงที่กำลังไปได้ดีในหน้าที่การงานตัดสินใจทิ้งเงินเดือนหลักแสนมาเผชิญความเสี่ยงจากการเปิดธุรกิจของตัวเอง ยามบ่ายที่ใต้เงาไม้ในสวนแห่งหนึ่ง เรานำความสงสัยทั้งหมดนี้ไปถามเขากับตัว

ตอนเด็กๆ คุณเติบโตมากับบรรยากาศของการทำไร่ทำสวนหรือเปล่า Ricult

ใช่ เริ่มมาจากคุณพ่อมีสวนทุเรียน สวนยูคาลิปตัสอยู่ที่ฉะเชิงเทรา ตัวผมเกิดและโตที่กรุงเทพฯ แต่ไปที่นั่นค่อนข้างบ่อย คุณพ่อชอบปลูกต้นไม้มาก ชอบไปตลาดต้นไม้ ไปดูเกษตรกรทำสวน นอกจากสวนของเรายังมีสวนใกล้บ้านของเกษตรกรคนอื่น ก็เลยคลุกคลีกับเกษตรกรและลูกหลานของพวกเขามาตั้งแต่เด็กๆ ทำให้ผมผูกพันและเข้าใจพวกเขา

ไอเดียของการนำเทคโนโลยีมาพัฒนาการเกษตรมาจากไหน

ผมค่อนข้างเป็นเด็กเนิร์ด ชอบเลข ชอบวิทยาศาสตร์ตั้งแต่เด็ก พอจบปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ที่อเมริกาก็ไปคลุกคลีในแวดวงสตาร์ทอัพ ตอนนั้นสตาร์ทอัพกำลังบูม ผมก็เริ่มมีเป้าหมายว่าอยากเอาเทคโนโลยีกลับมาพัฒนาเมืองไทย คำถามคือจะพัฒนาอะไรที่ตัวเรามีแพสชั่น รับความเสี่ยงจากมันได้ อีกข้อคือตลาดของมันต้องใหญ่พอ

ผมคิดถึงตลาดเกษตรกร ซึ่งมีคนอยู่ในตลาดนี้มากกว่า 20 ล้านคนหรือกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ของประเทศ แล้วมันก็ตรงกับความชอบของเราตั้งแต่เด็กอยู่แล้ว ทำให้รู้สึกว่าเป็น perfect match จริงๆ แล้วผมมองว่าประเทศไทยต้องพัฒนาอยู่สองเรื่องหลัก คือสาธารณสุขกับการศึกษา แต่ผมเป็นคนกลัวเลือด (หัวเราะ) และมองว่าการศึกษามีคนช่วยแก้ปัญหาเยอะแล้ว แต่เกษตรกรรมซึ่งเป็นประเด็นที่ใหญ่เท่ากับการศึกษากลับไม่ค่อยมีคนเอาเทคโนโลยีมาช่วย นั่นคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิด Ricult

ขั้นตอนการพัฒนาแอพพลิเคชั่น Ricult เป็นยังไง Ricult

ตามสถิติแล้วสังคมเกษตรบ้านเรามีรายได้เฉลี่ยแค่คนละ 6,000 บาทต่อเดือน ปัญหาคือเขาไม่ได้มีรายได้ทุกเดือน แค่ปีละ 1-2 ครั้ง เขาหมุนเงินไม่ทันแล้วอยู่ดีๆ ก็มีค่านู่นค่านี่ที่ไม่คาดคิดโผล่ขึ้นมาเต็มไปหมด สังคมเกษตรกรเป็นสังคมที่ค่อนข้างใหญ่แต่มีความยากจนสูง บางปีก็ไม่ได้เงินเพราะต้องเจอภัยแล้ง นั่นคือสิ่งที่ผมมองว่าเป็นบ่อเกิดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย

สิ่งหนึ่งที่ผมมองว่าเป็นโอกาสคือเกษตรกรบ้านเราเข้าถึงสมาร์ตโฟนมากกว่าแต่ก่อน หมายความว่าเราสามารถเข้าถึงคนรายบุคคลเป็นล้านๆ คนได้โดยที่ไม่ต้องเดินทาง ทำให้เกิดคอนเซปต์ว่าถ้าเราสามารถทำแอพฯ ที่กระจายไปทั่วประเทศและเข้าถึงเกษตรกรรายบุคคลได้ เราจะไปช่วยเขาในมิติไหนบ้าง

เราไปคุยกับเกษตรกรประมาณ 200-300 คนเพื่อทำความเข้าใจปัญหาอย่างถ่องแท้ แล้วก็ได้รู้ว่าปัญหาเริ่มตั้งแต่การเพาะปลูกเลย ปลูกข้าวทีต้องพึ่งพาน้ำฝน อากาศ ซึ่งตอนนี้มีปัญหาโลกร้อนทำให้อากาศแปรปรวน ฝนตกไม่เป็นฤดู มันส่งผลถึงเขาในแง่ที่ว่า ถ้าลงเมล็ดเพื่อปลูกห่างกันแค่ 2 อาทิตย์ ผลผลิตจะห่างกันประมาณ 20-30 เปอร์เซ็นต์ และนั่นหมายถึงรายได้ที่น้อยลงจนต้องไปกู้ยืมเงินนอกระบบ แปลว่าถ้าเกิดเราไม่ช่วยเกษตรกรเพิ่มรายได้ เขาก็จะติดอยู่ในวงเวียนนี้ แทบไม่มีเงินไปทำอย่างอื่นเลย

แล้ว Ricult ช่วยแก้ปัญหาให้เกษตรกรไทยยังไง Ricult

คอนเซปต์ของ Ricult เป็นแอพฯ เพื่อนคู่คิดเกษตรกร ไม่ว่าเกษตรกรจะลงปลูก ซื้อปุ๋ย เก็บเกี่ยว หรือขายอาหารเข้าสู่ตลาด เขาก็สามารถพึ่งพาแอพฯ เราได้

แอพฯ ของเราใช้เทคโนโลยีในการวิเคราะห์ข้อมูลช่วยเกษตรกรตัดสินใจแบบครบวงจร มีทีมวิเคราะห์สภาพอากาศเพื่อทำนายเวลาหว่านเมล็ด มีภาพถ่ายดาวเทียมที่ทำให้เกษตรกรเห็นปัญหาระหว่างเพาะปลูก พอเกษตรกรเริ่มเก็บเกี่ยว เราก็มีตลาดในการช่วยเขาขายผลผลิตด้วยการเชื่อมเขากับตลาด ร้านค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต มีการรวมตัวเกษตรกรเพื่อซื้อปุ๋ยจนได้ราคาส่ง นี่คือตัวอย่างที่ช่วยให้เกษตรกรลดต้นทุน นอกจากนี้เกษตรกรยังหารายได้เพิ่มด้วยการขายซากพืชที่เหลืออยู่ในแปลงให้โรงไฟฟ้าที่ผลิตพลังงานสะอาดได้ ก็จะช่วยให้เขาลดการเผาที่ทำให้เกิดปัญหามลพิษ การช่วยทั้งเกษตรกรและช่วยทั้งโลกเป็นสิ่งที่ผมให้ความสำคัญพอๆ กับการพัฒนาแอพฯ

ในมุมมองของคนรุ่นใหม่ที่เติบโตพร้อมกับเทคโนโลยีซึ่งเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิต เราจะสามารถใช้ประโยชน์จากมันได้ยังไงบ้าง

ผมเชื่อว่าเทคโนโลยีที่ดีควรจะทำให้ชีวิตเราสะดวกสบายมากขึ้น แต่ต้องมาดูก่อนว่ามันแก้ปัญหาที่เรามีได้ไหม เช่น ส่วนตัวผมเป็นคนขี้เกียจลุกขึ้นมาปิดไฟตอนนอน ที่บ้านก็จะติด smart light ที่สามารถกดทุกอย่างบนมือถือได้ 

นอกจากตอบโจทย์ตัวเราแล้ว ผมว่ามันต้องไม่ทำให้โลกแย่ลงด้วย เพราะโลกกับเราสัมพันธ์กันไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ตัวอย่างปัญหาของโลกตอนนี้ที่ผมรู้สึกว่าเกี่ยวพันกับชีวิตมากๆ คือมลพิษในอากาศที่ส่งผลต่อโลกร้อน

คำถามคือจะทำยังไงให้ลดโลกร้อนได้ ผมคิดว่าเราต้องเลือกยานพาหนะที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณที่ต่ำ เช่น New Honda City e:HEV ที่นอกจากจะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว เครื่องยนต์ยังแรงเพราะเป็นระบบขับเคลื่อน Sport Hybrid i-MMD ซึ่งเป็นระบบ full hybrid มาพร้อมเครื่องยนต์ขนาด 1.5 ลิตร 4 สูบ 16 วาล์ว แรงบิดสูงสุด 253 นิวตันเมตร ผสานพลังมอเตอร์ไฟฟ้า 2 ตัว พร้อมเกียร์อัตโนมัติอัตราทดแปรผันต่อเนื่องไฟฟ้า (E-CVT) และแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนที่มีประสิทธิภาพสูง แถมยังให้อัตราการประหยัดน้ำมันที่ดีมาก เป็นยานพาหนะที่กำลังอยู่ในเทรนด์ที่คนรุ่นใหม่หลายคนสนใจ

New Honda City e:HEV ตอบโจทย์ชีวิตคุณได้ยังไงบ้าง

ตอบโจทย์ในเรื่องของความเร็ว ความแรง ประหยัดน้ำมัน ดีไซน์สปอร์ตและมีเทคโนโลยีความปลอดภัยมาแบบจัดเต็ม สามารถขับขี่ในตัวเมืองได้สบายๆ ทำให้การใช้ชีวิตในเมืองไม่ลำบาก

อีกทั้งยังมีตัว Honda CONNECT ที่ช่วยให้ชีวิตผมง่ายขึ้นเพราะสามารถตรวจสอบสถานะความพร้อมของรถ ตำแหน่งพิกัดรถยนต์ ข้อมูลการขับขี่ แถมยังเป็นผู้ช่วยในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินต่างๆ ผ่านการทำงานของแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ตโฟนซึ่งสะดวกสบายมาก

ข้อที่สอง ผมต้องขับรถไปต่างจังหวัดบ่อยเพื่อไปหาเกษตรกรที่โคราช เขาใหญ่ สุพรรณบุรี รถยนต์ที่ขับจึงมีความสำคัญมากๆ ด้วยห้องโดยสารที่กว้างขวาง ทำให้การขับขี่สะดวกสบาย พร้อมกับพวงมาลัยแบบมัลติฟังก์ชั่น และมาตรวัดแสดงข้อมูลการขับขี่แบบ TFT ขนาด 7 นิ้ว รวมถึงมีระบบเครื่องเสียงหน้าจอสัมผัสขนาด 8 นิ้วแบบ advanced touch รองรับ Apple CarPlay เชื่อมต่อกับไอโฟนได้ง่ายๆ สามารถฟังเพลง ใช้ Google Maps ดูแผนที่ เวลาจะขับไปไหนก็สะดวกสบายไม่ต้องมาคอยดูผ่านมือถือ

และอย่างที่บอกว่ารถคันนี้เป็นรถยนต์ระบบ full hybrid ที่แรงและประหยัดน้ำมัน การที่เป็นรถส่งเสริมเรื่องพลังงานทางเลือกนั้นเชื่อมโยงกับงานที่ผมทำ นั่นคือพยายามผลักดันเกษตรกรให้เปลี่ยนซากพืชเป็นพลังงานสะอาด การใช้รถคันนี้ไม่ทำให้รู้สึกย้อนแย้งกับความเชื่อของผม

นอกจากนี้ ยังมีเทคโนโลยีไหนของ New Honda City e:HEV ที่คุณประทับใจอีกไหม

จริงๆ รถคันนี้มีเทคโนโลยีความปลอดภัยอัจฉริยะ Honda SENSING ที่น่าสนใจ ซึ่งจะมีทั้งหมด 5 ฟังก์ชั่น แต่ฟังก์ชั่นที่ผมประทับใจและรู้สึกว่าตอบโจทย์เป็นพิเศษคือ Collision Mitigation Braking System (CMBS) คือระบบเตือนการชนพร้อมระบบช่วยเบรก ซึ่งช่วยลดความรุนแรงจากอุบัติเหตุ โดยเตือนให้คนขับลดความเร็วเมื่อมีรถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือคนเดินถนนในระยะไม่ปลอดภัย

นอกจากนี้ยังมี Adaptive Cruise Control (ACC) คือระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติแบบแปรผันที่จะควบคุมความเร็วให้คงที่ตามที่เราตั้งค่าไว้ และจะปรับความเร็วอัตโนมัติโดยใช้กล้องตรวจจับรถคันหน้าเพื่อรักษาระยะห่างกับรถคันข้างหน้าแบบเหมาะสมที่สุด

อีก 2 ระบบความปลอดภัยที่ผมชอบคือ Honda LaneWatch ที่แสดงมุมอับสายตาเวลาเปลี่ยนเลน ซึ่งผมประทับใจเพราะต้องขับรถไปต่างจังหวัดบ่อย ช่วยลดจุดบอดในการมองเห็นของกระจกมองข้างด้านซ้าย ทำให้ผมขับขี่ถึงจุดหมายได้อย่างปลอดภัย อีกระบบคือ Walk Away Auto Lock บางทีผมทำงานหนักอาจจะมีเบลอๆ บ้าง ระบบนี้ช่วยให้ผมหมดกังวลหากลืมล็อกรถ เพราะมันจะล็อกอัตโนมัติเมื่อผมเดินห่างจากตัวรถ แต่กุญแจต้องอยู่กับตัว

การใช้รถที่มีเทคโนโลยีที่ช่วยโลกได้สำคัญกับคุณยังไง

คนส่วนมากอาจตั้งคำถามว่าช่วยโลกทำไม ทำไปไม่เห็นส่งผลต่อเราเลย แต่จริงๆ มันส่งผลในแง่ที่ว่า ถ้าเรายังซื้อรถพลังงานสกปรกไปเรื่อยๆ มันก็จะยิ่งทำให้ภาวะโลกร้อนทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะในงานที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกร ถ้าฝนตกไม่ตรงตามฤดูเพราะเกิดโลกร้อนขึ้น เกษตรกรก็ปลูกข้าวไม่ได้ ราคาอาหารแพงขึ้นเพราะเกษตรกรไม่สามารถปลูกได้มีประสิทธิภาพมากที่ควรเพราะมีโลกร้อนเข้ามา

พอเกิดโลกร้อน อากาศจะมีอุณหภูมิสูง ทำให้ขั้วโลกเหนือน้ำแข็งละลาย มันดูเหมือนไกลตัว แต่สิ่งที่กระทบเราคือน้ำทะเลจะท่วมขึ้นมา คำพูดที่ว่ากรุงเทพฯ จะจมน้ำใน 30 ปีก็อาจเป็นไปได้

ซึ่งตอนนี้ผมมองว่า รถที่เหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบันมากที่สุดคือรถระบบ full hybrid อย่าง New Honda City e:HEV ที่ทั้งแรงล้ำ ประหยัดเกินใคร ทำให้ผมมั่นใจมากขึ้น และยังมีฟังก์ชั่นจัดเต็มในราคาที่เข้าถึงได้ มันก็คุ้มค่าในแง่ที่ว่าเราได้ช่วยโลก และในเวลาเดียวกันมันช่วยเราประหยัดเงินในกระเป๋าด้วย


สัมผัสประสบการณ์ New Honda City e:HEV ด้วยการทดลองขับได้แล้วที่โชว์รูม Honda ทั่วประเทศ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ bit.ly/3qOZJQR

AUTHOR

PHOTOGRAPHER

ณัฐวัฒน์ ตั้งธนกิจโรจน์

ชื่อโทนี่ แต่พวกเขามักจะรู้จักผมในนาม Whereisone