อำนาจภายในเล็กๆ ของฉันมันยิ่งใหญ่ไม่แพ้อำนาจเผด็จการหรอก

อำนาจภายใน power within

อำนาจที่ฉันมี ที่คุณมี ที่เขามี ที่เรามีร่วมกันก่อให้เกิดวัฒนธรรมอำนาจแบบไหน?
วัฒธรรมนั้นกดทับใครไหม? หรือขับเคลื่อนสังคมไปข้างหน้า? แล้วอำนาจที่มีนั้นสร้างความหวาดกลัวหรือว่าความรัก?
อาทิตย์ที่แล้วฉันมีโอกาสได้ online meeting สั้นๆ กับกลุ่มศิลปินที่ทำงานตั้งคำถามกับสังคม ฉันโชคดีได้จับพลัดจับผลูเข้าไปร่วมกับเขาด้วยแม้งานที่ตัวเองทำนั้นจะน้อยนิด เทียบไม่ได้กับศิลปินคนอื่นๆ แต่บทสนทนาสั้นๆ ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์วันนั้นจุดประกายหลายๆ คำถามในใจฉันจนอยากนำมาแบ่งปันกับทุกคนในบทบันทึกนี้
ในช่องสี่เหลี่ยม zoom วันนั้นมีหลายคนคุ้นหน้าคุ้นตา guest speaker หลักของ meeting ในวันนั้นคือพี่อวยพร เขื่อนแก้ว พี่อวยพรเป็นเฟมินิสต์ที่ต่อสู้เรื่องความเท่าเทียมทางเพศในสังคมไทยมากว่า 30 ปีแล้ว ใครสนใจไป google ฟังบทสัมภาษณ์ที่ผ่านมาของพี่เค้าได้
พี่อวยพรชวนพวกเราทุกคนตั้งคำถามถึงการมีอยู่ของวัฒนธรรมอำนาจและรูปแบบของมัน โดยอ้างอิงจากแนวคิดของ Riane Eisler แอ็กทิวิสต์ชาว Australian born American Eisler ได้จำแนกวัฒนธรรมเชิงสังคมไว้หลักๆ 2 แบบคือ Dominator Culture (วัฒนธรรมอำนาจเหนือกว่า) กับ Partnership Culture (วัฒนธรรมอำนาจร่วม)
Dominator Culture คือวัฒนธรรมที่เชื่อว่าต้องมีอำนาจหนึ่งสูงกว่าอีกอำนาจหนึ่งเสมอ เช่น ชนชั้น, เพศ, ชาติพันธุ์, ความพิการทางร่างกาย หรือค่านิยมว่ามนุษย์นั้นอยู่เหนือธรรมชาติ รวมถึงแนวคิดแบบอนุรักษนิยมก็นับเป็นวัฒนธรรมอำนาจเหนือกว่า
อำนาจในรูปแบบนี้ หลายคนถูกหล่อหลอมมาตั้งแต่ในวัยเด็กจากการบังคับให้เชื่อฟัง ห้ามตั้งคำถาม อาจจะเกิดขึ้นจากจุดเล็กๆ อย่างความสัมพันธ์ในครอบครัว ไปจนถึงโรงเรียนหรือที่ทำงาน และสังคมที่ใหญ่กว่านั้น Dominator Culture คงอยู่ได้ด้วยการสร้างความหวาดกลัว แหม ฟังแล้วคุ้นชินเพราะเหมือนสังคมไทยยุคเผด็จการที่เป็นอยู่ตอนนี้เลย
รัฐหล่อหลอมให้เราไม่กล้าคิดต่างด้วยการสร้างความหวาดกลัวนี้ หากใครตั้งคำถามผิดแปลกก็ยึดเสรีภาพเค้าเสีย คนจะได้ไม่กล้าทำตาม
ในทางกลับกัน Partnership Culture หรือวัฒนธรรมอำนาจร่วมนั้นเกิดขึ้นจากความเคารพ ความรัก และความเข้าใจถึงความเท่าเทียมในความหลากหลาย ความสัมพันธืในรูปแบบนี้ไม่จำเป็นต้องมีการควบคุมที่เข้มงสด แต่ช่วยให้เราเติบโตทั้งทางอารมณ์และจิตวิญญาณ วัฒนธรรมนี้สามารถเกิดขึ้นในระดับบุคคล ครอบครัว แฟน และสังคมได้ หากเกิดความขัดแย้งก็เป็นโอกาสในการเรียนรู้ ใช้ความคิดสร้างสรรค์ และใช้อำนาจในรูปแบบ empower มากกว่า disempower ผู้อื่น
เพื่อนศิลปินร่วมแชร์ประสบการณ์ใน dominator culture ให้ฟังหลายแบบ เช่น ความรู้สึกตอนไปเป็นทหารเกณฑ์ที่ต้องเคารพรุ่นพี่มากๆ และถูกข่มขู่ให้หวาดกลัว หรือปรากฏการณ์ไฟป่าภาคเหนือที่ชาวบ้าน ชาวเขา เกษตรกรมักถูกโยนความผิดให้ทั้งที่แท้จริงแล้วมันเป็นปัญหาระดับโครงสร้างของระบบทุนนิยมผูกขาดที่กดทับเขามาอีกที ส่วนตัวฉันเองได้แชร์ประสบการณ์ตาสว่างจาก beauty standard ลวงตาในฐานะศิษย์เก่าแฟชั่นและในฐานะผู้หญิงที่ถูกกดทับในสังคมปิตาธิปไตย
จะเห็นได้ว่าเราทุกคนต่างมีประสบการณ์ร่วมในวัฒนธรรม dominator กันทั้งหมดไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เราต่างคุ้นชินกับมันจนบางครั้งเราอาจไม่ทันได้รู้ตัว ‘อำนาจภายใน’ (power within) จึงสำคัญ power within คือศักยภาพในตวเราที่ฝึกฝนได้เพื่อเผชิญกับความอยุติธรรมอย่างสันติวิธี. ตัวอย่างเช่น ความเชื่อมั่นในตนเอง, การไม่สยบยอม, การให้กำลังใจ, เข้าใจสถานการณ์ หรือการเผชิญหน้า
เมื่อเราถูกกระทำจากอำนาจเหนือกว่า เราจึงใช้อำนาจภายในเพื่อสร้างวัฒนธรรมอำนาจร่วม (partnership culture)
ในการใช้ชีวิตของพวกเราในประเทศที่เต็มไปด้วยอำนาจนิยม กลุ่มคนมากมายรวมทั้งตัวฉันด้วย เราต่างอยากเป็นส่วนหนึ่งขับเคลื่อนให้สังคมเราดีขึ้น ยุติธรรมขึ้น น่าอยู่ขึ้นกว่านี้ บทสนทนาที่เกิดขึ้นทางออนไลน์ในช่วงกักตัวครั้งนี้ทำให้ฉันได้มองเห็นระบบ/วัฒนธรรมโครงสร้างที่เราอยากเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจนขึ้น การได้พูดคุยกับคนที่มีความหวังหรือความฝันเหมือนๆ กันนั้นก็ยิ่งทำให้ฉันเข้าใจความน่ารื่นรมย์ของ partnership culture มากขึ้นไปอีก
การเปลี่ยนแปลง ถ่ายเท กระจายอำนาจให้เท่าเทียมคงไม่อาจเกิดขึ้นได้ในหนึ่งหรือสองวัน แต่ฉันเชื่อในอำนาจร่วมกันของประชาชนและอำนาจภายในเล็กๆ ของฉันว่ามันยิ่งใหญ่ไม่แพ้อำนาจเผด็จการหรอก
อำนาจภายใน
อำนาจที่ฉันมี ที่คุณมี ที่เขามี ที่เรามีร่วมกันก่อให้เกิดวัฒนธรรมอำนาจแบบไหน?
วัฒธรรมนั้นกดทับใครไหม? หรือขับเคลื่อนสังคมไปข้างหน้า? แล้วอำนาจที่มีนั้นสร้างความหวาดกลัวหรือว่าความรัก?
อาทิตย์ที่แล้วฉันมีโอกาสได้ online meeting สั้นๆ กับกลุ่มศิลปินที่ทำงานตั้งคำถามกับสังคม ฉันโชคดีได้จับพลัดจับผลูเข้าไปร่วมกับเขาด้วยแม้งานที่ตัวเองทำนั้นจะน้อยนิด เทียบไม่ได้กับศิลปินคนอื่นๆ แต่บทสนทนาสั้นๆ ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์วันนั้นจุดประกายหลายๆ คำถามในใจฉันจนอยากนำมาแบ่งปันกับทุกคนในบทบันทึกนี้
ในช่องสี่เหลี่ยม zoom วันนั้นมีหลายคนคุ้นหน้าคุ้นตา guest speaker หลักของ meeting ในวันนั้นคือพี่อวยพร เขื่อนแก้ว พี่อวยพรเป็นเฟมินิสต์ที่ต่อสู้เรื่องความเท่าเทียมทางเพศในสังคมไทยมากว่า 30 ปีแล้ว ใครสนใจไป google ฟังบทสัมภาษณ์ที่ผ่านมาของพี่เค้าได้
พี่อวยพรชวนพวกเราทุกคนตั้งคำถามถึงการมีอยู่ของวัฒนธรรมอำนาจและรูปแบบของมัน โดยอ้างอิงจากแนวคิดของ Riane Eisler แอ็กทิวิสต์ชาว Australian born American Eisler ได้จำแนกวัฒนธรรมเชิงสังคมไว้หลักๆ 2 แบบคือ Dominator Culture (วัฒนธรรมอำนาจเหนือกว่า) กับ Partnership Culture (วัฒนธรรมอำนาจร่วม)
Dominator Culture คือวัฒนธรรมที่เชื่อว่าต้องมีอำนาจหนึ่งสูงกว่าอีกอำนาจหนึ่งเสมอ เช่น ชนชั้น, เพศ, ชาติพันธุ์, ความพิการทางร่างกาย หรือค่านิยมว่ามนุษย์นั้นอยู่เหนือธรรมชาติ รวมถึงแนวคิดแบบอนุรักษนิยมก็นับเป็นวัฒนธรรมอำนาจเหนือกว่า
อำนาจในรูปแบบนี้ หลายคนถูกหล่อหลอมมาตั้งแต่ในวัยเด็กจากการบังคับให้เชื่อฟัง ห้ามตั้งคำถาม อาจจะเกิดขึ้นจากจุดเล็กๆ อย่างความสัมพันธ์ในครอบครัว ไปจนถึงโรงเรียนหรือที่ทำงาน และสังคมที่ใหญ่กว่านั้น Dominator Culture คงอยู่ได้ด้วยการสร้างความหวาดกลัว แหม ฟังแล้วคุ้นชินเพราะเหมือนสังคมไทยยุคเผด็จการที่เป็นอยู่ตอนนี้เลย
รัฐหล่อหลอมให้เราไม่กล้าคิดต่างด้วยการสร้างความหวาดกลัวนี้ หากใครตั้งคำถามผิดแปลกก็ยึดเสรีภาพเค้าเสีย คนจะได้ไม่กล้าทำตาม
ในทางกลับกัน Partnership Culture หรือวัฒนธรรมอำนาจร่วมนั้นเกิดขึ้นจากความเคารพ ความรัก และความเข้าใจถึงความเท่าเทียมในความหลากหลาย ความสัมพันธืในรูปแบบนี้ไม่จำเป็นต้องมีการควบคุมที่เข้มงสด แต่ช่วยให้เราเติบโตทั้งทางอารมณ์และจิตวิญญาณ วัฒนธรรมนี้สามารถเกิดขึ้นในระดับบุคคล ครอบครัว แฟน และสังคมได้ หากเกิดความขัดแย้งก็เป็นโอกาสในการเรียนรู้ ใช้ความคิดสร้างสรรค์ และใช้อำนาจในรูปแบบ empower มากกว่า disempower ผู้อื่น
เพื่อนศิลปินร่วมแชร์ประสบการณ์ใน dominator culture ให้ฟังหลายแบบ เช่น ความรู้สึกตอนไปเป็นทหารเกณฑ์ที่ต้องเคารพรุ่นพี่มากๆ และถูกข่มขู่ให้หวาดกลัว หรือปรากฏการณ์ไฟป่าภาคเหนือที่ชาวบ้าน ชาวเขา เกษตรกรมักถูกโยนความผิดให้ทั้งที่แท้จริงแล้วมันเป็นปัญหาระดับโครงสร้างของระบบทุนนิยมผูกขาดที่กดทับเขามาอีกที ส่วนตัวฉันเองได้แชร์ประสบการณ์ตาสว่างจาก beauty standard ลวงตาในฐานะศิษย์เก่าแฟชั่นและในฐานะผู้หญิงที่ถูกกดทับในสังคมปิตาธิปไตย
จะเห็นได้ว่าเราทุกคนต่างมีประสบการณ์ร่วมในวัฒนธรรม dominator กันทั้งหมดไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เราต่างคุ้นชินกับมันจนบางครั้งเราอาจไม่ทันได้รู้ตัว ‘อำนาจภายใน’ (power within) จึงสำคัญ power within คือศักยภาพในตวเราที่ฝึกฝนได้เพื่อเผชิญกับความอยุติธรรมอย่างสันติวิธี. ตัวอย่างเช่น ความเชื่อมั่นในตนเอง, การไม่สยบยอม, การให้กำลังใจ, เข้าใจสถานการณ์ หรือการเผชิญหน้า
เมื่อเราถูกกระทำจากอำนาจเหนือกว่า เราจึงใช้อำนาจภายในเพื่อสร้างวัฒนธรรมอำนาจร่วม (partnership culture)
ในการใช้ชีวิตของพวกเราในประเทศที่เต็มไปด้วยอำนาจนิยม กลุ่มคนมากมายรวมทั้งตัวฉันด้วย เราต่างอยากเป็นส่วนหนึ่งขับเคลื่อนให้สังคมเราดีขึ้น ยุติธรรมขึ้น น่าอยู่ขึ้นกว่านี้ บทสนทนาที่เกิดขึ้นทางออนไลน์ในช่วงกักตัวครั้งนี้ทำให้ฉันได้มองเห็นระบบ/วัฒนธรรมโครงสร้างที่เราอยากเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจนขึ้น การได้พูดคุยกับคนที่มีความหวังหรือความฝันเหมือนๆ กันนั้นก็ยิ่งทำให้ฉันเข้าใจความน่ารื่นรมย์ของ partnership culture มากขึ้นไปอีก
การเปลี่ยนแปลง ถ่ายเท กระจายอำนาจให้เท่าเทียมคงไม่อาจเกิดขึ้นได้ในหนึ่งหรือสองวัน แต่ฉันเชื่อในอำนาจร่วมกันของประชาชนและอำนาจภายในเล็กๆ ของฉันว่ามันยิ่งใหญ่ไม่แพ้อำนาจเผด็จการหรอก
อำนาจภายใน
อำนาจภายใน
Dominator Culture
อำนาจภายใน
Partnership Culture
อำนาจภายใน
Power Within

AUTHOR