‘ธุรกิจดองศพทหาร’ สตาร์ทอัพจากยุคสงครามที่อับราฮัม ลินคอล์น ยังใช้บริการ

เมื่อพูดถึงการดองศพผู้นำ หลายคนมักนึกถึงวลาดีมีร์ เลนิน นักปฏิวัติมาร์กซิส หัวหน้าพรรคบอลเชวิก และบิดาแห่งสหภาพโซเวียตผู้ที่ผ่านกรรมวิธีดองศพหลังเสียชีวิตไปในปี 1924 การดองศพของเลนินเกิดขึ้นแบบไม่ได้ตั้งใจ แต่เป็นการตัดสินใจเฉพาะหน้าของรัฐเพื่อรับมือกับคลื่นประชาชนจำนวนมหาศาลที่เดินทางมายังมอสโกเพื่อเคารพศพท่านผู้นำอย่างต่อเนื่องยาวนานหลายเดือน ธุรกิจดองศพทหาร

แม้ว่าศพของเลนินจะถูกเก็บรักษามานานจนถึงปัจจุบัน จนมีสถานะกึ่งวัตถุบูชาและกลายมาเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติ แต่รู้หรือไม่ว่าก่อนเลนินจะเสียชีวิตเกือบร้อยปี เคยมีผู้นำอีกท่านที่ผ่านประสบการณ์คล้ายกันมาก่อน ต่างกันที่การดองศพครั้งนั้นถูกวางแผนอย่างตั้งใจ แถมศพที่ว่ายังถูกพาไปพบประชาชนในพื้นที่ต่างๆ รวมระยะทาง 1,654 ไมล์ใน 13 วัน ธุรกิจดองศพทหาร

เขาคนนั้นคือ อับราฮัม ลินคอล์น อดีตประธานาธิบดีของอเมริกา ผู้ชนะในสงครามกลางเมืองและนำอเมริกาไปสู่การเลิกทาสได้สำเร็จ

ธุรกิจดองศพทหาร

ธุรกิจรับดองศพทหาร สตาร์ทอัพจากสงครามกลางเมือง

ในปี 1861-1865 อเมริกาได้ก้าวเข้าสู่สงครามกลางเมือง อันเป็นภาวะความขัดแย้งภายในที่สร้างความเสียหายครั้งใหญ่ และเนื่องจากทหารที่เข้าร่วมรบในทั้งสองฝั่งล้วนเป็นประชาชนในชาติ การส่งศพทหารกลับสู่บ้านเกิดจึงกลายเป็นประเด็นที่ทั้งชาติให้ความสนใจ แม้ว่าสมรภูมิจะอยู่ในประเทศและการติดตามหาศพผู้เสียชีวิตจะไม่ยากเหมือนคราวไปรบในต่างแดน แต่ปัญหาติดอยู่ที่การขนส่งศพผู้เสียชีวิตเป็นระยะทางไกลในยุคที่ไม่มีห้องเย็นมักส่งผลเลวร้ายเมื่อร่างผู้เสียชีวิตเน่าสลายระหว่างทาง และส่งกลิ่นเหม็นอย่างร้ายกาจแม้มีการปิดผนึกโลงศพเป็นอย่างดี

เมื่อความต้องการที่จะรับศพคืนของครอบครัวพุ่งสูงขึ้นโดยเฉพาะกับครอบครัวจากฝ่ายเหนือ (เนื่องจากสมรภูมิรบส่วนใหญ่อยู่ในฝั่งใต้) เลยมีคนหัวใส นำเทคนิคดองศพที่กำลังเป็นที่นิยมในยุโรปเข้ามาให้บริหาร ผู้สมัครเข้ารับบริการดองศพอาจเป็นทหารในกองทัพที่ยอมควักกระเป๋าจ่ายเพื่อดองศพตัวเองหากเสียชีวิต (ภายหลังกองทัพประกาศห้ามไม่ให้ตัวแทนจากบริษัทดองศพเข้ามาเสนอขายบริการเพราะมีผลด้านขวัญกำลังใจ) หรือบางครั้งบรรดาครอบครัวของทหารที่ทำสัญญาไว้ก่อนหน้าก็ขอให้ตัวแทนจากบริษัทดองศพจัดการพาร่างบุคคลอันเป็นที่รักกลับมา

ธุรกิจดองศพทหาร
หมอกำลังดองศพทหารที่เสียชีวิตในสงครามกลางเมือง / Image : smithsonianmag.com

เทคนิคการดองศพในยุคนั้นพัฒนาจากแนวคิดของ Jean-Nicolas Gannal นักเคมีชาวฝรั่งเศสที่ตีพิมพ์วิธีการดองศพรูปแบบใหม่ในนิตยสาร Histoire des Embaumements เมื่อปี 1838 แนวทางของแกนนัลคือการแทนที่เลือดของผู้เสียชีวิตด้วยสารรักษาสภาพศพ (ในยุคนั้นนิยมใช้สารหนูและปรอท) ส่วนค่าบริการก็ต่างกันสำหรับทหารในแต่ละชั้นยศ คือ 30 ดอลลาร์สหรัฐสำหรับพลทหาร (ประมาณ 900 ดอลลาร์สหรัฐหรือ 30,000 บาทตามค่าเงินปัจจุบัน) และ 80 ดอลลาร์สหรัฐสำหรับนายทหาร (ประมาณ 2,500 ดอลลาร์สหรัฐหรือ 82,000 บาทตามค่าเงินปัจจุบัน) 

ปรากฏว่าธุรกิจดองศพทหารได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกับครอบครัวร่ำรวยที่แบกรับค่าใช้จ่ายไหว กลายเป็นว่าข้างๆ สนามรบถึงกับมีเต็นท์พิเศษสำหรับดองศพตั้งอยู่ไม่ไกล ธุรกิจประเภทนี้ดำเนินไปอย่างราบรื่นกระทั่งเกิดคดีนักดองศพแย่งศพนายทหารกัน (โดยเฉพาะศพของนายทหารยศสูงๆ ที่ได้ราคาดี) นำไปสู่การที่กระทรวงการสงครามต้องออกกฎอย่างเป็นทางการ บังคับให้ผู้รับดองศพที่มีใบอนุญาตเท่านั้นที่สามารถดำเนินกิจการในพื้นที่สงครามได้ และกำหนดราคามาตรฐานเพื่อไม่ให้มีการโก่งราคาอีกด้วย

ธุรกิจดองศพทหาร
เต็นท์พิเศษสำหรับดองศพ / Image : connectingdirectors.com

การเดินทางหลังความตายของอับราฮัม ลินคอล์น

กล่าวกันว่าตลอดช่วงเวลา 4 ปีของสงคราม มีทหารอเมริกันประมาณ 40,000 นายจากทั้งสองฝั่งเข้ารับบริการดองศพ (จากจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด 6 แสนนาย) หนึ่งในนายทหารชื่อดังที่เข้ารับบริการดองศพคือพันเอก Elmer Ellsworth เพื่อนรักของอับราฮัม ลินคอล์น และเป็นนายทหารคนแรกจากฝั่งเหนือที่เสียชีวิตในสงคราม 

เอลล์สเวิร์ทเสียชีวิตในวันที่ 24 พฤษภาคม ปี 1861 ด้วยการถูกยิงระหว่างปฏิบัติหน้าที่ ลินคอล์นต้องการให้เกียรติเพื่อนทหารที่เสียชีวิตจึงตัดสินใจตั้งศพของเอลล์สเวิร์ทไว้ที่ทำเนียบขาว อย่างไรก็ดีการนำศพนายทหารจากสนามรบกลับไปย่อมไม่สามารถรักษาสภาพให้สมบูรณ์ได้ ตอนนั้นเองที่ Thomas Holmes นายแพทย์จากบรูกลินเสนอวิธีดองศพให้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย 

ลินคอล์นประทับใจเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย หลายปีต่อมาเมื่อ William Lincoln ลูกชายของเขาเสียชีวิตในวัยเพียง 11 ปี ลินคอล์นจึงตัดสินใจนำเทคนิคดองศพมาใช้กับลูกชายเพื่อให้ตัวเขาได้มีเวลามากพอที่จะบอกลา กล่าวกันว่าลินคอล์นมาเยี่ยมลูกชายหลายครั้ง บางครั้งก็ถึงขั้นเปิดโลงศพเพื่อจ้องมองใบหน้าของลูกชาย

William Wallace Lincoln

ลินคอล์นคงไม่รู้ว่าตัวเขาจะประสบชะตากรรมคล้ายกันในอีกไม่ช้า ในปี 1865 เพียง 3 ปีหลังสูญเสียลูกชายสุดที่รัก ลินคอล์นถูกลอบยิงในโรงละครต่อหน้าภรรยา ความตายของเขาสร้างความโศกเศร้าเสียใจให้ผู้คนมากมายจน Edwin Stanton นายกรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสงครามตัดสินใจเรียกนักดองศพเจ้าเดิมที่เคยดูแลร่างของวิลเลียม ลินคอล์น กลับมา

งานครั้งนี้ถือเป็นภารกิจที่สำคัญยิ่ง เพราะเขาต้องรับหน้าที่ดองศพประธานาธิบดีให้พร้อมกับการเดินทาง 2 สัปดาห์ พาศพของลินคอล์นออกทัวร์จากวอชิงตัน ดี.ซี. ไปยังสปริงฟีลด์ เมืองหลวงรัฐอิลลินอยส์ บ้านเก่าที่ลินคอล์นเคยใช้ชีวิตก่อนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี

ขบวนรถไฟของลินคอล์นเคลื่อนตัวออกจากเมืองหลวงในวันที่ 21 เมษายน ปี 1865 เดินทางผ่าน 180 เมืองใน 7 รัฐ และมีกำหนดจอดตามสถานีสำคัญเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้กล่าวคำอำลา คนจำนวนมากเดินทางมาเคารพศพ หนังสือพิมพ์รายงานว่าประชาชนในบางเมืองต้องต่อแถวรอไม่ต่ำกว่า 5 ชั่วโมงเพื่อโอกาสเพียงไม่กี่วินาทีที่จะได้เห็นลินคอล์น ขณะที่มีบันทึกว่าจำนวนประชาชนในฟิลาเดลเฟียที่เดินทางมาเคารพศพมีไม่ต่ำกว่า 3 แสนคน

ขบวนแห่ของลินคอล์นในนิวยอร์ก / Image : smithsonianmag.com
ตารางขบวนแห่ศพของลินคอล์น / Image : richlandsource.com

หนังสือพิมพ์รายงานว่าสภาพศพของลินคอล์นดูดีมากจนประชาชนจำนวนมากเอื้อมมือจับหน้าประธานาธิบดีเป็นครั้งสุดท้าย “สีหน้าของลินคอล์นดูเป็นธรรมชาติ คล้ายกับว่าเขากำลังนอนหลับมากกว่าเสียชีวิต” หนังสือพิมพ์ Chicago Tribune รายงาน

อย่างไรก็ดี การเดินทางด้วยรถไฟในยุคนั้นไม่ได้เรียบสบายเหมือนในปัจจุบัน ในขณะที่รถไฟเคลื่อนไปศพของลินคอล์นก็เริ่มเสียหายจากแรงสั่นสะเทือน แถมการสัมผัสอากาศเป็นเวลานานยังส่งผลให้การดองศพเริ่มเสื่อมสภาพ เมื่อถึงแมนฮัตตัน ใบหน้าของลินคอล์นก็ได้รับการบันทึกไว้ว่า “ซีดเซียวเป็นอย่างมากและเริ่มเกิดอาการหดตัว” ส่วนหนังสือพิมพ์ The New York Times กล่าวถึงใบหน้าของลินคอล์นในช่วงท้ายของการเดินทางว่า “ถ้าคุณไม่เคยเห็นลินคอล์นตัวจริงขณะมีชีวิต คุณคงไม่คิดว่านี่เลวร้ายมากเท่าไหร่” 

ร่างของลินคอล์นในนิวยอร์ก / smithsonianmag.com

อย่างไรก็ดี คนที่เคยเห็นลินคอล์นมาก่อนมีความคิดเห็นต่างกันไป บางคนตั้งคำถามว่าการนำศพลินคอล์นมาจัดแสดงเป็นสิ่งที่สมควรหรือไม่ Mary Todd Lincoln ภรรยาของลินคอล์นไม่เห็นด้วยกับความคิดนี้ตั้งแต่ต้น (เช่นเดียวกับ Nadezhda Krupskaya ภรรยาของเลนินที่เคยต่อต้านการดองศพของสามี) 

ขณะเดียวกันกับที่มีคนตั้งคำถาม บรรดาผู้ใกล้ชิดประธานาธิบดีกลับอ้างแนวคิดของลินคอล์นที่ต้องการให้นักการเมืองใกล้ชิดกับประชาชนมาเป็นเหตุผล พวกเขาเชื่อว่าลินคอล์นคงต้องการเดินทางไปพบกับประชาชนเพื่อบอกลาเช่นเดียวกับที่เขาเคยนั่งรถไฟจากอิลลินอยส์มารับตำแหน่งที่วอชิงตัน ดี.ซี.

สู่ความเป็นไปได้ใหม่ในการบอกลา

ร่างของลินคอล์นเดินทางมาถึงสปริงฟีลด์ในวันที่ 3 พฤษภาคม ปี 1865 เมืองที่เคยมีประชากรราว 15,000 คน แต่ในขณะนั้นรองรับนักเดินทางกว่าหนึ่งแสนชีวิตที่เดินทางมาเพื่อเข้าร่วมพิธีศพ แต่ก่อนจะไปถึงขั้นตอนนั้น ลินคอล์นยังต้องผ่านด่านสุดท้ายคือการตั้งศพ 24 ชั่วโมงให้ประชาชนได้เคารพศพ จนถึงตอนนั้นนักข่าวก็รายงานว่าใบหน้าของลินคอล์นเปลี่ยนไปมาก “แต่จิตใจที่ดีงามและสิ่งที่เขาเคยกระทำได้ทำให้ประชาชนมองข้ามรูปลักษณ์ภายนอกไป”

ขบวนรถไฟของลินคอล์นไม่เพียงส่งผลต่อจิตใจของประชาชน แต่ยังกลายเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ทำให้ชาวอเมริกันได้เห็นผลลัพธ์อันน่ามหัศจรรย์ของการดองศพ ก่อนหน้านี้งานศพของชาวอเมริกันมักจัดสั้นๆ เพียง 1-2 วัน และมักจัดเป็นงานภายใน มีแค่ครอบครัวและเพื่อนฝูง และใช้พื้นที่บริเวณบ้านเนื่องจากร่างผู้เสียชีวิตจะเริ่มย่อยสลาย ทำให้การจัดพิธีมากมายไม่สามารถทำได้

อย่างไรก็ดีการได้เห็นลินคอล์นในรูปลักษณ์คล้ายมีชีวิตกลายเป็นแรงบันดาลใจให้ประชาชนทั่วไปเห็นความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการบอกลา การดองศพได้รับความนิยมเป็นอย่างมากหลังจากนั้น ทำให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับงานศพได้รับความสำคัญตามไป ไม่ว่าจะเป็นชุดสำหรับไว้ทุกข์ สถานที่จัดงานศพ ไปจนถึงบริการขนส่งต่างๆ สิ่งเหล่านี้ฝังรากลึกในวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับความตายต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน และกลายเป็นอีกหนึ่งมรดกสำคัญที่ลินคอล์นได้มอบไว้ในแผ่นดินอเมริกา

แม้ว่าตัวเขาอาจจะไม่รู้ตัวก็ตาม

อ้างอิง

abrahamlincolnonline.org

connectingdirectors.com

history.com

reader.activelylearn.com

smithsonianmag.com

youtube.com

ขบวนรถไฟของลินคอล์นเคลื่อนตัวออกจากเมืองหลวงในวันที่ 21 เมษายน 1865 เดินทางผ่าน 180 เมืองใน 7 รัฐ และมีกำหนดจอดตามสถานีสำคัญเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้กล่าวคำอำลา คนจำนวนมากเดินทางมาเคารพศพ หนังสือพิมพ์รายงานว่าประชาชนในบางเมืองต้องต่อแถวรอไม่ต่ำกว่า 5 ชั่วโมงเพื่อโอกาสเพียงไม่กี่วินาทีที่จะได้เห็นลินคอล์น ขณะที่มีบันทึกว่าจำนวนประชาชนในฟิลาเดลเฟียที่เดินทางมาเคารพศพมีไม่ต่ำกว่า 300,000 คน
อย่างไรก็ดี การเดินทางด้วยรถไฟในยุคนั้นไม่ได้เรียบสบายเหมือนในปัจจุบัน ในขณะที่รถไฟเคลื่อนไปศพของลินคอล์นเริ่มเสียหายจากแรงสั่นสะเทือน แถมการสัมผัสอากาศเป็นเวลานานยังส่งผลให้การดองศพเริ่มเสื่อมสภาพ เมื่อรถไฟของลินคอล์นเดินทางถึงแมนฮัตตัน ใบหน้าของลินคอล์นก็ได้รับการบันทึกไว้ว่า “ซีดเซียวเป็นอย่างมากและเริ่มเกิดอาการหดตัว”
ส่วนหนังสือพิมพ์ New York Times กล่าวถึงใบหน้าของลินคอล์นในช่วงท้ายของการเดินทางว่า “ถ้าคุณไม่เคยเห็นลินคอล์นตัวจริงขณะมีชีวิต คุณคงไม่คิดว่านี่เลวร้ายมากเท่าไหร่” อย่างไรก็ดี คนที่เคยเห็นลินคอล์นมาก่อน มีความคิดเห็นต่างกันไป บางคนตั้งคำถามว่าการนำศพลินคอล์นออกจัดแสดงเป็นสิ่งที่สมควรหรือไม่ Mary Todd Lincoln ภรรยาของประธานาธิบดี ไม่เห็นด้วยกับความคิดนี้ตั้งแต่ต้น (เช่นเดียวกับ Nadezhda Krupskaya ภรรยาของเลนินที่เคยต่อต้านการดองศพของสามี)
ขณะเดียวกันกับที่มีคนตั้งคำถาม บรรดาผู้ใกล้ชิดประธานาธิบดีกลับอ้างแนวคิดของลินคอล์นที่ต้องการให้นักการเมืองใกล้ชิดกับประชาชนมาเป็นเหตุผล พวกเขาเชื่อว่าลินคอล์นคงต้องการเดินทางไปพบกับประชาชนเพื่อบอกลาเช่นเดียวกับที่เขาเคยนั่งรถไฟจากอิลลินอยส์มารับเพื่อตำแหน่งที่วอชิงตัน ดี.ซี.
ร่างของลินคอล์นเดินทางมาถึงสปริงฟีลด์ในวันที่ 3 พฤษภาคม 1865 เมืองที่เคยมีประชากรราว 1 หมื่น 5 พันคน ตอนนี้รองรับนักเดินทางกว่าหนึ่งแสนชีวิตที่เดินทางมาเพื่อเข้าร่วมพิธีศพ แต่ก่อนจะไปถึงขั้นตอนนั้น ลินคอล์นยังต้องผ่านด่านสุดท้ายคือการตั้งศพ 24 ชั่วโมงให้ประชาชนได้เคารพศพ จนถึงตอนนั้นนักข่าวก็รายงานว่าใบหน้าของลินคอล์นเปลี่ยนไปมาก “แต่จิตใจที่ดีงามและสิ่งที่เขาเคยกระทำได้ ทำให้ประชาชนมองข้ามรูปลักษณ์ภายนอก”
ขบวนรถไฟของลินคอล์นไม่เพียงส่งผลทางจิตใจของประชาชน แต่ยังกลายเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ทำให้ชาวอเมริกันได้เห็นผลลัพธ์อันน่ามหัศจรรย์ของการดองศพ ก่อนหน้านี้งานศพของชาวอเมริกันมักจัดสั้นๆ เพียง 1-2 วัน และมักจัดเป็นงานภายใน มีแค่ครอบครัวและเพื่อนฝูง ใช้พื้นที่บริเวณบ้านเนื่องจากร่างผู้เสียชีวิตจะเริ่มย่อยสลายทำให้การจัดพิธีมากมายไม่สามารถทำได้

AUTHOR

ILLUSTRATOR

JARB

นักวาดภาพประกอบเจ้าของเพจ JARB ผู้ที่ยังไม่แน่ใจว่าสไตล์ตัวเองจริงๆ คืออะไร แต่ก็ยังรู้สึกสนุกกับการทำงานหลากหลายสไตล์ โดยหวังว่าสักวันจะเจอสไตล์ที่ชอบจริงๆ สักที