บ้านปลา เอสซีจี เคมิคอลส์ : นวัตกรรมอนุรักษ์ท้องทะเลไทย ด้วยความคิดและการร่วมใจของ เอสซีจี เคมิคอลส์ กับชุมชนชาวประมงพื้นบ้าน

บ้านปลา เอสซีจี เคมิคอลส์ : นวัตกรรมอนุรักษ์ท้องทะเลไทย ด้วยความคิดและการร่วมใจของ เอสซีจี เคมิคอลส์ กับชุมชนชาวประมงพื้นบ้าน

ดูที่มาที่ไปและการออกแบบ บ้านปลา เอสซีจี เคมิคอลส์ จากท่อส่งน้ำถึงบ้านใหม่ให้เหล่าปลาในทะเลไทย

ทะเลไทยคือจุดหมายปลายทางยอดฮิตของนักท่องเที่ยวไม่ว่าจะชาวไทยหรือต่างชาติ
เราถูกดึงดูดด้วยหาดทรายขาวละเอียด น้ำทะเลสีฟ้าใส และท้องฟ้าสวยๆ เป็นภาพจำ
แต่หากลองเปิดรับข่าวสารและมองสถานการณ์ทะเลไทยทุกวันนี้ คงต้องยอมรับกันว่าทะเลไทยไม่สวยงามเหมือนแต่ก่อน
ซ้ำทรัพยากรธรรมชาติอย่างสัตว์น้ำ ปะการังชายฝั่งก็ลดจำนวนลงอย่างมีนัยสำคัญ

แต่ใช่ว่าชาวประมงผู้เติบโตและใช้ชีวิตอยู่กับท้องทะเลที่เป็นเหมือนบ้านของพวกเขาจะไม่ตระหนักถึงปัญหานี้
พวกเขาพยายามฟื้นฟูท้องทะเลให้กลับมาชีวิตอีกครั้ง ด้วยภูมิปัญญาบ้านปลาจำลองแบบ ‘ซั้งกอ’ ซึ่งทำจากทางมะพร้าว เอสซีจี เคมิคอลส์ เองก็ให้ความสำคัญกับการสร้างความยั่งยืนคืนท้องทะเลไทย
จึงรวมทีมกันคิดค้นและออกแบบ ‘บ้านปลา เอสซีจี เคมิคอลส์’ จากท่อส่งน้ำดื่มที่มีดีไซน์เฉพาะตัว โดยการทำงานครั้งนี้ เอสซีจี เคมิคอลส์ ยังร่วมกับชาวประมงพื้นบ้านเรือเล็กในจังหวัดระยองตัวจริง เพื่อช่วยกันอนุรักษ์และฟื้นคืนระบบนิเวศทะเลไทย

เราได้พูดคุยกับ อรรถวุฒิ คุ้มครอง Product Concept Development Manager จาก เอสซีจี เคมิคอลส์ ถึงที่มาที่ไปและขั้นตอนการออกแบบที่ต้องคิดค้น ทดลอง และทำงานร่วมกับพี่น้องชาวประมง จนได้ออกมาเป็น ‘บ้านปลา เอสซีจี เคมิคอลส์’ ที่กำลังทำหน้าที่ฟื้นฟูชายฝั่งทะเลไทยตะวันออกให้กลับมาสมบูรณ์ดังเดิม

บ้านปลาคืออะไร

อธิบายให้เข้าใจอย่างสั้นกระชับ บ้านปลาคือที่อยู่อาศัยจำลองของเหล่าปลาและสัตว์น้ำที่ทำขึ้นได้ทั้งจากวัสดุธรรมชาติ และวัสดุอื่น ๆ ที่ไม่เป็นมลพิษในท้องทะเล เช่น แท่งคอนกรีต โดยเลียนแบบกองหินใต้น้ำหรือซากเรือปรักหักพังที่เหล่าปลามักไปอาศัยอยู่กันชุกชุม ตรงไหนที่มีบ้านปลาก็จะมีสัตว์น้ำและปลามาเกาะ ถือเป็นแหล่งอาหารชั้นดีที่เหมาะกับการซ่อนตัวและฟักไข่ เป็นบ้านใหม่ที่ช่วยเพิ่มโอกาสการอยู่รอดให้กับเหล่าลูกปลาทั้งหลาย

เพราะชายฝั่งทะเลตะวันออกของไทยอย่างจังหวัดระยองแทบไม่มีปะการังให้เหล่าปลาตัวเล็กๆ
ได้หลบคลื่นทะเลหรือลม บ้านปลาจึงเป็นทางออกที่ช่วยฟื้นคืนระบบนิเวศชายฝั่งท้องทะเลขึ้นมาได้
ทำให้สิ่งมีชีวิตต่างๆ เข้ามาใช้ประโยชน์กันตามลำดับขั้น อย่างช่วงแรกของการจัดวางบ้านปลาจะมีเพรียงหินเข้ามาเกาะ
ทำให้พื้นผิวของวัสดุขรุขระ เหมาะแก่การเข้ามาอยู่อาศัยของฟองน้ำ หอยประเภทต่างๆ
ทำให้เหล่าปลาเข้ามากินสัตว์เกาะติดเหล่านั้น
และในที่สุดก็จะดึงดูดให้ปลานักล่าเข้ามาบริเวณบ้านปลาเพื่อรักษาสมดุลท้องทะเลอีกทีหนึ่งนั่นเอง

เป้าหมายใหญ่คือความร่วมมือกัน

เอสซีจี เคมิคอลส์ มีโรงงานส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในจังหวัดระยอง
พนักงานก็คลุกคลีและมองเห็นปัญหาของกลุ่มประมงพื้นบ้านไม่น้อย ทีมงานในเอสซีจี
เคมิคอลส์ อย่างทีมวิจัยและพัฒนา ทีมกิจกรรมเพื่อสังคมเลยรวมตัวกันศึกษาและออกแบบบ้านปลาจำลองรูปแบบที่ยั่งยืนและใช้งานได้นาน โดยเริ่มทดลองใช้กันมาตั้งแต่ปี 2555 ที่ปากคลองแกลง จังหวัดระยอง

อรรถวุฒิบอกเราว่าเป้าหมายของโครงการชัดเจนว่าไม่ใช่แค่ฟื้นฟูท้องทะเลให้กลับมาสมบูรณ์อีกครั้ง แต่ยังอยากให้ ‘บ้านปลา เอสซีจี เคมิคอลส์’ เป็นเครื่องมือผลักดันให้ประมงพื้นบ้านไทยยั่งยืน และเกิดการร่วมมือกันจากหลายภาคส่วน คือภาคเอกชนอย่างเอสซีจี เคมิคอลส์ หน่วยงานราชการอย่างสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1 (สบทช.ที่ 1) รวมถึงบุคคลสำคัญที่สุดอย่างกลุ่มประมงพื้นบ้านเอง อีกทั้งเมื่อเร็วๆ นี้ยังเปิดโอกาสให้จิตอาสากว่า 500 คนทั่วประเทศมาร่วมกันสร้างบ้านปลากับ เอสซีจี เคมิคอลส์ อีกด้วย

วัสดุที่ใช่คือคำตอบสำคัญ

เอสซีจี เคมิคอลส์
เลือกใช้ท่อส่งน้ำดื่ม PE100 ผลิตจากเม็ดพลาสติกคุณภาพที่เหลือจากกระบวนการทดสอบ
มาเป็นวัสดุหลักในการออกแบบบ้านปลาจำลอง
เพราะมีจุดเด่นเรื่องความแข็งแรงทนทานด้วยคุณสมบัติทนต่อการกัดกร่อนและแรงดันใต้ท้องทะเลได้สูง
แถมยังได้รับการรับรองมาตรฐานสากลว่าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่มีสารเคมีหรือสารปนเปื้อนออกสู่น้ำทะเลแน่นอน

ปรับปรุงแบบเพื่อให้ใช้งานได้จริง

อรรถวุฒิบอกเราว่ากว่าจะออกมาเป็นบ้านปลาแบบที่ใช้งานจริงใต้ท้องทะเลในปัจจุบันนั้นผ่านการเรียนรู้และปรับแก้กันระหว่างทีมงานและกลุ่มประมงชายฝั่งชุดแรกๆ ช่วยแสดงความเห็นทั้งในเชิงผลกระทบต่อธรรมชาติและการใช้งานไม่น้อย
ดีไซน์แรกๆ เป็นทรงสี่เหลี่ยมลูกบาศก์และยึดท่อด้วยน็อตและสกรูซึ่งมีน้ำหนักเยอะ
ก็ปรับมาเป็นบ้านปลาทรงสามเหลี่ยมพีระมิด ซึ่งมีข้อดีชัดๆ คือมุมของขอบท่อไม่เกี่ยวอวน
ประกอบง่าย ใช้วัสดุน้อยและน้ำหนักเบา ทำให้สะดวกต่อการเคลื่อนย้ายและบรรจุในเรือเล็กได้เยอะกว่า
น้ำหนัก 450 กิโลกรัมที่รวมกับลูกปูนที่ใช้ถ่วงท่อ ยังทำให้บ้านปลาจำลองทนกระแสน้ำ
ไม่พลิกหรือย้ายไปไหนเมื่ออยู่ใต้ทะเล ซึ่งช่องว่างต่างๆ
ในบ้านปลานี่แหละที่จะเป็นโครงสร้างพอเหมาะให้ปลาและสัตว์น้ำเล็กๆ เข้ามาอาศัยอยู่

หว่านพื้นที่อนุรักษ์ให้กว้างไกล

การจัดวางบ้านปลาจำลองใต้ทะเลจะอยู่ในรัศมีของการทำประมงพื้นบ้านเรือเล็ก
คือใกล้ชายฝั่งน้ำลึกไม่เกิน 10 เมตร โดยจะวางใกล้กันอย่างน้อย 10 หลัง
เป็นหมู่บ้านของปลาพื้นที่ราว 20 ตารางเมตร
ซึ่งพื้นที่ที่ถูกจัดวางบ้านปลาลงไปจะถือเป็นพื้นที่อนุรักษ์ที่กลุ่มประมงพื้นบ้านเข้ามาดูแลได้ทั่วถึง
และตกลงร่วมกันว่าไม่จับปลาในบริเวณนี้เพื่อให้เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ แถมยังเป็นแหล่งความรู้สำหรับการศึกษาและวิจัยเรื่องประมงชายฝั่งอีกด้วย

ขยายไปทั่วชายฝั่งทะเลตะวันออก

ความสำเร็จของโครงการ ‘บ้านปลา เอสซีจี เคมิคอลส์’
ที่กำลังก้าวสู่ปีที่ 6 และเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง จึงย้ำชัดว่าเกิดจากความร่วมมือร่วมใจและหัวใจอนุรักษ์ของชาวประมงพื้นบ้านเรือเล็กที่หวังอยากฟื้นฟูท้องทะเลไทย
ปัจจุบัน บ้านปลา เอสซีจี เคมิคอลส์ กว่า 1,100
หลังวางสู่ท้องทะเลไทยเป็นบ้านใหม่ใกล้ชายฝั่งของเหล่าปลาในพื้นที่ 29 กลุ่มประมง
และยังตั้งใจจะขยายโครงการฯ ไปตลอดชายฝั่งทะเลตะวันออกของไทยอย่างชลบุรี จันทบุรี
และตราด ต่อด้วย

ติดตามรายละเอียดและความคืบหน้าของโครงการ
‘บ้านปลา เอสซีจี
เคมิคอลส์’ ได้ที่
scgchemicals.com/fishhome

AUTHOR