De Ceuvel รีดีไซน์อู่ต่อเรือเก่าพร้อมบรรเทาปัญหามลพิษแบบเก๋ๆ สไตล์ชาวอัมสเตอร์ดัม

De Ceuvel and the creative space. However,หลายคนคงทราบกันดีว่าอัมสเตอร์ดัม เมืองหลวงของเนเธอร์แลนด์ตั้งอยู่บนพื้นที่ลุ่มต่ำ (กว่าระดับน้ำทะเล) ล้อมรอบไปด้วยแม่น้ำลำคลองและมหาสมุทร ภูมิประเทศที่เป็นเอกลักษณ์ทำให้คนในเมืองต้องจัดการพื้นที่และวางผังเมืองอย่างดีเพื่อที่จะอยู่ร่วมกับน้ำให้ได้ จนอัมสเตอร์ดัมได้รับสมญานามว่าเป็นเมืองต้นแบบที่มีการจัดการน้ำดีเป็นอันดับต้นๆ ของโลก

ในฐานะเมืองที่ตั้งอยู่บนฐานของความไม่แน่นอน ไม่แปลกที่แนวคิดการพัฒนาเมืองอัมสเตอร์จะดัมรุดหน้าไปไกลกว่าเพื่อน นั่นคือการตั้งคำถามว่า ‘จะทำอย่างไรให้เมืองเติบโตอย่างยั่งยืนทั้งด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม’ 

เรื่องของเศรษฐกิจกับสิ่งแวดล้อมนั้นหากดูเผินๆ อาจเป็นสองสิ่งที่สวนทางกัน แต่อัมสเตอร์ดัมกำลังปั้นให้ตัวเองเป็นทั้งเมืองที่ส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เกิดการจ้างงาน และสนับสนุนให้ผู้คนใช้ความคิดสร้างสรรค์ทำสิ่งใหม่ๆ ในขณะเดียวกันก็เป็นเมืองที่ใส่ใจในสิ่งแวดล้อมและเดินหน้าไปสู่อนาคตที่ทรัพยากรมีจำกัดและสำคัญขึ้นทุกวันๆ

หนึ่งในพื้นที่สาธารณะที่ตอบโจทย์แนวทางการพัฒนาเมืองของอัมสเตอร์ดัมที่กำลังมุ่งไป คืออดีตท่าเรือและอู่ต่อเรือริมน้ำอย่าง เดอ คูเวล (De Ceuvel) ที่ปัจจุบันได้รับการนิยามว่าเป็น ‘City Playground for Creativity’ สนามเด็กเล่นของชุมชนนักสร้างสรรค์ชาวดัตช์ จุดเด่นของที่นี่คือการดัดแปลงพื้นที่เดิม แต่เติมกระบวนการออกแบบที่คิดเพื่อสิ่งแวดล้อมและแนวทางการหมุนเวียนใช้ทรัพยากร (Circular Design) แบบรอบด้าน เพื่อให้เป็นพื้นที่ทำงานและพักผ่อนหย่อนใจของชาวเมืองอัมสเตอร์ดัมไปในคราวเดียวกัน

ย้อนไปปี 1920 พื้นที่แห่งนี้เคยเป็นอู่ต่อเรือ Volharding ที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำ IJ ทางตอนเหนือของอัมสเตอร์ดัม ซึ่งถูกปิดการใช้งานไปตั้งแต่ปี 2000 เพราะพื้นที่ท่าเรือไม่เหมาะสมที่จะรองรับเรือขนาดใหญ่ได้ โครงสร้างหลักๆ ของอู่จึงถูกรื้อถอนและปล่อยทิ้งร้างไว้ 

กระทั่งในปี 2012 เทศบาลเมืองอัมสเตอร์ดัมได้เปิดประกวดแบบหากลุ่มคนที่จะเข้ามาพัฒนาพื้นที่ โดยกลุ่มบริษัทสถาปนิกสัญชาติดัตช์ ทั้งสตูดิโอออกแบบที่ถนัดเรื่องกระบวนการออกแบบอย่างมีส่วนร่วม Space&Matter และ Metabolic บริษัทให้คำปรึกษาเรื่องเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม ร่วมกับบริษัทภูมิสถาปนิกอย่าง DELVA Landscape Architects จึงได้รวมกลุ่มกันเสนอแบบจนชนะและได้สิทธิพัฒนาพื้นที่นี้เป็นระยะเวลา 10 ปี ทีมออกแบบใช้ระยะเวลาก่อสร้าง จนเปิดพื้นที่ให้คนทั่วไป รวมถึงสตูดิโอสร้างสรรค์และคนทำงานด้านศิลปวัฒนธรรมเข้ามาเช่าพื้นที่ได้ในปี 2014but, however, in spite of, on the one hand … on the other hand, nevertheless, nonetheless, notwithstanding, in contrast, on the contrary, still, yet, also, in the same way, just as … so too, likewise, similarly, nonetheless, notwithstanding, in contrast, on the contrary,

De Ceuvel ประกอบไปด้วยพื้นที่หลายส่วน ทั้งส่วนที่เป็นสตูดิโอทำงานดัดแปลงจากเรือบ้านเก่าๆ (Studio Boats) ที่ให้ศิลปินหรือสตูดิโอออกแบบเช่าพื้นที่, พื้นที่เปิดสำหรับจัดนิทรรศการศิลปะ เวิร์กช็อป คอนเสิร์ตหรืองานฉายภาพยนตร์สอดแทรกแนวคิดเรื่องความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อม, Café de Ceuvel คาเฟ่สุดฮิปที่เป็นแหล่งรวมวัยรุ่นชาวดัตช์ นอกจากนี้ยังมี Hotel Asile Flottant โรงแรมลอยน้ำสุดหรู ซึ่งงานออกแบบที่นี่สวยงามจนชนะรางวัล The Dutch Design Award Frame Public Award เมื่อปี 2014 มาแล้ว

แต่ใช่ว่างานของทีมออกแบบจะจบแค่พลิกฟื้นท่าเรือและอู่ต่อเรือเก่าๆ ให้เป็นพื้นที่ฮิปเก๋ (Urban Regeneration) เท่านั้น เพราะเดิมทีพื้นที่นี้ก็อยู่ในย่านอุตสาหกรรมเก่าอย่าง Buiksloterham แถมโรงงานต่อเรือก็ยังเป็นอุตสาหกรรมที่ทิ้งของเสีย น้ำมัน และมลพิษลงสู่ธรรมชาติมากมาย โดยเฉพาะในชั้นดินและแม่น้ำ ดังนั้นกระบวนการออกแบบ De Ceuvel เพื่อใช้สำหรับสาธารณะประโยชน์จึงต้องคำนึงเรื่องนี้เป็นหลัก

but, however, in spite of, on the one hand … on the other hand, nevertheless, nonetheless, notwithstanding, in contrast, on the contrary, still, yet, also, in the same way, just as … so too, likewise, similarly, nonetheless, notwithstanding, in contrast, on the contrary,หนึ่งในไอเดียสนุกที่หลายคนคงคิดไม่ถึงมาก่อน คือการปลูกพืชเพื่อช่วยสกัดมลพิษที่ตกค้างอยู่ในดิน หรือเทคนิค Phytoremediation โดยงานนี้บริษัทภูมิสถาปนิก Delva เลยต้องทำการบ้านหนักมากเพื่อคัดสรรต้นไม้และพืชที่จะนำมาปลูกซึ่งต้องสามารถเติบโตได้ในสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษ และช่วยดูดซึมสารตกค้างในดินได้ เช่น พืชตระกูลหญ้า 

การปรับปรุงพื้นที่สีเขียวซึ่งทางทีมเรียกว่า Purifying Park จึงไม่ได้มีประโยชน์แค่เพิ่มความสวยงามร่มรื่น แต่งานหลักคือการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมที่ทรุดโทรมให้สะอาดอีกครั้ง วิธีการนี้ยังเป็นกระบวนการที่เลียนแบบระบบของธรรมชาติที่ถึงแม้จะให้ผลช้า แต่ก็ยั่งยืนและประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าการใช้เทคโนโลยีชั้นสูงแพงๆ แถมยังเป็นต้นแบบของโครงการทดลองจัดการมลพิษในเมืองที่ชาวอัมสเตอร์ดัมนำไปประยุกต์ต่อได้อีกมากมาย

ในฐานะที่เป็นเมืองแห่งการจัดการน้ำ ระบบบำบัดน้ำและหมุนเวียนน้ำใช้ในพื้นที่ De Ceuvel ย่อมไม่ธรรมดา โดยยังคงคอนเซปต์การบำบัดด้วยวิธีธรรมชาติ (Bio-filters) อย่างกระบวนการ Helophyte Filters ที่น้ำเสียจากในครัวหรืออาคารต่างๆ จะไหลผ่านพืชที่ปลูกบนกระบะทรายและชั้นกรวดหิน ที่จะช่วยบำบัดน้ำเสียผ่านการดึงธาตุไนโตรเจนและฟอสฟอรัสออกมาจากน้ำ เพื่อให้น้ำสะอาดไหลกลับลงสู่ดินใช้ปลูกพืชในโรงเรือนต่อ ส่วนของเสียอย่างปัสสาวะจากห้องน้ำจะถูกนำไปผลิตเป็นพลังงานชีวมวล (Biomass) หมุนเวียนใช้ต่อในพื้นที่ ซึ่งคำนวณแล้วว่าพลังงานจำนวนนี้ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปได้ถึง 200,000 ตัน 

but, however, in spite of, on the one hand … on the other hand, nevertheless, nonetheless, notwithstanding, in contrast, on the contrary, still, yet, also, in the same way, just as … so too, likewise, similarly, nonetheless, notwithstanding, in contrast, on the contrary,มีอีกเรื่องที่ต้องบอกไว้ก่อนคือ ห้องน้ำของที่นี่ทั้งหมดเป็นห้องน้ำแบบแห้งที่ใช้วิธีฝังกลบ เพราะเขาถือคติว่าต้องการประหยัดน้ำจริงๆ (วิธีนี้สามารถช่วยประหยัดน้ำได้กว่า 6 ล้านลิตร) แต่เราก็มั่นใจในระบบการจัดการสุขอนามัยของที่นี่ได้แน่นอน

ส่วนในแง่การออกแบบ เพื่อสร้างอัตลักษณ์ให้กับพื้นที่ที่เคยเป็นอู่ต่อเรือมาก่อน ทีมงานจึงดัดแปลงเรือบ้าน 17 ลำที่ได้มาจากชุมชนรอบๆ ผ่านกระบวนการ Upcycling เพื่อเปลี่ยนโครงสร้างเดิมและวัสดุเก่า แปลงโฉมเป็นออฟฟิศ สตูดิโอของศิลปินและบริษัทต่างๆ หนึ่งในนั้นคือออฟฟิศของ Metabolic เองที่ออกแบบมาสวยมากและยังเป็นโรงเรือนกระจกที่เพาะปลูกพืชผักกินได้ด้วย 

but, however, in spite of, on the one hand … on the other hand, nevertheless, nonetheless, notwithstanding, in contrast, on the contrary, still, yet, also, in the same way, just as … so too, likewise, similarly, nonetheless, notwithstanding, in contrast, on the contrary,เรือบ้านแต่ละหลัง (หรืออาจต้องใช้คำว่าแต่ละลำ) ยังไม่ทิ้งการออกแบบเพื่อความยั่งยืน เพราะจำเป็นต้องมีระบบดักจับความร้อนภายนอกเพื่อถ่ายเทเข้ามาแล้วแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้า (Heat Exchanger) และติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคา เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าสำหรับใช้ในพื้นที่โดยไม่ต้องนำเข้ากระแสไฟฟ้าจากภายนอกเลยแม้แต่น้อย

ส่วนพื้นที่ของ Café de Ceuvel ก็ยังดัดแปลงมาจากที่นั่งของไลฟ์การ์ดที่เราเห็นริมทะเล และเสาที่ใช้ผูกเรือจากท่าเรือ Scheveningen เสริมกิมมิคให้อีกนิดว่าที่นี่เสิร์ฟเฉพาะอาหารและเครื่องดื่มออร์แกนิก แถมยังเป็นร้านอาหารมังสวิรัติ 100% (ในอดีตที่นี่เคยเสิร์ฟเนื้อห่าน แต่ปัจจุบันไม่เสิร์ฟแล้ว) ซึ่งวัตถุดิบทุกอย่างตั้งแต่ผัก นม เห็ด คัดสรรจากแหล่งปลูกพื้นถิ่นของเกษตรกรในอัมสเตอร์ดัมตอนเหนือไม่ไกลจากคาเฟ่ เพื่อลดคาร์บอนฟุตปริ้นท์ให้มากที่สุด 

โดยเป้าหมายสูงสุดที่ตั้งใจไว้คือการผลิตอาหารแบบ Zero Waste Kitchen ที่ไม่ทำให้เกิดของเสียภายในระบบเลย (Close Cycle) ตั้งแต่การปลูกพืชพันธุ์วัตถุดิบ การปรุง ไปจนถึงเศษอาหารที่เหลือก็จะต้องถูกแปลงเป็นพลังงานกลับไปใช้ในกระบวนการผลิตอีกครั้ง

เพราะอย่างนี้ De Ceuvel จึงมีชื่อเล่นที่ชาวอัมสเตอร์ดัมตั้งให้ใหม่ว่า Cleantech Playground เพราะที่นี่เป็นเหมือนสนามทดลองของนวัตกรรมเพื่อการบำบัดสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนหลายอย่างทั้งสเกลเล็กและสเกลใหญ่อย่างที่เราเล่าไป (สามารถเข้าไปดูเต็มๆ ได้ในเว็บไซต์ deceuvel.nl) ทำให้ที่นี่มีนักวิจัย หน่วยงานรัฐบาลทั้งในเนเธอร์แลนด์เองหรือประเทศอื่นๆ รวมไปถึงเกษตรกร ผู้ประกอบการ หรือนักศึกษา แวะเข้ามาศึกษาดูงานเป็นประจำ 

ในช่วงก่อนโควิด-19 ระบาด ที่นี่ต้อนรับผู้มาเยือนปีละมากกว่า 35,000 คนจากทั่วโลก ที่นี่จึงไม่ได้เป็นพื้นที่ที่ถูกจำกัดไว้เฉพาะคนทำงานสร้างสรรค์ แต่ขยายเป็นพื้นที่สาธารณะที่สอดแทรกแนวคิดเรื่องความยั่งยืนให้ทุกคนเข้ามาเรียนรู้ได้ตลอดเวลา และยังทำให้อัมสเตอร์ดัมมีตัวอย่างแนวทางการพัฒนาเมืองให้ไปต่อได้อีกมากมาย

ถึงแม้ว่าที่นี่จะเริ่มมาจากแบบประกวดของกลุ่มสถาปนิกก็จริง แต่กระบวนการออกแบบทั้งหมดยังดึงคนจากหลากหลายอาชีพ ทั้งวิศวกร นักบัญชี ผู้ประกอบการ และอาสาสมัครเข้ามามีส่วนร่วมจนได้ผลลัพธ์อย่างที่เห็น 

ปัจจุบัน De Ceuvel มีคณะกรรมการคอยบริหารซึ่งเป็นอาสาสมัครที่ได้รับเลือกตั้งมาจากสมาชิกทุกๆ ปี โดยสมาชิกก็คือเหล่าผู้เช่าในโครงการที่มีทั้งศิลปิน สถาปนิก คนทำงานในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และผู้เช่าในส่วนของคาเฟ่และโรงแรม ส่วนพื้นที่สวน Purifying Park ที่ก็เปิดรับอาสาสมัครเข้ามาดูแลพื้นที่สีเขียวนี้โดยเฉพาะ ถือเป็นโมเดลการบริหารพื้นที่สาธารณะที่คนธรรมดาตัวเล็กๆ มาร่วมมือกันดูแลแบบที่เราเห็นกันบ่อยในแถบยุโรป

ที่สำคัญคือ พื้นที่สาธารณะแห่งนี้ยังเป็นโครงการที่เปลี่ยนพื้นที่อุตสาหกรรมทรุดโทรมไม่มีคนเข้ามาใช้ ให้เป็นต้นแบบการพัฒนาเมืองผ่านแนวคิด Circular Development ของเนเธอร์แลนด์ที่เราเห็นได้อย่างเป็นรูปธรรมมากๆ และมันกำลังถูกขยายจากพื้นที่เล็กๆ นี้ไปสู่ระดับย่านและเมืองจนเราเห็นแล้วอิจฉา และนึกอยากให้ประเทศไทยสนใจการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ชัดเจนแบบนี้มากกว่าแค่เขียนไว้ในกระดาษจริงๆ


อ้างอิง

amsterdamsmartcity.com

deceuvel.nl

delva.la

landezine.com

metabolic.nl

spaceandmatter.nl

AUTHOR

ILLUSTRATOR

JARB

นักวาดภาพประกอบเจ้าของเพจ JARB ผู้ที่ยังไม่แน่ใจว่าสไตล์ตัวเองจริงๆ คืออะไร แต่ก็ยังรู้สึกสนุกกับการทำงานหลากหลายสไตล์ โดยหวังว่าสักวันจะเจอสไตล์ที่ชอบจริงๆ สักที