ฮาวทู… เพาะเห็ดเผาะให้มีกินและมีอันจะกินตลอดปี

Highlights

  • เห็ดเผาะ คือหนึ่งในเมนูเห็ดชื่อดังทางภาคเหนือ ด้วยสัมผัสกรุบ รสหวาน เคี้ยวแตกดังเป๊าะในปากเพลิดเพลิน ความต้องการของตลาดที่สูงขึ้นทุกปีทำให้ชาวบ้านเข้าป่าเพื่อเก็บเห็ดชนิดนี้ออกมาขายจำนวนมาก 
  • ล่าสุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ค้นพบวิธีการเพาะเห็ดเผาะที่จะทำให้เรามีเห็ดกินจำนวนมาก โดยไม่ต้องเปลืองตังค์และเปลืองแรงออกไปตามหาในป่าอีกต่อไป
  • การเพาะเห็ดเผาะไม่สามารถเพาะในโรงเห็ดแบบทั่วไปได้ แต่ต้องอาศัยการเพาะโดยอิงตามธรรมชาติของมัน ที่ต้องเพาะให้เติบโตกับรากไม้ โดยการนำหัวเชื้อไปราดบริเวณรากของต้นกล้า และใช้เวลา 3 ปีในการเจริญเติบโต และมีข้อจำกัดสำคัญอย่างหนึ่งคือ บริเวณต้นไม้ที่มีเชื้อเห็ดนำไปปลูกนั้นต้องไม่มีการใช้สารพิษใดๆ ทั้งสิ้น มิฉะนั้นตัวเห็ดที่ออกมาจะกลายเป็น 'เห็ดพิษ' ไม่สามารถกินได้

เห็ดเผาะ

ช้าก่อน! อย่าเพิ่งทิ้งเห็ดเผาะเก่าเก็บในตู้เย็นจนเนื้อดำปิ๊ดปี๋ของคุณทิ้งไปหากกินไม่ทัน เพราะเห็ดเผาะเหล่านั้นยังสามารถสปาร์กจอยได้อีกครั้งด้วยการนำมาเพาะกินต่อได้ หรือจะเอาไปขายให้มีอันจะกินก็ยังได้

ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ‘เห็ดเผาะ’ หรือ ‘เห็ดถอบ’ ในภาษาเหนือ คือเห็ดที่ได้รับความนิยมอย่างมากในการนำมาเป็นวัตถุดิบประกอบอาหาร ด้วยสัมผัสกรุบกรอบ ให้รสหวานนิดๆ เมื่อเคี้ยวดังเป๊าะในปาก แต่ข้อจำกัดคือสามารถหาเก็บได้ในเฉพาะช่วงฤดูฝนเท่านั้น เห็ดชนิดนี้จึงกลายเป็นที่ต้องการของตลาด และมีแนวโน้มราคาต่อกิโลกรัมสูงขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี

เห็ดเผาะ

เมื่อฤดูฝนมาเยือน ชาวบ้านจำนวนมากจึงพากันเข้าป่าเพื่อไปขุดคุ้ยตามโคนต้นไม้หาเห็ดเผาะออกมาขายชนิดที่ว่าพลิกจนหมดป่า

ปีที่ผ่านมาเห็ดเผาะยังตกเป็นจำเลยในข้อหาเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเผาป่า ต้นเหตุของปัญหาหมอกควันที่กำลังส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจของคนไทยจำนวนมาก กระทั่งมีแคมเปญรณรงค์ให้งดค้าขายเห็ดเผาะ โดยตั้งฉายาให้มันถึงขั้นว่าเป็น ‘เห็ดนรก แต่ก็มีเสียงแย้งจากนักวิชาการจำนวนมากที่ออกมาปฏิเสธแทนชาวบ้านว่าไม่ได้เผาป่าเพื่อให้หาเห็ดเผาะง่ายขึ้น เพราะการเผาป่ายังทำให้เชื้อของเห็ดตายลงอีกด้วยซ้ำ

เห็ดเผาะ

ท่ามกลางเสียงโต้เถียง ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมเห็ดป่าแม่โจ้ (ศวพม.) ที่เกิดจากการร่วมมือของนักวิชาการด้านเห็ดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงคิดค้นหาวิธีเพาะเห็ดเผาะและเผยแพร่วิธีการนั้นแก่คนทั่วไปให้สามารถเพาะเห็ดเผาะได้ แบบไม่ต้องไปรบกวนป่า และช่วยตัดปัญหาการเผาป่าหาเห็ดที่กำลังเป็นที่ถกเถียง โดยเริ่มเผยแพร่วิธีการตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา

ในฐานะแฟนคลับของเมนูจากเห็ดเผาะ แน่นอนพอรู้ว่ามันกลายเป็นจานที่สร้างปัญหาเราย่อมไม่สบายใจ เมื่อทราบถึงทางออกที่ดีของจานโปรดให้กลับมาสปาร์กจอยอีกครั้ง เราจึงขออาสาไปคุยกับ ดร.สุธีรา ทองกันทา รองหัวหน้าฝ่ายวิจัยและพัฒนา ตัวแทนจากศูนย์เห็ดฯ แม่โจ้ และนำความรู้ที่ได้มาแบ่งปันกัน

“ทั้งที่เห็ดเผาะได้รับความนิยมอย่างมาก แต่เราแทบไม่พบการเพาะเห็ดชนิดนี้ เป็นเพราะว่าเห็ดเผาะจัดอยู่ในกลุ่มเห็ด ‘ไมคอร์ไรซา’ (Mycorrhiza) ต้องอาศัยอยู่กับรากต้นไม้ เลยทำให้เอามาเพาะเหมือนเห็ดทั่วไปไม่ได้ เพราะสารอาหารที่เราผสมในก้อนเห็ดยังไม่เพียงพอในการกระตุ้นให้เกิดดอกเห็ดชนิดนี้ วิธีการเพาะเห็ดเผาะจึงต้องอาศัยการเลียนแบบวิถีตามธรรมชาติของมัน”

เห็ดเผาะที่อร่อย คือเห็ดเผาะที่ยังอ่อน ผ่าออกมาเนื้อในเป็นสีขาว ก่อนจะค่อยๆ เป็นสีดำ มีเนื้อสัมผัสที่แข็งขึ้นเรื่อยๆ จนกินไม่อร่อย และต้องทิ้งลงถังขยะ แต่ในสายตาของ ดร.สุธีรา เห็ดเผาะที่แก่นี่แหละ เหมาะสมที่นำกลับมาให้สปาร์กจอยอีกครั้ง

เห็ดเผาะ

“เห็ดเผาะที่แก่ไม่จำเป็นต้องถูกทิ้งไปเปล่าๆ ค่ะ เพราะเราสามารถขูดเอาสปอร์ที่อยู่ข้างในเปลือกของมันนี่แหละมาทำเป็นหัวเชื้อสำหรับการเพาะ”

วิธีการทำเชื้อเห็ด เราจะขูดเอาสปอร์มาปั่นกับน้ำ เติมน้ำตาลกับข้าวไปด้วยเพื่อให้เป็นอาหารเลี้ยงจุลินทรีย์อื่นๆ ที่อาศัยอยู่ร่วมกันกับตัวเชื้อเห็ดในดิน แล้วจึงใส่น้ำยาล้างจานลงไปเล็กน้อย

เห็ดเผาะ

“ตัวเนื้อเยื่อเห็ดถ้าเราใส่ลงไปในน้ำ มันจะไม่ผสมเป็นเนื้อเดียวกับน้ำ เราต้องมีสารลดแรงตึงผิว เพื่อให้มันสามารถเกาะกับน้ำไม่ลอยขึ้นมา ซึ่งสารลดแรงตึงผิวที่คนทั่วไปสามารถหาได้ก็คือน้ำยาล้างจาน เราจะใส่ไปต่อขวดเพียง 2-3 หยด เท่านั้น แล้วทิ้งไว้ 2-3 คืน ให้สปอร์อิ่มน้ำ แล้วจึงสามารถนำไปเทราดตรงโคนต้นไม้ได้”

การเพาะเห็ดเผาะจำเป็นต้องลงทุนเรื่องเวลา เพราะระยะเวลาในการเพาะเห็ดให้ออกดอกนั้นต้องใช้เวลา 3 ปีเป็นต้นไป โดยวิธีการที่ดีก็คือการราดเชื้อเห็ดลงไปที่โคนของต้นกล้าอายุ 1 ปี ที่เริ่มแข็งแรง 2-3 ครั้งต่อเดือน เมื่อต้นกล้าเริ่มแข็งแรงมีอายุ 2-3 ขวบ พอนำไปปลูกลงดิน เชื้อที่เราราดลงไปจะอยู่ในรากของต้นกล้า เมื่อมันออกดอกแล้ว ถ้าได้รับการดูแลมันก็จะออกตลอดไป และมีจำนวนมากขึ้น ตราบอายุขัยของต้นไม้นั้นที่มันอยู่ด้วย และมีโอกาสติดตามสถิติวิจัยถึง 97 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียวหากเพาะในเงื่อนไขที่ถูกต้อง

ต้นไม้ที่เหมาะสมสำหรับเพาะเห็ดเผาะที่สุดจะเป็นไม้เต็งรัง โดยต้นไม้ที่เห็ดเผาะจะขึ้นได้ดีที่สุดคือต้นยางนาและต้นพยอม อีกทั้งตัวเชื้อราของเห็ดที่เกาะตามรากยังช่วยต้นไม้ย่อยสารอาหารโดยเฉพาะฟอสฟอรัสจากดินอีกด้วย

“การเพาะเห็ดไม่ได้ยากเลย ถ้ามันอยู่ในพื้นที่ที่เหมาะ ในต้นไม้ที่ใช่ และรอเวลาเท่านั้น มันก็ขึ้นแล้ว

“แต่มีข้อแม้สำคัญมากอยู่อย่างหนึ่งนะคะ ถ้าในพื้นที่ที่เรานำต้นไม้ไปปลูกมีการใช้ยาฆ่าหญ้า สารกำจัดศัตรูพืช หรือยาฆ่าแมลง เห็ดจะดูดซึมสารเหล่านี้เข้าไปด้วย จากเห็ดที่กินได้จะกลายเป็น ‘เห็ดพิษ’ ทันที”

เห็ดเผาะ

มากไปกว่าการลดปัญหาการเผาป่า การชวนให้คนหันมาเพาะเห็ดเผาะจึงยังเป็นการรณรงค์ให้คนกลับมาฟื้นฟูป่า แถมเลิกใช้สารพิษไปในตัว เพราะนอกจากเราจะมีเห็ดเผาะกินจนหนำใจแล้ว เห็ดที่เผาะยังสามารถทำให้เรามีอันจะกินได้ด้วยเช่นกัน

“การเพาะเห็ดมีรายได้ต่อแปลงเยอะ อย่างที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่มีการเพาะเห็ดตับเต่ากับต้นโสน สมมติเขามีที่ 5 ไร่ เขาสามารถสร้างรายได้ในช่วงเวลา 3-4 เดือน ได้ประมาณ 4 แสนบาท ต่อพื้นที่ 5 ไร่ ซึ่งถ้าเทียบกับการปลูกข้าว 1 ไร่ สมมติเต็มที่คนปลูกเก่งมากได้ 1 ตัน ถามว่า 1 ตันได้เท่าไหร่ ก็ไม่คุ้มหรอกเมื่อนำมาหักกับทุนและแรงที่ลงไป เมื่อเทียบกับการเพาะเห็ด ที่แค่จัดการสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมก็พอ และยิ่งเป็นเห็ดเผาะที่มีราคาสูงด้วย ฉะนั้นศูนย์เห็ดฯ ของเราจึงมีภารกิจพยายามที่จะเผยแพร่ความรู้การเพาะเห็ดนี้แก่ชุมชน ไม่ใช่เพื่อลดปัญหาหมอกควันอย่างเดียว แต่ยังเพื่อที่พวกเขาจะสามารถนำเชื้อเห็ดไปปลูกแทรกตามต้นไม้ภายในสวน และกลายเป็นรายได้เพิ่มอีกช่องทางหนึ่ง”

ได้ทั้งเห็ดรสอร่อยกินและมีอันจะกิน เพาะเห็ดทีเดียวแต่ได้กินทั้งสองทาง


ในอนาคตข้างหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมเห็ดป่าแม่โจ้จะมีโครงการเผยแพร่องค์ความรู้ให้กับผู้สนใจอีกมากมายตามมา นอกจากเห็ดเผาะแล้ว ที่นี่ยังมีองค์ความรู้เรื่องการเพาะเห็ดชนิดอื่นๆ อีกจำนวนมาก สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดต่อเข้าไปเรียนหรือพูดคุยกับนักวิจัยได้ตามเบอร์โทรนี้ 089 554 2325, 053 873 436

ท่ามกลางเสียงโต้เถียง ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมเห็ดป่าแม่โจ้ (ศวพม.) ที่เกิดจากการร่วมมือของนักวิชาการด้านเห็ดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงคิดค้นหาวิธีเพาะเห็ดเผาะและเผยแพร่วิธีการนั้นแก่คนทั่วไปให้สามารถเพาะเห็ดเผาะได้ แบบไม่ต้องไปรบกวนป่า และช่วยตัดปัญหาการเผาป่าหาเห็ดที่กำลังเป็นที่ถกเถียง โดยเริ่มเผยแพร่วิธีการตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา ในฐานะแฟนคลับของเมนูจากเห็ดเผาะ แน่นอนพอรู้ว่ามันกลายเป็นจานที่สร้างปัญหาเราย่อมไม่สบายใจ เมื่อทราบถึงทางออกที่ดีของจานโปรดให้กลับมาสปาร์กจอยอีกครั้ง เราจึงขออาสาไปคุยกับ ดร.สุธีรา ทองกันทา รองหัวหน้าฝ่ายวิจัยและพัฒนา ตัวแทนจากศูนย์เห็ดฯ แม่โจ้ และนำความรู้ที่ได้มาแบ่งปันกัน
“การเพาะเห็ดมีรายได้ต่อแปลงเยอะ อย่างที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่มีการเพาะเห็ดตับเต่ากับต้นโสน สมมติเขามีที่ 5 ไร่ เขาสามารถสร้างรายได้ในช่วงเวลา 3-4 เดือน ได้ประมาณ 4 แสนบาท ต่อพื้นที่ 5 ไร่ ซึ่งถ้าเทียบกับการปลูกข้าว 1 ไร่ สมมติเต็มที่คนปลูกเก่งมากได้ 1 ตัน ถามว่า 1 ตันได้เท่าไหร่ ก็ไม่คุ้มหรอกเมื่อนำมาหักกับทุนและแรงที่ลงไป เมื่อเทียบกับการเพาะเห็ด ที่แค่จัดการสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมก็พอ และยิ่งเป็นเห็ดเผาะที่มีราคาสูงด้วย ฉะนั้นศูนย์เห็ดฯ ของเราจึงมีภารกิจพยายามที่จะเผยแพร่ความรู้การเพาะเห็ดนี้แก่ชุมชน ไม่ใช่เพื่อลดปัญหาหมอกควันอย่างเดียว แต่ยังเพื่อที่พวกเขาจะสามารถนำเชื้อเห็ดไปปลูกแทรกตามต้นไม้ภายในสวน และกลายเป็นรายได้เพิ่มอีกช่องทางหนึ่ง” ได้ทั้งเห็ดรสอร่อยกินและมีอันจะกิน เพาะเห็ดทีเดียวแต่ได้กินทั้งสองทาง
ช้าก่อน! อย่าเพิ่งทิ้งเห็ดเผาะเก่าเก็บในตู้เย็นจนเนื้อดำปิ๊ดปี๋ของคุณทิ้งไปหากกินไม่ทัน เพราะเห็ดเผาะเหล่านั้นยังสามารถสปาร์กจอยได้อีกครั้งด้วยการนำมาเพาะกินต่อได้ หรือจะเอาไปขายให้มีอันจะกินก็ยังได้ ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ‘เห็ดเผาะ’ หรือ ‘เห็ดถอบ’ ในภาษาเหนือ คือเห็ดที่ได้รับความนิยมอย่างมากในการนำมาเป็นวัตถุดิบประกอบอาหาร ด้วยสัมผัสกรุบกรอบ ให้รสหวานนิดๆ เมื่อเคี้ยวดังเป๊าะในปาก แต่ข้อจำกัดคือสามารถหาเก็บได้ในเฉพาะช่วงฤดูฝนเท่านั้น เห็ดชนิดนี้จึงกลายเป็นที่ต้องการของตลาด และมีแนวโน้มราคาต่อกิโลกรัมสูงขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี

aday

AUTHOR