a day ปีที่ 2 ฉบับที่ 24 เดือนสิงหาคม 2545

แบบปก : ปราบดา หยุ่น, วนิดา เฟเวอร์, เร แมคโดนัลด์ และ ธนกร ฮุนตระกูล
ภาพถ่าย : นิติพัฒน์ สุขสวย
ออกแบบ : พงศ์เทพ อนุรัตน์

• ครบรอบ 2
ปี 2
years ago kids!

• ถ้าจะเปรียบ a day เป็นคน เราคงเหมือนจอมหาเรื่องที่สอดส่ายสายตาหาโอกาสทำอะไรสนุกๆ อยู่เสมอ ดังนั้นเมื่อถึงฉบับครบรอบ 2 ปีอย่างนี้ เราก็อดไม่ได้ที่จะอยู่ไม่สุขกันอีกครั้ง


นอกเหนือจากไอเดียง่ายๆ มันๆ ที่ชวน 4
คนบนปกแรกมาเยี่ยมปกที่ 24
อีกครั้ง สลับที่กันพอเป็นกระษัย และพูดคุยถามหาความเป็นไปใน 2
ปีที่ผ่านมาให้อ่านกันใน cover
ground

• อ้าวเกริ่นเอาไว้แต่เผลอเล่ายาว ขอย้อนใหม่ นอกเหนือจากไอเดียง่ายๆ มันๆ ที่ชวน 4
คนปกแรกมาเยี่ยมปกที่ 24
อีกครั้ง เรายังชวนหลายๆ คอลัมน์ในฉบับแรกมารีเมกใหม่กันในหน้ากระดาษนี้


เริ่มที่ talking
head เราชวนเสาวลักษณ์จากคอลัมน์ face/off
ในฉบับแรกมาตอบคำถามกวนๆ แทนที่จะเขียนถึงเธออย่างเดียวในตอนนั้น, ชวน ออกไซด์ แปง มาคุยกันอีกหนใน q
& a day PANG! BANG! (Part 2) ในพาร์ตนี้เขาเล่าถึงหนังกำไรอื้อซ่าที่เขาสร้างอย่าง
The
Eye คนเห็นผี
ขณะที่เมื่อ2
ปีก่อนเขาบอกเราในคอลัมน์ director
talk ว่ากำลังถ่ายหนังเรื่อง
Bangkok
Dangerous

• ส่วน ordinary
people ในฉบับนี้เราไม่ได้กลับไปคุยกับคนโฆษณาตัวกลั่นใน the
group of death เมื่อ 2
ปีที่แล้ว แต่ขอให้พวกเขาเสนอคนโฆษณาเลือดใหม่น่าจับตามาให้แทน ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ธนญชัย ศรศรีวิชัย คนบนปกของเราใน a
day 50

• และแน่ยิ่งกว่าแช่แป้ง a
day with a view ฉบับนี้เรากลับไปคุยกับประภาสอีกครั้ง เพียงแต่ว่าแทนที่จะถามเองเหมือนเคย เราไปขอให้คนอื่นๆ ช่วยถามให้ไม่ว่าจะเป็น สิริยากร พุกกะเวส, โตมร ศุขปรีชา, บอย โกสิยพงษ์, ยุทธนา บุญอ้อม, วินทร์ เลียววาริณ, จณิสตา ลิ่วเฉลิมวงศ์ เป็นอาทิ ซึ่งต้องขอบคุณทั้งคนถามและคนตอบที่ใจดีกรุณาเราทั้งหมด


เอาล่ะ มาว่ากันด้วยเรื่องหนักๆ และดูเหมือนจะไม่ค่อยสนุก ในระหว่างขวบปีที่เราเติบโต มีหลายกระแสออกมาต่อต้านและพะยี่ห้อให้เราอยู่ในหมวดนิตยสารทางเลือกอันตราย!


มีอีกหลายเรื่องที่ต้องอธิบายยาวโดยมีชุดคำประเภท ‘รสนิยมสาธารณ์’ และ ‘ลัทธิสุขนิยม’ อยู่เยอะแยะซึ่งมาจากบทความวิเคราะห์สื่อทางเลือกจากผู้เขียนชื่อธดา


“เราอยากทำให้มันถูกเพราะรู้สึกว่าพอยต์ที่คุณธดาเขียนกับสิ่งที่เราทำเป็นคนละเรื่องกัน แต่พอไฟมันลามทุ่ง คนไม่สนใจคอนเทนต์แล้วเหมือนนินทากันไป เราจึงอยากทำให้มันถูกด้วยการบอกเล่าจากฝ่ายเราบ้าง” คือคำให้การของวชิรา รุธิรกนก


เรามีโอกาสได้สัมภาษณ์ธดาหรือ กุลธิดา สามะพุทธิ เธอปฏิเสธที่จะพูดถึงบทความอีกเพราะมันสมบูรณ์แล้วในตัวของมันเอง แต่เราก็ได้คุยกันในทัศนะต่อสังคมของเธอ


เราชวนเธอเขียนคอลัมน์ด้วย แต่เธอปฏิเสธเพราะไม่มีเวลามากพอ


เราขอให้เธอแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ a day เธอก็ปฏิเสธเพราะไม่ได้ติดตามอย่างต่อเนื่อง


ดังนั้นเราขอจบเรื่องนี้โดยไม่ขอเธอแล้วกัน

สถานที่ตั้งนิทรรศการ: café daypoets ซอยศูนย์วิจัย 4

อ่านกติการ่วมสนุกกับนิทรรศการ ‘#aday200 The Magazine Exhibition’ ได้ที่นี่เลย และ คลิกดูรายละเอียดแผนที่นิทรรศการ a day ในแคมเปญ #aday200 ทั้งหมดได้ที่นี่นะ

AUTHOR