a day 193 : Fabric Issue : september 2016

a
day ปีที่ 17 ฉบับ 193
ประจำเดือนกันยายน 2559

แบบปก:
ณภัสนันท์ สิรินดาศุภสิริ

ถ่ายปก:
a
team junior 12

Highlights

เรื่องโดดเด่นประจำ
a
day เล่ม 193


main
course

เปิดเผยเรื่องใต้ผืนผ้าในเมนคอร์สชื่อสุดหวิว
‘เปลื้องผ้า’

ทำไมต้องเปลื้องผ้า?
ผ้าเป็นสิ่งของสามัญที่อยู่กับเราตลอดเวลา แถมยังใกล้ชิดกับเราที่สุดด้วย
(หรือไม่จริง?) แต่ภายใต้เปลือกผิวของความธรรมดามีเรื่องราวซ่อนอยู่
ทั้งเบื้องหลังการถักทอ ชีวิตคนทอ กระบวนการต่างๆ ที่สร้างสรรค์มันขึ้นมา แถมผ้ายังเป็นสิ่งที่ส่งอิทธิพลไปสู่เรื่องอื่นๆ
อย่างที่เรานึกไม่ถึงอี๊ก ชาว a team junior 12 จึงขอเรียนเชิญทุกคนมาปลดเปลื้องเรื่องผ้าๆ
เจาะลึกถึงเส้นใยแบบ uncensored ไปทีละชิ้น
แล้วจะรู้ว่าโลกของผ้าสนุกกว่าที่คิดจริงๆ

คลิกตรงนี้ไปเปลื้องเมนคอร์สเรื่องผ้าแบบเต็มๆ

report section

อัพเดตเรื่องน่าสนใจในรอบเดือน

  • รู้จักกลุ่มคนรุ่นใหม่แห่งอีสานที่เปี่ยมด้วยพลังของดนตรีอย่าง
    ‘อีสานดรัมไลน์’
    ถึงไม่คุ้นชื่อก็ควรรู้จักพวกเขา
    วงดรัมไลน์สุดเจ๋งจากภาคอีสานกลุ่มนี้เขานำเอากลิ่นอายความเป็นอีสานดั้งเดิมมาผสมในการแสดงจนเอาชนะคู่แข่งและกลายเป็นแชมป์บนเวทีแข่งขันระดับโลกอย่าง
    Drum Corps International มาแล้ว แต่เขาคิดและทำกันได้อย่างไร report ชิ้นนี้มีคำตอบ
  • ปักหมุดที่เที่ยวทั้งสายแมสและอินดี้ในไทเปกัน
    ถ้ากำลังจองตั๋วเครื่องบินไปไต้หวันเป็นครั้งแรก เราขอเปิดบทเรียน Taipei 101 กับลายแทงสถานที่ที่ควรไป
    ทั้งสายเก่า สายเก๋ สายรักธรรมชาติ และสายสนุก
    อ่านแล้วจะได้รู้จักประเทศที่อุดมด้วยเสน่ห์แห่งนี้ให้มากขึ้น

คลิกตรงนี้เพื่อไปดูเรื่องสนุกๆ ใน report section เพิ่ม 🙂

interview section

บทสนทนาที่เราไม่อยากให้คุณพลาดในเดือนนี้

  • a
    day with a view – เปิดชีวิตหลังฉากโทรทัศน์ของชายหนุ่มที่วัยรุ่นกรี๊ดกันมาหลายปีอย่าง
    เปอร์-สุวิกรม อัมระนันทน์

    ตั้งแต่ Final Score 365 วัน
    ตามติดชีวิตเด็กเอ็นท์
    ชื่อเขาคนนี้ก็ไม่เคยหายไปจากสื่อ
    หนำซ้ำเรายังได้เห็นอีกหลายบทบาทของเขา จนล่าสุดเปอร์ยังเปิดบริษัทผลิตรายการโทรทัศน์ของตัวเองด้วย
    เราเลยขอจับเข่าคุยถึงชีวิตหลังฉากทั้งหมดทั้งมวลของเขา
    งานนี้นอกจากได้กรี๊ดยังได้ไฟการทำงานกลับมาตรึม
  • q
    & a day – ถามตอบแบบเข้มๆ กับ Trasher, Bangkok นักจัดปาร์ตี้ที่กำลังฮอตที่สุดกลุ่มหนึ่งในไทยเวลานี้

    ไม่ว่าจะรู้จัก Trasher, Bangkok ในมุมไหน
    นักจัดปาร์ตี้เพลงป๊อบแหวกกระแส โปรดักชันเฮาส์สร้างสรรค์คลิปล้อเลียนที่โด่งดังและเล่นใหญ่ (จน
    Katy Perry ยังต้องแชร์!) คนทำซีรีส์เกย์มิติใหม่อย่าง
    GAY OK BANGKOK พวกเขาก็เป็นอีกกระบอกเสียงของกลุ่มเพศหลากหลายที่น่าพูดคุย
    ลองอ่านบทสนทนารสเข้มได้ในคอลัมน์เลย
  • ‘s
    – เปิดกรุสมบัติในพิพิธภัณฑ์ความทรงจำของศิลปิน โอ๊ต มณเฑียร

    ปกติเราเห็นโอ๊ตในฐานะนักวาดภาพประกอบฝีมือหาตัวจับยาก หรือภัณฑารักษ์ผู้รอบรู้เรื่องพิพิธภัณฑ์ยุคใหม่น่าสนุก
    แต่ในคอลัมน์นี้เราจะได้เห็นอีกมุมลึกลับผ่านสิ่งของของเขาที่ข้องเกี่ยวกับความรัก
    ความสัมพันธ์ ชายหนุ่มที่น่าหลงใหล และไพ่ทาโรต์

คลิกตรงนี้เพื่อไปดูเรื่องสนุกๆ ใน interview section เพิ่ม 🙂

city section

ความเคลื่อนไหวของเมืองที่น่าจับตาเดือนนี้

  • urban
    movement – ตามดูภารกิจเปลี่ยนบ้านต้อนรับสังคมผู้สูงอายุของยอดสถาปนิกจากสถาบันอาศรมศิลป์

    อีกไม่นานเราจะต้องอยู่ในสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ
    ที่อยู่อาศัยหรือบ้านก็ต้องปรับเปลี่ยนเพื่อสอดรับความต้องการของคนมีอายุ
    ลองมาดูเคสการออกแบบน่าสนใจอย่างศูนย์ผู้สูงอายุที่จังหวัดนครสวรรค์
    ถึงจะเป็นโจทย์ที่ยากและท้าทายแต่ก็คือความหวังในการดูแลผู้สูงวัยในอนาคต
  • กลับบ้าน
    – ฟังเรื่องเล่าของหนุ่มพังงาเจ้าของสวนไผ่อาบูที่การทำเกษตรไม่ใช่แค่เรื่องฝันหวาน

    บุญชู สิริมุสิกะ ไม่เคยฝันอยากทำเกษตร เขาเคยผ่านงานวิศวกรในบริษัทมาแล้ว
    แต่สุดท้ายก็หวนกลับบ้านเกิด
    ลองผิดลองถูกกับงานเกษตรจนอยู่รอดและอยู่ได้ดีกว่าที่เคยเป็น เราอยากให้อ่านเรื่องราวการทำเกษตรที่ไม่ใช่แค่เรื่องฝันหวาน
    แต่มีแนวคิดน่าเรียนรู้ซ่อนอยู่สำหรับการทำงานทุกรูปแบบ

คลิกตรงนี้เพื่อไปอัพเดทเทรนด์เมืองใน city section เพิ่ม 🙂

article section

เรื่องน่าอ่านจากคอลัมนิสต์เดือนนี้มีอะไรบ้าง

  • follow
    me – บ้าสำเนียงแล้วยังไงต่อ

    เรื่องหนึ่งที่รบกวนใจและอาจทำลายความมั่นใจคนพูดภาษาอังกฤษคือความบ้าสำเนียงของคนไทยว่าต้องเป๊ะแบบอังกรี๊ดอังกฤษดั้งเดิม
    นภพัฒน์จักษ์เลยขอแชร์ประสบการณ์ชีวิตในลอนดอนสักหน่อยว่าอะไรคือเรื่องสำคัญในการพูดและฟังกันแน่
  • made
    in japan – ความเริ่ดของญี่ปุ่นในการจัดโอลิมปิก

    คลิปนายกอาบะในมาดมาริโอ้ที่ริโอโอลิมปิกกลายเป็นไวรัลไปทั่วโลก
    แต่ความคิดสร้างสรรค์ในการจัดงานโอลิมปิกของญี่ปุ่นมีมาตั้งแต่สมัย 1964
    นู่นแล้ว ณิชมน หิรัญพฤกษ์ย้อนอดีตไปส่องความเจ๋งของญี่ปุ่นสมัยนั้นมาให้เราฟังกัน
  • world
    while web – คอมพิวเตอร์สัมผัสความรู้สึกในหนังสือได้?

    เทคโนโลยีแปลกๆ
    ทยอยโผล่หน้ามาให้รู้จักจนช่วงหลังตามไม่ค่อยทัน
    อันหนึ่งที่น่าสนใจและถูกหยิบมาบอกเล่าโดย แชมป์ ทีปกร
    ในเล่มนี้คือการสัมผัสอารมณ์ในหนังสือได้เมื่อคอมพิวเตอร์อ่านมัน! สิ่งนี้มีไว้เพื่ออะไร
    หาคำตอบได้ในคอลัมน์ world while web จ้ะ

คลิกตรงนี้เพื่อไปดูว่าคอลัมนิสต์มีอะไรให้อ่านใน article section เพิ่ม 🙂

คลิกสั่งซื้อ a day 193 ออนไลน์ตรงนี้เลย


Contents

joined: A Katanyu Stand Up Comedy สามสิบปี ชีวิตห่วยสัส

newcomer: ภาพวาดจิตรกรรมหัวข้อ
‘ภาพลักษณ์ความรุนแรงในวัตถุนิยม’ โดย พัฒน์ดนู เตมีกุล

global review:

advertising: วีรชน วีรวรวิทย์: วินาทีนี้เลย Moment
Marketing

book & magazine: สิโรตม์
จิระประยูร:
เล่มเก่าปกใหม่ ลดราคาหนังสือใหม่ทำไม?
film: นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์: เทศกาลหนังประเภทหญิงเดี่ยว
international: พิณ พัฒนา: เมื่อ ‘อารมณ์’ เป็นใหญ่ในสนามเลือกตั้ง
music: นครินทร์ วนกิจไพบูลย์: เราควรถ่ายคลิปวิดีโอในคอนเสิร์ตหรือไม่?
online: ณัฐพัชญ์
วงษ์เหรียญทอง:
เรตติ้งถ่ายทอดสด Olympic ที่สะท้อนขาลงของโทรทัศน์
science: อาจวรงค์ จันทมาศ: นักวิจัยพบว่านกบางชนิดหลับได้แม้ในระหว่างบิน

report:

Bring Local’s
Charm to City –
สนทนากับสไตลิสต์ไฟแรง
เจ้าของแบรนด์เสื้อผ้าผู้ผูกพันธมิตรกับชุมชน
และทำให้ผ้าไทยกลายเป็นผลิตภัณฑ์สุดป๊อบ

Taipei
101 –
ทำความรู้จักไต้หวันกับที่เที่ยวแลนมาร์กสุดแมสไปจนถึงไลฟ์เฮาส์เล็กๆ
สุดอินดี้

The
Sound of E-Sarn –
‘อีสานดรัมไลน์’ กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีใจรักในเสียงดนตรี
ผสมผสานวัฒนธรรมอีสานบ้านเกิดเข้ากับดนตรีฝั่งจะวันตกได้อย่างน่าทึ่ง
และการันตีความเก๋าด้วยรางวัลแชมป์วงดนตรีดรัมไลน์จากเวทีระดับโลกอย่าง DCI

main course: มารู้จักผ้าอย่างสนุกแบบลึกซึ้งถึงเส้นใยกัน

talking head: ก้อย-อรัชพร
โภคินภากร สาวตลกผู้รับบทบาทชมพู่ใน O-Negative

a pen
interview:
ปากการ่วมทางของ ธันยพร หงษ์ทอง

the outsider: We’ll Share: Wheel-go-round คลังข้อมูลออนไลน์เพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของผู้ใช้ชีวิตบนรถเข็น

cover ground: Just Grown Up ชวนมองนัยน์ตาเศร้าๆ
ของ เหมย-ณภัสนันท์ สิรินดาศุภสิริ กับทสนทนาที่ทะลุถึงใจ

q& a day: TGIT Thank God It’s TRASHER พูดคุยแบบเข้มๆ กับ Trasher, Bangkok

a day with a
view
:
Personality วิถีของ เปอร์-สุวิกรม อัมระนันทน์ คนหนุ่มผู้หลงใหลในการฝึกตน

เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า: ‘มนุษย์ทุกคนมีเมล็ดพันธุ์แห่งความดีอยู่ข้างใน
หน้าที่ของเราคือทำให้มันโต’ ทิชา ณ นคร

‘s :
MUSE(UM) พิพิธภัณฑ์ความทรงจำของ โอ๊ต มณเฑียร

urban movement: Better Life for Old People ภารกิจเปลี่ยนบ้านต้อนรับสังคมผู้สูงอายุโดยยอดสถาปนิกของสถาบันอาศรมศิลป์

samesame but
different:
Bus
Ticket

กลับบ้าน: The Humble Man in Bamboo Farm ความสุขถาวรที่สวนไผ่อาบูของ บุญชู สิริมุสิกะ

made in
thailand: นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์:
เรื่องเด็ดประจำเดือนสิงหาคม

made in japan: ณิชมน หิรัญพฤกษ์: โอลิมปิกกุ
กัมบัตเตะ Part 1

มุมมองเห็น: กมลเนตร เรืองศรี: ดอนเมืองจ๋ามาหานะเธอ

follow me : นภพัฒน์จักษ์ อัตตนนท์: สำเนียงไม่ส่อภาษา

เรื่องเล่าสาววินเทจ:
มาลี
: Victorian’s
Secret

คำไทย come on!: จักรกฤต โยมพยอม: มุกตลก

london museum: โอ๊ต มณเฑียร: อาสาสมัครสร้างสนุก

world while
web: ทีปกร วุฒิพิทยามงคล:
ก้อนอิฐแห่งเรื่องเล่า

คิดแล้วธรรม:
ประสิทธิ์ วิทยสัมฤทธิ์:
องคุลีมาล ฉบับ Remake 2016

โลกประจำตัว:
คุณากร วรวรรณธนะชัย:
โรคประจำตัว

ไฟป่า: ศศิน
เฉลิมลาภ:
อีริน บลอกโควิช พี่หนอน และตะกั่วที่บ้านคลิตี้

before sunrise:
faan.peeti:
สิ่งสำคัญ

going with the
flow: ต้องการ:
ชีวิตคน

a spiritual
day: ไตรรงค์ ประสิทธิผล:
หลวม

hesheit: วิศุทธิ์ พรนิมิตร: แว่น

AUTHOR