5 ข้อที่ First Jobber ควรรู้ก่อนจัดการภาษีอย่างมือโปร

การจัดการภาษีครั้งแรก ไม่เคยเป็นเรื่องง่ายสำหรับ First Jobber

หนึ่งในเรื่องที่เข้าใจยาก คือการยื่นภาษี ถือเป็นเรื่องขั้นพื้นฐานที่คนทั่วไปต้องปฏิบัติตามที่ระบุในกฎหมาย นักศึกษาที่เพิ่งเข้าสู่ระบบการทำงานแบบบริษัทจะมีคำถามเยอะว่าควรต้องยื่นอย่างไร การลดหย่อนภาษีควรติ๊กช่องไหนบ้าง

แม้ตอนนี้จะมีสื่อหรือเนื้อหาที่อธิบายเรื่องภาษีให้เข้าใจง่ายขึ้นมากแล้วก็ตาม เราก็ยังอยากแนะนำเคล็ดลับ 5 ข้อที่จะช่วยให้เหล่าพนักงานมือใหม่เข้าใจเรื่องภาษีกันมากขึ้นกว่าเดิม

รู้จักค่าลดหย่อนภาษี

ก่อนอื่น เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า การลดหย่อนภาษีคืออะไร ทำแล้วได้อะไร

ค่าลดหย่อนภาษี คือ สิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างหนึ่งที่กฎหมายมอบให้ โดยขึ้นอยู่กับชีวิตของแต่ละคนว่าสถานะเป็นอย่างไร มีภาระทางการเงินอะไรบ้างที่ต้องจ่ายทุกเดือน เช่น ประกันสุขภาพ ประกันสังคม ฯลฯ ถ้ามีสิ่งเหล่านี้ เราสามารถนำข้อมูลเพื่อมาลดหย่อนภาษีได้

เรื่องหนึ่งที่คนเข้าใจผิดกันเยอะคือ การยื่นเรื่องเพื่อลดหย่อนภาษี จะทำให้เราเสียภาษีน้อยลงตามจำนวนที่จ่ายไป ความจริงก็คือการคำนวณภาษีจะดูที่จำนวนเงินได้และอัตราภาษีของเราเป็นหลัก แต่ละคนจะมีตัวเลขชุดนี้ไม่เหมือนกัน ถ้าเราเข้าใจหลักการนี้ ก็จะเข้าใจเรื่องการยื่นภาษีและทำเรื่องเพื่อลดหย่อนภาษีได้ง่ายขึ้น

ใครบ้างที่ต้องยื่นภาษี

เรื่องนี้ดูเหมือนไม่มีอะไร แต่เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่คนเข้าใจผิดกันเยอะ

คนที่เข้าสู่ระบบแรงงาน ทั้งแบบพนักงานประจำและฟรีแลนซ์ จะมีทั้งคนที่ต้องยื่นภาษีและไม่ต้องยื่น สิ่งที่จะเป็นตัวกำหนดว่าใครต้องทำบ้างคือตัวเลขรายได้ต่อปี คนที่ต้องยื่นภาษีปัจจุบันจะมีอยู่สองกลุ่มใหญ่ดังนี้

  • มีรายได้ (จากเงินเดือนอย่างเดียว) เกิน 120,000 บาทต่อปี
  • มีรายได้ประเภทอื่นนอกจากเงินเดือน เกิน 60,000 บาทต่อปี

การเข้าใจเรื่องนี้ จะทำให้เราทราบเรื่องสิทธิที่เชื่อมโยงกับเรื่องภาษีมากขึ้น เช่น ประกันสังคม ประกันสุขภาพ สิทธิอื่นๆ ที่เราควรจะได้รับในฐานะพลเมือง ในบางกรณีรัฐบาลก็จะมีบริการหรือสิทธิรูปแบบพิเศษสำหรับคนที่จำนวนรายได้ไม่เข้าข่ายสองข้อด้านบน การรู้ตัวเลขรายได้จะช่วยให้เราทราบสิ่งที่เราควรจะได้มากขึ้น

ข้อมูลแบบไหนที่ใช้ยื่นเรื่องเพื่อลดหย่อนภาษีได้บ้าง

เอาล่ะ ข้อนี้เป็นเรื่องสำคัญสุด แม้ว่าหน้าตาเว็บไซต์ของกรมสรรพากรที่ใช้ในการยื่นภาษีจะพัฒนาให้ใช้งานง่ายขึ้น แต่หลายคนก็อาจจะยังงง ไม่รู้ว่าจะติ๊กช่องไหนอยู่ดี

ปัญหาหนึ่งที่ First Jobber มักจะเจอคือ ลืมว่าเราเคยมีข้อมูลอะไรบ้างที่ใช้ลดหย่อนได้ สิ่งที่เกิดต่อมาคือเราก็จะถามเพื่อนเราว่าเวลายื่นติ๊กช่องไหนบ้าง บางข้อเป็นสิ่งที่เราไม่มี ทำให้ต้องเสียเวลาในการแก้ไขหรือหาเอกสารเพื่อยืนยันความถูกต้อง

สิ่งที่ First Jobber มักจะนำมาลดหย่อนภาษีได้มีดังต่อไปนี้

  • ประกันสังคม ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 5,100 บาท
  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
  • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
  • ค่าลดหย่อนเลี้ยงดูพ่อแม่ 30,000 บาทต่อคน โดยพ่อแม่ต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป และมีรายได้ในปีภาษีนั้นไม่เกิน 30,000 บาท
  • เบี้ยประกันสุขภาพตนเอง ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาท (เมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตแล้ว ต้องไม่เกิน 100,000 บาท)
  • เบี้ยประกันชีวิต ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท
  • เบี้ยประกันสุขภาพของบิดามารดา ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15,000 บาทต่อปี

หมายเหตุ : กองทุนรวม RMF และ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท

ในทางเทคนิคแล้ว จะมีข้อมูลอื่นๆ ที่นำมาลดได้อีก เช่น ดอกเบี้ย เงินกู้ยืมเพื่อการมีที่อยู่อาศัย แต่ 7 หัวข้อนี้เป็นสิ่งที่ First Jobber ควรจะหามาใช้ยื่นเป็นหลักก่อน

เช็กให้ดีก่อนตัดสินใจ

กาดอกจันข้อนี้ไว้ดีๆ ส่วนมากทุกคนจะสนใจว่าบริการที่เราซื้อมาสามารถลดหย่อนได้มากแค่ไหน ดูที่ตัวเลขเป็นหลัก แต่ทุกบริการมีเงื่อนไข เป็นหน้าที่ของเราที่ต้องเช็กสิ่งนี้ให้ดีก่อนตัดสินใจทำประกันชีวิต

  • เป้าหมายของการทำประกันชีวิตของเรา
  • ทำความเข้าใจกับเงื่อนไขของกรมธรรม์ ระยะเวลาชำระเบี้ย ระยะเวลาคุ้มครอง เงินคืนระหว่างทาง เป็นต้น
  • ควรเลือกความคุ้มครองให้พอเหมาะกับสถานะทางเศรษฐกิจ
  • เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้หรือไม่

ประกันสุขภาพ ตัวช่วยที่คาดไม่ถึง

เวลาเราพูดถึงสิ่งที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ มักจะมีการพูดถึงกองทุนต่างๆ เพราะเป็นทั้งการลงทุนระยะยาว และสามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้ด้วย

แต่มีตัวช่วยอีกข้อหนึ่งซึ่งไม่ค่อยถูกพูดถึงนัก คือประกันสุขภาพ อาจเป็นเพราะว่าตัวเลขในการจ่ายเบี้ยประกันส่วนนี้ต่อเดือนไม่ถูกนัก แต่หลังจากเกิดสถานการณ์ COVID-19 สังคมเริ่มให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องของประกันชีวิตและสุขภาพ คนไม่ได้มองว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่แพงอีกต่อไป กลับกันคนเริ่มรู้สึกว่าการทำประกันเป็นเรื่องจำเป็นมากยิ่งขึ้น และการซื้อประกันสุขภาพทำให้เรามั่นใจและสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย

ตัวอย่างของบริษัทที่มีบริการประกันสุขภาพสำหรับ First Jobber คือ เมืองไทยประกันชีวิต ที่มีความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลแบบเหมาจ่ายที่ให้มากกว่าความคุ้มครอง มีแผนให้เลือกตามความต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท คุ้มครองทั้งโรคระบาด โรคร้ายแรง โรคทั่วไป โรคเก่าที่วนมาเกิดซ้ำได้ หรือโรคอุบัติใหม่ ครอบคลุมทั้งเทคโนโลยีการรักษาที่ทันสมัย อายุรับประกันสูงสุด 80 ปี และดูแลต่อเนื่องสูงสุดถึง 99 ปี ที่สำคัญคือสามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี ซื้อ 1 ได้ถึง 2 ทั้งคุ้มครองและลดหย่อนภาษี ช่วงนี้ยังสามารถผ่อนค่าเบี้ย 0% นานสูงสุด 6 เดือน หรือแลกรับเครดิตเงินคืนสูงสุด 14%

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://webmtl.co/3qOx55Z หรือ โทร. 1766


  • ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
  • เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากรกำหนด
  • การพิจารณารับประกันเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
  • เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
  • ความคุ้มครองพิเศษเพิ่มเติมเนื่องจากผลกระทบหลังจากการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิค 19 เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด รับความคุ้มครองได้ตั้งแต่ 11 พ.ค. – 31 ธ.ค. 2564
  • การปรับลดระยะเวลารอคอย (waiting period) เหลือ 14 วัน สำหรับการติดเชื้อโรคโควิด 19 เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด โดยเริ่มตั้งแต่ 28 พ.ค. – 31 ธ.ค. 2564
  • โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไขและข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย

AUTHOR