กินหมู กินไก่ กินง่ายๆ ก็ได้โอเมก้า 3 ดูแลสมอง คุ้มกันหัวใจ ห่างไกล NCDs

กินหมู กินไก่ กินง่ายๆ ก็ได้โอเมก้า 3 ดูแลสมอง คุ้มกันหัวใจ ห่างไกล NCDs

วันนี้เรื่องสุขภาพเป็นสิ่งที่ทุกคนให้ความสำคัญมากกว่าแต่ก่อน จึงไม่แปลกใจที่ตามท้องตลาดจะมีสินค้าอาหารหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นอาหารสุขภาพ อาหารเสริมหรือวิตามินมากมาย อย่างไรก็ตามสิ่งเหล่านั้นเป็นแนวทางในการดูแลสุขภาพทางเลือก ซึ่งการกินอาหารที่ดีอย่างยั่งยืนนั้น ควรคำนึงการได้รับ ‘สารอาหาร’ ให้ครบ 5 หมู่ในทุกมื้อตามความจำเป็นต่อร่างกาย

โดยหนึ่งในสารอาหารสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน รวมถึงเสริมความแข็งแรงของอวัยวะและระบบการทำงานต่างๆ ในร่างกายที่ขาดไม่ได้ในคนทุกวัยก็คือ ‘โอเมก้า 3’ สารอาหารที่มีบทบาทในการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน

เราได้ยินเสมอว่า ‘โอเมก้า 3’ มักอยู่ในปลาทะเล (และในเมล็ดพันธุ์พืชอีกหลายชนิด) แต่กลับรู้สึกเหมือนสารอาหารนี้เป็นสิ่งไกลตัว ซึ่งทุกวันนี้มีเนื้อหมูและไก่ที่มีโอเมก้า 3 ผ่านการดูแลในฟาร์มเป็นอย่างดีและได้รับสารอาหารจากธรรมชาติ เพื่อตอบโจทย์คนกินให้เข้าถึงง่ายมากยิ่งขึ้นแล้ว

รู้หรือไม่ว่า หมูและไก่ก็มีโอเมก้า 3?

แม้ว่าเรามักจะได้ยินมาตั้งแต่เด็กว่า ‘โอเมก้า 3’ เป็นสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ซึ่งส่วนใหญ่มักอยู่ในปลาทะเล เนื่องจากอาหารของปลาทะเล นั้นมาจากแพลงตอนและสาหร่ายที่สังเคราะห์ออกมาเป็นโอเมก้า 3 รวมถึงกระบวนการเผาผลาญของมันยังรักษาสารอาหารโอเมก้า 3 ที่ร่างกายผลิตออกมาได้อย่างดีด้วย 

อย่างไรก็ตามก็มีคนมากมายที่แพ้อาหารประเภทนี้จำนวนมากขึ้น เช่น  แพ้อาหารทะเล แพ้ถั่ว หรือแม้กระทั่งนม จึงอาจจะทำให้ได้รับกรดไขมันโอเมก้า 3 ไม่เพียงพอต่อร่างกาย บางคนอาจจะแก้ปัญหาด้วยการรับประทานอาหารเสริม หรือวิตามินทดแทน ซึ่งเป็นแนวทางการกินอาหารที่ไม่ค่อยเหมาะสมในระยะยาวสักเท่าไหร่นัก ทางที่ดีเราควรกินอาหารที่มาจากต้นตอของสารอาหารเหล่านั้นโดยตรงและปรับสไตล์การกินอาหารให้เข้ากับตัวเอง

ซึ่งสมัยนี้ก็มีวิธีตามธรรมชาติมากมายที่ช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว และทำให้คนกินได้ประโยชน์จากสารอาหารมากกว่าเดิม จากบทความของภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า การปรับสูตรอาหารของหมูและไก่ทำให้เนื้อมีคุณค่าทางอาหารมากยิ่งขึ้น

โดยการให้อาหารที่มีคุณค่าทางอาหารสูงอย่างโอเมก้า 3 แก่หมูและไก่กิน เช่น เมล็ดแฟลกซ์ สาหร่ายทะเล หรือข้าวกล้อง ส่งผลให้สัตว์เหล่านั้นเก็บสะสมสารอาหารจนมาถึงมือของผู้บริโภค ซึ่งเนื้อสัตว์เหล่านี้มีคุณค่าทางอาหารไม่แพ้ปลาทะเลที่มีโอเมก้า 3 เช่นเดียวกัน

โอเมก้า 3 สำคัญกับชีวิตอย่างไร?

เมื่อพูดถึงโอเมก้า 3 หลายคนส่วนใหญ่อาจจะเผลอลืมไปว่า เป็นสารอาหารที่จำเป็น เนื่องจากพบเห็นตามสินค้าบริโภคมากมายและคิดว่าไม่ใช่เรื่องใหญ่มากนัก หากไม่ค่อยได้รับในปริมาณที่เหมาะสม เพราะมันไม่ได้ส่งผลกระทบต่อร่างกายทันที แต่มันจะเริ่มแสดงอาการเจ็บป่วยในระยะยาว หากไม่ได้รับสารอาหารที่เป็นประโยชน์กับร่างกายอย่างต่อเนื่อง

จากผลสำรวจในปี 2565 พบว่าประเทศไทยมีคนเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable Diseases: NCD) เช่น โรคเบาหวาน โรคทางระบบหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคมะเร็ง กว่า 11 ล้านคน และมีจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 20% ใน 5 ปีที่ผ่านมา รวมทั้งยังมีแนวโน้มมากขึ้นทุกปี จากข้อมูลของ Health Data Center กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเหล่านี้ส่วนหนึ่งก็มาจากไลฟ์สไตล์การกินสารอาหารที่ไม่พอดี

โอเมก้า 3 ป้องกันสุขภาพอย่างไร?

จากปัญหาสุขภาพเรื้องรังของคนไทย สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการกินอาหารในปริมาณไม่พอดี ทั้งจำนวนมากไปและน้อยไปกับอาหารบางประเภท จึงทำให้ขาดสารอาหารหลักที่จำเป็น โดยเฉพาะโอเมก้า 3 ที่คนหลงลืมความสำคัญ แต่ความเป็นจริงแล้วมันมีประโยชน์ต่อร่างกายเกือบทุกส่วน 

ซึ่งโอเมก้า 3 เป็นกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน ที่ประกอบไปด้วยกรดไขมันที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายทั้งหมด 3 ชนิด ดังนี้

1. กรดไขมัน EPA (Eicosapentaenoic Acid) ส่วนใหญ่จะพบในน้ำมันปลา (Fish Oil) น้ำมันวอลนัต (Walnut Oil) น้ำมันคาโนลา (Canola Oil) น้ำมันถั่วเหลือง (Soybean Oil) น้ำมันข้าวโพด และสาหร่าย ช่วยลดปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมองอุดตัน อย่างการลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด ลดการเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะ ลดความดันโลหิต และป้องกันการเกาะตัวของเกล็ดเลือด

2. กรดไขมัน DHA (Docosahexaenoic Acid) ส่วนใหญ่จะพบในปลาทะเลน้ำลึก เช่น ปลาทูน่า ปลาแซลมอน หรือปลาน้ำจืดบางชนิด ซึ่งกรดไขมัน DHA มีส่วนสำคัญในการพัฒนาสมอง โดยเฉพาะในเรื่องความจำ การเรียนรู้ และบำรุงสายตาในการมองเห็นให้ดีขึ้น

3. กรดไขมัน ALA (Alpha-Linolenic Acid) เป็นกรดไขมันจำเป็นที่ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ จึงจำเป็นต้องได้รับจากอาหารเป็นหลัก ส่วนใหญ่จะพบในเมล็ดพันธุ์พืช เช่น เมล็ดแฟลกซ์ (Flax Seed) เมล็ดเจีย (Chia Seed) และถั่วเหลือง ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

นอกจากนี้ปัจจุบันอาหารที่เลี้ยงยังสามารถผลิตเนื้อหมูและไก่ ที่ผ่านการดูแลในฟาร์มที่มีคุณภาพและได้รับสารอาหารจากธรรมชาติ จึงทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงเนื้อหมูและไก่ที่มีโอเมก้า 3 ไม่แพ้แหล่งสารอาหารโอเมก้า 3 อื่นๆ ดังนั้นหากเราได้รับสารอาหารดังกล่าวอย่างเพียงพอจะช่วยทำให้การทำงานของสมอง หัวใจ และหลอดเลือดทำงานได้อย่างปกติ รวมทั้งช่วยลดคอเรสเตอรอลและลดการอักเสบของร่างกาย ข้อมูลวิจัยจาก Harvard Medical School ศึกษาไว้พร้อมทั้งยังบอกอีกว่า มันช่วยสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกายแข็งแรงด้วยเช่นกัน

เนื้อหมูและไก่ แหล่งอาหารโอเมก้า 3 ในยุคใหม่

ปัจจุบันคนใส่ใจเรื่องการกินอาหารมากยิ่งขึ้น เพราะมันเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเติบโตของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการดูแลหรือการป้องกันสุขภาพ ซึ่งการกินอาหารที่ดีในระยะยาว เราทุกคนควรคำนึงการเลือกกินอาหารให้หลากหลายและตรงกับไลฟ์สไตล์ของตัวเอง

ซึ่งนวัตกรรมอาหารสมัยนี้พัฒนาและตอบโจทย์คนบริโภคมากกว่าเคย อย่างการผลิตเนื้อหมูและไก่ที่มีสารอาหารโอเมก้า 3 ผ่านการดูแลในสภาพแวดล้อมที่เลี้ยงหมูและไก่ให้แข็งแรงตามธรรมชาติและมีคุณค่าสารอาหารที่ครบถ้วน เพื่อส่งต่อไปถึงมือผู้บริโภค ซึ่งเป็นโปรตีนจากธรรมชาติแหล่งสำคัญที่หาซื้อได้ง่าย ราคาถูกเมื่อเทียบกับอาหารทะเล และประกอบอาหารได้หลากหลายประเภท มากไปกว่านั้นยังได้โอเมก้าสูงมากกว่าเนื้อหมูและไก่ที่ไม่ได้กินแหล่งโอเมก้า 3 หลายเท่าตัว


ที่มา

https://www.ph.mahidol.ac.th/news/18092023/

https://www.thaihealth.or.th/กินปลาแล้วสมองดี-มีโอ/

AUTHOR