Film Tie-In books : หนังสือที่คนดูหนังหลงรัก

ที่ผ่านมาความเชื่อมโยงระหว่างอุตสาหกรรมหนังสือและภาพยนตร์มักอยู่ในกรอบที่จำกัด
ส่วนใหญ่จะเป็นการร่วมมือแบบนำหนังสือไปทำเป็นภาพยนตร์ งานวรรณกรรมที่ถูกเลือกไปทำภาพยนตร์
ละครเวที หรือละครโทรทัศน์มักเป็นวรรรณกรรมคลาสสิค หลายเรื่องมักมีการทำซ้ำหลายเวอร์ชั่น
เช่น Sense
& Sensibility
ของ Jane
Austin หรือ Sherlock
Holmes
ของ Arthur Conan Doyle ในส่วนของสตูดิโอที่นำเรื่องเหล่านี้ไปผลิต ก็ยังเป็นเจ้าใหญ่หรืออาจจะเรียกว่าเป็นกลุ่ม
Traditional
Production Studio

การตีความจากหนังสือสู่จอเงินเริ่มมีคุณภาพมากขึ้นใน 10 – 15 ปีหลัง ผนวกกับเทคโนโลยีด้านการผลิตที่อำนวยให้ผู้สร้างภาพยนตร์สามารถถ่ายทอดความหมายออกมาได้ดีขึ้นใกล้เคียงกับจินตนาการในหนังสือมากขึ้น เราจึงเริ่มเห็นภาพยนตร์ที่มาจากหนังสือมากขึ้นเรื่อยๆ
ในขณะเดียวกัน อุตสาหกรรมหนังสือเองก็ให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวโดยมีการเพิ่มหมวด
‘Film
Tie-in’ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการโปรโมตหนังสือ
และเป็นอย่างนี้ทุกสำนักพิมพ์ เพราะนั่นหมายถึงเครื่องหมายการันตีว่าหนังสือเล่มนั้นๆ
อาจจะกลับมาขายได้ หรือมียอดขายที่พุ่งขึ้นไปอีก และทุกครั้งอีกเช่นกัน เราจะได้เห็นปรากฎการณ์ที่เรียกว่า
Film
Tie-In Cover ที่เอารูปฉากจากภาพยนตร์มาทำเป็นปกหนังสือ

ปัจจุบันอุตสาหกรรมหนังสือและภาพยนตร์ได้เข้ามาใกล้กันยิ่งขึ้นอีก
เมื่อเริ่มมีผู้เล่นใหม่ๆ เข้าสู่วงจรมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Netflix หรือ Amazon Prime ที่ยิ่งกระตุ้นภาวะการแข่งขันในตลาด เดิมทีการประมูลหนังสือเพื่อไปทำเป็นภาพยนตร์ในปีปีหนึ่งอาจไม่ได้มากมาย ปัจจุบันวรรณกรรมที่เลือกมาทำหนังเริ่มมีความใหม่และร่วมสมัย ไม่ได้เฉพาะเจาะจงเป็นกลุ่มวรรณกรรมคลาสสิกเหมือนเมื่อก่อน ซีรีส์ใน Netflix เช่น 13 Reasons
Why
หรือ Orange is the New Black ต่างก็เป็นงานเขียนยุคหลัง
แต่ด้วยพล็อตและเนื้อเรื่องที่เป็นที่ต้องการของผู้ชม จึงได้รับการคัดเลือกอย่างง่ายดาย

ทำไมเรื่องราวจากหนังสือถึงเหมาะที่จะเอาไปทำภาพยนตร์? ถ้าสังเกตดูเราจะพบว่าหนังสือมีการวางพล็อตเรื่อง
ลักษณะของตัวละคร และเหตุการณ์เอาไว้อย่างเหมาะเจาะ คนที่นำหนังสือไปทำหนังจึงได้เปรียบเพราะมีทรัพยากรที่กลั่นกรองแล้วส่วนหนึ่ง
ใครเคยได้อ่านหนังสืออย่าง The Da Vinci Code จะรู้สึกได้ว่าหนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นมาเพื่อนำไปทำเป็นภาพยนตร์
ไม่ว่าจะเป็นเนื้อเรื่อง พล็อต และตัวละครเป็นฮอลลีวู้ดมาก หรือภาพยนตร์อย่าง Les Misérables ของ Victor Hugo ในเวอร์ชันล่าสุด การตีความเนื้อเรื่อง การใช้เทคโนโลยี
และฝีมือของผู้กำกับภาพยนตร์เรื่องนี้ ทำให้วรรณกรรมที่พิมพ์มานานกลับมาขายดีพุ่งกระฉูดอีกครั้ง
ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงแล้ว Les Misérables ไม่ได้เป็นหนังสือที่อ่านง่ายเลย

คนในวงการหนังสืออย่าง Donna Coonan ซึ่งเป็น Editorial Editor
ของสำนักพิมพ์ Virago ถึงกับออกปากว่าเธอไม่เคยเห็นคนในวงการภาพยนตร์จะกระตือรือร้นเลือกเฟ้นวรรณกรรมดีๆ
ไปทำภาพยนตร์มากเท่ายุคนี้มาก่อน ถึงขนาดมีการตั้งหน่วยสอดแนมเพื่อหางานเขียนดาวรุ่ง
แม้จะเป็นงานจากนักเขียนหน้าใหม่ที่เพิ่งออกหนังสือเป็นครั้งแรกก็ตาม

ตัวอย่างที่ชัดเจนเรื่องความสัมพันธ์ของสองอุตสาหกรรม
คือภาพยนตร์เรื่อง Bad Beginning ซึ่งเป็นหนึ่งในหนังสือชุดซีรีส์ The Bad
Beginning
หนังชุดนี้เริ่มออกอากาศทาง Netflix
ในเดือนมกราคม
พบว่าตัวเลขขายหนังสือได้เพิ่มขึ้น 110 เปอร์เซ็นต์ และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 5 อาทิตย์ติดต่อกัน
และเมื่อรวมตัวเลขทั้งหมดของทั้งซีรีส์พบว่า ยอดขายหนังสือของชุด The Bad
Beginning
ได้เพิ่มขึ้น 202 เปอร์เซ็นต์

นวนิยายวัยรุ่นอย่าง 13 Reasons Why ที่ได้ออกอากาศทาง Netflix เมื่อช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
จากนวนิยายที่ตีพิมพ์ตั้งแต่ปี 2009 กลับมามียอดขายพุ่งไปสูงถึง 654 เปอร์เซ็นต์ ภายในสองอาทิตย์ตั้งแต่ภาพยนตร์ได้ออกอากาศ

ความสัมพันธ์ของวงการหนังสือและวงการอุตสาหกรรมภาพยนตร์เป็นเหมือนการ synergy ที่ถูกฝาถูกตัว
แต่การรวมตัวแบบนี้ไม่ได้หยุดแค่นี้ เรายังได้เห็นการแปลงเนื้อหาจากวิดีโอเกมมาเป็นหนังสือซึ่งหลายเล่มขายไม่หยุดฉุดไม่อยู่เช่นกัน

ปัจจุบันโลกแคบลง เราไม่สามารถมองเห็นเส้นแบ่งระหว่างวงการได้ชัดเจนเท่าเมื่อก่อน
อุตสาหกรรมบันเทิงหลายแขนงจึงเชื่อมโยงกันยิ่งกว่าใยแมงมุม
ดังนั้นการวิเคราะห์ใดๆ ที่มองแค่มุมเดียวย่อมไม่สามารถอธิบายสัมพันธภาพอันเกิดจากพฤติกรรมมนุษย์ได้ทั้งหมด

แม้แต่การเติบโตของโลกออนไลน์ ก็มีส่วนทำให้อุตสาหกรรมหนังสือเติบโต เพราะคนเข้าถึงสิ่งใหม่ๆ
ในวงการหนังสือได้ง่ายขึ้น เพราะความต้องการของมนุษย์ซับซ้อนเกินกว่า ที่จะใช้บรรทัดฐานเดียวในการตัดสิน

ภาพ penguinteen.com

AUTHOR