ทำไมหนังสือนำเที่ยวถึงยังขายดีในยุคที่คนพูดว่า ‘สิ่งพิมพ์ตายแล้ว’

มีการคาดเดากันเมื่อสิบปีที่แล้วว่า
“เดี๋ยวนี้มีใครใช้หนังสือท่องเที่ยว (Guide Book) อีกบ้าง” และช่วงหนึ่งตลาดหนังสือกลุ่มนี้ตกต่ำถึงขนาดเรียกว่า อยู่ในช่วงไว้ทุกข์ให้ตัวเองเลยทีเดียว

แต่คิดใหม่เถอะ เมื่อเหตุการณ์แห่งความเป็นจริงกลับบอกเราในมิติที่ต่างออกไป

“Travel market on rising wave. Publishers promise innovation as print finds its place”
– The Bookseller, February 17, 2017

หนังสือท่องเที่ยวที่ครั้งหนึ่งเคยตกลงไปอยู่ในยุคมืด
ทุกเจ้าเตรียมตัวตาย กลับพบเหตุการณ์กลับตาลปัตรมาตั้งแต่ช่วงปี 2015-2016 ในปีแรกเรายังกลัวๆ กล้าๆ ว่าทิศทางที่กลับเป็นบวกนี้
เพราะเหตุบังเอิญหรือของจริงกันแน่ จนเมื่อตัวเลขอย่างเป็นทางการประกาศออกมาจาก Nielson Bookscan ว่าตัวเลขจำหน่ายหนังสือท่องเที่ยวตลอดปี
2016 เติบโตขึ้น
1.2% ซึ่งเป็นการกลับมาเติบโตติดต่อกันเป็นปีที่สอง
และแน่นอนอันดับที่เติบโตสูงสุด และลำดับที่สองยังคงเหมือนเดิม Lonely Planet มีมูลค่าเติบโตขึ้น
+13.8% DK
Eyewitness +0.1% และ Marco Polo +2.1% ในขณะที่ Rough Guides และ Michelin มีการเติบโตลดลงที่
-3.9% และ -7.4% ตามลำดับ

ทำไมสำนักพิมพ์บางแห่งกลับมาเติบโต
และบางแห่งยังคงไหลตกต่ำลงต่อไป สำหรับ Lonely Planet สำนักพิมพ์นี้กลับมาสร้างความหลากหลาย ด้วยการดึงเอาเนื้อหาที่ตัวเองเป็นผู้ผลิตมาแตกออกให้มีมิติรับกับคนอ่านมากยิ่งขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นการขยายไปสู่หนังสือแบบ Travel Writing และแบบ Lifestyle Guide เช่นเล่มที่จะออกใหม่อย่าง
Lonely Planet Global Beer Tour
หรือ World Best Series ที่กระจายเข้าสู่กลุ่มผู้หลงใหลในการเดินทางได้ง่ายขึ้น
รวมถึงการมีช่องโหว่ของ
Google Map ทำให้ Lonely Planet ออกชุดแผนที่ครอบคลุมในหลายเมืองหลักทั่วโลก
จุดนี้เองที่ความทันสมัยของเทคโนโลยีก็ยังไม่อาจตามความเป็นแอนะล็อกบวกกับความสร้างสรรค์ของมนุษย์ได้

ขณะเดียวกัน เทรนด์การท่องเที่ยวสู่หมุดหมายใหม่ๆ เริ่มเป็นที่ต้องการมากขึ้น
ในความเชื่อเดิมเรามักคิดว่าชาวตะวันตกนิยม เดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทยเพราะทะเลสวย
น้ำใส คนน้ำใจงาม แต่สิ่งที่เราไม่เคยยอมรับเลยคือ ค่าครองชีพที่แพงขึ้น และเรตค่าใช้จ่ายพิเศษของนักท่องเที่ยวชาวตะวันตกก็เพิ่มตามเป็นเงาด้วยเช่นกัน ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการเดินทางหลักอย่างค่าเครื่องบินกลับลงมาอยู่ในระดับที่รับได้มากขึ้น
รูปแบบของที่พักก็เปลี่ยนไปด้วยการเข้ามาบาลานซ์ของ Airbnb สิ่งเหล่านี้ทำให้อัตราส่วนของค่าใช้จ่ายหลัก 2 ด้านลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ
ทางเลือกของนักเดินทางจึงมุ่งสู่จุดหมายใหม่อย่างคิวบา ญี่ปุ่น และไอซ์แลนด์ที่ขึ้นมาเป็นประเทศยอดฮิตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในปัจจุบัน คิวบานั้นกลายเป็นประเทศที่น่าค้นหากว่าแต่ก่อนนับตั้งแต่การตายของ ฟิเดล คาสโทร และการกลับมาฟื้นความสัมพันธ์อีกครั้งกับอเมริกา
ขณะที่ไอซ์แลนด์ก็เป็นจุดหมายของนักเดินทางที่แสวงหาปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม ทำให้การเดินทางง่ายขึ้น
ที่พักที่มีมากขึ้น และตามด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวที่ไหลเพิ่มขึ้นสู่ดินแดนขั้วโลกเหนือ
ขณะที่ญี่ปุ่นนั้นไม่ได้เพิ่งเปิดประเทศ หรือมีอะไรใหม่ แต่ความเข้มแข็งทางวัฒนธรรมและการรักษารากของตนอย่างเหนียวแน่น
บวกกับทุกวันนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่าค่าใช้จ่ายในการเที่ยวญี่ปุ่นไม่ได้แพงกว่าการมานอนอาบแดดที่เกาะในอ่าวไทยหรืออันดามันแล้ว บางทีอาจจะถูกกว่าด้วยซ้ำ เพราะไม่ต้องจ่าย Service
Charge หรือ Tips (ซึ่งนั่นก็แน่นอนว่า Japan Guide Book กลายเป็นหนังสือขายดีอันดับหนึ่งของ
Lonely Planet มาไม่ต่ำกว่าสามปีติด)

ปัจจัยเสริมเหล่านี้ทำให้อุตสาหกรรมหนังสือท่องเที่ยวกลับมาเติบโตอีกครั้ง
แต่สำหรับสำนักพิมพ์ที่ยังเป็น Guide หรือ Map Oriented เชื่อได้ว่ายังคงเดินทางตกต่ำต่อไป
เพราะไม่รู้จักนำสิ่งที่มีอยู่ออกมาใช้งานให้เต็มประสิทธิภาพ เหมือนซื้อรถแบบ 4X4 แต่ใช้งานเฉพาะในเมือง ยังไงก็ไม่มีวันต้องใช้งานแบบขับเคลื่อนสี่ล้อขึ้นที่จอดรถตามห้างสรรพสินค้าเป็นแน่

หนังสือเล่มไม่ได้เป็นแค่เรื่องของการระลึกถึงกลิ่นกระดาษ
สิ่งที่จับต้องได้ เพราะมันเป็น subjective เกินไป แต่หนังสือเป็นรูปแบบเดียวที่บอกเราถึงความสำเร็จของเทคโนโลยีด้านการพิมพ์ที่ดีที่สุดของมนุษย์
ที่มีมานาน และยังคงอยู่ต่อไป คำกล่าวที่ว่า Print is Dead. Long Live
Print เปรียบถึงการสลายและตายไปของสิ่งพิมพ์
ในขณะเดียวกันเราก็มีสิ่งพิมพ์ใหม่ๆ ขึ้นมาทดแทนอยู่ตลอดเวลา
เรียกได้ว่าโลกนี้ไม่เคยขาดสิ่งพิมพ์ไปแม้แต่วันเดียว ผู้เชื่อและยืนหยัดเท่านั้นที่ยังจะได้ไปต่อ

AUTHOR